ไทยพบผู้ป่วยหวัดใหญ่พันธุ์ใหม่เพิ่มทีเดียว 3 คน ชักวุ่นหนัก เจอแพร่เชื้อกันเองในประเทศครั้งแรก เผยแม่เที่ยวสหรัฐฯและติดเชื้อกลับมาปล่อยเชื้อให้ลูกชาย ด้าน สธ.ปรับใช้แผนบีป้องกันคนไทยเสี่ยงติดหวัด ชี้หากมีการระบาดกลุ่มใหญ่ในประเทศอาจต้องสั่งให้มีการปิดโรงเรียน
วานนี้ (4 มิ.ย.)ที่กระทรวงสาธารณสุข พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อมป้องกันและควบคุมแก้ไขสถานการณ์การระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ กล่าวว่า ขณะนี้ไทยพบผู้ป่วยยืนยันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 เพิ่มอีก 3 ราย นับเป็นรายที่ 6,7 และ 8 โดยรายที่ 6 เป็นหญิงไทย อายุ 49 ปี เป็นภรรยาของผู้ป่วยยืนยันรายที่ 4 วัย 50 ปี มีประวัติเดินทางไปท่องเที่ยวประเทศสหรัฐอเมริกาในหลายรัฐด้วยกัน โดยได้เดินทางออกจากชิคาโกถึงไทยเมื่อ วันที่ 25 พ.ค. เริ่มมีอาการปวดเมื่อยร่างกาย ระคายคอ ไม่มีไข้ เมื่อเดินทางผ่านเครื่องวัดอุณหภูมิเทอร์โมสแกนจึงไม่สามารถตรวจพบได้ จากนั้นพักอยู่บ้าน 3 วัน จึงมีอาการไข้ได้เข้ารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาล ขณะนี้อาการหายดีแล้ว แต่เชื้อได้แพร่ไปยังลูกชายอายุ 19 ปี ซึ่งถือเป็นผู้สัมผัสใกล้ชิด เนื่องจากไม่มีประวัติเดินทางไปต่างประเทศ นับเป็นรายที่ 7
“ได้รับรายงานยืนยันว่าผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่พันธุ์ใหม่รายที่ 6และ 7 เมื่อเวลา 16.00 น. วานนี้ (4 มิ.ย.) เนื่องจากช่วงแรกมีความไม่ชัดเจนว่าติดเชื้อไข้หวัดใหญ่พันธุ์ใหม่หรือไม่ ส่วนรายที่ 8 เป็นหญิงไทยอายุ 20 ปี เริ่มมีอาการเจ็บคอ ก่อนออกเดินทางกลับจากประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 30 พ.ค. ถึงประเทศไทยวันที่ 1 มิถุนายน เริ่มมีอาการคัดจมูก ไอ ไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลเมื่อวันที่ 2 มิ.ย. ที่ผ่านมา ดังนั้น ในขณะนี้ถือว่าประเทศไทยมีการระบาดภายในประเทศแล้วแม้จะมีเพียง 1 รายเท่านั้น”พล.ต.สนั่น กล่าว
สธ.ประกาศปรับแผนรับมือ
นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้ สธ. ได้ปรับมาตรการดำเนินงานให้เหมาะสม เนื่องจากคาดว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดในอนาคต จะขยายวงกว้างต่อไปเรื่อยๆ จนเป็นโรคประจำถิ่นในที่สุด โดยทิศทางการแพร่ระบาดในทุกประเทศจะเป็นไปใน 3 ระยะ คือ ระยะแรก (สถานการณ์ เอ) มีผู้ป่วยที่ติดเชื้อมาจากต่างประเทศและเดินทางเข้ามาในประเทศ การควบคุมทำได้โดยการแยกรักษา ให้ยาผู้สัมผัสเท่าที่จำเป็น ซึ่งเป็นมาตรการที่สธ. ดำเนินการมาก่อนหน้านี้แล้ว
แต่เมื่อเข้าสู่ระยะต่อมาคือเริ่มมีการแพร่ระบาดในประเทศ (สถานการณ์ บี) จะต้องมีการใช้แผนอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งหากควบคุมได้ดี การระบาดจะอยู่ในวงจำกัด พบผู้ป่วยจำนวนหลายสิบคนหรือไม่เกินร้อย แต่ยังอยู่ในพื้นที่เดียวกัน การควบคุมจะใช้มาตรการล้อมกรอบคือ ให้ยาทั้งผู้ป่วยและผู้สัมผัสโดยไม่ต้องตรวจยืนยัน หยุดเรียนหรือหยุดงาน แยกผู้ป่วยให้อยู่ในบ้าน เป็นต้น ส่วนแผนสุดท้าย (สถานการณ์ ซี) มีการแพร่ระบาดขยายต่อไปในวงกว้างภายในประเทศ มีการแพร่ระบาดข้ามเมืองหรือทั้งประเทศ มีผู้ป่วยจำนวนหลายพันหรือหลายหมื่นคน มาตรการจะใช้วิธีลดผลกระทบ เช่น เน้นดูเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ให้เฉพาะผู้ที่ป่วยหยุดเรียนหรือหยุดงาน แทนการหยุดทั้งหมด
“สิ่งที่ต้องทำขณะนี้คือ ปรับใช้แผนบี เพราะมาตรการคัดกรองผู้ป่วยที่สนามบินใช้ไม่ได้ผลแล้ว เพราะมีรูรั่วมีผู้ติดเชื้อสามารถผ่านด่านตรวจเทอร์โมสแกนได้หลายราย โดยจะทำหนังสือเวียนไปยังกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงแรงงาน เพื่อติดตามเฝ้าระวังอาการป่วยไข้ ของนักเรียน และลูกจ้าง พนักงาน หากป่วยเป็นหวัด แม้จะไม่มีไข้สูง ก็ต้องแจ้งให้ สธ.รับทราบ เพื่อให้การรักษาได้อย่างทันที โดยเฉพาะกรณีที่มีคนป่วยจำนวนมากอย่างผิดสังเกต ให้รีบแจ้งสธ. เพื่อดำเนินการคัดแยกผู้ป่วย เพื่อตัดตอนการระบาดของเชื้อ ส่วนจะต้องใช้มาตรการปิดโรงเรียนหรือไม่นั้น ต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และขึ้นอยู่กับความจำเป็น ขณะเดียวกันจะประสานกรมประชาสัมพันธ์เพื่อให้ข้อมูลความรู้กับประชาชนได้อย่างทั่วถึง และคณะกรรมการอำนายการฯ จะต้องรายงานผลความคืบหน้าการดำเนินการให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) รับทราบ” นายวิทยา กล่าว
เฝ้าระวังเข้มผู้ใกล้ชิด
นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กล่าวว่า สำหรับกรณีผู้ป่วยที่ติดเชื้อภายในครอบครัว แพทย์ได้ให้ยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์กับผู้ป่วยทั้ง 2 รายแล้ว รวมถึงให้ยาต้านไวรัสกับผู้เฝ้าระวังใกล้ชิดอีก 4 ราย ซึ่งเป็นลูก 3 คน และคนรับใช้ 1 รายด้วยเช่นกัน ซึ่งในจำนวนนี้มีลูกชาย ที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ด้วย แต่อาการล่าสุดผู้ป่วยครอบครัวนี้หายป่วยแล้ว และไม่มีผู้ติดเชื้อเพิ่ม
สำหรับผู้ป่วยยืนยันรายที่ 8 ที่เดินทางกลับจากท่องเที่ยวในนิวยอร์ก สหรัฐฯ ซึ่งไปกับเพื่อนคนไทยและต่างชาติ และในระหว่างที่พักในสหรัฐฯ มีเพื่อนร่วมห้องพักเป็นชาวสหรัฐฯ มีอาการป่วยเป็นไข้ ซึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมาในนิวยอร์ก มีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่เพิ่มขึ้นจำนวนมาก ซึ่งขณะนี้ สธ. ได้เฝ้าระวังผู้สัมผัสใกล้ชิดของผู้ป่วยรายนี้ 5 คน และได้ให้ยาต้านไวรัสทุกคนแล้ว โดยในจำนวนนี้ เป็นเพื่อน 1 ราย เริ่มมีอาการหวัด มีน้ำมูกแล้ว แต่ผลตรวจวิเคราะห์ยังไม่ออก ส่วนเพื่อนคนไทยที่ไปเที่ยวสหรัฐฯ ด้วยกัน ไม่ได้กลับมาเมืองไทยพร้อมๆ กัน.
วานนี้ (4 มิ.ย.)ที่กระทรวงสาธารณสุข พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อมป้องกันและควบคุมแก้ไขสถานการณ์การระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ กล่าวว่า ขณะนี้ไทยพบผู้ป่วยยืนยันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 เพิ่มอีก 3 ราย นับเป็นรายที่ 6,7 และ 8 โดยรายที่ 6 เป็นหญิงไทย อายุ 49 ปี เป็นภรรยาของผู้ป่วยยืนยันรายที่ 4 วัย 50 ปี มีประวัติเดินทางไปท่องเที่ยวประเทศสหรัฐอเมริกาในหลายรัฐด้วยกัน โดยได้เดินทางออกจากชิคาโกถึงไทยเมื่อ วันที่ 25 พ.ค. เริ่มมีอาการปวดเมื่อยร่างกาย ระคายคอ ไม่มีไข้ เมื่อเดินทางผ่านเครื่องวัดอุณหภูมิเทอร์โมสแกนจึงไม่สามารถตรวจพบได้ จากนั้นพักอยู่บ้าน 3 วัน จึงมีอาการไข้ได้เข้ารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาล ขณะนี้อาการหายดีแล้ว แต่เชื้อได้แพร่ไปยังลูกชายอายุ 19 ปี ซึ่งถือเป็นผู้สัมผัสใกล้ชิด เนื่องจากไม่มีประวัติเดินทางไปต่างประเทศ นับเป็นรายที่ 7
“ได้รับรายงานยืนยันว่าผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่พันธุ์ใหม่รายที่ 6และ 7 เมื่อเวลา 16.00 น. วานนี้ (4 มิ.ย.) เนื่องจากช่วงแรกมีความไม่ชัดเจนว่าติดเชื้อไข้หวัดใหญ่พันธุ์ใหม่หรือไม่ ส่วนรายที่ 8 เป็นหญิงไทยอายุ 20 ปี เริ่มมีอาการเจ็บคอ ก่อนออกเดินทางกลับจากประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 30 พ.ค. ถึงประเทศไทยวันที่ 1 มิถุนายน เริ่มมีอาการคัดจมูก ไอ ไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลเมื่อวันที่ 2 มิ.ย. ที่ผ่านมา ดังนั้น ในขณะนี้ถือว่าประเทศไทยมีการระบาดภายในประเทศแล้วแม้จะมีเพียง 1 รายเท่านั้น”พล.ต.สนั่น กล่าว
สธ.ประกาศปรับแผนรับมือ
นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้ สธ. ได้ปรับมาตรการดำเนินงานให้เหมาะสม เนื่องจากคาดว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดในอนาคต จะขยายวงกว้างต่อไปเรื่อยๆ จนเป็นโรคประจำถิ่นในที่สุด โดยทิศทางการแพร่ระบาดในทุกประเทศจะเป็นไปใน 3 ระยะ คือ ระยะแรก (สถานการณ์ เอ) มีผู้ป่วยที่ติดเชื้อมาจากต่างประเทศและเดินทางเข้ามาในประเทศ การควบคุมทำได้โดยการแยกรักษา ให้ยาผู้สัมผัสเท่าที่จำเป็น ซึ่งเป็นมาตรการที่สธ. ดำเนินการมาก่อนหน้านี้แล้ว
แต่เมื่อเข้าสู่ระยะต่อมาคือเริ่มมีการแพร่ระบาดในประเทศ (สถานการณ์ บี) จะต้องมีการใช้แผนอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งหากควบคุมได้ดี การระบาดจะอยู่ในวงจำกัด พบผู้ป่วยจำนวนหลายสิบคนหรือไม่เกินร้อย แต่ยังอยู่ในพื้นที่เดียวกัน การควบคุมจะใช้มาตรการล้อมกรอบคือ ให้ยาทั้งผู้ป่วยและผู้สัมผัสโดยไม่ต้องตรวจยืนยัน หยุดเรียนหรือหยุดงาน แยกผู้ป่วยให้อยู่ในบ้าน เป็นต้น ส่วนแผนสุดท้าย (สถานการณ์ ซี) มีการแพร่ระบาดขยายต่อไปในวงกว้างภายในประเทศ มีการแพร่ระบาดข้ามเมืองหรือทั้งประเทศ มีผู้ป่วยจำนวนหลายพันหรือหลายหมื่นคน มาตรการจะใช้วิธีลดผลกระทบ เช่น เน้นดูเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ให้เฉพาะผู้ที่ป่วยหยุดเรียนหรือหยุดงาน แทนการหยุดทั้งหมด
“สิ่งที่ต้องทำขณะนี้คือ ปรับใช้แผนบี เพราะมาตรการคัดกรองผู้ป่วยที่สนามบินใช้ไม่ได้ผลแล้ว เพราะมีรูรั่วมีผู้ติดเชื้อสามารถผ่านด่านตรวจเทอร์โมสแกนได้หลายราย โดยจะทำหนังสือเวียนไปยังกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงแรงงาน เพื่อติดตามเฝ้าระวังอาการป่วยไข้ ของนักเรียน และลูกจ้าง พนักงาน หากป่วยเป็นหวัด แม้จะไม่มีไข้สูง ก็ต้องแจ้งให้ สธ.รับทราบ เพื่อให้การรักษาได้อย่างทันที โดยเฉพาะกรณีที่มีคนป่วยจำนวนมากอย่างผิดสังเกต ให้รีบแจ้งสธ. เพื่อดำเนินการคัดแยกผู้ป่วย เพื่อตัดตอนการระบาดของเชื้อ ส่วนจะต้องใช้มาตรการปิดโรงเรียนหรือไม่นั้น ต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และขึ้นอยู่กับความจำเป็น ขณะเดียวกันจะประสานกรมประชาสัมพันธ์เพื่อให้ข้อมูลความรู้กับประชาชนได้อย่างทั่วถึง และคณะกรรมการอำนายการฯ จะต้องรายงานผลความคืบหน้าการดำเนินการให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) รับทราบ” นายวิทยา กล่าว
เฝ้าระวังเข้มผู้ใกล้ชิด
นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กล่าวว่า สำหรับกรณีผู้ป่วยที่ติดเชื้อภายในครอบครัว แพทย์ได้ให้ยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์กับผู้ป่วยทั้ง 2 รายแล้ว รวมถึงให้ยาต้านไวรัสกับผู้เฝ้าระวังใกล้ชิดอีก 4 ราย ซึ่งเป็นลูก 3 คน และคนรับใช้ 1 รายด้วยเช่นกัน ซึ่งในจำนวนนี้มีลูกชาย ที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ด้วย แต่อาการล่าสุดผู้ป่วยครอบครัวนี้หายป่วยแล้ว และไม่มีผู้ติดเชื้อเพิ่ม
สำหรับผู้ป่วยยืนยันรายที่ 8 ที่เดินทางกลับจากท่องเที่ยวในนิวยอร์ก สหรัฐฯ ซึ่งไปกับเพื่อนคนไทยและต่างชาติ และในระหว่างที่พักในสหรัฐฯ มีเพื่อนร่วมห้องพักเป็นชาวสหรัฐฯ มีอาการป่วยเป็นไข้ ซึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมาในนิวยอร์ก มีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่เพิ่มขึ้นจำนวนมาก ซึ่งขณะนี้ สธ. ได้เฝ้าระวังผู้สัมผัสใกล้ชิดของผู้ป่วยรายนี้ 5 คน และได้ให้ยาต้านไวรัสทุกคนแล้ว โดยในจำนวนนี้ เป็นเพื่อน 1 ราย เริ่มมีอาการหวัด มีน้ำมูกแล้ว แต่ผลตรวจวิเคราะห์ยังไม่ออก ส่วนเพื่อนคนไทยที่ไปเที่ยวสหรัฐฯ ด้วยกัน ไม่ได้กลับมาเมืองไทยพร้อมๆ กัน.