พม.รับมอบคู่มือ “คนกลับบ้าน” และ “เมื่อฉันกลับบ้าน” จากสถานทูตออสเตรเลีย เพื่อรณรงค์ทำความเข้าใจ แนวทางช่วยเหลือคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ “วัลลภ” เผย แอฟริกา ญี่ปุ่น มาเลเซีย คนไทยไปทำงานมากสุด ทั้งเป็นแรงงาน ค้าประเวณี ส่วนในออสเตรเลีย ยังมีน้อยหากเทียบกับพม่า ลาว ด้าน “อัครราชทูตออสเตรเลียในไทย” ระบุ เหยื่อคนไทยที่ให้ความช่วยเหลือ ส่งตัวกลับ ตั้งแต่ปี 47 ถึงปัจจุบัน 38 คน และพร้อมเดินทางกลับไปเป็นพยานเพื่อเอาผิดขบวนการค้ามนุษย์
วานนี้ (31 มี.ค.) เมื่อเวลา 13.30 น.ที่ห้องประชุม อาคาร 60 ปีฯ สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี นายวัลลภ พลอยทับทิม ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานรับมอบหนังสือ “คู่มือคนกลับบ้าน” และ “เมื่อฉันกลับบ้าน” จาก นางบรอนที่ มูลส์ อัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย เพื่อนำไปใช้ในการรณรงค์เผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ และเป็นแนวทางการให้ความช่วยเหลือ คุ้มครอง ฟื้นฟูผู้เสียหายจากกระบวนการค้ามนุษย์ชาวไทยที่เดินทางกลับถิ่นฐานบ้านเกิด ให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคม ไม่กลับเข้าสู่กระบวนการค้ามนุษย์อีก
นายวัลลภ กล่าวว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ให้ความสำคัญกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ โดยให้ความสำคัญที่ 2 เรื่องหลัก คือการบังคับใช้กฎหมาย เอาผิดผู้กระทำผิด และการให้ความช่วยเหลือ ดูแลเหยื่อที่ถูกกระทำ ซึ่งหากมีผู้เสียหายเข้ามาร้องเรียน ทาง กระทรวง พม.จะช่วยคุ้มครองพยาน และช่วยเหลือในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี ซึ่งนำเงินจากกองทุนช่วยเหลือเหยื่อมาใช้ในเรื่องนี้ และประสานองค์กรเอกชนเพื่อช่วยในการดำเนินการด้านคดี
ในส่วนของหนังสือคู่มือที่ได้รับมอบทั้ง 2 เล่ม “คู่มือคนกลับบ้าน” และ “เมื่อฉันกลับบ้าน” ที่รัฐบาลออสเตรเลียนั้น ถือเป็นเครื่องมือที่ดีอย่างหนึ่งในการช่วยให้เหยื่อเข้าถึงการบริการต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ทำงานให้ความช่วยเหลือหญิงไทยที่เป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดย “คู่มือคนกลับบ้าน” จำนวน 14,000 ชุด จะให้ข้อมูลกับหญิงไทยที่ประสบปัญหาว่าจะสามารถเข้าถึงแหล่งความช่วยเหลือต่างๆ ได้ที่ไหน อย่างไร เมื่อเดินทางกลับถึงประเทศไทย ส่วนหนังสือ “เมื่อฉันกลับบ้าน” จำนวน 1,000 ชุด จะนำเสนอข้อมูลทางเลือกให้กับผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ที่ตัดสินใจจะกลับบ้านเพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ประเทศไทย ทั้งนี้ทางกระทรวงจะแจกจ่ายให้แก่หน่วยงาน และองค์กรพัฒนาเอกชนต่างๆ ที่ทำงานด้านการช่วยเหลือการค้ามนุษย์ในประเทศไทยและออสเตรเลีย นับว่าเป็นสื่อที่ให้ประโยชน์อย่างยิ่งด้านการช่วยเหลือ คุ้มครอง บำบัด ฟื้นฟูผู้เสียหายชาวไทยที่เดินทางกลับถิ่นฐานบ้านเกิด และเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้เสียหายสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ ไม่กลับเข้าสู่ขบวนการค้ามนุษย์อีก
“สำหรับสถานการณ์การค้ามนุษย์นั้น คนไทยที่เดินทางไปทำงานส่วนใหญ่จะมีมากในแถบแอฟริกา ญี่ปุ่น และมาเลเซีย โดยจะเข้าไปใช้แรงงาน และการค้าประเวณี สำหรับสถานการณ์ของคนไทยที่ไปทำงานในประเทศออสเตรเลียนั้น จะพบว่ายังน้อยมากหากเทียบกับ 6 ประเทศในกลุ่มลุ่มน้ำโขง โดยที่พบผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่จะมาจากพม่า และ ลาว”ปลัด พม.กล่าว
ด้าน นางบรอนที่ กล่าวว่า ออสเตรเลียมีพันธกิจในกรต่อต้านการค้ามนุษย์ และให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ตกเป็นเหยื่อในออสเตรเลียอย่างเพียงพอ นอกจากนี้แล้ว ยังได้ให้การช่วยเหลือจนเหยื่อเดินทางกลับถึงบ้านเกิด เพื่อให้เขาสามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมได้ ทั้งนี้ตลอดช่วงระยะเวลาตั้งแต่ปี 2547 จนกระทั้งถึงปัจจุบัน ได้มีเหยื่อจากประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบจากขบวนการค้ามนุษย์ไปทำงานยังประเทศออสเตรเลีย ซึ่งทางการสามารถช่วยเหลือและส่งกลับบ้านได้มีทั้งสิ้น 38 คน โดยที่ทุกคนพร้อมให้ความร่วมมือกับรัฐบาลออสเตรเลียในการเดินทางกลับมาให้ปากคำ และเป็นพยาน เพื่อการสอบสวนเอาผิดขบวนการที่กระทำความผิดในประเทศออสเตรเลียด้วย อย่างไรก็ตามยังเชื่ออีก ณ ตอนนี้ก็ยังคงมีเหยื่อที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลืออีกมาก
“นอกจากคู่มือทั้ง 2 ชุดดังกล่าวแล้ว ยังได้มีการพัฒนา “คู่มือขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐานในการบริหารจัดการผู้ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ชาวไทยที่กลับจากต่างประเทศ” เพื่อให้เป็นแนวทางเกี่ยวกับขั้นตอนการรับเหยื่อค้ามนุษย์กลับบ้าน และการช่วยเหลือเพื่อให้พวกเขาสามารถปรับตัวเข้าสู่สังคม และได้มีการจัดสรรทุนบางส่วนเพื่อให้ความช่วยเหลือโดยตรงเมื่อพวกเขาเดินทางกลับมาจากประเทศออสเตรเลียอีกด้วย” นางบรอนที่ กล่าว
วานนี้ (31 มี.ค.) เมื่อเวลา 13.30 น.ที่ห้องประชุม อาคาร 60 ปีฯ สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี นายวัลลภ พลอยทับทิม ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานรับมอบหนังสือ “คู่มือคนกลับบ้าน” และ “เมื่อฉันกลับบ้าน” จาก นางบรอนที่ มูลส์ อัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย เพื่อนำไปใช้ในการรณรงค์เผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ และเป็นแนวทางการให้ความช่วยเหลือ คุ้มครอง ฟื้นฟูผู้เสียหายจากกระบวนการค้ามนุษย์ชาวไทยที่เดินทางกลับถิ่นฐานบ้านเกิด ให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคม ไม่กลับเข้าสู่กระบวนการค้ามนุษย์อีก
นายวัลลภ กล่าวว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ให้ความสำคัญกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ โดยให้ความสำคัญที่ 2 เรื่องหลัก คือการบังคับใช้กฎหมาย เอาผิดผู้กระทำผิด และการให้ความช่วยเหลือ ดูแลเหยื่อที่ถูกกระทำ ซึ่งหากมีผู้เสียหายเข้ามาร้องเรียน ทาง กระทรวง พม.จะช่วยคุ้มครองพยาน และช่วยเหลือในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี ซึ่งนำเงินจากกองทุนช่วยเหลือเหยื่อมาใช้ในเรื่องนี้ และประสานองค์กรเอกชนเพื่อช่วยในการดำเนินการด้านคดี
ในส่วนของหนังสือคู่มือที่ได้รับมอบทั้ง 2 เล่ม “คู่มือคนกลับบ้าน” และ “เมื่อฉันกลับบ้าน” ที่รัฐบาลออสเตรเลียนั้น ถือเป็นเครื่องมือที่ดีอย่างหนึ่งในการช่วยให้เหยื่อเข้าถึงการบริการต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ทำงานให้ความช่วยเหลือหญิงไทยที่เป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดย “คู่มือคนกลับบ้าน” จำนวน 14,000 ชุด จะให้ข้อมูลกับหญิงไทยที่ประสบปัญหาว่าจะสามารถเข้าถึงแหล่งความช่วยเหลือต่างๆ ได้ที่ไหน อย่างไร เมื่อเดินทางกลับถึงประเทศไทย ส่วนหนังสือ “เมื่อฉันกลับบ้าน” จำนวน 1,000 ชุด จะนำเสนอข้อมูลทางเลือกให้กับผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ที่ตัดสินใจจะกลับบ้านเพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ประเทศไทย ทั้งนี้ทางกระทรวงจะแจกจ่ายให้แก่หน่วยงาน และองค์กรพัฒนาเอกชนต่างๆ ที่ทำงานด้านการช่วยเหลือการค้ามนุษย์ในประเทศไทยและออสเตรเลีย นับว่าเป็นสื่อที่ให้ประโยชน์อย่างยิ่งด้านการช่วยเหลือ คุ้มครอง บำบัด ฟื้นฟูผู้เสียหายชาวไทยที่เดินทางกลับถิ่นฐานบ้านเกิด และเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้เสียหายสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ ไม่กลับเข้าสู่ขบวนการค้ามนุษย์อีก
“สำหรับสถานการณ์การค้ามนุษย์นั้น คนไทยที่เดินทางไปทำงานส่วนใหญ่จะมีมากในแถบแอฟริกา ญี่ปุ่น และมาเลเซีย โดยจะเข้าไปใช้แรงงาน และการค้าประเวณี สำหรับสถานการณ์ของคนไทยที่ไปทำงานในประเทศออสเตรเลียนั้น จะพบว่ายังน้อยมากหากเทียบกับ 6 ประเทศในกลุ่มลุ่มน้ำโขง โดยที่พบผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่จะมาจากพม่า และ ลาว”ปลัด พม.กล่าว
ด้าน นางบรอนที่ กล่าวว่า ออสเตรเลียมีพันธกิจในกรต่อต้านการค้ามนุษย์ และให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ตกเป็นเหยื่อในออสเตรเลียอย่างเพียงพอ นอกจากนี้แล้ว ยังได้ให้การช่วยเหลือจนเหยื่อเดินทางกลับถึงบ้านเกิด เพื่อให้เขาสามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมได้ ทั้งนี้ตลอดช่วงระยะเวลาตั้งแต่ปี 2547 จนกระทั้งถึงปัจจุบัน ได้มีเหยื่อจากประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบจากขบวนการค้ามนุษย์ไปทำงานยังประเทศออสเตรเลีย ซึ่งทางการสามารถช่วยเหลือและส่งกลับบ้านได้มีทั้งสิ้น 38 คน โดยที่ทุกคนพร้อมให้ความร่วมมือกับรัฐบาลออสเตรเลียในการเดินทางกลับมาให้ปากคำ และเป็นพยาน เพื่อการสอบสวนเอาผิดขบวนการที่กระทำความผิดในประเทศออสเตรเลียด้วย อย่างไรก็ตามยังเชื่ออีก ณ ตอนนี้ก็ยังคงมีเหยื่อที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลืออีกมาก
“นอกจากคู่มือทั้ง 2 ชุดดังกล่าวแล้ว ยังได้มีการพัฒนา “คู่มือขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐานในการบริหารจัดการผู้ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ชาวไทยที่กลับจากต่างประเทศ” เพื่อให้เป็นแนวทางเกี่ยวกับขั้นตอนการรับเหยื่อค้ามนุษย์กลับบ้าน และการช่วยเหลือเพื่อให้พวกเขาสามารถปรับตัวเข้าสู่สังคม และได้มีการจัดสรรทุนบางส่วนเพื่อให้ความช่วยเหลือโดยตรงเมื่อพวกเขาเดินทางกลับมาจากประเทศออสเตรเลียอีกด้วย” นางบรอนที่ กล่าว