ระยะนี้ คำว่า “อาหารฟังก์ชัน” มักจะลอยมาเข้าหูอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะจากบุคคลกลุ่มที่นิยมเทรนด์ใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ หลายคนอาจจะไม่เข้าใจว่าอาหารฟังก์ชัน หรือ Functional Food คืออะไร และบางคนอาจจะกำลังสนใจจะลองเลือกรับประทาน
-1-
หากสังเกตความเคลื่อนไหวของสังคมในระยะนี้ ไม่ว่าจะเปิดโทรทัศน์ ท่องโลกไซเบอร์ผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต หรือเปิดแมกกาซีนต่างๆ มักจะต้องได้รู้ได้เห็นถึงกระแสรักสุขภาพแบบต่างๆ ทั้งการบำรุง ซ่อมเสริม แก้ไข ป้องกัน และรักษา วัฒนธรรมการกินอาหารสุขภาพแบบต่างๆ ค่อนข้างเป็นที่นิยมและเป็นความนิยมที่ต่อเนื่อง นับตั้งแต่อาหารแบบแมกโครไบโอติก อาหารแบบเกษตรอินทรีย์ อาหารปลอดสารพิษ พวกวิตามินอาหารเสริมต่างๆ ล่าสุด ความนิยมได้มาหยุดอยู่ตรงเทรนด์ของ Functional Food
กัญชลี ทิมาภรณ์ หัวหน้าฝ่ายโภชนาการ โรงพยาบาลพระรามเก้า ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาหารฟังก์ชัน ว่า อาหารฟังก์ชัน คือ อาหารเฉพาะทาง ลักษณะการกินอาหารฟังก์ชัน เป็นการกินเพื่อบำรุงร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง อาหารฟังก์ชันเป็นเทรนด์ที่ถือว่าไม่ใหม่มาก เพราะเข้ามาในเมืองไทยได้ราวห้าปีแล้ว แต่ในช่วงแรกที่เข้ามายังไม่เป็นที่รู้จักและไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากเท่าใดนัก
และเมื่อสอบถามถึงเส้นทางการเข้ามาของเทรนด์อาหารแนวนี้นั้น โภชนากรคนเก่งแห่งโรงพยาบาลพระรามเก้า ก็อธิบายตามแนวคิดของตัวเธอเองว่า เทรนด์น่าจะเริ่มจากฝั่งตะวันตก ทั้งในทวีปยุโรปและจากอเมริกา โดยคิดว่าน่าจะฮิตกันในหมู่นักกีฬาและผู้นิยมการออกกำลังกาย ที่มักจะกินโปรตีนสกัดเพื่อช่วยในการเพิ่มกล้ามเนื้อ
“ส่วนความนิยมในประเทศไทย ตอนแรกที่อาหารฟังก์ชันเริ่มเข้ามานั้น แนวค่อนข้างจะโน้มไปทางด้านอาหารเสริม หรืออาหารบำรุงจำพวกซุปไก่สกัด หรือรังนกบรรจุขวด ซึ่งก็มีการโฆษณาว่าบำรุงร่างกาย ฟื้นฟูสุขภาพ ส่วนอีกกลุ่มที่นิยมก็คือนิยมตามฝรั่ง คือนิยมกินอาหารฟังก์ชั่นเพื่อให้มีกล้ามในหมู่ผู้ออกกำลังกาย คือมาจากความขี้เกียจ อยากมีกล้าม อยากหุ่นดี อยากมีซิกซ์แพก แต่ขี้เกียจรอ ไม่อยากใช้เวลา ไม่อยากลงทุนออกกำลังกาย จึงเลือกที่จะกินโปรตีนสร้างกล้ามเนื้อเลยทีเดียวแบบไม่ต้องลงทุนลงแรง”
“ส่วนเทรนด์อาหารฟังก์ชันตอนนี้มันพัฒนาขึ้นมาอีก step หนึ่ง คือ จากที่กินอาหารฟังก์ชันเพื่อบำรุงร่างกาย ก็เพิ่มมาเป็น บำรุงร่างกายส่วนไหน ฟังก์ชันอะไร เดี๋ยวนี้เราจะเห็นมากขึ้น อย่างพวกเครื่องดื่มเบอรี่สกัดที่มีการโฆษณาว่าช่วยบำรุงสายตา พรุนสกัดช่วยระบายท้อง หรือพวกโปรตีนSOYที่โฆษณาว่าช่วยบำรุงสมอง คือมีการเจาะเฉพาะส่วนว่าบำรุงระบบการทำงานฟังก์ชันไหนหรืออวัยวะใดของร่างกาย”
กัญชลี อธิบายเพิ่มเติมด้วยว่า มีความเข้าใจของคนทั่วไปจำนวนไม่น้อย ที่มองว่าอาหารฟังก์ชันเป็นยา แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่เสียทีเดียว อาหารฟังก์ชันไม่เชิงเป็นยา แต่คุณสมบัติภายในอาหารนั้นๆ จะช่วยเสริมจุดด้อยเฉพาะจุด ที่ในปัจจุบันนี้เริ่มจะขยายขอบข่ายจากบำรุงสุขภาพเฉพาะจุด โดยเพิ่มฟังก์ชั่นการบำรุงสุขภาพด้านความสวยความงามเข้าไปด้วย
“ก่อนหน้านี้ เราจะเห็นฟังก์ชันแนลฟูดในรูปของการสกัดมาจากวัตถุธรรมชาติ เช่นจากผลพรุน จากผลเบอรี หรือโอเมก้าสามจากปลาทะเล แต่ระยะหลังจะเริ่มเห็นอาหารฟังก์ชันที่เป็นเคมิคอล อย่างพวกคอลลาเจน ที่โฆษณาว่ากินแล้วหน้าตึง กินแล้วจะไม่มีรอยเหี่ยวย่น หรือผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกลูต้าไธโอน ที่บอกว่ากินแล้วผิวจะขาวขึ้น ซึ่งอาหารฟังก์ชั่นที่สกัดจากเคมีค่อนข้างอันตรายกว่าที่สกัดจากวัตถุดิบตามธรรมชาติ”
โภชนากรหญิงรายนี้ ให้ข้อมูลต่อไปอีกว่า คนไทยส่วนใหญ่ที่เลือกดูแลสุขภาพด้วยการกินอาหารฟังก์ชัน มักจะซื้อกินเองโดยไม่ขอคำปรึกษาจากแพทย์
“อย่างเบอรีสกัด กินมากเกินไป ก็อาจจะต้องดูแลเรื่องน้ำตาล อย่างพรุนก็ถ้ากินมากไป ก็อาจจะถ่ายท้องมากกว่าปกติ ซึ่งไม่อันตรายมากนัก แต่หากเป็นอาหารฟังก์ชันที่สกัดจากเคมี ถ้าหากกินมากๆ ก็อาจจะเกิดการสะสมสารเคมีในร่างกาย และอาจเป็นอันตรายในระยะยาวได้”
“แต่ก็ไม่ใช่ว่าอาหารฟังก์ชันไม่ดีนะคะ มันจะได้ผลมากในกรณีที่ร่างกายต้องการการบำรุง เช่นผู้ที่พักฟื้นหลังผ่าตัด หรือผู้ที่มีความสะเทือนใจมากๆ เกิดภาวะเครียด เช่น อาจจะมีปัญหา เลิกกับแฟน ญาติเสีย แล้วร่างกายเรา shut down ไปเลย กินไม่ได้นอนไม่หลับ กินไม่ลง อันนี้อาหารฟังก์ชันจะช่วยได้มาก หรือตอนนี้ที่นิยมกันในหมู่ผู้สูงอายุวัยสี่สิบขึ้นไป ก็คือ ฟังก์ชันแนลฟูดที่กินแล้วช่วยให้น้ำในข้อมากขึ้น กรณีนี้กินเพื่อลดอาการปวดข้อจากอาการข้อเสื่อมในผู้สูงอายุ ช่วยได้มาก แต่ก็ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์”
สุดท้ายเธอได้ฝากคำแนะนำไปถึงผู้ที่นิยมกินฟังก์ชันแนลฟูดว่า สิ่งที่ควรทำก่อนจะตัดสินใจกินนั้น คือควรต้องปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเช่นนักโภชนากรหรืออย่างน้อยที่สุด ก็ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากระบุส่วนประกอบ และคำแนะนำการกินให้ชัดเจน เพื่อความปลอดภัยของตนเอง เพราะไม่เช่นนั้นอาหารที่เชื่อว่าจะดีต่อร่างกาย อาจจะกลายเป็นโทษได้
-2-
ด้านรศ.ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ หัวหน้าฝ่ายวิทยาการอาหารและโภชนาการ สำนักวิจัยโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารฟังก์ชันว่า คือ อาหารที่กินเข้าไปเพื่อตอบสนองสถานภาพใดสถานภาพหนึ่งซึ่งไม่ใช่สภาพปกติ เป็นสถานภาพเฉพาะในช่วงเวลานั้นๆ เช่น สถานภาพหญิงตั้งครรภ์ ที่มีความต้องการแคลเซียมหรือธาตุเหล็กมากกว่าปกติ เพื่อตอบสนองสภาพสรีระที่ต่างออกไป
“แต่ตามความคิดของผม พวกซุปไก่สกัดหรือรังนกสำเร็จรูปใส่ขวดที่ขายๆ กันมันไม่น่าจะใช่อาหารฟังก์ชัน ในเชิงวิชาการแล้วมันน่าจะถูกจัดอยู่ในประเภทเครื่องดื่มมากกว่า เพราะตามหลักวิชาการอาหารฟังก์ชันต้องมีผลวิจัยทางวิชาการว่ากินแล้วจะช่วยด้านไหน บำรุงอะไร แต่พวกนี้ไม่ค่อยมีผลวิจัย หรือถ้ามีก็ไม่เป็นที่ยอมรับในระดับมาตรฐาน”
“การจำกัดความและความหมายของฟังก์ชันแนลฟูดนั้น ยังไม่แน่ชัด เนื่องจากในแต่ละประเทศมีบริบทของฟังก์ชันแนลฟูดไม่เหมือนกัน แต่จริงๆ ไม่ใช่ของใหม่นะครับ จีนก็มีมานานแล้ว จะเห็นได้ว่า เขาจะมีอาหารสำหรับคนท้อง หรืออาหารบำรุงคนป่วย ไทยเองก็ไม่ใช่ไม่มี ภูมิปัญญาไทยแท้ๆ นี่ก็ใช่ฟังก์ชันแนลฟูด อย่างเวลาคนท้องเราจะให้กินปลาเล็กปลาน้อย อันนี้ก็ใช่ เพราะกินแล้วได้แคลเซียม และมีผลวิจัยทางวิชาการชัดเจนด้วย แต่ของพวกนี้ หมายถึง อาหารบำรุงคนท้องอย่างปลาเล็กปลาน้อยนี่มันเพิ่มมูลค่าไม่ได้ เพราะเป็นอาหารที่กินกันทุกบ้าน ไม่ใช่ของแปลกใหม่ มันทำกำไรไม่ได้ ก็เลยไม่เป็นที่นิยมในเชิงธุรกิจ”
รศ.ดร.แก้ว ให้ข้อมูลต่อไปอีกว่า ในประเทศที่มีระดับเศรษฐกิจดีๆ จะมีหน่วยงานวิจัยเรื่องอาหารฟังก์ชั่นกันเป็นเรื่องเป็นราวทีเดียว โดยเฉพาะในสายวิทยาศาสตร์การกีฬา ที่ต้องวิจัยผลิตอาหารเพื่อนักกีฬาอย่างเหมาะสม เช่น อาหารที่เข้าไปทำงานด้านฟังก์ชั่นกล้ามเนื้อ ให้กล้ามเนื้อแข็งแกร่ง หรืออาหารที่ให้พลังงานสูง อย่างแครกเกอร์พิเศษสำหรับนักกีฬา ที่จะให้คนเหล่านี้มีแรง พวกนี้ไม่ต้องกลัวอ้วน เพราะกินเข้าไปเท่าไหร่ก็ใช้หมด แต่หากเป็นคนธรรมดาที่มีสภาพร่างกายปกติ ก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องกินอาหารฟังก์ชั่นเหล่านี้แต่อย่างใด ซึ่งกว่าจะวิจัยออกมาเป็นอาหารฟังก์ชันนั้นๆ จำเป็นต้องใช้ทีมวิจัย งบประมาณ และองค์ความรู้รวมถึงระยะเวลาในการวิจัยไม่น้อย ดังนั้น สูตรอาหารเหล่านี้มักจะเป็นความลับพอสมควร ส่วนผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าเป็นอาหารฟังก์ชั่นของประเทศไทย โดยส่วนตัวคิดว่า ยังต้องใช้เวลาในการทดลองวิจัยเชิงวิชาการและวิทยาศาสตร์อีกมาก
“คิดว่าคนที่คิดจะเลือกกินอาหารฟังก์ชัน ต้องดูให้ดีว่าผลิตภัณฑ์อาหารฟังก์ชันที่อยากจะกินนั้น มีผลวิจัยพิสูจน์และรับรองทางวิชาการที่ได้มาตรฐานหรือไม่ ถ้าไม่มีก็ถือว่าเป็นการหลอกลวงผู้บริโภค ฝากเตือนไปถึงผู้บริโภคด้วยว่า ตอนนี้มันกลายเป็นเรื่องของกระบวนการทางธุรกิจไปแล้ว มีการโฆษณา มีการแนะนำสรรพคุณ ผลิตภัณฑ์ก็มีราคาแพง และส่วนมากก็มุ่งแต่ขายเอากำไร ไม่ได้มองในเชิงของประโยชน์เพื่อประชาชนอย่างแท้จริง อาหารบำรุงไม่ใช่เมืองไทยไม่มี และมีมานานแล้ว เป็นภูมิปัญญาเก่าแก่ สิ่งที่ดีที่สุด คือ การกินอาหารให้ครบห้าหมู่ อย่างไรก็ตาม อาหารสด สุกใหม่ ครบห้าหมู่ที่ร่างกายต้องการ คือ สิ่งที่ดีที่สุดครับ” หัวหน้าฝ่ายวิทยาการอาหารและโภชนาการ สำนักวิจัยโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวทิ้งท้าย
-1-
หากสังเกตความเคลื่อนไหวของสังคมในระยะนี้ ไม่ว่าจะเปิดโทรทัศน์ ท่องโลกไซเบอร์ผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต หรือเปิดแมกกาซีนต่างๆ มักจะต้องได้รู้ได้เห็นถึงกระแสรักสุขภาพแบบต่างๆ ทั้งการบำรุง ซ่อมเสริม แก้ไข ป้องกัน และรักษา วัฒนธรรมการกินอาหารสุขภาพแบบต่างๆ ค่อนข้างเป็นที่นิยมและเป็นความนิยมที่ต่อเนื่อง นับตั้งแต่อาหารแบบแมกโครไบโอติก อาหารแบบเกษตรอินทรีย์ อาหารปลอดสารพิษ พวกวิตามินอาหารเสริมต่างๆ ล่าสุด ความนิยมได้มาหยุดอยู่ตรงเทรนด์ของ Functional Food
กัญชลี ทิมาภรณ์ หัวหน้าฝ่ายโภชนาการ โรงพยาบาลพระรามเก้า ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาหารฟังก์ชัน ว่า อาหารฟังก์ชัน คือ อาหารเฉพาะทาง ลักษณะการกินอาหารฟังก์ชัน เป็นการกินเพื่อบำรุงร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง อาหารฟังก์ชันเป็นเทรนด์ที่ถือว่าไม่ใหม่มาก เพราะเข้ามาในเมืองไทยได้ราวห้าปีแล้ว แต่ในช่วงแรกที่เข้ามายังไม่เป็นที่รู้จักและไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากเท่าใดนัก
และเมื่อสอบถามถึงเส้นทางการเข้ามาของเทรนด์อาหารแนวนี้นั้น โภชนากรคนเก่งแห่งโรงพยาบาลพระรามเก้า ก็อธิบายตามแนวคิดของตัวเธอเองว่า เทรนด์น่าจะเริ่มจากฝั่งตะวันตก ทั้งในทวีปยุโรปและจากอเมริกา โดยคิดว่าน่าจะฮิตกันในหมู่นักกีฬาและผู้นิยมการออกกำลังกาย ที่มักจะกินโปรตีนสกัดเพื่อช่วยในการเพิ่มกล้ามเนื้อ
“ส่วนความนิยมในประเทศไทย ตอนแรกที่อาหารฟังก์ชันเริ่มเข้ามานั้น แนวค่อนข้างจะโน้มไปทางด้านอาหารเสริม หรืออาหารบำรุงจำพวกซุปไก่สกัด หรือรังนกบรรจุขวด ซึ่งก็มีการโฆษณาว่าบำรุงร่างกาย ฟื้นฟูสุขภาพ ส่วนอีกกลุ่มที่นิยมก็คือนิยมตามฝรั่ง คือนิยมกินอาหารฟังก์ชั่นเพื่อให้มีกล้ามในหมู่ผู้ออกกำลังกาย คือมาจากความขี้เกียจ อยากมีกล้าม อยากหุ่นดี อยากมีซิกซ์แพก แต่ขี้เกียจรอ ไม่อยากใช้เวลา ไม่อยากลงทุนออกกำลังกาย จึงเลือกที่จะกินโปรตีนสร้างกล้ามเนื้อเลยทีเดียวแบบไม่ต้องลงทุนลงแรง”
“ส่วนเทรนด์อาหารฟังก์ชันตอนนี้มันพัฒนาขึ้นมาอีก step หนึ่ง คือ จากที่กินอาหารฟังก์ชันเพื่อบำรุงร่างกาย ก็เพิ่มมาเป็น บำรุงร่างกายส่วนไหน ฟังก์ชันอะไร เดี๋ยวนี้เราจะเห็นมากขึ้น อย่างพวกเครื่องดื่มเบอรี่สกัดที่มีการโฆษณาว่าช่วยบำรุงสายตา พรุนสกัดช่วยระบายท้อง หรือพวกโปรตีนSOYที่โฆษณาว่าช่วยบำรุงสมอง คือมีการเจาะเฉพาะส่วนว่าบำรุงระบบการทำงานฟังก์ชันไหนหรืออวัยวะใดของร่างกาย”
กัญชลี อธิบายเพิ่มเติมด้วยว่า มีความเข้าใจของคนทั่วไปจำนวนไม่น้อย ที่มองว่าอาหารฟังก์ชันเป็นยา แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่เสียทีเดียว อาหารฟังก์ชันไม่เชิงเป็นยา แต่คุณสมบัติภายในอาหารนั้นๆ จะช่วยเสริมจุดด้อยเฉพาะจุด ที่ในปัจจุบันนี้เริ่มจะขยายขอบข่ายจากบำรุงสุขภาพเฉพาะจุด โดยเพิ่มฟังก์ชั่นการบำรุงสุขภาพด้านความสวยความงามเข้าไปด้วย
“ก่อนหน้านี้ เราจะเห็นฟังก์ชันแนลฟูดในรูปของการสกัดมาจากวัตถุธรรมชาติ เช่นจากผลพรุน จากผลเบอรี หรือโอเมก้าสามจากปลาทะเล แต่ระยะหลังจะเริ่มเห็นอาหารฟังก์ชันที่เป็นเคมิคอล อย่างพวกคอลลาเจน ที่โฆษณาว่ากินแล้วหน้าตึง กินแล้วจะไม่มีรอยเหี่ยวย่น หรือผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกลูต้าไธโอน ที่บอกว่ากินแล้วผิวจะขาวขึ้น ซึ่งอาหารฟังก์ชั่นที่สกัดจากเคมีค่อนข้างอันตรายกว่าที่สกัดจากวัตถุดิบตามธรรมชาติ”
โภชนากรหญิงรายนี้ ให้ข้อมูลต่อไปอีกว่า คนไทยส่วนใหญ่ที่เลือกดูแลสุขภาพด้วยการกินอาหารฟังก์ชัน มักจะซื้อกินเองโดยไม่ขอคำปรึกษาจากแพทย์
“อย่างเบอรีสกัด กินมากเกินไป ก็อาจจะต้องดูแลเรื่องน้ำตาล อย่างพรุนก็ถ้ากินมากไป ก็อาจจะถ่ายท้องมากกว่าปกติ ซึ่งไม่อันตรายมากนัก แต่หากเป็นอาหารฟังก์ชันที่สกัดจากเคมี ถ้าหากกินมากๆ ก็อาจจะเกิดการสะสมสารเคมีในร่างกาย และอาจเป็นอันตรายในระยะยาวได้”
“แต่ก็ไม่ใช่ว่าอาหารฟังก์ชันไม่ดีนะคะ มันจะได้ผลมากในกรณีที่ร่างกายต้องการการบำรุง เช่นผู้ที่พักฟื้นหลังผ่าตัด หรือผู้ที่มีความสะเทือนใจมากๆ เกิดภาวะเครียด เช่น อาจจะมีปัญหา เลิกกับแฟน ญาติเสีย แล้วร่างกายเรา shut down ไปเลย กินไม่ได้นอนไม่หลับ กินไม่ลง อันนี้อาหารฟังก์ชันจะช่วยได้มาก หรือตอนนี้ที่นิยมกันในหมู่ผู้สูงอายุวัยสี่สิบขึ้นไป ก็คือ ฟังก์ชันแนลฟูดที่กินแล้วช่วยให้น้ำในข้อมากขึ้น กรณีนี้กินเพื่อลดอาการปวดข้อจากอาการข้อเสื่อมในผู้สูงอายุ ช่วยได้มาก แต่ก็ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์”
สุดท้ายเธอได้ฝากคำแนะนำไปถึงผู้ที่นิยมกินฟังก์ชันแนลฟูดว่า สิ่งที่ควรทำก่อนจะตัดสินใจกินนั้น คือควรต้องปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเช่นนักโภชนากรหรืออย่างน้อยที่สุด ก็ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากระบุส่วนประกอบ และคำแนะนำการกินให้ชัดเจน เพื่อความปลอดภัยของตนเอง เพราะไม่เช่นนั้นอาหารที่เชื่อว่าจะดีต่อร่างกาย อาจจะกลายเป็นโทษได้
-2-
ด้านรศ.ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ หัวหน้าฝ่ายวิทยาการอาหารและโภชนาการ สำนักวิจัยโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารฟังก์ชันว่า คือ อาหารที่กินเข้าไปเพื่อตอบสนองสถานภาพใดสถานภาพหนึ่งซึ่งไม่ใช่สภาพปกติ เป็นสถานภาพเฉพาะในช่วงเวลานั้นๆ เช่น สถานภาพหญิงตั้งครรภ์ ที่มีความต้องการแคลเซียมหรือธาตุเหล็กมากกว่าปกติ เพื่อตอบสนองสภาพสรีระที่ต่างออกไป
“แต่ตามความคิดของผม พวกซุปไก่สกัดหรือรังนกสำเร็จรูปใส่ขวดที่ขายๆ กันมันไม่น่าจะใช่อาหารฟังก์ชัน ในเชิงวิชาการแล้วมันน่าจะถูกจัดอยู่ในประเภทเครื่องดื่มมากกว่า เพราะตามหลักวิชาการอาหารฟังก์ชันต้องมีผลวิจัยทางวิชาการว่ากินแล้วจะช่วยด้านไหน บำรุงอะไร แต่พวกนี้ไม่ค่อยมีผลวิจัย หรือถ้ามีก็ไม่เป็นที่ยอมรับในระดับมาตรฐาน”
“การจำกัดความและความหมายของฟังก์ชันแนลฟูดนั้น ยังไม่แน่ชัด เนื่องจากในแต่ละประเทศมีบริบทของฟังก์ชันแนลฟูดไม่เหมือนกัน แต่จริงๆ ไม่ใช่ของใหม่นะครับ จีนก็มีมานานแล้ว จะเห็นได้ว่า เขาจะมีอาหารสำหรับคนท้อง หรืออาหารบำรุงคนป่วย ไทยเองก็ไม่ใช่ไม่มี ภูมิปัญญาไทยแท้ๆ นี่ก็ใช่ฟังก์ชันแนลฟูด อย่างเวลาคนท้องเราจะให้กินปลาเล็กปลาน้อย อันนี้ก็ใช่ เพราะกินแล้วได้แคลเซียม และมีผลวิจัยทางวิชาการชัดเจนด้วย แต่ของพวกนี้ หมายถึง อาหารบำรุงคนท้องอย่างปลาเล็กปลาน้อยนี่มันเพิ่มมูลค่าไม่ได้ เพราะเป็นอาหารที่กินกันทุกบ้าน ไม่ใช่ของแปลกใหม่ มันทำกำไรไม่ได้ ก็เลยไม่เป็นที่นิยมในเชิงธุรกิจ”
รศ.ดร.แก้ว ให้ข้อมูลต่อไปอีกว่า ในประเทศที่มีระดับเศรษฐกิจดีๆ จะมีหน่วยงานวิจัยเรื่องอาหารฟังก์ชั่นกันเป็นเรื่องเป็นราวทีเดียว โดยเฉพาะในสายวิทยาศาสตร์การกีฬา ที่ต้องวิจัยผลิตอาหารเพื่อนักกีฬาอย่างเหมาะสม เช่น อาหารที่เข้าไปทำงานด้านฟังก์ชั่นกล้ามเนื้อ ให้กล้ามเนื้อแข็งแกร่ง หรืออาหารที่ให้พลังงานสูง อย่างแครกเกอร์พิเศษสำหรับนักกีฬา ที่จะให้คนเหล่านี้มีแรง พวกนี้ไม่ต้องกลัวอ้วน เพราะกินเข้าไปเท่าไหร่ก็ใช้หมด แต่หากเป็นคนธรรมดาที่มีสภาพร่างกายปกติ ก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องกินอาหารฟังก์ชั่นเหล่านี้แต่อย่างใด ซึ่งกว่าจะวิจัยออกมาเป็นอาหารฟังก์ชันนั้นๆ จำเป็นต้องใช้ทีมวิจัย งบประมาณ และองค์ความรู้รวมถึงระยะเวลาในการวิจัยไม่น้อย ดังนั้น สูตรอาหารเหล่านี้มักจะเป็นความลับพอสมควร ส่วนผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าเป็นอาหารฟังก์ชั่นของประเทศไทย โดยส่วนตัวคิดว่า ยังต้องใช้เวลาในการทดลองวิจัยเชิงวิชาการและวิทยาศาสตร์อีกมาก
“คิดว่าคนที่คิดจะเลือกกินอาหารฟังก์ชัน ต้องดูให้ดีว่าผลิตภัณฑ์อาหารฟังก์ชันที่อยากจะกินนั้น มีผลวิจัยพิสูจน์และรับรองทางวิชาการที่ได้มาตรฐานหรือไม่ ถ้าไม่มีก็ถือว่าเป็นการหลอกลวงผู้บริโภค ฝากเตือนไปถึงผู้บริโภคด้วยว่า ตอนนี้มันกลายเป็นเรื่องของกระบวนการทางธุรกิจไปแล้ว มีการโฆษณา มีการแนะนำสรรพคุณ ผลิตภัณฑ์ก็มีราคาแพง และส่วนมากก็มุ่งแต่ขายเอากำไร ไม่ได้มองในเชิงของประโยชน์เพื่อประชาชนอย่างแท้จริง อาหารบำรุงไม่ใช่เมืองไทยไม่มี และมีมานานแล้ว เป็นภูมิปัญญาเก่าแก่ สิ่งที่ดีที่สุด คือ การกินอาหารให้ครบห้าหมู่ อย่างไรก็ตาม อาหารสด สุกใหม่ ครบห้าหมู่ที่ร่างกายต้องการ คือ สิ่งที่ดีที่สุดครับ” หัวหน้าฝ่ายวิทยาการอาหารและโภชนาการ สำนักวิจัยโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวทิ้งท้าย