สธ.ห่วง “โรคไข้หูดับ” เล่นงานคนเปิบลาบ หลู้ หมูดิบ ฉลองสงกรานต์ ชี้ เสี่ยงทั้งตายหรือหูหนวกถาวร เผยปี 2551 พบผู้ป่วย 231 ราย เสียชีวิต 11 ราย ให้ อสม.รณรงค์ประชาชนในภาคเหนือรับประทานหมูปรุงสุก
วันที่ 3 เมษายน ที่จังหวัดแพร่ นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดประชุม อสม.จังหวัดแพร่ จำนวน 6,000 คน เพื่อมอบนโยบายในการทำงาน ที่เน้นหนักเรื่องการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแก่ประชาชน ลดปัญหาการเจ็บป่วยลงให้มากที่สุด
นายวิทยา กล่าวว่า พฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในแถบภาคเหนือที่น่าห่วงขณะนี้ คือ การนิยมบริโภคอาหารสุกๆ ดิบๆ โดยเฉพาะเนื้อหมูที่ชำแหละกันเองในหมู่บ้าน และนำมากินดิบๆ หรือสุกๆ ดิบๆ เพราะเชื่อว่ารสชาติอร่อยกว่าเนื้อสุก และเชื่อว่า เครื่องปรุงต่างๆ เช่น พริก เกลือ น้ำมะนาว จะทำให้เชื้อโรคและพยาธิที่อยู่ในเนื้อหมูตาย ซึ่งความเชื่อดังกล่าวเสี่ยงต่อการเกิดโรคชนิดหนึ่งที่เรียกกันว่า ไข้หูดับ หรือโรคสเตรปโตคอกคัส ซูอิส
ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่จะถึงนี้ จะมีประชาชนเดินทางกลับมาร่วมฉลองที่ภูมิลำเนากันมาก และมักจะมีงานบุญใหญ่ ซึ่งมีการจัดเลี้ยงคนจำนวนมาก ได้กำชับให้ อสม.ทุกคนในเขตภาคเหนือ ทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ออกให้ความรู้ประชาชน ให้ทราบความรุนแรงของโรค รณรงค์ให้เปลี่ยนพฤติกรรมการกิน เลิกกินเนื้อหมู หรือเลือดหมูดิบ เช่น ลาบ หลู้ ที่นำเลือดหมูสดๆ มาราดก่อนรับประทาน แม้ว่าเนื้อจะสุกแล้วก็ตาม แต่เลือดดิบก็ทำให้เกิดโรคได้เหมือนกัน รวมทั้งการกินหมูกระทะ หมูจุ่ม ต้องทำให้สุกจริงๆ ก่อนบริโภค ทั้งนี้ เชื้อสเตรปโตคอกคัส ซูอิส จะตายเมื่อถูกความร้อนในระดับ 70 องศาเซลเซียส นาน 10 นาที และถูกทำลายจนหมด สำหรับผู้ชำแหละหรือผู้สัมผัสเนื้อหมู ควรสวมถุงมือป้องกันการติดเชื้อทุกครั้ง หากสงสัยว่าเนื้อหมูอาจปนเปื้อนเชื้อ หรือน่าจะเป็นอันตราย สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตรวจสอบได้
ด้านนพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า โรคไข้หูดับ เกิดจากเชื้อสเตรปโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus suis) เชื้ออยู่บริเวณจมูก คอ หรือต่อมทอนซิลของหมู โรคนี้อันตรายต่อคนมาก หลังได้รับเชื้อ 1-3 วัน จะทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีไข้สูง ปวดศีรษะ อาเจียน บางรายไม่รู้สึกตัว ชักกระตุก เป็นอัมพาต บางรายอาจมีเยื่อบุหัวใจ ปอดอักเสบ สายตาพร่ามัว มีโอกาสเสียชีวิตร้อยละ 30 หรืออาจหูหนวกถาวร พบร้อยละ 80 หากประชาชนมีอาการป่วยที่สำคัญ เช่น มีไข้สูง ปวดศีรษะหลังกินหมูดิบภายใน 3 วัน ให้รีบไปพบแพทย์ด่วน และต้องบอกประวัติการกินหมูดิบให้ทราบ หากมาพบแพทย์เร็วจะช่วยลดอัตราเสียชีวิตและหูหนวกได้
นพ.ปราชญ์ กล่าวต่อว่า การติดเชื้อสเตรปโตคอกคัส ซูอิส สมารถติดได้ 2 ทางคือ การกินหมูดิบๆ ทั้งเนื้อ เครื่องใน เลือด และติดจากการสัมผัสกับหมูที่ติดเชื้อ โดยเฉพาะเกษตรกร ผู้เลี้ยง คนชำแหละ โรคนี้มักพบผู้ป่วยมากในช่วงเทศกาล อาทิ สงกรานต์ งานบุญ งานบวช ที่มีการจัดเลี้ยงในกลุ่มคนจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่ชาวบ้านจะฆ่าและชำแหละสัตว์เอง ในปี 2551 สำนักระบาดวิทยาพบผู้ป่วยจากทั่วประเทศ 230 ราย เสียชีวิต 11 ราย ผู้ป่วยร้อยละ 93 อยู่ในภาคเหนือ จำนวน 214 ราย ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา และเชียงราย โดยพบการระบาดใหญ่ครั้งล่าสุด เมื่อกรกฎาคม 2551 ที่ลำพูนและเชียงใหม่ พบผู้ป่วยเกือบ 60 ราย หลังจากกินลาบหลู้หมูดิบในงาน
วันที่ 3 เมษายน ที่จังหวัดแพร่ นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดประชุม อสม.จังหวัดแพร่ จำนวน 6,000 คน เพื่อมอบนโยบายในการทำงาน ที่เน้นหนักเรื่องการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแก่ประชาชน ลดปัญหาการเจ็บป่วยลงให้มากที่สุด
นายวิทยา กล่าวว่า พฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในแถบภาคเหนือที่น่าห่วงขณะนี้ คือ การนิยมบริโภคอาหารสุกๆ ดิบๆ โดยเฉพาะเนื้อหมูที่ชำแหละกันเองในหมู่บ้าน และนำมากินดิบๆ หรือสุกๆ ดิบๆ เพราะเชื่อว่ารสชาติอร่อยกว่าเนื้อสุก และเชื่อว่า เครื่องปรุงต่างๆ เช่น พริก เกลือ น้ำมะนาว จะทำให้เชื้อโรคและพยาธิที่อยู่ในเนื้อหมูตาย ซึ่งความเชื่อดังกล่าวเสี่ยงต่อการเกิดโรคชนิดหนึ่งที่เรียกกันว่า ไข้หูดับ หรือโรคสเตรปโตคอกคัส ซูอิส
ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่จะถึงนี้ จะมีประชาชนเดินทางกลับมาร่วมฉลองที่ภูมิลำเนากันมาก และมักจะมีงานบุญใหญ่ ซึ่งมีการจัดเลี้ยงคนจำนวนมาก ได้กำชับให้ อสม.ทุกคนในเขตภาคเหนือ ทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ออกให้ความรู้ประชาชน ให้ทราบความรุนแรงของโรค รณรงค์ให้เปลี่ยนพฤติกรรมการกิน เลิกกินเนื้อหมู หรือเลือดหมูดิบ เช่น ลาบ หลู้ ที่นำเลือดหมูสดๆ มาราดก่อนรับประทาน แม้ว่าเนื้อจะสุกแล้วก็ตาม แต่เลือดดิบก็ทำให้เกิดโรคได้เหมือนกัน รวมทั้งการกินหมูกระทะ หมูจุ่ม ต้องทำให้สุกจริงๆ ก่อนบริโภค ทั้งนี้ เชื้อสเตรปโตคอกคัส ซูอิส จะตายเมื่อถูกความร้อนในระดับ 70 องศาเซลเซียส นาน 10 นาที และถูกทำลายจนหมด สำหรับผู้ชำแหละหรือผู้สัมผัสเนื้อหมู ควรสวมถุงมือป้องกันการติดเชื้อทุกครั้ง หากสงสัยว่าเนื้อหมูอาจปนเปื้อนเชื้อ หรือน่าจะเป็นอันตราย สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตรวจสอบได้
ด้านนพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า โรคไข้หูดับ เกิดจากเชื้อสเตรปโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus suis) เชื้ออยู่บริเวณจมูก คอ หรือต่อมทอนซิลของหมู โรคนี้อันตรายต่อคนมาก หลังได้รับเชื้อ 1-3 วัน จะทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีไข้สูง ปวดศีรษะ อาเจียน บางรายไม่รู้สึกตัว ชักกระตุก เป็นอัมพาต บางรายอาจมีเยื่อบุหัวใจ ปอดอักเสบ สายตาพร่ามัว มีโอกาสเสียชีวิตร้อยละ 30 หรืออาจหูหนวกถาวร พบร้อยละ 80 หากประชาชนมีอาการป่วยที่สำคัญ เช่น มีไข้สูง ปวดศีรษะหลังกินหมูดิบภายใน 3 วัน ให้รีบไปพบแพทย์ด่วน และต้องบอกประวัติการกินหมูดิบให้ทราบ หากมาพบแพทย์เร็วจะช่วยลดอัตราเสียชีวิตและหูหนวกได้
นพ.ปราชญ์ กล่าวต่อว่า การติดเชื้อสเตรปโตคอกคัส ซูอิส สมารถติดได้ 2 ทางคือ การกินหมูดิบๆ ทั้งเนื้อ เครื่องใน เลือด และติดจากการสัมผัสกับหมูที่ติดเชื้อ โดยเฉพาะเกษตรกร ผู้เลี้ยง คนชำแหละ โรคนี้มักพบผู้ป่วยมากในช่วงเทศกาล อาทิ สงกรานต์ งานบุญ งานบวช ที่มีการจัดเลี้ยงในกลุ่มคนจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่ชาวบ้านจะฆ่าและชำแหละสัตว์เอง ในปี 2551 สำนักระบาดวิทยาพบผู้ป่วยจากทั่วประเทศ 230 ราย เสียชีวิต 11 ราย ผู้ป่วยร้อยละ 93 อยู่ในภาคเหนือ จำนวน 214 ราย ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา และเชียงราย โดยพบการระบาดใหญ่ครั้งล่าสุด เมื่อกรกฎาคม 2551 ที่ลำพูนและเชียงใหม่ พบผู้ป่วยเกือบ 60 ราย หลังจากกินลาบหลู้หมูดิบในงาน