รัฐบาลผ่านการอภิปรายไม่ไว้วางใจมาได้ กระแสของรัฐบาลดูดีขึ้น รัฐบาลอาจจะลำพองว่าจะสามารถอยู่ไปได้จนครบเทอม แต่นั้นคือภาพลวงตาสำหรับผู้ที่ไม่เข้าใจ ผู้ที่ไม่เห็นสภาพการเมืองที่แท้จริง เรามองเห็นชัดว่ารัฐบาลโดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กำลังหลงทาง และเป็นที่น่าเสียดายที่รัฐบาลยังมองไม่เห็นว่าอะไรคือเหตุวิกฤตชาติ ที่สั่งสมมานานนับ 76 ปี
ความเลวร้ายของชาติ อันเกิดจากแนวคิดของคณะผู้ปกครองไทยที่สืบทอดแนวคิดที่เชื่อว่าระบอบประชาธิปไตยคือรัฐธรรมนูญ การจะทำให้เป็นประชาธิปไตย ก็คือการร่างรัฐธรรมนูญ หรือไม่ก็แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นการพัฒนาให้ประชาธิปไตยดีขึ้น
ดูได้จากรัฐบาลได้แต่งตั้งมอบหมายให้สถาบันพระปกเกล้าฯ ในปัจจุบัน น่าเสียดายที่พวกท่าน ซึ่งมีแนวคิดตรงกันข้ามกับแนวคิด พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ที่ทรงมีแนวคิดสร้างระบอบหรือหลักการปกครองก่อน ยกร่างรัฐธรรมนูญ “ครั้นเมื่อข้าพเจ้ากลับไปกรุงเทพฯ แล้ว และได้เห็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่หลวงประดิษฐ์ ได้นำมาให้ข้าพเจ้าลงนาม ข้าพเจ้ารู้สึกทันทีว่า หลักการ ของผู้ก่อการกับ หลักการ ของข้าพเจ้านั้นไม่พ้องกันเสียแล้ว...
ทั้งนี้ข้าพเจ้าไม่ได้เห็นด้วยกับหลักการเหล่านั้นเลย”...“ครั้นต่อมาในระหว่างที่กำลังร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรอยู่ ข้าพเจ้าก็ได้พยายามตักเตือนและโต้เถียงกับคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญอยู่ตลอดเวลา ว่าควรถือหลัก Democracy อันแท้จริงจึงจะถูก ถ้ามิฉะนั้นจะเกิดทำให้มีความไม่พอใจขึ้นแก่ประชาชน ซึ่งส่วนมากต้องการให้มีการปกครองแบบ Democracy อันแท้ มิฉะนั้น ก็เป็นการเสียเวลาและเป็นการเสี่ยงภัยให้แก่ประเทศโดยใช่ที่ ในเวลาฐานะของบ้านเมืองเราอยู่ในขีดคับขันและยากจน
แนวคิดที่รัฐบาลเริ่มต้น จึงไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้อง แต่เป็นแนวทางที่ผิดพลาดมาแล้วนับตั้งแต่รัฐบาลชุดแรก นับแต่ 2475 เป็นต้นมา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นคนรุ่นใหม่ รุ่นเดียวกับผู้เขียน ก็น่าที่จะได้ฉุกคิด ย้อนระลึกดูการเมืองในอดีตที่มีแต่ความล้มเหลว แล้วท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะเป็นตัวอย่างแห่งความล้มเหลวอีกกระนั้นหรือ อย่ากระนั้นเลย ด้วยความห่วงใยในชาติบ้านเมืองและมีความห่วงใยต่อรัฐบาลด้วยใจจริง เราขอแจกดวงตา ปัญญาสำคัญนี้ให้แก่รัฐบาล ใครก็ได้ช่วยนำส่งแนวคิดนี้ให้แก่รัฐบาลท่านด้วยเถิด
ดังได้กล่าวมาเป็นลำดับแล้วว่าระบอบปัจจุบันนั้นเป็นระบอบรัฐธรรมนูญ หรือเป็นระบอบกฎหมาย เป็นระบอบมิจฉาทิฐิหรือเป็นระบอบเผด็จการอย่างหนึ่ง เมื่อนำมาใช้กับรูปการปกครองระบบรัฐสภา (Parliamentary System) จึงได้ชื่อว่า ระบอบเผด็จการระบบรัฐสภา นี่คือสภาพความเป็นจริง ที่แท้จริงของการเมืองไทย แต่ผู้ปกครองกลับไปบิดเบือนว่าเป็นระบอบประชาธิปไตย เลยทำให้เข้าใจสิ่งที่ผิดว่าเป็นสิ่งถูกต้อง แต่ผลมันคือไม่ว่ารัฐบาลไหนๆ เห็นผิด คิดผิด ปกครองผิด กระทรวง กรม จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ครอบครัว บุคคล ตกอยู่ในกระแสแห่งความชั่วร้าย
บางคนทุ่มเทอุทิศเพื่อชาติอย่างน่าสรรเสริญ แต่กลับล้มเหลว ความดีงาม คุณธรรมจากสถาบันหลักของชาติจะยิ่งใหญ่เพียงใด ก็ไม่อาจจะต้านทานความเลวร้ายที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองนี้ได้ เมื่อหลงไม่รู้ว่าอะไรคือเหตุแห่งความหายนะของชาติ
ในความถูกต้องโดยธรรมรัฐธรรมนูญจะต้องมีองค์ประกอบหลัก 2 ด้าน เป็นความสัมพันธ์ระหว่างหลักการปกครอง (Principle of Government) กับวิธีการปกครอง (Methods of Government) หรือเป็นความสัมพันธ์ระหว่างจุดมุ่งหมายของการปกครอง (Aim of Government) กับมรรควิธีในการปกครอง (Ways or Means of Government) หรือเป็นความสัมพันธ์ระหว่างยุทธศาสตร์ของการปกครอง (Strategy of Government) กับยุทธวิธีในการปกครอง (Tactics of Government)
อีกนัยหนึ่ง หลักการปกครองที่แท้จริง จะต้องเป็นธรรม เป็นสิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลง มีความมั่นคงดุจดังสภาวะบรมธรรม, นิพพาน, หรือธรรมาธิปไตย
ส่วน วิธีการปกครอง หรือมรรควิธีในการปกครอง ยุทธวิธีในการปกครองนั้นมีความแตกต่างหลากหลาย และเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลาเพื่อความเหมาะสมตามกาลสมัย ดังตัวอย่าง
เราสมมติ กรุงเทพฯ เป็นหลักการปกครอง หรือเป็นจุดมุ่งหมายของการปกครอง ส่วนวิธีการปกครอง ได้แก่ การเดิน การวิ่ง ขี่รถจักรยาน รถมอเตอร์ไซค์ รถยนต์ รถไฟ เรือ เครื่องบิน ฯลฯ จะเดินทางด้วยอะไรก็ตามต่างก็มีจุดมุ่งหมายคือกรุงเทพฯ เพียงแต่จะถึงช้าหรือเร็วเท่านั้น
การปกครองปัจจุบัน ไม่มีหลักการปกครอง หรือไม่มีจุดมุ่งหมาย แต่มีหนทาง ก็จะกลายเป็นไปคนละทิศคนละทาง ในท้ายที่สุดก็ไปตกเหวทุกครั้งไป
อีกนัยหนึ่ง หลักการปกครองจะต้องแผ่กระจายโอบอุ้มคุ้มครองปวงชนในประเทศอย่างเสมอหน้ากันทุกคน มีความเป็นธรรมโดยไม่เลือกชนชั้น วรรณะ และความเชื่อทางศาสนา ก็จะเป็นปัจจัยให้หมดเงื่อนไข เพราะรัฐได้ให้ความเป็นธรรมทางการเมืองต่อประชาชนทุกหมู่เหล่า กลุ่มชนไหนคิดจะแบ่งแยกดินแดนก็เกิดขึ้นไม่ได้ แต่ระบอบการเมืองปัจจุบันกลับตรงกันข้ามไม่เป็นธรรมต่อประชาชนค่อนประเทศ มันจึงเป็นระบอบการเมืองแบบหยาบๆ ดูถูกเหยียดหยามคนไทยด้วยกัน จนทำให้คนไทยทั่วไปโง่งมงาย ตกต่ำลดตัวลงมาเป็นทาสนายเงินทางการเมือง ฯลฯ
เมื่อระบอบปัจจุบันไม่มีหลักการปกครอง มีแต่วิธีการปกครองได้แก่หมวดและมาตราต่างๆ เช่นนี้ จึงเป็นเหตุแห่งความเลวร้ายนำความหายนะมาให้อย่างไม่รู้จบสิ้น เพราะความเห็นผิด คิดผิด พูดผิด ทำผิด เรื่อยมาซ้ำแล้วซ้ำเล่า คิดไตร่ตรองไม่เป็น เชื่อและทำตามกันมาอย่างผิดๆ ของชนชั้นนำ และผู้ปกครองรุ่นแล้วรุ่นเล่า อย่างมิได้ฉุกคิดกันเลย อุปมาได้ว่า...
1. ดุจดังดอกไม้ ที่วางไว้เรี่ยราดกระจัดกระจาย เมื่อลมพัดมาก็จะปลิวว่อนไปคนละทิศละทาง ซึ่งต่างจาก การปกครองแบบธรรมาธิปไตย ที่มีความสัมพันธ์อย่างถูกต้องและเป็นหนึ่งเดียวกับกฎธรรมชาติ ดุจพวงมาลัยที่ร้อยไว้อย่างสวยงาม เพื่อนำไปถวายสักการะพระพุทธเจ้า ถวายสิ่งที่ควรเคารพบูชา เช่น พระมหากษัตริย์ พ่อแม่ ครูอาจารย์ เป็นต้น
2. ดุจดังวัวป่า วัวป่าเดินไปอย่างไม่มีจุดหมายไร้เจ้าของดูแล เดินไปอย่างไร้ขอบเขต สักวันหนึ่งก็จะถูกนายพรานใจบาปหยาบช้าทำร้ายเอาในที่สุด
3. ดุจดังว่าวขาด ปกติว่าวจะต้องมีคนชักกระตุก เพื่อให้ว่าวกินลมและขึ้นไปโฉบเฉี่ยวอยู่บนท้องฟ้าได้ตามที่เจ้าของต้องการ ระบอบการปกครองปัจจุบันอุปมาดังว่าวขาดย่อมหลุดลอยเคว้งคว้าง ควบคุมไม่ได้ ไปตกที่ไหนๆ ก็ยากที่จะตามคืนกลับมาได้
4. ดุจดังคลองโคกขาม คลองโคกข้ามใน สมัยพระเจ้าเสือ ทรงเสด็จประพาสทางชลมารค โดยเรือพระที่นั่ง มีพันท้ายนรสิงห์ ซึ่งถือว่าเป็นสุดยอดนายท้ายเรือในสมัยนั้น มีกฎมณเฑียรบาลว่าถ้าใครเป็นนายท้ายเรือ ไม่สามารถบังคับเรือ ทำให้หัวเรือพระที่นั่งหัก มันผู้นั้นจะต้องถูกประหารชีวิต ครั้งนั้นพันท้ายนรสิงห์ ไม่สามารถบังคับเรือพระที่นั่งได้เพราะสุดวิสัยชนเอากิ่งไม้หัวเรือพระที่นั่งหัก เนื่องจากคลองโคกขามนั้นคดเคี้ยววกวนมาก ในครั้งนั้นพระเจ้าเสือ ก็ทรงเห็นว่าสุดวิสัยจึงได้ละเว้นการประหารชีวิตแก่พันท้ายนรสิงห์ แต่พันท้ายนรสิงห์ไม่ยินยอม ว่าเพื่อให้เป็นไปตามกฎมณเฑียรบาล แม้จะแก้ไขด้วยการประหารหุ่นทำเป็นศาลเพียงตา พันท้ายนรสิงห์ก็ไม่ยินยอม ในที่สุดพระเจ้าเสือก็จำยอมต้องประหารชีวิตพันท้ายนรสิงห์
ระบอบปัจจุบันจึงอุปมาดุจดังคลองโคกขาม ที่คดเคี้ยววกวนมาก จะเห็นได้ว่าไม่ว่าผู้นำรัฐบาลคนใดๆ หรือผู้นำรัฐนาวาใดๆ จะเป็นใครก็ตามล้วนแล้วแต่นำรัฐนาวาไปชนพลิกคว่ำเรื่อยมา ยิ่งนายท้ายเรือโฉเก ก็ยิ่งไปกันใหญ่ คลองมันคด จะให้เรือวิ่งตรงได้อย่างไรกัน
ฉะนั้น ผู้มีอำนาจโดยธรรมและปัญญาอันยิ่ง จะต้องจัดการระบอบการเมืองให้ถูกต้องโดยธรรม ดุจดังคลองชลประทาน ท่านตรองดูเถิด คลองมันคด จะให้น้ำไหลให้ตรงได้อย่างไรกัน
5. ดุจดังคลอง คูน้ำเน่า กทม. อุปมา ชนใดผู้มีโชค ได้หลุดพ้นจากคลองน้ำเน่า (กิเลส) ได้แล้ว เมื่อมองย้อนกลับมองลงไป ก็จะเห็นความเหม็นเน่า หมาเน่า อุจจาระ เป็นมิจฉาทิฐิที่กลุ่มชนมิจฉาทิฐิกำลังเสพ อาบ ดื่ม กิน และต่างก็สาดน้ำเน่าใสหากันอย่างน่าสังเวชใจยิ่งนัก แต่ชนสัมมาทิฐิ หาเกี่ยวข้องไม่ อย่างดีก็จะเมตตา เมตตา เมตตา ช่วยบอกแก่ชนที่พอจะมีอุปนิสัยได้ดวงตาเห็นธรรม เพื่อจะได้ร่วมมือแก้ไขน้ำเน่าต่อไป
6. ดุจดังคูถ ส่วนนักการเมืองดุจดังหนอน “หนอนย่อมไม่รู้จักคูถที่ดูดกิน”
7. ดุจดังรังปลวก ส่วนนักการเมืองดุจดังปลวก (กินบ้านกินเมือง กว่าจะรู้ตัวอาจจะสายเกินแก้) ไม่รู้จักแก้ไขเหตุแห่งความเลวร้าย ก็แก้ปัญหาไม่ได้
8. ดุจดังท่อประปาสนิมเกรอะกรัง น้ำรั่วไหลซึมไปมากมาย ดุจนักการเมืองฉ้อราษฎร์บังหลวงเอาไปหมด ส่วนประโยชน์ของประเทศชาติดุจน้ำที่ไหลหยดติ๋งๆ
9. ดุจดังพญามาร จะจัดการกับเสนามารก็ยากอยู่แล้ว และการไม่กำจัดพญามาร หัวหน้านักการเมืองเข้ามาแล้วก็จะกลายเป็นเสนามารคนต่อไป เห็นกันชัดๆ นายกรัฐมนตรีไม่รู้กี่คนต่อกี่คน ต่างก็เดินซ้ำรอยแห่งความพินาศ หวังว่ารัฐบาลจะได้ดวงตาเป็นธรรม
ความเลวร้ายของชาติ อันเกิดจากแนวคิดของคณะผู้ปกครองไทยที่สืบทอดแนวคิดที่เชื่อว่าระบอบประชาธิปไตยคือรัฐธรรมนูญ การจะทำให้เป็นประชาธิปไตย ก็คือการร่างรัฐธรรมนูญ หรือไม่ก็แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นการพัฒนาให้ประชาธิปไตยดีขึ้น
ดูได้จากรัฐบาลได้แต่งตั้งมอบหมายให้สถาบันพระปกเกล้าฯ ในปัจจุบัน น่าเสียดายที่พวกท่าน ซึ่งมีแนวคิดตรงกันข้ามกับแนวคิด พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ที่ทรงมีแนวคิดสร้างระบอบหรือหลักการปกครองก่อน ยกร่างรัฐธรรมนูญ “ครั้นเมื่อข้าพเจ้ากลับไปกรุงเทพฯ แล้ว และได้เห็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่หลวงประดิษฐ์ ได้นำมาให้ข้าพเจ้าลงนาม ข้าพเจ้ารู้สึกทันทีว่า หลักการ ของผู้ก่อการกับ หลักการ ของข้าพเจ้านั้นไม่พ้องกันเสียแล้ว...
ทั้งนี้ข้าพเจ้าไม่ได้เห็นด้วยกับหลักการเหล่านั้นเลย”...“ครั้นต่อมาในระหว่างที่กำลังร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรอยู่ ข้าพเจ้าก็ได้พยายามตักเตือนและโต้เถียงกับคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญอยู่ตลอดเวลา ว่าควรถือหลัก Democracy อันแท้จริงจึงจะถูก ถ้ามิฉะนั้นจะเกิดทำให้มีความไม่พอใจขึ้นแก่ประชาชน ซึ่งส่วนมากต้องการให้มีการปกครองแบบ Democracy อันแท้ มิฉะนั้น ก็เป็นการเสียเวลาและเป็นการเสี่ยงภัยให้แก่ประเทศโดยใช่ที่ ในเวลาฐานะของบ้านเมืองเราอยู่ในขีดคับขันและยากจน
แนวคิดที่รัฐบาลเริ่มต้น จึงไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้อง แต่เป็นแนวทางที่ผิดพลาดมาแล้วนับตั้งแต่รัฐบาลชุดแรก นับแต่ 2475 เป็นต้นมา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นคนรุ่นใหม่ รุ่นเดียวกับผู้เขียน ก็น่าที่จะได้ฉุกคิด ย้อนระลึกดูการเมืองในอดีตที่มีแต่ความล้มเหลว แล้วท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะเป็นตัวอย่างแห่งความล้มเหลวอีกกระนั้นหรือ อย่ากระนั้นเลย ด้วยความห่วงใยในชาติบ้านเมืองและมีความห่วงใยต่อรัฐบาลด้วยใจจริง เราขอแจกดวงตา ปัญญาสำคัญนี้ให้แก่รัฐบาล ใครก็ได้ช่วยนำส่งแนวคิดนี้ให้แก่รัฐบาลท่านด้วยเถิด
ดังได้กล่าวมาเป็นลำดับแล้วว่าระบอบปัจจุบันนั้นเป็นระบอบรัฐธรรมนูญ หรือเป็นระบอบกฎหมาย เป็นระบอบมิจฉาทิฐิหรือเป็นระบอบเผด็จการอย่างหนึ่ง เมื่อนำมาใช้กับรูปการปกครองระบบรัฐสภา (Parliamentary System) จึงได้ชื่อว่า ระบอบเผด็จการระบบรัฐสภา นี่คือสภาพความเป็นจริง ที่แท้จริงของการเมืองไทย แต่ผู้ปกครองกลับไปบิดเบือนว่าเป็นระบอบประชาธิปไตย เลยทำให้เข้าใจสิ่งที่ผิดว่าเป็นสิ่งถูกต้อง แต่ผลมันคือไม่ว่ารัฐบาลไหนๆ เห็นผิด คิดผิด ปกครองผิด กระทรวง กรม จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ครอบครัว บุคคล ตกอยู่ในกระแสแห่งความชั่วร้าย
บางคนทุ่มเทอุทิศเพื่อชาติอย่างน่าสรรเสริญ แต่กลับล้มเหลว ความดีงาม คุณธรรมจากสถาบันหลักของชาติจะยิ่งใหญ่เพียงใด ก็ไม่อาจจะต้านทานความเลวร้ายที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองนี้ได้ เมื่อหลงไม่รู้ว่าอะไรคือเหตุแห่งความหายนะของชาติ
ในความถูกต้องโดยธรรมรัฐธรรมนูญจะต้องมีองค์ประกอบหลัก 2 ด้าน เป็นความสัมพันธ์ระหว่างหลักการปกครอง (Principle of Government) กับวิธีการปกครอง (Methods of Government) หรือเป็นความสัมพันธ์ระหว่างจุดมุ่งหมายของการปกครอง (Aim of Government) กับมรรควิธีในการปกครอง (Ways or Means of Government) หรือเป็นความสัมพันธ์ระหว่างยุทธศาสตร์ของการปกครอง (Strategy of Government) กับยุทธวิธีในการปกครอง (Tactics of Government)
อีกนัยหนึ่ง หลักการปกครองที่แท้จริง จะต้องเป็นธรรม เป็นสิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลง มีความมั่นคงดุจดังสภาวะบรมธรรม, นิพพาน, หรือธรรมาธิปไตย
ส่วน วิธีการปกครอง หรือมรรควิธีในการปกครอง ยุทธวิธีในการปกครองนั้นมีความแตกต่างหลากหลาย และเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลาเพื่อความเหมาะสมตามกาลสมัย ดังตัวอย่าง
เราสมมติ กรุงเทพฯ เป็นหลักการปกครอง หรือเป็นจุดมุ่งหมายของการปกครอง ส่วนวิธีการปกครอง ได้แก่ การเดิน การวิ่ง ขี่รถจักรยาน รถมอเตอร์ไซค์ รถยนต์ รถไฟ เรือ เครื่องบิน ฯลฯ จะเดินทางด้วยอะไรก็ตามต่างก็มีจุดมุ่งหมายคือกรุงเทพฯ เพียงแต่จะถึงช้าหรือเร็วเท่านั้น
การปกครองปัจจุบัน ไม่มีหลักการปกครอง หรือไม่มีจุดมุ่งหมาย แต่มีหนทาง ก็จะกลายเป็นไปคนละทิศคนละทาง ในท้ายที่สุดก็ไปตกเหวทุกครั้งไป
อีกนัยหนึ่ง หลักการปกครองจะต้องแผ่กระจายโอบอุ้มคุ้มครองปวงชนในประเทศอย่างเสมอหน้ากันทุกคน มีความเป็นธรรมโดยไม่เลือกชนชั้น วรรณะ และความเชื่อทางศาสนา ก็จะเป็นปัจจัยให้หมดเงื่อนไข เพราะรัฐได้ให้ความเป็นธรรมทางการเมืองต่อประชาชนทุกหมู่เหล่า กลุ่มชนไหนคิดจะแบ่งแยกดินแดนก็เกิดขึ้นไม่ได้ แต่ระบอบการเมืองปัจจุบันกลับตรงกันข้ามไม่เป็นธรรมต่อประชาชนค่อนประเทศ มันจึงเป็นระบอบการเมืองแบบหยาบๆ ดูถูกเหยียดหยามคนไทยด้วยกัน จนทำให้คนไทยทั่วไปโง่งมงาย ตกต่ำลดตัวลงมาเป็นทาสนายเงินทางการเมือง ฯลฯ
เมื่อระบอบปัจจุบันไม่มีหลักการปกครอง มีแต่วิธีการปกครองได้แก่หมวดและมาตราต่างๆ เช่นนี้ จึงเป็นเหตุแห่งความเลวร้ายนำความหายนะมาให้อย่างไม่รู้จบสิ้น เพราะความเห็นผิด คิดผิด พูดผิด ทำผิด เรื่อยมาซ้ำแล้วซ้ำเล่า คิดไตร่ตรองไม่เป็น เชื่อและทำตามกันมาอย่างผิดๆ ของชนชั้นนำ และผู้ปกครองรุ่นแล้วรุ่นเล่า อย่างมิได้ฉุกคิดกันเลย อุปมาได้ว่า...
1. ดุจดังดอกไม้ ที่วางไว้เรี่ยราดกระจัดกระจาย เมื่อลมพัดมาก็จะปลิวว่อนไปคนละทิศละทาง ซึ่งต่างจาก การปกครองแบบธรรมาธิปไตย ที่มีความสัมพันธ์อย่างถูกต้องและเป็นหนึ่งเดียวกับกฎธรรมชาติ ดุจพวงมาลัยที่ร้อยไว้อย่างสวยงาม เพื่อนำไปถวายสักการะพระพุทธเจ้า ถวายสิ่งที่ควรเคารพบูชา เช่น พระมหากษัตริย์ พ่อแม่ ครูอาจารย์ เป็นต้น
2. ดุจดังวัวป่า วัวป่าเดินไปอย่างไม่มีจุดหมายไร้เจ้าของดูแล เดินไปอย่างไร้ขอบเขต สักวันหนึ่งก็จะถูกนายพรานใจบาปหยาบช้าทำร้ายเอาในที่สุด
3. ดุจดังว่าวขาด ปกติว่าวจะต้องมีคนชักกระตุก เพื่อให้ว่าวกินลมและขึ้นไปโฉบเฉี่ยวอยู่บนท้องฟ้าได้ตามที่เจ้าของต้องการ ระบอบการปกครองปัจจุบันอุปมาดังว่าวขาดย่อมหลุดลอยเคว้งคว้าง ควบคุมไม่ได้ ไปตกที่ไหนๆ ก็ยากที่จะตามคืนกลับมาได้
4. ดุจดังคลองโคกขาม คลองโคกข้ามใน สมัยพระเจ้าเสือ ทรงเสด็จประพาสทางชลมารค โดยเรือพระที่นั่ง มีพันท้ายนรสิงห์ ซึ่งถือว่าเป็นสุดยอดนายท้ายเรือในสมัยนั้น มีกฎมณเฑียรบาลว่าถ้าใครเป็นนายท้ายเรือ ไม่สามารถบังคับเรือ ทำให้หัวเรือพระที่นั่งหัก มันผู้นั้นจะต้องถูกประหารชีวิต ครั้งนั้นพันท้ายนรสิงห์ ไม่สามารถบังคับเรือพระที่นั่งได้เพราะสุดวิสัยชนเอากิ่งไม้หัวเรือพระที่นั่งหัก เนื่องจากคลองโคกขามนั้นคดเคี้ยววกวนมาก ในครั้งนั้นพระเจ้าเสือ ก็ทรงเห็นว่าสุดวิสัยจึงได้ละเว้นการประหารชีวิตแก่พันท้ายนรสิงห์ แต่พันท้ายนรสิงห์ไม่ยินยอม ว่าเพื่อให้เป็นไปตามกฎมณเฑียรบาล แม้จะแก้ไขด้วยการประหารหุ่นทำเป็นศาลเพียงตา พันท้ายนรสิงห์ก็ไม่ยินยอม ในที่สุดพระเจ้าเสือก็จำยอมต้องประหารชีวิตพันท้ายนรสิงห์
ระบอบปัจจุบันจึงอุปมาดุจดังคลองโคกขาม ที่คดเคี้ยววกวนมาก จะเห็นได้ว่าไม่ว่าผู้นำรัฐบาลคนใดๆ หรือผู้นำรัฐนาวาใดๆ จะเป็นใครก็ตามล้วนแล้วแต่นำรัฐนาวาไปชนพลิกคว่ำเรื่อยมา ยิ่งนายท้ายเรือโฉเก ก็ยิ่งไปกันใหญ่ คลองมันคด จะให้เรือวิ่งตรงได้อย่างไรกัน
ฉะนั้น ผู้มีอำนาจโดยธรรมและปัญญาอันยิ่ง จะต้องจัดการระบอบการเมืองให้ถูกต้องโดยธรรม ดุจดังคลองชลประทาน ท่านตรองดูเถิด คลองมันคด จะให้น้ำไหลให้ตรงได้อย่างไรกัน
5. ดุจดังคลอง คูน้ำเน่า กทม. อุปมา ชนใดผู้มีโชค ได้หลุดพ้นจากคลองน้ำเน่า (กิเลส) ได้แล้ว เมื่อมองย้อนกลับมองลงไป ก็จะเห็นความเหม็นเน่า หมาเน่า อุจจาระ เป็นมิจฉาทิฐิที่กลุ่มชนมิจฉาทิฐิกำลังเสพ อาบ ดื่ม กิน และต่างก็สาดน้ำเน่าใสหากันอย่างน่าสังเวชใจยิ่งนัก แต่ชนสัมมาทิฐิ หาเกี่ยวข้องไม่ อย่างดีก็จะเมตตา เมตตา เมตตา ช่วยบอกแก่ชนที่พอจะมีอุปนิสัยได้ดวงตาเห็นธรรม เพื่อจะได้ร่วมมือแก้ไขน้ำเน่าต่อไป
6. ดุจดังคูถ ส่วนนักการเมืองดุจดังหนอน “หนอนย่อมไม่รู้จักคูถที่ดูดกิน”
7. ดุจดังรังปลวก ส่วนนักการเมืองดุจดังปลวก (กินบ้านกินเมือง กว่าจะรู้ตัวอาจจะสายเกินแก้) ไม่รู้จักแก้ไขเหตุแห่งความเลวร้าย ก็แก้ปัญหาไม่ได้
8. ดุจดังท่อประปาสนิมเกรอะกรัง น้ำรั่วไหลซึมไปมากมาย ดุจนักการเมืองฉ้อราษฎร์บังหลวงเอาไปหมด ส่วนประโยชน์ของประเทศชาติดุจน้ำที่ไหลหยดติ๋งๆ
9. ดุจดังพญามาร จะจัดการกับเสนามารก็ยากอยู่แล้ว และการไม่กำจัดพญามาร หัวหน้านักการเมืองเข้ามาแล้วก็จะกลายเป็นเสนามารคนต่อไป เห็นกันชัดๆ นายกรัฐมนตรีไม่รู้กี่คนต่อกี่คน ต่างก็เดินซ้ำรอยแห่งความพินาศ หวังว่ารัฐบาลจะได้ดวงตาเป็นธรรม