ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและสตรี เผยขณะนี้ยังไม่มีหน่วยงานใดกำหนดมาตรฐานพี่เลี้ยงเด็กชัดเจน ทั้งวุฒิการศึกษา และการทดสอบอีคิว ระบุมีหลายหน่วยงานเกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดหาพี่เลี้ยงตามบ้าน ทำให้ยากต่อการดูแล แนะพ่อแม่ผู้ปกครองสังเกตการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์อย่างละเอียดด้วย
นางเสาวนีย์ โขมพัตร ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและสตรี กรมคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กและสตรี กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวถึงกรณีพี่เลี้ยงทำร้ายเด็กว่า อาจเกิดจากการขาดความเข้าใจในอารมณ์ของเด็กเล็กที่เปลี่ยนแปลงง่าย ตัวพี่เลี้ยงก็ขาดความละเอียดอ่อน ขาดวุฒิภาวะทางอารมณ์ นอกจากนี้ พี่เลี้ยงเด็กในปัจจุบันยังไม่มีข้อกำหนดจากหน่วยงานใดที่ชัดเจนว่าจะต้องมีมาตรฐานด้านวุฒิภาวะทางอารมณ์ (อีคิว) อย่างไร เป็นประเด็นที่หลายหน่วยงานต้องการให้มีการทดสอบอีคิว เพื่อผ่านเกณฑ์การควบคุมอารมณ์ในการดูแลเด็กได้
นางเสาวนีย์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีหลายหน่วยงานเข้ามาเกี่ยวข้องในกระบวนการจัดหาพี่เลี่ยงเด็กตามบ้าน เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นผู้ออกใบอนุญาตให้จัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็ก ส่วนโรงเรียนสอนการบริบาลทารกและผู้สูงวัย ต้องขอใบอนุญาตจากสำนักบริการงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งจะใช้วุฒิการศึกษาตั้งแต่ ม.3-ม.6 อายุตั้งแต่ 18 ปีขี้นไป ใช้เวลาอบรม 720 ชั่วโมง ไม่มีการทดสอบอีคิว ขณะที่ พม.ไม่มีสิทธิออกใบอนุญาตจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็ก หรือสอนการบริบาลทารกและผู้สูงวัย มีหน้าที่เพียงจัดอบรมเสริมหลักสูตรให้กับพี่เลี้ยงเด็กที่อยู่ระหว่างการทำงานแต่ต้องการอบรมเพิ่มเติมเพื่อให้มีความรู้ดีขึ้น แต่ละปี พม.ผลิตได้เพียง 200 คนเท่านั้น ไม่พอต่อความต้องการของสังคม จึงทำให้กระบวนการจัดหาพี่เลี้ยงเด็กต้องมาจากเอกชนมากกว่าภาครัฐ
ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและสตรี กล่าวเตือนผู้ปกครองว่า แม้พี่เลี้ยงจะมีประกาศนียบัตรรับรองจากสถานที่อบรมที่มีใบอนุญาตถูกต้อง แต่ประสบการณ์ จิตใจของพี่เลี้ยงยังถือว่าเป็นปุถุชนทั่วไป ทางที่ดีผู้ปกครอง พ่อแม่ หรือญาติ ควรเป็นคนเลี้ยงเด็กในอันดับต้น ๆ เพราะจะมีความรักเด็กเป็นทุนเดิม แต่หากมีความจำเป็นก็จะต้องหาพี่เลี้ยงที่มีประกาศนียบัตรรับรอง และให้สังเกตการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ของตัวพี่เลี้ยงอย่างละเอียดด้วย
นางเสาวนีย์ โขมพัตร ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและสตรี กรมคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กและสตรี กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวถึงกรณีพี่เลี้ยงทำร้ายเด็กว่า อาจเกิดจากการขาดความเข้าใจในอารมณ์ของเด็กเล็กที่เปลี่ยนแปลงง่าย ตัวพี่เลี้ยงก็ขาดความละเอียดอ่อน ขาดวุฒิภาวะทางอารมณ์ นอกจากนี้ พี่เลี้ยงเด็กในปัจจุบันยังไม่มีข้อกำหนดจากหน่วยงานใดที่ชัดเจนว่าจะต้องมีมาตรฐานด้านวุฒิภาวะทางอารมณ์ (อีคิว) อย่างไร เป็นประเด็นที่หลายหน่วยงานต้องการให้มีการทดสอบอีคิว เพื่อผ่านเกณฑ์การควบคุมอารมณ์ในการดูแลเด็กได้
นางเสาวนีย์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีหลายหน่วยงานเข้ามาเกี่ยวข้องในกระบวนการจัดหาพี่เลี่ยงเด็กตามบ้าน เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นผู้ออกใบอนุญาตให้จัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็ก ส่วนโรงเรียนสอนการบริบาลทารกและผู้สูงวัย ต้องขอใบอนุญาตจากสำนักบริการงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งจะใช้วุฒิการศึกษาตั้งแต่ ม.3-ม.6 อายุตั้งแต่ 18 ปีขี้นไป ใช้เวลาอบรม 720 ชั่วโมง ไม่มีการทดสอบอีคิว ขณะที่ พม.ไม่มีสิทธิออกใบอนุญาตจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็ก หรือสอนการบริบาลทารกและผู้สูงวัย มีหน้าที่เพียงจัดอบรมเสริมหลักสูตรให้กับพี่เลี้ยงเด็กที่อยู่ระหว่างการทำงานแต่ต้องการอบรมเพิ่มเติมเพื่อให้มีความรู้ดีขึ้น แต่ละปี พม.ผลิตได้เพียง 200 คนเท่านั้น ไม่พอต่อความต้องการของสังคม จึงทำให้กระบวนการจัดหาพี่เลี้ยงเด็กต้องมาจากเอกชนมากกว่าภาครัฐ
ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและสตรี กล่าวเตือนผู้ปกครองว่า แม้พี่เลี้ยงจะมีประกาศนียบัตรรับรองจากสถานที่อบรมที่มีใบอนุญาตถูกต้อง แต่ประสบการณ์ จิตใจของพี่เลี้ยงยังถือว่าเป็นปุถุชนทั่วไป ทางที่ดีผู้ปกครอง พ่อแม่ หรือญาติ ควรเป็นคนเลี้ยงเด็กในอันดับต้น ๆ เพราะจะมีความรักเด็กเป็นทุนเดิม แต่หากมีความจำเป็นก็จะต้องหาพี่เลี้ยงที่มีประกาศนียบัตรรับรอง และให้สังเกตการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ของตัวพี่เลี้ยงอย่างละเอียดด้วย