กรมบัญชีกลางทำงานเชิงรุกหลังเห็นตัวเลขจัดเก็บรายได้ต่ำเป้าสุดๆ เผยกำลังเดินเรื่องยืมเงินนอกงบประมาณมาใช้ในโครงการที่รัฐบาลยังขาดเงิน เล็งมหาวิทยาลัยของรัฐ-เงินจากค่าธรรมเนียมศาล ตั้งเป้าเสริมสภาพคล่องรัฐหมื่นล้าน
น.ส.สุทธิรัตน์ รัตนโชติ รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางมีแนวคิดจะยืมเงินนอกงบประมาณบางส่วนเพื่อปรับมาใช้จัดสรรในโครงการต่างๆ ตามที่รัฐบาลยังขาดแคลนเงินจะจัดสรรให้ ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาหน่วยงานที่จะต้องเข้าไปเจรจา การดำเนินการครั้งนี้เกิดขึ้นภายหลังตัวเลขการจัดเก็บรายได้ของปีงบประมาณ 52 ต่ำเป้าถึง 3 แสนล้านบาท ประกอบกับเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยที่ยังไม่ฟื้นตัวจึงส่งผลให้ต้องปรับลดงบประมาณรายจ่ายปี 53 ลง เป็นผลให้กระทรวงการคลังต้องเร่งหาช่องทางจัดหาแหล่งรายได้เพิ่มเติมเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม โดยเฉพาะในปีงบ 53
แหล่งเงินดังกล่าวได้แก่ เงินได้ของมหาวิทยาลัยต่างๆของรัฐ เช่น เงินจากการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษาซึ่งปัจจุบันพบว่ามีหลายมหาวิทยาลัยเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโทจำนวนมากและนำเงินจากส่วนนี้ไปฝากไว้ ยังไม่มีภาระจ่ายเร่งด่วน นอกจากนี้ยังมีเงินจากค่าธรรมเนียมศาล ซึ่งเกิดจากผู้ฟ้องร้องในคดีแพ่งต่างๆ ต้องวางเงินจ่ายค่าธรรมเนียมศาลเพื่อฟ้องร้องคดี โดยเงินเหล่านี้จะได้รับคืนก็ต่อเมื่อชนะคดี ซึ่งแต่ละคดีก็มีเวลาถึง 2-3 ปี คาดรายได้จากเงินนอกงบประมาณที่จะขอยืมมาใช้จ่ายเสริมสภาพคล่องของภาครัฐในปี 53 อยูที่ระดับหมื่นล้านบาท
อธิบดีกรมบัญชีกลางกล่าวว่า ทั้งมหาวิทยาลัยรัฐและศาล ถือเป็นเป็นโอกาสให้กรมบัญชีกลางหยิบยืมเงินมาจำนวนหนึ่ง โดยจะชำระคืนเมื่อสถานเศรษฐกิจดีขึ้น หรือเมื่อมีรายได้เข้าคลังตามสมควร
"ในฐานะตรวจสอบติดตามประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐเราจะดำเนินการ เป็นหน่วยงานที่มีเงินเหลืออยู่มากและไม่มีภาระจ่ายเร่งด่วนเท่านั้น"
น.ส.สุทธิรัตน์กล่าวและว่า เครื่องมือจากเงินนอกประมาณดังกล่าวนี้ถือเป็นเครื่องมือทางการคลังที่ยังไม่เคยนำมาใช้ เช่น รายได้ และการก่อหนี้สาธารณะ ครั้งนี้ถือเป็นความจำเป็นเนื่องจากรายได้ปรับลดลงมากและภาระรัฐบาลที่เพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ กองทุนเงินนอกงบประมาณปัจจุบันกรมบัญชีกลางดูแลอยู่ 95 กองทุน โดยจากการตรวจสอบเมื่อปี 50 มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 1.5 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นทุน 7.9 แสนล้านบาทและหนี้สิน 7.8 แสนล้านบาท ซึ่งทั้งหมดนี้กระทรวงการคลังมีอำนาจบริหารจัดการทั้งยกเลิก ยุบเลิกและสั่งการให้นำเงินคืนบางส่วนได้ หากประเมินพบว่าไม่มีประสิทธิภาพในการดำเนินงาน โดยเป็นการลงนามของ รมว.คลัง โดยตรง
น.ส.สุทธิรัตน์ รัตนโชติ รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางมีแนวคิดจะยืมเงินนอกงบประมาณบางส่วนเพื่อปรับมาใช้จัดสรรในโครงการต่างๆ ตามที่รัฐบาลยังขาดแคลนเงินจะจัดสรรให้ ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาหน่วยงานที่จะต้องเข้าไปเจรจา การดำเนินการครั้งนี้เกิดขึ้นภายหลังตัวเลขการจัดเก็บรายได้ของปีงบประมาณ 52 ต่ำเป้าถึง 3 แสนล้านบาท ประกอบกับเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยที่ยังไม่ฟื้นตัวจึงส่งผลให้ต้องปรับลดงบประมาณรายจ่ายปี 53 ลง เป็นผลให้กระทรวงการคลังต้องเร่งหาช่องทางจัดหาแหล่งรายได้เพิ่มเติมเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม โดยเฉพาะในปีงบ 53
แหล่งเงินดังกล่าวได้แก่ เงินได้ของมหาวิทยาลัยต่างๆของรัฐ เช่น เงินจากการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษาซึ่งปัจจุบันพบว่ามีหลายมหาวิทยาลัยเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโทจำนวนมากและนำเงินจากส่วนนี้ไปฝากไว้ ยังไม่มีภาระจ่ายเร่งด่วน นอกจากนี้ยังมีเงินจากค่าธรรมเนียมศาล ซึ่งเกิดจากผู้ฟ้องร้องในคดีแพ่งต่างๆ ต้องวางเงินจ่ายค่าธรรมเนียมศาลเพื่อฟ้องร้องคดี โดยเงินเหล่านี้จะได้รับคืนก็ต่อเมื่อชนะคดี ซึ่งแต่ละคดีก็มีเวลาถึง 2-3 ปี คาดรายได้จากเงินนอกงบประมาณที่จะขอยืมมาใช้จ่ายเสริมสภาพคล่องของภาครัฐในปี 53 อยูที่ระดับหมื่นล้านบาท
อธิบดีกรมบัญชีกลางกล่าวว่า ทั้งมหาวิทยาลัยรัฐและศาล ถือเป็นเป็นโอกาสให้กรมบัญชีกลางหยิบยืมเงินมาจำนวนหนึ่ง โดยจะชำระคืนเมื่อสถานเศรษฐกิจดีขึ้น หรือเมื่อมีรายได้เข้าคลังตามสมควร
"ในฐานะตรวจสอบติดตามประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐเราจะดำเนินการ เป็นหน่วยงานที่มีเงินเหลืออยู่มากและไม่มีภาระจ่ายเร่งด่วนเท่านั้น"
น.ส.สุทธิรัตน์กล่าวและว่า เครื่องมือจากเงินนอกประมาณดังกล่าวนี้ถือเป็นเครื่องมือทางการคลังที่ยังไม่เคยนำมาใช้ เช่น รายได้ และการก่อหนี้สาธารณะ ครั้งนี้ถือเป็นความจำเป็นเนื่องจากรายได้ปรับลดลงมากและภาระรัฐบาลที่เพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ กองทุนเงินนอกงบประมาณปัจจุบันกรมบัญชีกลางดูแลอยู่ 95 กองทุน โดยจากการตรวจสอบเมื่อปี 50 มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 1.5 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นทุน 7.9 แสนล้านบาทและหนี้สิน 7.8 แสนล้านบาท ซึ่งทั้งหมดนี้กระทรวงการคลังมีอำนาจบริหารจัดการทั้งยกเลิก ยุบเลิกและสั่งการให้นำเงินคืนบางส่วนได้ หากประเมินพบว่าไม่มีประสิทธิภาพในการดำเนินงาน โดยเป็นการลงนามของ รมว.คลัง โดยตรง