กรมศิลป์ตั้งเป้าก้าวเข้าสู่ปีที่ 100 ด้วยการเป็นสถาบัน ปรับการทำงานให้เข้าถึงประชาชน ฝันเห็นสำนักการสังคีตเป็นอะคาเดมี ขณะที่อดีตอธิบดีกรมศิลป์แนะใช้ศิลปะเข้าหาเยาวชน เร่งสร้างหอสมุดแห่งชาติ 4 มุมเมืองหรือรุกศูนย์การค้าและกระจายพิพิธภัณฑ์ให้ครบทุกจังหวัด
นายเกรียงไกร สัมปัชชลิต อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวในงานเสวนา “บนเส้นทางสู่ศตวรรษ กรมศิลปากร” ที่หอวชิราวุธานุสรณ์ สำนักหอสมุดแห่งชาติ เมื่อเร็วๆ นี้ว่า กรมศิลปากรเป็นองค์กรที่ได้รับความเชื่อถือจากประชาชนมาอย่างยาวนานกว่า 98 ปีแล้ว โดยแนวทางการดำเนินงานเพื่อก้าวสู่ 100 ปี ใน พ.ศ.2554 นั้น ตนเห็นว่ากรมศิลปากรจะต้องทำหน้าที่รักษามรดกทางวัฒนธรรมของชาติต่อไป เนื่องจากปัจจุบันพบว่ามีแหล่งโบราณสถานกว่า 6,000 แห่ง แต่จดขึ้นทะเบียนแล้วเพียง 2,000 แห่งเท่านั้น นอกจากนี้ยังต้องปรับโครงสร้างองค์กรให้เข้ากับปัจจุบัน ปรับปรุงการทำงานให้มีมาตรฐานโดยจัดทำคู่มือการทำงาน พัฒนาข้อมูลความรู้เพื่อสามารถนำมาปฎิบัติ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมให้มากขึ้น
อธิบดีกรมศิลปากรกล่าวต่อว่า สำหรับตั้งเป้าหมายไว้ว่าในอนาคตนั้น กรมศิลปากรต้องเป็นสถาบันที่ประชาชนจะเข้ามาทำงานร่วมกันมากขึ้น และอยากเห็นกรมศิลปากรเป็นศูนย์กลางของการสืบค้นข้อมูลทางวัฒนธรรมโดยประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ซึ่งในเบื้องต้นต้องดูแลคุณภาพของบุคลากรด้านมรดกทางวัฒนธรรมให้มากขึ้น โดยเชื่อว่าหากวางแผนดีๆ งานที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์จะสามารถพัฒนาประเทศให้ดีขึ้นได้
“ในต่างประเทศองค์กรทางศิลปะ และวัฒนธรรมเขามีความเป็นสากล และถือเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนประเทศ เราจึงต้องเร่งผลักดันกรมศิลปากรให้เป็นสถาบัน ยกตัวอย่างเช่น สำนักการสังคีต จะต้องมีความเป็นสากลอาจจะต้องทำให้เป็นที่รู้จักในนาม อะคาเดมีด้านศิลปะของไทย” อธิบดีกรมศิลปากร กล่าว
ด้าน นายสุวิชญ์ รัศมิภูติ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า ปัจจุบันภาครัฐเล็งเห็นความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมและสนับสนุนงบประมาณมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ตนเห็นว่าบุคลากรของกรมศิลปากรยังมีจำนวนจำกัด จึงต้องจ้างหน่วยงานเอกชนเข้ามาทำงานร่วมเป็นเครือข่ายด้วย อาทิ การบูรณะแหล่งโบราณสถานโดยมีเจ้าหน้าที่จากกรมศิลปากรเป็นผู้ควบคุมงาน ซึ่งแนวทางการทำงานของนายเกรียงไกร สัมปัชชลิต ที่นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการจัดเก็บและสืบค้นเอกสารอย่างเป็นระบบนั้นดีอยู่แล้ว ซึ่งในอนาคตกรมศิลปากรจะกลายเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมให้กับประชาชนได้
นายสุวิชญ์กล่าวอีกว่า เรื่องที่ตนอยากแนะนำคือ กรมศิลปากรต้องขยายหน่วยงานให้เข้าถึงประชาชนมากขึ้น โดยสิ่งจำเป็นขณะนี้คือหอสมุดแห่งชาติ ซึ่งน่าจะเร่งสร้างให้ครบทั้ง 4 มุมเมือง หรือรุกเข้าไปในศูนย์การค้า อีกทั้งกระจายพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตให้ทั่วถึงทุกจังหวัด และปรับปรุงหอศิลป์ที่อยู่ในความดูแลของกรมศิลป์ให้ร่วมสมัยมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้เด็กและเยาวชนสนใจศิลปะตลอดจนปลูกฝังการเข้าห้องสมุดและการอ่านหนังสือให้เป็นนิสัย ปัญหาการเข้าร้านเกม หรือการใช้เวลามั่วสุมกันก็จะน้อยลง
นายเกรียงไกร สัมปัชชลิต อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวในงานเสวนา “บนเส้นทางสู่ศตวรรษ กรมศิลปากร” ที่หอวชิราวุธานุสรณ์ สำนักหอสมุดแห่งชาติ เมื่อเร็วๆ นี้ว่า กรมศิลปากรเป็นองค์กรที่ได้รับความเชื่อถือจากประชาชนมาอย่างยาวนานกว่า 98 ปีแล้ว โดยแนวทางการดำเนินงานเพื่อก้าวสู่ 100 ปี ใน พ.ศ.2554 นั้น ตนเห็นว่ากรมศิลปากรจะต้องทำหน้าที่รักษามรดกทางวัฒนธรรมของชาติต่อไป เนื่องจากปัจจุบันพบว่ามีแหล่งโบราณสถานกว่า 6,000 แห่ง แต่จดขึ้นทะเบียนแล้วเพียง 2,000 แห่งเท่านั้น นอกจากนี้ยังต้องปรับโครงสร้างองค์กรให้เข้ากับปัจจุบัน ปรับปรุงการทำงานให้มีมาตรฐานโดยจัดทำคู่มือการทำงาน พัฒนาข้อมูลความรู้เพื่อสามารถนำมาปฎิบัติ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมให้มากขึ้น
อธิบดีกรมศิลปากรกล่าวต่อว่า สำหรับตั้งเป้าหมายไว้ว่าในอนาคตนั้น กรมศิลปากรต้องเป็นสถาบันที่ประชาชนจะเข้ามาทำงานร่วมกันมากขึ้น และอยากเห็นกรมศิลปากรเป็นศูนย์กลางของการสืบค้นข้อมูลทางวัฒนธรรมโดยประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ซึ่งในเบื้องต้นต้องดูแลคุณภาพของบุคลากรด้านมรดกทางวัฒนธรรมให้มากขึ้น โดยเชื่อว่าหากวางแผนดีๆ งานที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์จะสามารถพัฒนาประเทศให้ดีขึ้นได้
“ในต่างประเทศองค์กรทางศิลปะ และวัฒนธรรมเขามีความเป็นสากล และถือเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนประเทศ เราจึงต้องเร่งผลักดันกรมศิลปากรให้เป็นสถาบัน ยกตัวอย่างเช่น สำนักการสังคีต จะต้องมีความเป็นสากลอาจจะต้องทำให้เป็นที่รู้จักในนาม อะคาเดมีด้านศิลปะของไทย” อธิบดีกรมศิลปากร กล่าว
ด้าน นายสุวิชญ์ รัศมิภูติ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า ปัจจุบันภาครัฐเล็งเห็นความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมและสนับสนุนงบประมาณมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ตนเห็นว่าบุคลากรของกรมศิลปากรยังมีจำนวนจำกัด จึงต้องจ้างหน่วยงานเอกชนเข้ามาทำงานร่วมเป็นเครือข่ายด้วย อาทิ การบูรณะแหล่งโบราณสถานโดยมีเจ้าหน้าที่จากกรมศิลปากรเป็นผู้ควบคุมงาน ซึ่งแนวทางการทำงานของนายเกรียงไกร สัมปัชชลิต ที่นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการจัดเก็บและสืบค้นเอกสารอย่างเป็นระบบนั้นดีอยู่แล้ว ซึ่งในอนาคตกรมศิลปากรจะกลายเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมให้กับประชาชนได้
นายสุวิชญ์กล่าวอีกว่า เรื่องที่ตนอยากแนะนำคือ กรมศิลปากรต้องขยายหน่วยงานให้เข้าถึงประชาชนมากขึ้น โดยสิ่งจำเป็นขณะนี้คือหอสมุดแห่งชาติ ซึ่งน่าจะเร่งสร้างให้ครบทั้ง 4 มุมเมือง หรือรุกเข้าไปในศูนย์การค้า อีกทั้งกระจายพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตให้ทั่วถึงทุกจังหวัด และปรับปรุงหอศิลป์ที่อยู่ในความดูแลของกรมศิลป์ให้ร่วมสมัยมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้เด็กและเยาวชนสนใจศิลปะตลอดจนปลูกฝังการเข้าห้องสมุดและการอ่านหนังสือให้เป็นนิสัย ปัญหาการเข้าร้านเกม หรือการใช้เวลามั่วสุมกันก็จะน้อยลง