นายกรัฐมนตรีเปิดการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระดับเอเชีย ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ ระบุ ฟิสิกส์เป็นสาขาวิชาที่สำคัญต่อความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีของประเทศ เผยมี 7 ประเทศถอนตัวเพราะสถานการณ์ในประเทศ เหลือมาร่วมแข่ง 15 ประเทศ แต่ รมว.ศึกษาฯ ขอใช้เวทีนี้พิสูจน์ความสงบปลอดภัยของไทย ด้านตัวแทนมองโกเลีย-เวียดนาม ยืนยันไม่กังวลเรื่องความปลอดภัย
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระดับทวีปเอเชีย ครั้งที่ 10 (10th ASIAN Physics Olympiad 2009 : APhO 2009) ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ จัดโดยมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสมาคมฟิสิกส์ไทย ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 24 เมษายน ถึง 2 พฤษภาคม 2552 โดยมีหัวหน้าทีมและผู้เข้าร่วมการแข่งขันจาก 15 ประเทศในทวีปเอเชีย
นายกรัฐมนตรี กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมแข่งขัน และกล่าวว่า ประเทศไทยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่ทรงสนับสนุนการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการมายาวนาน วิชาฟิสิกส์จะเป็นศาสตร์พื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาประเทศโดยเฉพาะความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี
ด้านนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวให้สัมภาษณ์แสดงความมั่นใจในศักยภาพของเด็กไทยในด้านฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ เชื่อว่า จะสามารถทำผลงานจากการแข่งขันครั้งนี้ได้อย่างดี ส่วนกรณีมีบางประเทศถอนตัวจากการเข้าร่วมแข่งขันเนื่องจากสถานการณ์ในประเทศไทยนั้น ตนไม่รู้สึกกังวล และคิดว่าจะใช้โอกาสนี้ในการพิสูจน์ความสงบปลอดภัยของประเทศไทย
นายวุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่าจากเดิมจะมีผู้เข้าร่วมแข่งขัน 24 ทีม จาก 22 ประเทศ แต่ปรากฏว่าในสถานการณ์บ้านเมืองที่ผ่านมา ทำให้ 7 ประเทศตัดสินใจถอนตัวจากการเดินทางมาเข้าร่วมการแข่งขันในประเทศไทย ตามคำแนะนำของรัฐบาลของแต่ละประเทศ เหลือผู้เข้าแข่งขัน 17 ทีม จาก 15 ประเทศ ซึ่งผู้จัดการแข่งขันจะดูแลความปลอดภัยอย่างเต็มที่ ซึ่งหลายประเทศที่มาร่วมแข่งขันได้สอบถามมาตรการรักษาความปลอดภัยมาก่อนหน้านี้แล้ว
สำหรับผู้เข้าแข่งขันชาวไทย 16 คน จาก 2 ทีม นอกจากจะมุ่งมั่นทำอย่างเต็มที่เพื่อสร้างชื่อเสียงให้ประเทศแล้ว ยังกล่าวว่าจะใช้โอกาสนี้สร้างมิตรภาพกับเพื่อนๆ จากหลายประเทศ รวมทั้งจะบอกว่าประเทศไทยมีความปลอดภัยและสงบสุขดีแล้ว ขณะที่ผู้เข้าแข่งขันที่เดินทางมา ก็ไม่มีความกังวลใจต่อสถานการณ์บ้านเมือง เช่น นายดินฉังตือ ผู้แทนจากเวียดนาม และ น.ส.ทัดชา ปัตซิงกิล ผู้แทนจากมองโกเลีย ต่างบอกว่าประเทศไทยสวยงามน่าอยู่ และเชื่อมั่นในความปลอดภัย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับประเทศที่ตัดสินใจถอนตัวจากการแข่งขันครั้งนี้ 7 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย กัมพูชา ฮ่องกง คีร์กีซสถาน ลาว มาเก๊า และ สิงคโปร์ คงเหลือประเทศที่เข้าร่วม 15 ประเทศ ได้แก่ บรูไน จีน ไต้หวัน อินเดีย อินโดนีเซีย อิสราเอล คาซัคสถาน มาเลเซีย มองโกเลีย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ทาจิกิสถาน เติร์กเมนิสถาน เวียดนาม และไทย
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระดับทวีปเอเชีย ครั้งที่ 10 (10th ASIAN Physics Olympiad 2009 : APhO 2009) ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ จัดโดยมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสมาคมฟิสิกส์ไทย ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 24 เมษายน ถึง 2 พฤษภาคม 2552 โดยมีหัวหน้าทีมและผู้เข้าร่วมการแข่งขันจาก 15 ประเทศในทวีปเอเชีย
นายกรัฐมนตรี กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมแข่งขัน และกล่าวว่า ประเทศไทยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่ทรงสนับสนุนการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการมายาวนาน วิชาฟิสิกส์จะเป็นศาสตร์พื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาประเทศโดยเฉพาะความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี
ด้านนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวให้สัมภาษณ์แสดงความมั่นใจในศักยภาพของเด็กไทยในด้านฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ เชื่อว่า จะสามารถทำผลงานจากการแข่งขันครั้งนี้ได้อย่างดี ส่วนกรณีมีบางประเทศถอนตัวจากการเข้าร่วมแข่งขันเนื่องจากสถานการณ์ในประเทศไทยนั้น ตนไม่รู้สึกกังวล และคิดว่าจะใช้โอกาสนี้ในการพิสูจน์ความสงบปลอดภัยของประเทศไทย
นายวุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่าจากเดิมจะมีผู้เข้าร่วมแข่งขัน 24 ทีม จาก 22 ประเทศ แต่ปรากฏว่าในสถานการณ์บ้านเมืองที่ผ่านมา ทำให้ 7 ประเทศตัดสินใจถอนตัวจากการเดินทางมาเข้าร่วมการแข่งขันในประเทศไทย ตามคำแนะนำของรัฐบาลของแต่ละประเทศ เหลือผู้เข้าแข่งขัน 17 ทีม จาก 15 ประเทศ ซึ่งผู้จัดการแข่งขันจะดูแลความปลอดภัยอย่างเต็มที่ ซึ่งหลายประเทศที่มาร่วมแข่งขันได้สอบถามมาตรการรักษาความปลอดภัยมาก่อนหน้านี้แล้ว
สำหรับผู้เข้าแข่งขันชาวไทย 16 คน จาก 2 ทีม นอกจากจะมุ่งมั่นทำอย่างเต็มที่เพื่อสร้างชื่อเสียงให้ประเทศแล้ว ยังกล่าวว่าจะใช้โอกาสนี้สร้างมิตรภาพกับเพื่อนๆ จากหลายประเทศ รวมทั้งจะบอกว่าประเทศไทยมีความปลอดภัยและสงบสุขดีแล้ว ขณะที่ผู้เข้าแข่งขันที่เดินทางมา ก็ไม่มีความกังวลใจต่อสถานการณ์บ้านเมือง เช่น นายดินฉังตือ ผู้แทนจากเวียดนาม และ น.ส.ทัดชา ปัตซิงกิล ผู้แทนจากมองโกเลีย ต่างบอกว่าประเทศไทยสวยงามน่าอยู่ และเชื่อมั่นในความปลอดภัย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับประเทศที่ตัดสินใจถอนตัวจากการแข่งขันครั้งนี้ 7 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย กัมพูชา ฮ่องกง คีร์กีซสถาน ลาว มาเก๊า และ สิงคโปร์ คงเหลือประเทศที่เข้าร่วม 15 ประเทศ ได้แก่ บรูไน จีน ไต้หวัน อินเดีย อินโดนีเซีย อิสราเอล คาซัคสถาน มาเลเซีย มองโกเลีย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ทาจิกิสถาน เติร์กเมนิสถาน เวียดนาม และไทย