สธ.ชี้หวัดใหญ่พันธุ์ใหม่ 2009 แพร่กระจายระดับซี เป็นวงกว้างในประเทศ แต่ความรุนแรงโรคอยู่ระดับต่ำ พร้อมท้วง “ฮู” เปลี่ยนระบบรายงานพื้นที่ระบาดของโรค ระดับ 1-6 ควบคู่กับความรุนแรงโรค ป้องคนเข้าใจผิดคิดว่าความรุนแรงของโรคเพิ่มขึ้น คาดปีนี้ไทยมีผู้ป่วยหวัดตามฤดูกาล รวมหวัดสายพันธุ์ใหม่ เพิ่ม 1.5 เท่า หรือป่วยเป็น 1.2 ล้านคน จากเดิมป่วยหวัดตามฤดูกาล 9 แสนคนต่อปี
วันที่ 19 มิถุนยา นพ.ศุภมิตร ชุณห์สุทธิวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กล่าวว่า การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ถือเป็นบทเรียนสำคัญให้กับองค์การอนามัย (WHO) และนานาประเทศ ร่วมถึงประเทศไทยด้วย เพราะในช่วงที่มีการระบาดระยะแรกๆ องค์การอนามัยโลกและทุกๆ ประเทศ ได้ออกประกาศเตือนอันตรายของโรค และมีมาตรการพิเศษควบคุมป้องกันโรคอย่างเข้มงวด ทำให้ประชาชนเกิดความตื่นตัว และมีจำนวนมากที่แตกตื่นหวาดกลัวโรคนี้ แต่เมื่อมีข้อมูลวิชาการยืนยันได้ว่าเชื้อไวรัสใหม่นี้ ไม่มีความรุนแรงอย่างที่คิดไว้ หลายประเทศได้ยกเลิกมาตรการพิเศษแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนาดา ออสเตรเลีย เป็นต้น จึงทำให้ประชาชนเกิดความสับสนว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรกันแน่
“ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ประชาชนแตกตื่นเป็นเพราะการประกาศเพิ่มระดับการแพร่ระบาดขององค์การอนามัยโลกที่เพิ่มจาก ระดับ 4 เป็น ระดับ 5 และ 6 ซึ่งเป็นขั้นสูงสุด ซึ่งการประกาศดังกล่าวเป็นเพียงการบอกถึงพื้นที่ที่พบว่ามีการระบาดของโรคเท่านั้น แต่ประชาชนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นการเพิ่มระดับความรุนแรงของโรค ซึ่งที่ผ่านมานานาชาติ ได้ท้วงติงให้ องค์การอนามัยโลกปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การประกาศดังกล่าว และในการประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลกเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ก็มีการหารือถึงเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน” นพ.ศุภมิตร กล่าว
นพ.ศุภมิตร กล่าวต่อว่า สำหรับประเทศไทยถือเป็นโอกาสที่คนไทยจะได้ตื่นตัวต่อโรคไข้หวัดใหญ่ เพราะที่ผ่านมาทั้งแพทย์ ประชาชนไม่ได้ตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้หวัดใหญ่มากนัก และคาดการณ์ว่าในปีนี้จะมีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ทั้งที่ระบาดตามฤดูกาล และสายพันธุ์ใหม่ 2009 รวมแล้วประมาณ 1.2 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้น 1.5 เท่า จากเดิมที่มีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ปีละ 9 แสนคน และมีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น จากเดิมปีละ 320 ราย เพิ่มเป็น 400 ราย
“ภารกิจสำคัญคือ สธ.จะร่วมกับนักวิชาการ เร่งสื่อสารกับประชาชนให้เข้าใจถึงสถานการณ์ของโรคว่าไม่อันตรายอย่างที่คิด เพราะเชื้อไวรัสชนิดใหม่นี้ มีความรุนแรงใกล้เคียงกับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล การมีวิธีป้องกัน และรักษาโรค เหมือนกัน ซึ่งขณะนี้สธ. ได้พิมพ์สมุดปกเขียว คู่มือประชาชน “รู้เท่าทันเพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009” จำวน 1 ล้านเล่ม เพื่อแจกให้ประชาชนทั่วประเทศ” นพ.ศุภมิตร กล่าว
แหล่งข่าวจากกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ขณะนี้ทีมวิชาการของกระทรวงสาธารณสุขเตรียมจะเสนอการรายงานให้ข้อมูลกับสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ จากเดิมที่องค์การอนามัยโลกใช้ข้อมูลเชิงการแพร่กระจายเป็น 6 ระดับ ซึ่งในไทยได้ปรับมาใช้ก่อนหน้านี้เป็นระดับ เอ บี ซี ซึ่งขณะนี้อยู่ระดับซี เป็นบางพื้นที่แต่แนวทางใหม่จะรายงานเรื่องข้อมูลเชิงการแพร่กระจาย พร้อมกับข้อมูลเชิงความรุนแรงของโรคไปพร้อมๆกันให้สาธารณชนทราบด้วย ทั้งนี้จะนำเสนอต่อนายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข เพื่อตัดสินใจเป็นแนวทางต่อไปภายใน 22-23 มิ.ย.นี้
ทั้งนี้ ได้พยายามประสานงานไปยังองค์การอนามัยโลก เพื่อให้เป็นเจ้าภาพในการดำเนินการให้มีการจัดทำหลักเกณฑ์ในการรายงานระดับความรุนแรงของโรคให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก และรายงานควบคู่ไปกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคที่องค์การอนามัยโลกประกาศ
แหล่งข่าวกล่าวว่า ระดับความรุนแรงของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ที่จะนำเสนอแนวทางใหม่นี้ แบ่งเป็น ระดับต่ำคือ มีอัตราการเสียชีวิต 0.1-0.5% ระดับปานกลางมีอัตราเสียชีวิต 0.5-1% ระดับสูงมีอัตราการเสียชีวิต 1-2% และระดับสูงมาก คือมี อัตราการเสียชีวิตมากกว่าหรือเท่ากับ 2%
ทั้งนี้ ในส่วนของมาตรการในการดำเนินการของแต่ละระดับความรุนแรงก็แตกต่างกันไป ซึ่งจะต้องมีการหารือในรายละเอียดอีกครั้ง โดยเบื้องต้นการให้ผู้ป่วยรักษาตัวอยู่ที่บ้านต้องทำทุกระดับความรุนแรง การปิดโรงเรียนและปิดสถานที่ประชุมหรือลดเลี่ยงการชุมนุมโดยไม่จำเป็น จะพิจารณาต่อเมื่อสถานการณ์อยู่ระดับปานกลางขึ้นไป
แหล่งข่าวกล่าวว่า ส่วนการให้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่โอเซลทามิเวียร์พิจารณาตามอาการรุนแรงและกลุ่มเสี่ยงโดยไม่สนใจเรื่องระดับความรุนแรงของโรคเช่นเดียวกับการสต็อกยาและวัคซีนก็ต้องสนับสนุนต่อไป ไม่ว่าความรุนแรงอยู่ระดับใด และการคัดกรองผู้เดินทางระหว่างประเทศความรุนแรงในระดับต่ำ ปานกลางไม่มีความจำเป็น แต่จะกลับมาพิจารณาดำเนินการอีกครั้งในสถานการณ์ความรุนแรงของโรคระดับสูงขึ้นไป
“ที่ผ่านมาจุดด้อยของ สธ.คือ อยู่ที่การไม่ได้อธิบายให้สาธารณชนทราบถึงสถานการณ์ความรุนแรงของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ให้ทราบควบคู่ไปกับสถานการณ์การแพร่กระจายที่องค์การอนามัยโลกประกาศอยู่ รวมถึงสถานการณ์การรับมือของโรคดังกล่าวได้นำแผนการรับมือโรคไข้หวัดนกที่มีอัตราการเสียชีวิต 60% มาใช้ ซึ่งเป็นการดำเนินการอย่างเต็มที่ แต่เมื่อข้อมูลอัตราการเสียชีวิตของโรคดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำเพียง 0.4% ความรุนแรงลดลงทำให้ตั้งตัวไม่ทัน จนประชาชนเกิดความสับสน” แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวด้วยว่า แม้ว่าขณะนี้ข้อมูลเชิงการแพร่กระจายของไทยอยู่ระดับซี คือการแพร่ระบาดภายในประเทศวงกว้าง แต่ระดับความรุนแรงของโรคยังอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงระดับความรุนแรงของโรคโดยพิจารณาจาก 3 ปัจจัย คือ อาการความรุนแรงของโรค สายพันธุ์เปลี่ยนแปลงหรือไม่ และการดื้อยา แต่อย่างไรเชื่อว่าโรคดังกล่าวจะแพร่กระจายไปทั่ว 76 จังหวัด
วันที่ 19 มิถุนยา นพ.ศุภมิตร ชุณห์สุทธิวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กล่าวว่า การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ถือเป็นบทเรียนสำคัญให้กับองค์การอนามัย (WHO) และนานาประเทศ ร่วมถึงประเทศไทยด้วย เพราะในช่วงที่มีการระบาดระยะแรกๆ องค์การอนามัยโลกและทุกๆ ประเทศ ได้ออกประกาศเตือนอันตรายของโรค และมีมาตรการพิเศษควบคุมป้องกันโรคอย่างเข้มงวด ทำให้ประชาชนเกิดความตื่นตัว และมีจำนวนมากที่แตกตื่นหวาดกลัวโรคนี้ แต่เมื่อมีข้อมูลวิชาการยืนยันได้ว่าเชื้อไวรัสใหม่นี้ ไม่มีความรุนแรงอย่างที่คิดไว้ หลายประเทศได้ยกเลิกมาตรการพิเศษแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนาดา ออสเตรเลีย เป็นต้น จึงทำให้ประชาชนเกิดความสับสนว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรกันแน่
“ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ประชาชนแตกตื่นเป็นเพราะการประกาศเพิ่มระดับการแพร่ระบาดขององค์การอนามัยโลกที่เพิ่มจาก ระดับ 4 เป็น ระดับ 5 และ 6 ซึ่งเป็นขั้นสูงสุด ซึ่งการประกาศดังกล่าวเป็นเพียงการบอกถึงพื้นที่ที่พบว่ามีการระบาดของโรคเท่านั้น แต่ประชาชนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นการเพิ่มระดับความรุนแรงของโรค ซึ่งที่ผ่านมานานาชาติ ได้ท้วงติงให้ องค์การอนามัยโลกปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การประกาศดังกล่าว และในการประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลกเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ก็มีการหารือถึงเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน” นพ.ศุภมิตร กล่าว
นพ.ศุภมิตร กล่าวต่อว่า สำหรับประเทศไทยถือเป็นโอกาสที่คนไทยจะได้ตื่นตัวต่อโรคไข้หวัดใหญ่ เพราะที่ผ่านมาทั้งแพทย์ ประชาชนไม่ได้ตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้หวัดใหญ่มากนัก และคาดการณ์ว่าในปีนี้จะมีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ทั้งที่ระบาดตามฤดูกาล และสายพันธุ์ใหม่ 2009 รวมแล้วประมาณ 1.2 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้น 1.5 เท่า จากเดิมที่มีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ปีละ 9 แสนคน และมีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น จากเดิมปีละ 320 ราย เพิ่มเป็น 400 ราย
“ภารกิจสำคัญคือ สธ.จะร่วมกับนักวิชาการ เร่งสื่อสารกับประชาชนให้เข้าใจถึงสถานการณ์ของโรคว่าไม่อันตรายอย่างที่คิด เพราะเชื้อไวรัสชนิดใหม่นี้ มีความรุนแรงใกล้เคียงกับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล การมีวิธีป้องกัน และรักษาโรค เหมือนกัน ซึ่งขณะนี้สธ. ได้พิมพ์สมุดปกเขียว คู่มือประชาชน “รู้เท่าทันเพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009” จำวน 1 ล้านเล่ม เพื่อแจกให้ประชาชนทั่วประเทศ” นพ.ศุภมิตร กล่าว
แหล่งข่าวจากกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ขณะนี้ทีมวิชาการของกระทรวงสาธารณสุขเตรียมจะเสนอการรายงานให้ข้อมูลกับสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ จากเดิมที่องค์การอนามัยโลกใช้ข้อมูลเชิงการแพร่กระจายเป็น 6 ระดับ ซึ่งในไทยได้ปรับมาใช้ก่อนหน้านี้เป็นระดับ เอ บี ซี ซึ่งขณะนี้อยู่ระดับซี เป็นบางพื้นที่แต่แนวทางใหม่จะรายงานเรื่องข้อมูลเชิงการแพร่กระจาย พร้อมกับข้อมูลเชิงความรุนแรงของโรคไปพร้อมๆกันให้สาธารณชนทราบด้วย ทั้งนี้จะนำเสนอต่อนายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข เพื่อตัดสินใจเป็นแนวทางต่อไปภายใน 22-23 มิ.ย.นี้
ทั้งนี้ ได้พยายามประสานงานไปยังองค์การอนามัยโลก เพื่อให้เป็นเจ้าภาพในการดำเนินการให้มีการจัดทำหลักเกณฑ์ในการรายงานระดับความรุนแรงของโรคให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก และรายงานควบคู่ไปกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคที่องค์การอนามัยโลกประกาศ
แหล่งข่าวกล่าวว่า ระดับความรุนแรงของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ที่จะนำเสนอแนวทางใหม่นี้ แบ่งเป็น ระดับต่ำคือ มีอัตราการเสียชีวิต 0.1-0.5% ระดับปานกลางมีอัตราเสียชีวิต 0.5-1% ระดับสูงมีอัตราการเสียชีวิต 1-2% และระดับสูงมาก คือมี อัตราการเสียชีวิตมากกว่าหรือเท่ากับ 2%
ทั้งนี้ ในส่วนของมาตรการในการดำเนินการของแต่ละระดับความรุนแรงก็แตกต่างกันไป ซึ่งจะต้องมีการหารือในรายละเอียดอีกครั้ง โดยเบื้องต้นการให้ผู้ป่วยรักษาตัวอยู่ที่บ้านต้องทำทุกระดับความรุนแรง การปิดโรงเรียนและปิดสถานที่ประชุมหรือลดเลี่ยงการชุมนุมโดยไม่จำเป็น จะพิจารณาต่อเมื่อสถานการณ์อยู่ระดับปานกลางขึ้นไป
แหล่งข่าวกล่าวว่า ส่วนการให้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่โอเซลทามิเวียร์พิจารณาตามอาการรุนแรงและกลุ่มเสี่ยงโดยไม่สนใจเรื่องระดับความรุนแรงของโรคเช่นเดียวกับการสต็อกยาและวัคซีนก็ต้องสนับสนุนต่อไป ไม่ว่าความรุนแรงอยู่ระดับใด และการคัดกรองผู้เดินทางระหว่างประเทศความรุนแรงในระดับต่ำ ปานกลางไม่มีความจำเป็น แต่จะกลับมาพิจารณาดำเนินการอีกครั้งในสถานการณ์ความรุนแรงของโรคระดับสูงขึ้นไป
“ที่ผ่านมาจุดด้อยของ สธ.คือ อยู่ที่การไม่ได้อธิบายให้สาธารณชนทราบถึงสถานการณ์ความรุนแรงของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ให้ทราบควบคู่ไปกับสถานการณ์การแพร่กระจายที่องค์การอนามัยโลกประกาศอยู่ รวมถึงสถานการณ์การรับมือของโรคดังกล่าวได้นำแผนการรับมือโรคไข้หวัดนกที่มีอัตราการเสียชีวิต 60% มาใช้ ซึ่งเป็นการดำเนินการอย่างเต็มที่ แต่เมื่อข้อมูลอัตราการเสียชีวิตของโรคดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำเพียง 0.4% ความรุนแรงลดลงทำให้ตั้งตัวไม่ทัน จนประชาชนเกิดความสับสน” แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวด้วยว่า แม้ว่าขณะนี้ข้อมูลเชิงการแพร่กระจายของไทยอยู่ระดับซี คือการแพร่ระบาดภายในประเทศวงกว้าง แต่ระดับความรุนแรงของโรคยังอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงระดับความรุนแรงของโรคโดยพิจารณาจาก 3 ปัจจัย คือ อาการความรุนแรงของโรค สายพันธุ์เปลี่ยนแปลงหรือไม่ และการดื้อยา แต่อย่างไรเชื่อว่าโรคดังกล่าวจะแพร่กระจายไปทั่ว 76 จังหวัด