มะเร็งตับ เป็นโรคที่เป็นปัญหาสำคัญของสาธารณสุขของประเทศไทย โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยประชากรประมาณ 6 ล้านคนทั่วประเทศ พบการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ จึงส่งผลให้คนไทยเป็นมะเร็งตับชนิดเซลล์ท่อน้ำดีมากที่สุดในโลก
ในคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบการเกิดโรคในผู้ชายอัตราเฉลี่ย 80 คน และผู้หญิงอัตราเฉลี่ย 40 คนต่อประชากร 100,000 คน เมื่อเทียบกับในชาวตะวันตกพบการเกิดโรคอัตรา 1 คน ต่อประชากร 100,000 คน สาเหตุสำคัญเกิดจากการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมและความเชื่อในการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง
นพ.ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ ประธานมูลนิธิสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ให้ข้อมูลว่า มะเร็งตับ เป็นโรคมะเร็งที่ร้ายแรงมาก ลักษณะสำคัญ คือ มีทั้งมะเร็งตับชนิดเซลล์ตับ ซึ่งพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ ซึ่งเกิดจากไวรัสตับอักเสบบี ซี และสารอัลฟาท็อกซินในเชื้อราบางชนิดที่ขึ้นบนถั่วลิสง ข้าวโพด พริกแห้ง หัวหอม กระเทียม เป็นต้น
ส่วนมะเร็งตับชนิดเซลล์ท่อน้ำดีนั้น คือ มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ที่บุภายในท่อน้ำดีส่วนที่อยู่ภายในตับ เกิดจากพยาธิใบไม้ตับ ซึ่งเป็นพยาธิที่มีอยู่ในปลาน้ำจืดตามหนองบึง เช่น ปลาแม่สะแด้ง ปลาตะเพียนทราย ปลาสร้อยนกเขา ปลาสูตร ปลากะมัง ฯลฯ ซึ่งพบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสารไนโตรซามีน (Nitrosamine) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่พบในอาหารพวก โปรตีนหมัก เช่น ปลาร้า ปลาส้ม หมูส้ม แหนม ฯลฯ และอาหารพวกเนื้อสัตว์ที่ผสมดินประสิว เช่น กุนเชียง ไส้กรอก เนื้อเค็ม ปลาเค็ม ฯลฯ
“ถึงแม้ว่ากระทรวงสาธารณสุข ได้ทำการรณรงค์อย่างต่อเนื่องมานานกว่า 30 ปีแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถที่จะลดอัตราการป่วยและตายด้วยโรคนี้ได้อย่างที่ต้องการ โดยเฉพาะมะเร็งตับชนิดเซลล์ท่อน้ำดี ซึ่งเป็นมะเร็งที่สามารถป้องกันได้ด้วยการเปลี่ยนทัศนคติและปรับความเชื่อที่ผิดๆ เกี่ยวกับการปรุงอาหาร และลด เลิก พฤติกรรมการรับประทานของดิบ หรือสุก ๆ ดิบๆ โดยเฉพาะการรับประทานปลาน้ำจืดมีเกล็ด เนื่องจากเป็นปลาที่มีพยาธิใบไม้ตับ ซึ่งเป็นพยาธิชนิดเดียวที่องค์การอนามัยโลกให้ความสำคัญและจัดให้เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งชนิดนี้ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชน เพื่อไม่ให้ตกอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรค” นพ.ธีรวุฒิ ให้ภาพ
ด้วยเหตุดังกล่าวทางมูลนิธิฯจึงได้ร่วมมือกับบริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด จัดโครงการ “เรียนรู้เท่าทัน ป้องกันมะเร็งตับ” เพื่อช่วยกันผลักดันให้ชาวอีสานเกิดการตระหนัก ถึงภัยร้ายของโรค และนำความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งปรับความเชื่อผิดๆ ที่ปฏิบัติกันมาช้านาน และตระหนักถึงโรคมะเร็งตับชนิดเซลล์ท่อน้ำดีที่เกิดจากพยาธิใบไม้ตับ ซึ่งถือเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้กิจกรรมการรณรงค์ครั้งที่ผ่านๆ มา เพื่อพ้นภัยจากมะเร็งตับ
ด้าน มร.อูเว่ ดาลิโชว์ ผู้จัดการทั่วไป แผนกไบเออร์ เชริง ฟาร์มา กล่าวว่า “กิจกรรมสำคัญของโครงการนี้ จะเน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งตับ รวมทั้งรณรงค์ให้ประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเลิกพฤติกรรมการรับประทานปลาน้ำจืดมีเกล็ดแบบสุกๆ ดิบๆ”
ทั้งนี้ ภายใต้แผนการดำเนินงานนั้น จะเริ่มดำเนินการรณรงค์ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ซึ่งมีอัตราผู้ป่วยมะเร็งตับมากที่สุด โดยมีกิจกรรมนำร่องซึ่งใช้ชื่อว่า “กินสุกแซบหลาย ต้านภัยมะเร็งตับ” ซึ่งประกอบด้วยการจัดฝึกอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อให้อาสาสมัครได้นำความรู้เรื่องการป้องกันโรคมะเร็งตับโดยมุ่งเน้นที่ชนิดเซลล์ท่อน้ำดีไปเผยแพร่และปลูกฝังพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องให้แก่สมาชิกคนอื่นในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่อไปโดยใช้คู่มือฝึกอบรมที่ทางโครงการจัดทำขึ้น
นอกจากนั้น ยังได้มีการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อการรณรงค์ ได้แก่ สื่อโทรทัศน์ วิทยุ โปสเตอร์ และใบปลิว นอกจากนี้ ยังได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากวงดนตรีเสียงอีสานได้แต่งเนื้อร้องและทำเพลงรณรงค์เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์ให้กิจกรรมรณรงค์ครั้งนี้เข้าถึงชาวอีสานอีกด้วย ซึ่งจะเป็นกระบอกเสียงสำคัญอีกด้านหนึ่งที่จะการรณรงค์ครั้งนี้ไปถึงกลุ่มเป้าหมายได้
ในคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบการเกิดโรคในผู้ชายอัตราเฉลี่ย 80 คน และผู้หญิงอัตราเฉลี่ย 40 คนต่อประชากร 100,000 คน เมื่อเทียบกับในชาวตะวันตกพบการเกิดโรคอัตรา 1 คน ต่อประชากร 100,000 คน สาเหตุสำคัญเกิดจากการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมและความเชื่อในการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง
นพ.ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ ประธานมูลนิธิสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ให้ข้อมูลว่า มะเร็งตับ เป็นโรคมะเร็งที่ร้ายแรงมาก ลักษณะสำคัญ คือ มีทั้งมะเร็งตับชนิดเซลล์ตับ ซึ่งพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ ซึ่งเกิดจากไวรัสตับอักเสบบี ซี และสารอัลฟาท็อกซินในเชื้อราบางชนิดที่ขึ้นบนถั่วลิสง ข้าวโพด พริกแห้ง หัวหอม กระเทียม เป็นต้น
ส่วนมะเร็งตับชนิดเซลล์ท่อน้ำดีนั้น คือ มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ที่บุภายในท่อน้ำดีส่วนที่อยู่ภายในตับ เกิดจากพยาธิใบไม้ตับ ซึ่งเป็นพยาธิที่มีอยู่ในปลาน้ำจืดตามหนองบึง เช่น ปลาแม่สะแด้ง ปลาตะเพียนทราย ปลาสร้อยนกเขา ปลาสูตร ปลากะมัง ฯลฯ ซึ่งพบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสารไนโตรซามีน (Nitrosamine) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่พบในอาหารพวก โปรตีนหมัก เช่น ปลาร้า ปลาส้ม หมูส้ม แหนม ฯลฯ และอาหารพวกเนื้อสัตว์ที่ผสมดินประสิว เช่น กุนเชียง ไส้กรอก เนื้อเค็ม ปลาเค็ม ฯลฯ
“ถึงแม้ว่ากระทรวงสาธารณสุข ได้ทำการรณรงค์อย่างต่อเนื่องมานานกว่า 30 ปีแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถที่จะลดอัตราการป่วยและตายด้วยโรคนี้ได้อย่างที่ต้องการ โดยเฉพาะมะเร็งตับชนิดเซลล์ท่อน้ำดี ซึ่งเป็นมะเร็งที่สามารถป้องกันได้ด้วยการเปลี่ยนทัศนคติและปรับความเชื่อที่ผิดๆ เกี่ยวกับการปรุงอาหาร และลด เลิก พฤติกรรมการรับประทานของดิบ หรือสุก ๆ ดิบๆ โดยเฉพาะการรับประทานปลาน้ำจืดมีเกล็ด เนื่องจากเป็นปลาที่มีพยาธิใบไม้ตับ ซึ่งเป็นพยาธิชนิดเดียวที่องค์การอนามัยโลกให้ความสำคัญและจัดให้เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งชนิดนี้ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชน เพื่อไม่ให้ตกอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรค” นพ.ธีรวุฒิ ให้ภาพ
ด้วยเหตุดังกล่าวทางมูลนิธิฯจึงได้ร่วมมือกับบริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด จัดโครงการ “เรียนรู้เท่าทัน ป้องกันมะเร็งตับ” เพื่อช่วยกันผลักดันให้ชาวอีสานเกิดการตระหนัก ถึงภัยร้ายของโรค และนำความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งปรับความเชื่อผิดๆ ที่ปฏิบัติกันมาช้านาน และตระหนักถึงโรคมะเร็งตับชนิดเซลล์ท่อน้ำดีที่เกิดจากพยาธิใบไม้ตับ ซึ่งถือเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้กิจกรรมการรณรงค์ครั้งที่ผ่านๆ มา เพื่อพ้นภัยจากมะเร็งตับ
ด้าน มร.อูเว่ ดาลิโชว์ ผู้จัดการทั่วไป แผนกไบเออร์ เชริง ฟาร์มา กล่าวว่า “กิจกรรมสำคัญของโครงการนี้ จะเน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งตับ รวมทั้งรณรงค์ให้ประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเลิกพฤติกรรมการรับประทานปลาน้ำจืดมีเกล็ดแบบสุกๆ ดิบๆ”
ทั้งนี้ ภายใต้แผนการดำเนินงานนั้น จะเริ่มดำเนินการรณรงค์ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ซึ่งมีอัตราผู้ป่วยมะเร็งตับมากที่สุด โดยมีกิจกรรมนำร่องซึ่งใช้ชื่อว่า “กินสุกแซบหลาย ต้านภัยมะเร็งตับ” ซึ่งประกอบด้วยการจัดฝึกอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อให้อาสาสมัครได้นำความรู้เรื่องการป้องกันโรคมะเร็งตับโดยมุ่งเน้นที่ชนิดเซลล์ท่อน้ำดีไปเผยแพร่และปลูกฝังพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องให้แก่สมาชิกคนอื่นในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่อไปโดยใช้คู่มือฝึกอบรมที่ทางโครงการจัดทำขึ้น
นอกจากนั้น ยังได้มีการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อการรณรงค์ ได้แก่ สื่อโทรทัศน์ วิทยุ โปสเตอร์ และใบปลิว นอกจากนี้ ยังได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากวงดนตรีเสียงอีสานได้แต่งเนื้อร้องและทำเพลงรณรงค์เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์ให้กิจกรรมรณรงค์ครั้งนี้เข้าถึงชาวอีสานอีกด้วย ซึ่งจะเป็นกระบอกเสียงสำคัญอีกด้านหนึ่งที่จะการรณรงค์ครั้งนี้ไปถึงกลุ่มเป้าหมายได้