“จุรินทร์” ฟุ้งเรียนฟรี 15 ปี เตรียมเดินหน้าพัฒนาคุณภาพ แย้มห่วงเรียกเงินแลกเก้าอี้เรียน หากพบขู่มีโทษอาญา วินัย เผยการเลื่อน พ.ร.ก.เงินกู้ กระทบแผนพัฒนาการศึกษา แนะให้โรงเรียนระดมทุนจากภาคส่วนต่างๆ ช่วยหนุนการศึกษา
วันนี้(19 พ.ค.)นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ตรวจเยี่ยมติดตามผลการดำเนินโครงการเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ที่โรงเรียนประชาอุปถัมภ์ จังหวัดนนทบุรี กล่าวภายหลังการตรวจเยี่ยมว่า ภาพรวมส่วนใหญ่เรียบร้อยดี พบเพียงปัญหาบางประเด็น เช่น บางโรงเรียนผู้ปกครองยังมารับเงินไม่ครบ เนื่องจากเดินทางไปต่างจังหวัดและยังไม่พร้อมที่จะมารับ บางคนเตรียมจะย้ายโรงเรียน ทำให้ตัวเลขไม่นิ่ง อีกประเด็นคือเรื่องหนังสือเรียนที่ยังมีบางส่วนที่บางวิชา บางเล่ม ผู้ที่ทำสัญญากับโรงเรียนยังไม่ได้จัดส่งให้หรือว่าจัดส่งให้ไม่ทัน แต่มีอยู่ในสัดส่วนที่น้อยมาก เท่าที่ได้รับรายงานล่าสุดมีประมาณ 3 โรงเรียนที่ยังมีปัญหา คิดว่ายังไม่ได้ซื้อหนังสือแต่เมื่อไปติดตามจริงๆ พบว่าได้มีการดำเนินการไปเสร็จเรียบร้อยแล้ว ภาพรวมคิดว่าไปได้ดีเป็นที่น่าพอใจสำหรับการทำหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายรวมทั้งสถานศึกษาทั้งหมด จะมีปัญหาบ้างเล็กน้อยก็เป็นรายละเอียดในทางปฏิบัติเท่านั้น
นายจุรินทร์กล่าวว่า สิ่งที่ต้องเดินหน้าต่อไป คือ การเดินหน้าในเรื่องคุณภาพการศึกษา คิดว่าเป็นหัวใจสำคัญถัดไป เพราะเปิดภาคเรียนแล้ว ดังนั้น ทุกสถานศึกษาต้องเดินหน้าในเรื่องของการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ในส่วนของ ศธ.จะเดินหน้าปฎิรูปการศึกษารอบ 2 ซึ่งจะต้องทำควบคู่กันไป แน่นอนว่าการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 ต้องมุ่งเน้นเรื่องคุณภาพเป็นหลัก ในวันพรุ่งนี้(20 พ.ค.) ตนขอให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) และนายยงยุทธ ยุทธวงศ์ ประธานคณะอนุกรรมการสภาการศึกษาฯ ปฏิรูปการศึกษา มารายงานความคืบหน้าถึงการดำเนินการ เพื่อเตรียมนำเข้าที่ประชุมของสภาการศึกษาเพื่อหาข้อสรุปในเรื่องของทิศทางการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 ต่อไป ซึ่งได้มีการนัดประชุมวันที่ 4 มิถุนายนนี้
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวอีกว่า ต้องยอมรับความจริงว่างบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ภาพรวมยังไม่มีผลกระทบ แต่อนาคตจำเป็นจะต้องแสวงหางบประมาณเพิ่มเติม เพื่อนำมาพัฒนาด้านภายภาพของสถานศึกษา เช่น อาคารเรียน อุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งการซ่อมแซมอาคารเรียนเก่าๆ กระจายทั่วประเทศจำนวนมาก ทั้งนี้ ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากเพราะหลายปีที่ผ่านมา ศธ.ถูกตัดลดงบประมาณในเรื่องของการปรับปรุงสถานศึกษาจำนวนมาก ซึ่งอาจต้องหาลู่ทางกันว่าจะแสวงหางบประมาณเพิ่มเติม เช่น อาจจะใช้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจในพระราชบัญญัติ และพระราชกำหนดที่จะเข้าสภาฯ รวมทั้งอาจจะต้องเปิดโอกาสให้สถานศึกษาแสวงหาความร่วมมือเพิ่มเติมจากภาคส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรอื่นๆ เพื่อเข้ามาช่วยส่งเสริมให้ทุกอย่างครบถ้วนขึ้นทั้งด้านคุณภาพและกายภาพ
“ฝ่ายค้านยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ.2552 วงเงิน 400,000 ล้านบาท ว่า จะส่งผลกระทบให้การดำเนินโครงการต่างๆ ที่วางแผนว่าจะใช้งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจต้องล่าช้าออกไปจนกว่าการตีความจะแล้วเสร็จ และผมตอบไม่ได้ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะตีความอย่างไร แต่มั่นใจว่าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ดำเนินการร่าง พ.ร.ก.ดังกล่าวโดยชอบตามรัฐธรรมนูญแน่นอน ส่วนผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันและทำให้งบประมาณลดลงนั้น จะไม่กระทบต่อการบริหารงานภาพรวมแน่นอน แต่ยังคงจำเป็นต้องหาทางจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมสำหรับการปรับปรุงด้านกายภาพของโรงเรียน ซึ่งที่ผ่านมาผู้บริหารโรงเรียนพยายามของบประมาณผ่าน ส.ส. และช่องทางต่างๆ มาโดยตลอด แต่หลายปีที่ผ่านมาถูกตัดงบจนเหลือน้อยมาก ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจจะใช้งบจากเงินกู้ตามแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ มาพัฒนาการศึกษาที่ขณะนี้ถูกชะลอออกไปเพื่อรอการตีความ”
เมื่อถามถึงกรณีการร้องเรียนผ่านสายด่วน 1579 รมว.ศธ.กล่าวว่า ส่วนใหญ่จะเป็นข้อสอบถามในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการที่โรงเรียนจะเก็บเงินกับผู้ปกครอง ว่าสามารถทำได้ในกรณีไหน อย่างไร จึงขอเรียนให้ทราบว่าสามารถทำได้ในกรณีที่ไม่ซ้ำซ้อนกับโครงการเรียนฟรีที่รัฐบาลจัดให้โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายอยู่แล้ว และต้องผ่านความเห็นของภาคี 4 ฝ่าย แต่ต้องอยู่ในกรอบระเบียบที่ ศธ.ได้กำหนดไว้ โดยไม่รอนสิทธิ์เด็กคนอื่นแม้ไม่มีเงินจ่ายก็ต้องมีสิทธิ์เรียน เช่น การจ้างครูมาสอนวิชาต่างประเทศ ภาษาอังกฤษ จีน อย่างไรก็ตาม 1 ภาคเรียนต้องเก็บไม่เกิน 1,000 บาท
นายจุรินทร์กล่าวว่า ตนเป็นห่วงเกรงว่าจะมีการเรียกรับเงินแลกกับการได้สิทธิ์เข้าเรียน ซึ่งจะเป็นประเด็นที่เป็นปัญหา ขอเรียนว่าทำไม่ได้ ถ้าพบว่าโรงเรียนมีการกระทำอย่างนั้นถือว่าเป็นความผิดทั้งวินัย และอาญา เว้นแต่ว่านักเรียนได้เข้าเรียนแล้ว แต่ในอนาคตโรงเรียนมีความจำเป็นจะต้องระดมความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน หรือผู้ปกครอง ก็สามารถทำได้ ขึ้นอยู่กับความพร้อมใจของแต่หน่วยงานแต่ละฝ่าย แต่จะบังคับว่าถ้าจะเข้าเรียนต้องจ่ายเงินเท่านั้นเพื่อแลกกับโอกาสเข้าเรียนไม่ได้ หากพบข้อมูลจะดำเนินการทันที
เดินทางเคารพศพครูใต้ รับห่วงสวัสดิภาพครู
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยคุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เดินทางลงพื้นที่ อ.บันนังสตา จ. ยะลา ทันที ภายหลังจากทราบข่าว นายนัฐพล จะแน อายุ 39 ปี ครูผู้สอนโรงเรียนนิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ 6 ต.ตลิ่งชัน อ.บันนังสตา จ.ยะลา ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อเช้าวันนี้ (19 พ.ค.) ขณะเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์เพื่อไปปฏิบัติงานที่โรงเรียน
“รมว.ศธ. และ เลขา สพฐ. จะเดินทางไปเคารพศพ นายนัฐพล พร้อมมอบเงินเยียวยาแก่ครอบครัว รวมทั้งปลอบขวัญและให้กำลังใจครอบครัวและครูที่สอนในจังหวัดชายแดนใต้”
นายจุรินทร์กล่าวว่า ครูใต้เป็นเรื่องที่เป็นห่วงในเรื่องของสวัสดิภาพครูถือเป็นความสำคัญลำดับต้นของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ผ่านมาจึงได้มีการประสานงานกับ ศอบต.และหน่วยงานทางด้านความมั่นคงในพื้นที่ ขอให้ดูแลเรื่องสวัสดิภาพของครูที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือด้วยดีแต่ยังมีปัญหาเกิดขึ้นอยู่บ้างซึ่งเป็นเรื่องที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องปรับปรุงเพิ่มเติม และวันที่ 27 พ.ค.นี้ ได้มอบให้เลขาฯ กพฐ.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเดินทางลงไปที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อไปช่วยประสานงานกับหน่วยงานด้านความมั่นคงในการที่จะเข้ามาช่วยดูแลในเรื่องของสวัสดิภาพของครูเป็นกรณีพิเศษด้วย
วันนี้(19 พ.ค.)นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ตรวจเยี่ยมติดตามผลการดำเนินโครงการเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ที่โรงเรียนประชาอุปถัมภ์ จังหวัดนนทบุรี กล่าวภายหลังการตรวจเยี่ยมว่า ภาพรวมส่วนใหญ่เรียบร้อยดี พบเพียงปัญหาบางประเด็น เช่น บางโรงเรียนผู้ปกครองยังมารับเงินไม่ครบ เนื่องจากเดินทางไปต่างจังหวัดและยังไม่พร้อมที่จะมารับ บางคนเตรียมจะย้ายโรงเรียน ทำให้ตัวเลขไม่นิ่ง อีกประเด็นคือเรื่องหนังสือเรียนที่ยังมีบางส่วนที่บางวิชา บางเล่ม ผู้ที่ทำสัญญากับโรงเรียนยังไม่ได้จัดส่งให้หรือว่าจัดส่งให้ไม่ทัน แต่มีอยู่ในสัดส่วนที่น้อยมาก เท่าที่ได้รับรายงานล่าสุดมีประมาณ 3 โรงเรียนที่ยังมีปัญหา คิดว่ายังไม่ได้ซื้อหนังสือแต่เมื่อไปติดตามจริงๆ พบว่าได้มีการดำเนินการไปเสร็จเรียบร้อยแล้ว ภาพรวมคิดว่าไปได้ดีเป็นที่น่าพอใจสำหรับการทำหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายรวมทั้งสถานศึกษาทั้งหมด จะมีปัญหาบ้างเล็กน้อยก็เป็นรายละเอียดในทางปฏิบัติเท่านั้น
นายจุรินทร์กล่าวว่า สิ่งที่ต้องเดินหน้าต่อไป คือ การเดินหน้าในเรื่องคุณภาพการศึกษา คิดว่าเป็นหัวใจสำคัญถัดไป เพราะเปิดภาคเรียนแล้ว ดังนั้น ทุกสถานศึกษาต้องเดินหน้าในเรื่องของการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ในส่วนของ ศธ.จะเดินหน้าปฎิรูปการศึกษารอบ 2 ซึ่งจะต้องทำควบคู่กันไป แน่นอนว่าการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 ต้องมุ่งเน้นเรื่องคุณภาพเป็นหลัก ในวันพรุ่งนี้(20 พ.ค.) ตนขอให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) และนายยงยุทธ ยุทธวงศ์ ประธานคณะอนุกรรมการสภาการศึกษาฯ ปฏิรูปการศึกษา มารายงานความคืบหน้าถึงการดำเนินการ เพื่อเตรียมนำเข้าที่ประชุมของสภาการศึกษาเพื่อหาข้อสรุปในเรื่องของทิศทางการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 ต่อไป ซึ่งได้มีการนัดประชุมวันที่ 4 มิถุนายนนี้
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวอีกว่า ต้องยอมรับความจริงว่างบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ภาพรวมยังไม่มีผลกระทบ แต่อนาคตจำเป็นจะต้องแสวงหางบประมาณเพิ่มเติม เพื่อนำมาพัฒนาด้านภายภาพของสถานศึกษา เช่น อาคารเรียน อุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งการซ่อมแซมอาคารเรียนเก่าๆ กระจายทั่วประเทศจำนวนมาก ทั้งนี้ ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากเพราะหลายปีที่ผ่านมา ศธ.ถูกตัดลดงบประมาณในเรื่องของการปรับปรุงสถานศึกษาจำนวนมาก ซึ่งอาจต้องหาลู่ทางกันว่าจะแสวงหางบประมาณเพิ่มเติม เช่น อาจจะใช้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจในพระราชบัญญัติ และพระราชกำหนดที่จะเข้าสภาฯ รวมทั้งอาจจะต้องเปิดโอกาสให้สถานศึกษาแสวงหาความร่วมมือเพิ่มเติมจากภาคส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรอื่นๆ เพื่อเข้ามาช่วยส่งเสริมให้ทุกอย่างครบถ้วนขึ้นทั้งด้านคุณภาพและกายภาพ
“ฝ่ายค้านยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ.2552 วงเงิน 400,000 ล้านบาท ว่า จะส่งผลกระทบให้การดำเนินโครงการต่างๆ ที่วางแผนว่าจะใช้งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจต้องล่าช้าออกไปจนกว่าการตีความจะแล้วเสร็จ และผมตอบไม่ได้ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะตีความอย่างไร แต่มั่นใจว่าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ดำเนินการร่าง พ.ร.ก.ดังกล่าวโดยชอบตามรัฐธรรมนูญแน่นอน ส่วนผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันและทำให้งบประมาณลดลงนั้น จะไม่กระทบต่อการบริหารงานภาพรวมแน่นอน แต่ยังคงจำเป็นต้องหาทางจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมสำหรับการปรับปรุงด้านกายภาพของโรงเรียน ซึ่งที่ผ่านมาผู้บริหารโรงเรียนพยายามของบประมาณผ่าน ส.ส. และช่องทางต่างๆ มาโดยตลอด แต่หลายปีที่ผ่านมาถูกตัดงบจนเหลือน้อยมาก ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจจะใช้งบจากเงินกู้ตามแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ มาพัฒนาการศึกษาที่ขณะนี้ถูกชะลอออกไปเพื่อรอการตีความ”
เมื่อถามถึงกรณีการร้องเรียนผ่านสายด่วน 1579 รมว.ศธ.กล่าวว่า ส่วนใหญ่จะเป็นข้อสอบถามในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการที่โรงเรียนจะเก็บเงินกับผู้ปกครอง ว่าสามารถทำได้ในกรณีไหน อย่างไร จึงขอเรียนให้ทราบว่าสามารถทำได้ในกรณีที่ไม่ซ้ำซ้อนกับโครงการเรียนฟรีที่รัฐบาลจัดให้โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายอยู่แล้ว และต้องผ่านความเห็นของภาคี 4 ฝ่าย แต่ต้องอยู่ในกรอบระเบียบที่ ศธ.ได้กำหนดไว้ โดยไม่รอนสิทธิ์เด็กคนอื่นแม้ไม่มีเงินจ่ายก็ต้องมีสิทธิ์เรียน เช่น การจ้างครูมาสอนวิชาต่างประเทศ ภาษาอังกฤษ จีน อย่างไรก็ตาม 1 ภาคเรียนต้องเก็บไม่เกิน 1,000 บาท
นายจุรินทร์กล่าวว่า ตนเป็นห่วงเกรงว่าจะมีการเรียกรับเงินแลกกับการได้สิทธิ์เข้าเรียน ซึ่งจะเป็นประเด็นที่เป็นปัญหา ขอเรียนว่าทำไม่ได้ ถ้าพบว่าโรงเรียนมีการกระทำอย่างนั้นถือว่าเป็นความผิดทั้งวินัย และอาญา เว้นแต่ว่านักเรียนได้เข้าเรียนแล้ว แต่ในอนาคตโรงเรียนมีความจำเป็นจะต้องระดมความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน หรือผู้ปกครอง ก็สามารถทำได้ ขึ้นอยู่กับความพร้อมใจของแต่หน่วยงานแต่ละฝ่าย แต่จะบังคับว่าถ้าจะเข้าเรียนต้องจ่ายเงินเท่านั้นเพื่อแลกกับโอกาสเข้าเรียนไม่ได้ หากพบข้อมูลจะดำเนินการทันที
เดินทางเคารพศพครูใต้ รับห่วงสวัสดิภาพครู
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยคุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เดินทางลงพื้นที่ อ.บันนังสตา จ. ยะลา ทันที ภายหลังจากทราบข่าว นายนัฐพล จะแน อายุ 39 ปี ครูผู้สอนโรงเรียนนิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ 6 ต.ตลิ่งชัน อ.บันนังสตา จ.ยะลา ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อเช้าวันนี้ (19 พ.ค.) ขณะเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์เพื่อไปปฏิบัติงานที่โรงเรียน
“รมว.ศธ. และ เลขา สพฐ. จะเดินทางไปเคารพศพ นายนัฐพล พร้อมมอบเงินเยียวยาแก่ครอบครัว รวมทั้งปลอบขวัญและให้กำลังใจครอบครัวและครูที่สอนในจังหวัดชายแดนใต้”
นายจุรินทร์กล่าวว่า ครูใต้เป็นเรื่องที่เป็นห่วงในเรื่องของสวัสดิภาพครูถือเป็นความสำคัญลำดับต้นของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ผ่านมาจึงได้มีการประสานงานกับ ศอบต.และหน่วยงานทางด้านความมั่นคงในพื้นที่ ขอให้ดูแลเรื่องสวัสดิภาพของครูที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือด้วยดีแต่ยังมีปัญหาเกิดขึ้นอยู่บ้างซึ่งเป็นเรื่องที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องปรับปรุงเพิ่มเติม และวันที่ 27 พ.ค.นี้ ได้มอบให้เลขาฯ กพฐ.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเดินทางลงไปที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อไปช่วยประสานงานกับหน่วยงานด้านความมั่นคงในการที่จะเข้ามาช่วยดูแลในเรื่องของสวัสดิภาพของครูเป็นกรณีพิเศษด้วย