ASTVผู้จัดการรายวัน - “นายกฯ” ยันรัฐบาลไม่ตกอับขนาดต้องดึงเงินมหาวิทยาลัย-ค่าธรรมเนียมศาลเสริมสภาพคล่อง ด้านอดีต รมช.ศึกษาฯ หนุนรัฐดึงเงินนอกงบประมาณมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ โดยมหาวิทยาลัยไหนไม่สบายใจจะให้รัฐยืมเงินก็สามารถปฏิเสธได้ ขณะที่ รองอธิการ มศว ไม่เอาด้วย เปรียบตัดเนื้อหนูไปแปะเนื้อช้าง รัฐพูดไม่ชัดให้ชดเชยสถาบันการศึกษาอย่างไร
จากที่กรมบัญชีกลาง มีแนวคิดจะยืมเงินนอกงบประมาณ ได้แก่ เงินได้ของมหาวิทยาลัยของรัฐ เช่น เงินจากการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษา ซึ่งหลายมหาวิทยาลัยเปิดหลักสูตรปริญญาโทแล้วนำเงินส่วนนี้ไปฝากไว้ และเงินจากค่าธรรมเนียมศาล ซึ่งผู้ฟ้องร้องในคดีแพ่งต้องวางเงินจ่ายค่าธรรมเนียมศาลเพื่อฟ้องร้องคดี เพื่อนำมาเสริมสภาพคล่องของภาครัฐในปี 2553 นั้น
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่เคยได้ยินเลยว่าทำไมต้องไปทำอย่างนั้น ซึ่งจะสอบถามทางกระทรวงการคลังอีกครั้ง เพราะที่ผ่านมาที่มีการคุยกัน การบริหารก็ปกติ ไม่ได้มีปัญหาอะไร มีเฉพาะในส่วนที่จะหาแหล่งเงินสำหรับเงินลงทุนเท่านั้น ทั้งนี้รัฐบาลไม่มีแนวคิดที่จะนำเงินของนักศึกษามาเสริมสภาพคล่อง เพราะเป็นเงินที่ใช้สำหรับการบริหารจัดการ ไม่น่าจะมาเกี่ยวข้องกับรัฐบาลและไม่ควรทำให้ระบบมีปัญหา ยกเว้นว่าจะมีเงินตรงไหนที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ซึ่งตนก็ไม่คิดว่าจะมี
“เท่าที่คุยกับทาง รมว.คลัง ไม่มีการพูดถึงเรื่องนี้เลย จะมีเฉพาะในส่วนของเงินลงทุนที่จะมีขึ้นในช่วง 3 ปีข้างหน้าที่จะต้องมากำหนดกรอบในวันพุธนี้ โดยทางกระทรวงการคลังเขาจะเสนอเข้ามา”
ผู้สื่อข่าวถามว่า เงินตรงนี้มีเป็นจำนวนนับหมื่นล้านบาท ถ้านำมาใช้ประโยชน์ได้ก็จะดีกว่าหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ต้องไปดูว่าเงินที่เขาเก็บนั้น เอาไว้ทำอะไร เพราะหากอยู่ดีๆ ไปดึงจากส่วนหนึ่งเพื่อมาใช้อีกส่วนหนึ่งก็จะทำให้เกิดปัญหากับระบบ ส่วนเมื่อถามว่ายืนยันว่ารัฐบาลไม่ได้อยู่ในช่วงยากลำบากที่จะดึงเงินจากส่วนนี้มา นายกฯ กล่าวว่า กระทรวงการคลังเขาดูแลการบริหารเงินอยู่ ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร หากมีความจำเป็นอะไรก็เสนอเข้า ครม. ไม่มีการไปดึงเงินนอกระบบ
ด้านรศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า เงินดังกล่าวเป็นเงินนอกงบประมาณ เป็นเงินทุนหมุนเวียนให้เกิดความคล่องตัวในการเบิกจ่าย ซึ่งสามารถนำออกมาใช้ได้ ทั้งนี้ การนำเงินดังกล่าวออกมาใช้ ตามวิธีทางการคลังไม่ถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติ เพราะหลายประเทศก็ทำกัน สำหรับประเทศไทยในอดีตก็เคยทำเช่นนี้มาก่อน และถือว่าขณะนี้เศรษฐกิจไม่อยู่ในภาวะปกติ รัฐจำเป็นต้องมีเงินไปกระตุ้น ตนเห็นด้วยที่จะนำเงินดังกล่าวมาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเงินมัดจำศาลที่แต่ละคดีจะใช้เวลาในการพิจารณาหลายปี ส่วนเงินได้ของมหาวิทยาลัยรัฐนั้น หากมหาวิทยาลัยไหนไม่สบายใจ หรือเห็นว่าเสี่ยงก็ไม่ให้ยืมก็ได้ อย่างไรก็ตาม กลไกการกู้ยืมเงินจะต้องกำหนดเวลาใช้คืนอยู่แล้ว ซึ่งหากรัฐบาลจะนำเงินส่วนนี้ออกมาใช้จริง ก็ต้องกำหนดเวลาในการใช้คืนในปีงบประมาณต่อไปทันที
ขณะที่ผศ.นพ. เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวว่า เบื้องต้นก็เข้าใจว่ารัฐบาลประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ ในเรื่องนี้ก็ยินดีพูดคุยด้วย หากแต่ในความเป็นจริงนั้นยังไม่แน่ใจว่าแต่ละสถาบันการศึกษาจะมีพอให้รัฐบาลยืมหรือไม่ เพราะเงินรายได้ของแต่ละมหาวิทยาลัยแม้จะเหลือ และนำไปฝากธนาคารไว้ก็จริง หากแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าแต่ละมหาวิทยาลัยจะไม่ต้องใช้เงินส่วนนี้ หรือเงินส่วนนี้เป็นเงินฝากไว้กินดอกเบี้ยเฉยๆ
“แนวคิดของกรมบัญชีกลางคงจะเป็นจริงยาก อีกทั้งแต่ละสถาบันการศึกษาจะสามารถให้เงินรัฐบาลยืมได้มากน้อยแค่ไหน หากแต่ละสถาบันพร้อมใจกันให้รัฐบาลยืม เมื่อนำเงินมารวมกันคงมีไม่ถึงแสนล้าน จะเข้าข่ายการเอาเนื้อหนูไปปะเนื้อช้างซะมากกว่า อีกทั้งการให้เงินรัฐบาลยืมนั้นก็ไม่ได้มีการคุยถึงเรื่องผลตอบแทนต่างๆ เพียงแค่พูดเพียงว่าเมื่อสถานการณ์เศรษฐกิจดีขึ้น หรือเมื่อมีรายได้เข้าคลังตามสมควรก็จะคืนเงินส่วนที่ยืมไปให้ แต่รายละเอียดอื่นๆ เช่น เรื่องดอกเบื้ยหรือรายละเอียดอื่นๆ ยังไม่ทราบ อีกทั้งเมื่อแต่ละสถาบันนำเงินไปฝากธนาคารไว้ ก็หมายถึงการได้ดอกเบี้ย และหากรัฐบาลจะมายืมโดยถือเป็นการระดมทุนช่วยรัฐ แต่รัฐก็ต้องคิดถึงการชดเชยที่แต่ละสถาบันควรจะได้รับด้วย ซึ่งตนก็ยังไม่แน่ใจว่าแนวคิดนี้แต่ละสถาบันจะยอมรับได้หรือไม่ คงต้องพูดคุยรายละเอียดกันอีกมาก” ผศ.นพ.เฉลิมชัยกล่าว
จากที่กรมบัญชีกลาง มีแนวคิดจะยืมเงินนอกงบประมาณ ได้แก่ เงินได้ของมหาวิทยาลัยของรัฐ เช่น เงินจากการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษา ซึ่งหลายมหาวิทยาลัยเปิดหลักสูตรปริญญาโทแล้วนำเงินส่วนนี้ไปฝากไว้ และเงินจากค่าธรรมเนียมศาล ซึ่งผู้ฟ้องร้องในคดีแพ่งต้องวางเงินจ่ายค่าธรรมเนียมศาลเพื่อฟ้องร้องคดี เพื่อนำมาเสริมสภาพคล่องของภาครัฐในปี 2553 นั้น
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่เคยได้ยินเลยว่าทำไมต้องไปทำอย่างนั้น ซึ่งจะสอบถามทางกระทรวงการคลังอีกครั้ง เพราะที่ผ่านมาที่มีการคุยกัน การบริหารก็ปกติ ไม่ได้มีปัญหาอะไร มีเฉพาะในส่วนที่จะหาแหล่งเงินสำหรับเงินลงทุนเท่านั้น ทั้งนี้รัฐบาลไม่มีแนวคิดที่จะนำเงินของนักศึกษามาเสริมสภาพคล่อง เพราะเป็นเงินที่ใช้สำหรับการบริหารจัดการ ไม่น่าจะมาเกี่ยวข้องกับรัฐบาลและไม่ควรทำให้ระบบมีปัญหา ยกเว้นว่าจะมีเงินตรงไหนที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ซึ่งตนก็ไม่คิดว่าจะมี
“เท่าที่คุยกับทาง รมว.คลัง ไม่มีการพูดถึงเรื่องนี้เลย จะมีเฉพาะในส่วนของเงินลงทุนที่จะมีขึ้นในช่วง 3 ปีข้างหน้าที่จะต้องมากำหนดกรอบในวันพุธนี้ โดยทางกระทรวงการคลังเขาจะเสนอเข้ามา”
ผู้สื่อข่าวถามว่า เงินตรงนี้มีเป็นจำนวนนับหมื่นล้านบาท ถ้านำมาใช้ประโยชน์ได้ก็จะดีกว่าหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ต้องไปดูว่าเงินที่เขาเก็บนั้น เอาไว้ทำอะไร เพราะหากอยู่ดีๆ ไปดึงจากส่วนหนึ่งเพื่อมาใช้อีกส่วนหนึ่งก็จะทำให้เกิดปัญหากับระบบ ส่วนเมื่อถามว่ายืนยันว่ารัฐบาลไม่ได้อยู่ในช่วงยากลำบากที่จะดึงเงินจากส่วนนี้มา นายกฯ กล่าวว่า กระทรวงการคลังเขาดูแลการบริหารเงินอยู่ ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร หากมีความจำเป็นอะไรก็เสนอเข้า ครม. ไม่มีการไปดึงเงินนอกระบบ
ด้านรศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า เงินดังกล่าวเป็นเงินนอกงบประมาณ เป็นเงินทุนหมุนเวียนให้เกิดความคล่องตัวในการเบิกจ่าย ซึ่งสามารถนำออกมาใช้ได้ ทั้งนี้ การนำเงินดังกล่าวออกมาใช้ ตามวิธีทางการคลังไม่ถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติ เพราะหลายประเทศก็ทำกัน สำหรับประเทศไทยในอดีตก็เคยทำเช่นนี้มาก่อน และถือว่าขณะนี้เศรษฐกิจไม่อยู่ในภาวะปกติ รัฐจำเป็นต้องมีเงินไปกระตุ้น ตนเห็นด้วยที่จะนำเงินดังกล่าวมาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเงินมัดจำศาลที่แต่ละคดีจะใช้เวลาในการพิจารณาหลายปี ส่วนเงินได้ของมหาวิทยาลัยรัฐนั้น หากมหาวิทยาลัยไหนไม่สบายใจ หรือเห็นว่าเสี่ยงก็ไม่ให้ยืมก็ได้ อย่างไรก็ตาม กลไกการกู้ยืมเงินจะต้องกำหนดเวลาใช้คืนอยู่แล้ว ซึ่งหากรัฐบาลจะนำเงินส่วนนี้ออกมาใช้จริง ก็ต้องกำหนดเวลาในการใช้คืนในปีงบประมาณต่อไปทันที
ขณะที่ผศ.นพ. เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวว่า เบื้องต้นก็เข้าใจว่ารัฐบาลประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ ในเรื่องนี้ก็ยินดีพูดคุยด้วย หากแต่ในความเป็นจริงนั้นยังไม่แน่ใจว่าแต่ละสถาบันการศึกษาจะมีพอให้รัฐบาลยืมหรือไม่ เพราะเงินรายได้ของแต่ละมหาวิทยาลัยแม้จะเหลือ และนำไปฝากธนาคารไว้ก็จริง หากแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าแต่ละมหาวิทยาลัยจะไม่ต้องใช้เงินส่วนนี้ หรือเงินส่วนนี้เป็นเงินฝากไว้กินดอกเบี้ยเฉยๆ
“แนวคิดของกรมบัญชีกลางคงจะเป็นจริงยาก อีกทั้งแต่ละสถาบันการศึกษาจะสามารถให้เงินรัฐบาลยืมได้มากน้อยแค่ไหน หากแต่ละสถาบันพร้อมใจกันให้รัฐบาลยืม เมื่อนำเงินมารวมกันคงมีไม่ถึงแสนล้าน จะเข้าข่ายการเอาเนื้อหนูไปปะเนื้อช้างซะมากกว่า อีกทั้งการให้เงินรัฐบาลยืมนั้นก็ไม่ได้มีการคุยถึงเรื่องผลตอบแทนต่างๆ เพียงแค่พูดเพียงว่าเมื่อสถานการณ์เศรษฐกิจดีขึ้น หรือเมื่อมีรายได้เข้าคลังตามสมควรก็จะคืนเงินส่วนที่ยืมไปให้ แต่รายละเอียดอื่นๆ เช่น เรื่องดอกเบื้ยหรือรายละเอียดอื่นๆ ยังไม่ทราบ อีกทั้งเมื่อแต่ละสถาบันนำเงินไปฝากธนาคารไว้ ก็หมายถึงการได้ดอกเบี้ย และหากรัฐบาลจะมายืมโดยถือเป็นการระดมทุนช่วยรัฐ แต่รัฐก็ต้องคิดถึงการชดเชยที่แต่ละสถาบันควรจะได้รับด้วย ซึ่งตนก็ยังไม่แน่ใจว่าแนวคิดนี้แต่ละสถาบันจะยอมรับได้หรือไม่ คงต้องพูดคุยรายละเอียดกันอีกมาก” ผศ.นพ.เฉลิมชัยกล่าว