“ครูหยุย” แฉ วัดหลายแห่งแถบภาคกลางแห่รับเด็กดอยมาเลี้ยง แต่ดูแลต่ำกว่ามาตรฐาน สภาพความเป็นอยู่สุดแย่ นอนแออัด บางรายถูกละเมิดทางเพศโดยที่เด็กไม่รู้ตัว เผยเข้าใจวัดอยากช่วยเหลือเด็ก แต่อาจขาดทักษะ บางวัดรับเด็กเยอะเพราะหวังค่าหัวจากภาครัฐ วอน พม.เป็นเจ้าภาพเข้าตรวจสอบ “พญ.พรรณพิมล” ฝากที่ไหนอยากเปิดสถานรับเลี้ยงเด็กควรอบรม จนท.ด้านการดูแลจิตใจเด็กก่อน เกรงนำไปสู่ความรุนแรง “ปลัดฯวัลลภ” รับประสาน พมจ.เข้าดูแลเพื่อเด็กได้รับสวัสดิภาพที่เป็นมาตรฐาน
วันนี้ (13 พ.ค.) เมื่อเวลา 09.30 น.ที่โรงแรมปรินซ์ พาเลซ มีการประชุมคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ โดยมี นายวัลลภ พลอยทับทิม ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นประธานการประชุม โดยที่ประชุมมีการพิจารณาปัญหาสถานรับเลี้ยงเด็กทั้งของภาครัฐและเอกชนที่ไม่ได้มาตรฐาน โดย นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ หรือ ครูหยุย ประธานคณะอนุกรรมการประสานติดตามเด็กทุกจังหวัดและกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ กล่าวว่า เท่าที่ตนลงพื้นที่พบปัญหาใหญ่เกี่ยวกับเด็กที่อยากให้เข้าไปดูแลโดยเร่งด่วน คือ ในสถานรับเลี้ยงเด็กที่เป็นวัด บางแห่งนำเด็กชาวเขาซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กเล็กระดับประถมศึกษาเข้ามาดูแล หรือวัดที่นิยมเลียนแบบวัดสระแก้ว จ.อ่างทอง ซึ่งพบมากในแถบภาคกลางทั้ง จ.อ่างทอง สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อยุธยา บางแห่งรับเด็กมาดูแลเด็ก 200-300 คน ทำให้เด็กได้รับการดูแลต่ำกว่ามาตรฐาน ทั้งด้านปัจจัยสี่ และปัจจัยเสริมในเรื่องการศึกษาที่ต่ำกว่ามาตรฐาน เช่น เด็กชายหญิงนอนรวมกันอย่างแออัด โรงนอนใกล้พัง พระหรือคนดูแลเด็กละเมิดเด็กซึ่งมีการร้องเรียนอยู่เป็นระยะ เรื่องการลูบคลำอนาจาร ซึ่งเด็กอาจไม่รู้ตัวว่ากำลังถูกกระทำ หรือเด็กตกอยู่ในภาวะเสี่ยงมาตลอด และการนำเด็กมาเดินแถวหาของกิน เป็นต้น
นายวัลลภ กล่าวอีกว่า ตนไม่แน่ใจว่า หน่วยงาน หรือต้นสังกัดใดที่จะเป็นผู้ดูแลปัญหา เพราะเมื่อสอบถามทั้ง สำนักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) กรมการศาสนา และกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ต่างบอกไม่แน่ใจ ซึ่งเข้าใจว่าพระวัดบางแห่งมีใจที่จะช่วยเหลือ แต่อาจขาดทักษะ บางแห่งก็อาจทำไม่ดีแต่รับเด็กมาอยู่เยอะ เพราะมีเรื่องค่าหัวที่จะได้รับจากภาครัฐ แต่มีบางแห่งที่ทำดีมากจนน่าจะยกย่องเป็นแบบอย่างก็มี ดังนั้น กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ควรเป็นเจ้าภาพในการไปสำรวจ ตรวจสอบพื้นที่เสี่ยงที่เป็นวัด หรือสถานที่เอกชน โดยเฉพาะภาคกลางจะเป็นวัด ส่วนภาคเหนือส่วนใหญ่จะเป็นของคริสต์ ที่แฝงมาสอนศาสนาให้เด็ก แล้วเลี่ยงจดทะเบียนแล้วปฏิบัติไม่เหมาะสมกับเด็กรูปแบบต่างๆ จากนั้นคณะกรรมการคุ้มครองเด็กฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเข้าไปช่วยดูแลพัฒนาให้เป็นระบบ
นายวัลลภ ยังกล่าวถึงข้อมูลจากตัวแทนสภาเด็กและเยาวชนที่มีการหยิบยกประเด็นปัญหาความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างครูกับศิษย์ ที่มีความสัมพันธ์ลักษณะครูชายกับเด็กชายและครูหญิงกับเด็กหญิงเพื่อแลกเกรดว่า น่าจะเป็นปัญหาในระดับเด็กมัธยมและอุดมศึกษา เป็นเรื่องของคนที่ศีลธรรมต่ำ การกล่อมเกลาเรื่องศีลธรรมจรรยาบรรณมีน้อย และเป็นเรื่องเหล่านี้มีในทุกวงการ และยิ่งโลกมีการสื่อสารที่เร็วและง่ายขึ้น การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกันจะมีการรับรู้ที่มากขึ้น แต่แนวโน้มจำนวนความสัมพันธ์ดังกล่าวจะมีมากขึ้นหรือไม่ คงตอบยาก อย่างไรก็ตามเป็นความเข้าใจผิดของสังคมที่คิดว่าสถานที่ที่น่าเชื่อถือไม่น่าจะเกิดปัญหา แต่ความจริงสถานที่ทั้งบ้าน วัด สถานศึกษา เป็นที่ที่เกิดปัญหาที่ไม่คาดคิดได้ง่ายแต่อาจจะมีไม่มาก
พญ.พรรณพิมล หล่อตระกูล กรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ กล่าวว่า วัดที่รับดูแลเด็กเป็นสถานรับเลี้ยงเด็กมีเพิ่มมากขึ้น แต่พบว่ามีหลายแห่งที่เข้ามาปรึกษากรมสุขภาพจิตว่าเด็กมีปัญหารุนแรง เช่น เด็กทำร้ายตัวเองถึงขั้นฆ่าตัวตาย เด็กอยู่ร่วมกันจำนวนมากแล้วทะเลาะวิวาทกันรุนแรงถึงขั้นเลือดตกยางออก ทั้งนี้ต้องเข้าใจว่าเด็กที่รับมาอุปการะส่วนใหญ่เป็นเด็กวัยเรียน มาจากความยากลำบาก เด็กเข้ามาอยู่วัดพร้อมปัญหาติดตัว ผ่านประสบการณ์บางอย่างก่อนเข้าวัด เมื่อมาอยู่กลุ่มใหญ่ จะแสดงออกในการปรับตัวทั้งแบบเก็บตัวเก็บกด ทำร้ายตัวเอง อีกกลุ่มจะระบายกับคนอื่นทำร้ายคนอื่น พระที่มาปรึกษากรมสุขภาพจิต ก็ต้องการช่วยเหลือเพราะเด็กอยู่วัดแบบกินนอน เห็นว่า ให้เด็กมาอยู่วัดดีกว่าไปเร่ร่อน
“วัดหรือสถานที่ที่ต้องการจะเปิดสถานรับเลี้ยงเด็ก จะต้องมีความสามารถอบรมพี่เลี้ยงในการดูแลสภาพจิตใจเด็กได้ มิเช่นนั้นเด็กจะเป็นผู้รับผลร้ายและไปกระทำกับคนอื่นต่อไป อย่างที่เคยมีมาปรึกษาพบเด็กทะเลาะกันรุนแรง แต่พระพี่เลี้ยงก็ลงโทษเด็กอย่างรุนแรงเช่นกันเมื่อเป็นเช่นนั้นก็จะยิ่งเกิดแต่ปัญหา” พญ.พรรณพิมล กล่าว
ด้าน นายวัลลภ พลอยทับทิม ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ กล่าวว่า ตนจะประสานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) เข้าไปสำรวจข้อมูลสถานรับเลี้ยงเด็กที่เป็นวัด โบสถ์ สุเหร่า ที่มีปัญหาแบบข้างต้น เพื่อให้ได้ข้อมูลในการเข้าไปช่วยดูแล พัฒนา ซึ่งเป้าหมายเพื่อให้เด็กได้รับการดูแลคุ้มครองสวัสดิภาพที่ได้มาตรฐาน
วันนี้ (13 พ.ค.) เมื่อเวลา 09.30 น.ที่โรงแรมปรินซ์ พาเลซ มีการประชุมคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ โดยมี นายวัลลภ พลอยทับทิม ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นประธานการประชุม โดยที่ประชุมมีการพิจารณาปัญหาสถานรับเลี้ยงเด็กทั้งของภาครัฐและเอกชนที่ไม่ได้มาตรฐาน โดย นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ หรือ ครูหยุย ประธานคณะอนุกรรมการประสานติดตามเด็กทุกจังหวัดและกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ กล่าวว่า เท่าที่ตนลงพื้นที่พบปัญหาใหญ่เกี่ยวกับเด็กที่อยากให้เข้าไปดูแลโดยเร่งด่วน คือ ในสถานรับเลี้ยงเด็กที่เป็นวัด บางแห่งนำเด็กชาวเขาซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กเล็กระดับประถมศึกษาเข้ามาดูแล หรือวัดที่นิยมเลียนแบบวัดสระแก้ว จ.อ่างทอง ซึ่งพบมากในแถบภาคกลางทั้ง จ.อ่างทอง สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อยุธยา บางแห่งรับเด็กมาดูแลเด็ก 200-300 คน ทำให้เด็กได้รับการดูแลต่ำกว่ามาตรฐาน ทั้งด้านปัจจัยสี่ และปัจจัยเสริมในเรื่องการศึกษาที่ต่ำกว่ามาตรฐาน เช่น เด็กชายหญิงนอนรวมกันอย่างแออัด โรงนอนใกล้พัง พระหรือคนดูแลเด็กละเมิดเด็กซึ่งมีการร้องเรียนอยู่เป็นระยะ เรื่องการลูบคลำอนาจาร ซึ่งเด็กอาจไม่รู้ตัวว่ากำลังถูกกระทำ หรือเด็กตกอยู่ในภาวะเสี่ยงมาตลอด และการนำเด็กมาเดินแถวหาของกิน เป็นต้น
นายวัลลภ กล่าวอีกว่า ตนไม่แน่ใจว่า หน่วยงาน หรือต้นสังกัดใดที่จะเป็นผู้ดูแลปัญหา เพราะเมื่อสอบถามทั้ง สำนักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) กรมการศาสนา และกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ต่างบอกไม่แน่ใจ ซึ่งเข้าใจว่าพระวัดบางแห่งมีใจที่จะช่วยเหลือ แต่อาจขาดทักษะ บางแห่งก็อาจทำไม่ดีแต่รับเด็กมาอยู่เยอะ เพราะมีเรื่องค่าหัวที่จะได้รับจากภาครัฐ แต่มีบางแห่งที่ทำดีมากจนน่าจะยกย่องเป็นแบบอย่างก็มี ดังนั้น กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ควรเป็นเจ้าภาพในการไปสำรวจ ตรวจสอบพื้นที่เสี่ยงที่เป็นวัด หรือสถานที่เอกชน โดยเฉพาะภาคกลางจะเป็นวัด ส่วนภาคเหนือส่วนใหญ่จะเป็นของคริสต์ ที่แฝงมาสอนศาสนาให้เด็ก แล้วเลี่ยงจดทะเบียนแล้วปฏิบัติไม่เหมาะสมกับเด็กรูปแบบต่างๆ จากนั้นคณะกรรมการคุ้มครองเด็กฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเข้าไปช่วยดูแลพัฒนาให้เป็นระบบ
นายวัลลภ ยังกล่าวถึงข้อมูลจากตัวแทนสภาเด็กและเยาวชนที่มีการหยิบยกประเด็นปัญหาความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างครูกับศิษย์ ที่มีความสัมพันธ์ลักษณะครูชายกับเด็กชายและครูหญิงกับเด็กหญิงเพื่อแลกเกรดว่า น่าจะเป็นปัญหาในระดับเด็กมัธยมและอุดมศึกษา เป็นเรื่องของคนที่ศีลธรรมต่ำ การกล่อมเกลาเรื่องศีลธรรมจรรยาบรรณมีน้อย และเป็นเรื่องเหล่านี้มีในทุกวงการ และยิ่งโลกมีการสื่อสารที่เร็วและง่ายขึ้น การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกันจะมีการรับรู้ที่มากขึ้น แต่แนวโน้มจำนวนความสัมพันธ์ดังกล่าวจะมีมากขึ้นหรือไม่ คงตอบยาก อย่างไรก็ตามเป็นความเข้าใจผิดของสังคมที่คิดว่าสถานที่ที่น่าเชื่อถือไม่น่าจะเกิดปัญหา แต่ความจริงสถานที่ทั้งบ้าน วัด สถานศึกษา เป็นที่ที่เกิดปัญหาที่ไม่คาดคิดได้ง่ายแต่อาจจะมีไม่มาก
พญ.พรรณพิมล หล่อตระกูล กรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ กล่าวว่า วัดที่รับดูแลเด็กเป็นสถานรับเลี้ยงเด็กมีเพิ่มมากขึ้น แต่พบว่ามีหลายแห่งที่เข้ามาปรึกษากรมสุขภาพจิตว่าเด็กมีปัญหารุนแรง เช่น เด็กทำร้ายตัวเองถึงขั้นฆ่าตัวตาย เด็กอยู่ร่วมกันจำนวนมากแล้วทะเลาะวิวาทกันรุนแรงถึงขั้นเลือดตกยางออก ทั้งนี้ต้องเข้าใจว่าเด็กที่รับมาอุปการะส่วนใหญ่เป็นเด็กวัยเรียน มาจากความยากลำบาก เด็กเข้ามาอยู่วัดพร้อมปัญหาติดตัว ผ่านประสบการณ์บางอย่างก่อนเข้าวัด เมื่อมาอยู่กลุ่มใหญ่ จะแสดงออกในการปรับตัวทั้งแบบเก็บตัวเก็บกด ทำร้ายตัวเอง อีกกลุ่มจะระบายกับคนอื่นทำร้ายคนอื่น พระที่มาปรึกษากรมสุขภาพจิต ก็ต้องการช่วยเหลือเพราะเด็กอยู่วัดแบบกินนอน เห็นว่า ให้เด็กมาอยู่วัดดีกว่าไปเร่ร่อน
“วัดหรือสถานที่ที่ต้องการจะเปิดสถานรับเลี้ยงเด็ก จะต้องมีความสามารถอบรมพี่เลี้ยงในการดูแลสภาพจิตใจเด็กได้ มิเช่นนั้นเด็กจะเป็นผู้รับผลร้ายและไปกระทำกับคนอื่นต่อไป อย่างที่เคยมีมาปรึกษาพบเด็กทะเลาะกันรุนแรง แต่พระพี่เลี้ยงก็ลงโทษเด็กอย่างรุนแรงเช่นกันเมื่อเป็นเช่นนั้นก็จะยิ่งเกิดแต่ปัญหา” พญ.พรรณพิมล กล่าว
ด้าน นายวัลลภ พลอยทับทิม ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ กล่าวว่า ตนจะประสานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) เข้าไปสำรวจข้อมูลสถานรับเลี้ยงเด็กที่เป็นวัด โบสถ์ สุเหร่า ที่มีปัญหาแบบข้างต้น เพื่อให้ได้ข้อมูลในการเข้าไปช่วยดูแล พัฒนา ซึ่งเป้าหมายเพื่อให้เด็กได้รับการดูแลคุ้มครองสวัสดิภาพที่ได้มาตรฐาน