วงเสวนาถกแก้ปัญหาเด็กตีกันเสนอทำโครงการสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษาต่อเนื่อง อธิบดีกรมคุมประพฤติแนะตั้ง คกก.ไกล่เกลี่ยในโรงเรียนโดยตั้งเด็กที่ได้รับการยอมรับจากเพื่อน หรือเด็กหัวโจกเป็นกรรมการ ครู พ่อแม่ ชุมชน มีส่วนร่วมแต่เป็นแค่ผู้ดูแล ระบุเป็นวิธีที่กรมคุมประพฤติและสถานศึกษาต่างประเทศใช้และแก้ปัญหาได้ผล วอนผู้ใหญ่ทบทวนการแก้ปัญหาแบบอำนาจนิยมด้วยการสั่งการให้เด็กปฏิบัติตาม
วันนี้(17 มี.ค.) สำนักงานเลขาการสภาการศึกษา (สกศ.) จัดการสัมมนา เรื่อง “ปัญหาและทางออกสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษา” โดยนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ประธานมูลนิหัวใจอาสา กล่าวว่า ปัญหาเด็กตีกันมีมานานแล้ว แต่ปัจจุบันมีมากและรุนแรงขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากมีการเผยแพร่ผ่านสื่อสมัยใหม่ ทั้งคลิปวิดีโอ และการนำเสนอข่าว อาจจะกระตุ้นทำให้เกิดการเลียนแบบ ซึ่งการแก้ปัญหาต้องทำทั้งการป้องกันก่อนเกิดปัญหาและไกล่เกลี่ยเมื่อเกิดความรุนแรงแล้ว ทั้งนี้ การสร้างสันติวัฒนธรรมสามารถทำได้ หากทุกฝ่ายร่วมมือกันทำให้การศึกษามีความสมบูรณ์ คือจะต้องทำให้เด็กเป็นคนดี มีความสามารถ และมีความสุข การแก้ปัญหาเด็กตีกันหรือการใช้ความรุนแรงในสถานศึกษานั้น
“ผมเสนอว่าควรจะมีการดำเนินโครงการในลักษณะต่อเนื่อง มีที่ทำการเป็นหลักแหล่งชัดเจน โดยโครงการดังกล่าวต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ทั้งดำเนินการในการแก้ไข และพัฒนา โดยให้สถานศึกษาเข้ามาเป็นเครือข่ายร่วมกัน มีการสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน รวมถึงต้องมีนโยบายตลอดจนการบริหารจัดการในการแก้ปัญหาที่ดี ที่สำคัญต้องให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง เด็กและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย และต้องปลูกฝังสันติวัฒนธรรมตั้งแต่ระดับปฐมวัยปัญหาเด็กยกพวกตีกัน หรือการใช้ความรุนแรงจะลดน้อยลงอย่างแน่นอน” ประธานมูลนิธิหัวใจอาสากล่าว
นายวันชัย รุจนวงศ์ อธิบดีกรมคุมประพฤติ กล่าวว่า ปัญหาการทะเลาะวิวาทของเด็กและเยาวชนเกิดขึ้นทั่วโลก และจะมีการวิธีแก้ปัญหา 2 ทาง คือ 1.ผู้ใหญ่เป็นผู้คิดและจัดการแก้ปัญหาเอง และ 2.ใช้วิธีการไกล่เกลี่ย ซึ่งวิธีไกล่เกลี่ยคือการตั้งคณะกรรมการประกอบด้วยคู่กรณีมาแก้ปัญหากันเอง ซึ่งทางกรมคุมประพฤติใช้วิธีนี้ในการแก้ปัญหาการทะเลาะวิวาทของเยาวชนที่ถูกควบคุมความประพฤติ ซึ่งได้ผลดีและเท่าที่ทราบในต่างประเทศก็ใช้วิธีไกล่เกลี่ย และมีสถานศึกษาใน 100 ประเทศก็ใช้วิธีดังกล่าว
“การเปิดให้เด็กและเยาวชนเข้ามาไกล่เกลี่ยเพราะเรารู้ว่าเด็กมีความคิด มีสติปัญญาที่รู้ว่าจะแก้ปัญหากันเองได้ โดยให้นักเรียนคัดเลือกผู้แทนของนักเรียนเอง เพราะแต่ละโรงเรียนจะมีคนที่เด็กเชื่อถือ หรือเด็กที่เป็นหัวโจก เพื่อตั้งเป็นคณะกรรมการ เมื่อเกิดปัญหาก็ให้คณะกรรมการชุดนี้เป็นคนไกล่เกลี่ย โดยมีครูเข้าไปร่วมให้คำแนะนำ ไม่ใช่สั่งการ และให้คอยดูแลกันเอง หากเริ่มมีการวิวาท ก็รีบหาทางไกล่เกลี่ยไม่ต้องรอให้ปัญหาบานปลายถึงขั้นรุนแรง อีกทั้งเด็กที่เคยเป็นหัวโจกเมื่อต้องมาทำหน้าที่คณะกรรมการไกล่เกลี่ยก็จะปรับพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งวิธีนี้ไม่ใช่แค่แก้ปัญหาได้ผลเฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น ยังแก้ปัญหาระหว่างสถาบันได้ด้วย เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทน กับสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน เชื่อว่าหากให้นักศึกษาเลือกผู้แทน แล้วจัดตั้งเป็นกรรมการร่วม 2 สถาบัน เมื่อเกิดเหตุหรือส่อสัญญาณว่าจะมีเหตุตีกัน ก็ให้เชิญคู่กรณีมาไกล่เกลี่ย ก็จะป้องกันปัญหาความรุนแรง สร้างความสมานฉันท์กันได้”
ด้าน รศ.ดร.จิราภรณ์ ศิริทวี อาจารย์ ร.ร.สาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) กล่าวว่า จะต้องมีการบ่มเพาะความดีให้กับเด็กตั้งแต่ระดับประถมศึกษา แต่ที่ผ่านมาครูไม่ได้ทำหน้าที่นี้ เนื่องจากหลักสูตรการเรียนการสอนของ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เน้นแต่วิชาการ ดังนั้น ตนอยากให้ ศธ.หันกลับมาทบทวนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551ใหม่ที่เน้นเด็กมีความเป็นมนุษย์มากขึ้น โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้มีเวลาทำกิจกรรมมากขึ้นไม่เฉพาะเรียนแต่วิชาการ โดยในช่วงเช้าอาจจะให้เป็นเวลาเรียนแต่ช่วงบ่ายของแต่ละวันให้ทำกิจกรรมเพราะความเป็นคนปลูกฝังได้จากการทำกิจกรรม
นายจารณะ บุญประเสริฐ นักเรียนม.6 จาก ร.ร.สันติราษฎ์วิทยาลัย ในฐานะประธานนักเรียน ร.ร.สันติราษฎ์วิทยาลัย กล่าวว่า ปัญหาการทะเลาะวิวาทของเด็กและเยาวชนนับวันจะยิ่งทวีความรุนแรง และทะเลาะกันตั้นแต่ระดับประถม ดังนั้น เราจะต้องเริ่มปลูกฝังเด็กให้มีแนวคิดที่ดี และทำกิจกรรมดีๆ ตั้งแต่ประถม โดยการปลูกฝังประเพณีที่ดีงามของไทยให้เด็ก และนำหลักธรรมทางศาสนามาช่วยกล่อมเกลาเด็ก แต่ที่สำคัญการแก้ปัญหานั้นจะต้องให้เด็กเข้ามามีส่วนร่วม ส่วนผู้ใหญ่คอยดูแลให้คำแนะนำอยู่ห่าง ๆ
นายไพศาล บุญรอด ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง กล่าวว่า วิทยาลัยเทคนิคดอนเมืองประสบปัญหาเด็กตีกันโดยมีวิทยาลัยคู่อริที่มักก่อเหตุร่วมกันบ่อยครั้ง ซึ่งเมื่อทางวิทยาลัยเทคนิคดอนเมืองเข้าไปแก้ปัญหาพบว่าเด็กในสถานศึกษาจะมีอยู่ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเด็กดี และกลุ่มเด็กที่มีปัญหา เมื่อเด็กรวมกลุ่มกันจะมีผู้นำกลุ่ม ดังนั้น การแก้ปัญหาพ่อแม่ต้องเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งเป็นวิธีที่วิทยาลัยเทคนิคดอนเมืองใช้ค่อนข้างได้ผล โดยเชิญพ่อแม่เด็กที่เป็นผู้นำกลุ่มเข้ามาร่วมแก้ปัญหาด้วย เนื่องจากปัญหาเด็กที่ตีกันบางครั้งเกิดจากครอบครัว เช่น พ่อแม่แยกทางกันทำให้เด็กแสวงหาการยอมรับ การแก้ปัญหาโดยให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู และเด็กเข้ามามีส่วนร่วมเป็นแนวทางที่ได้ผลค่อนข้างมาก
นายโคทม อารียา ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล และประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า การแก้ปัญหาในสังคมไทย ส่วนใหญ่เป้นการสั่งการหรือการสร้างกฎระเบียบ ซึ่งเราต้องมาทบทวนว่ากฎระเบียบ หรือการสั่งการโดยผู้ใหญ่นั้น ได้สร้างความคับข้องใจแก่คนในสังคมหรือไม่ ซึ่งการแก้ปัญหาความรุนแรงในสถานศึกษานั้น หากสถานศึกษายังมีลักษณะอำนาจนิยมที่ผู้ใหญ่พูดอะไรถูกหมด แนวทางสันติวัฒนธรรมจะไม่เกิดขึ้น เพราะสถานศึกษาต้องใช้สันติวัฒนธรรมเป็นแบบอย่าง ดังนั้น การแก้ปัญหาต้องเน้นเสรีภาพ การแสดงออก การรวมกลุ่ม ความมีวินัย หากสถานศึกษายังเป็นตัวอย่างการใช้อำนาจนิยมจะไม่มีทางแก้ปัญหาได้
ด้าน รศ.ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า ตนจะสรุปผลการเสวนาครั้งนี้เสนอต่อนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ ในการประชุมองค์กรหลัก เพื่อใช้เป็นแนวทางกำหนดนโยบายในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไป
วันนี้(17 มี.ค.) สำนักงานเลขาการสภาการศึกษา (สกศ.) จัดการสัมมนา เรื่อง “ปัญหาและทางออกสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษา” โดยนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ประธานมูลนิหัวใจอาสา กล่าวว่า ปัญหาเด็กตีกันมีมานานแล้ว แต่ปัจจุบันมีมากและรุนแรงขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากมีการเผยแพร่ผ่านสื่อสมัยใหม่ ทั้งคลิปวิดีโอ และการนำเสนอข่าว อาจจะกระตุ้นทำให้เกิดการเลียนแบบ ซึ่งการแก้ปัญหาต้องทำทั้งการป้องกันก่อนเกิดปัญหาและไกล่เกลี่ยเมื่อเกิดความรุนแรงแล้ว ทั้งนี้ การสร้างสันติวัฒนธรรมสามารถทำได้ หากทุกฝ่ายร่วมมือกันทำให้การศึกษามีความสมบูรณ์ คือจะต้องทำให้เด็กเป็นคนดี มีความสามารถ และมีความสุข การแก้ปัญหาเด็กตีกันหรือการใช้ความรุนแรงในสถานศึกษานั้น
“ผมเสนอว่าควรจะมีการดำเนินโครงการในลักษณะต่อเนื่อง มีที่ทำการเป็นหลักแหล่งชัดเจน โดยโครงการดังกล่าวต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ทั้งดำเนินการในการแก้ไข และพัฒนา โดยให้สถานศึกษาเข้ามาเป็นเครือข่ายร่วมกัน มีการสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน รวมถึงต้องมีนโยบายตลอดจนการบริหารจัดการในการแก้ปัญหาที่ดี ที่สำคัญต้องให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง เด็กและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย และต้องปลูกฝังสันติวัฒนธรรมตั้งแต่ระดับปฐมวัยปัญหาเด็กยกพวกตีกัน หรือการใช้ความรุนแรงจะลดน้อยลงอย่างแน่นอน” ประธานมูลนิธิหัวใจอาสากล่าว
นายวันชัย รุจนวงศ์ อธิบดีกรมคุมประพฤติ กล่าวว่า ปัญหาการทะเลาะวิวาทของเด็กและเยาวชนเกิดขึ้นทั่วโลก และจะมีการวิธีแก้ปัญหา 2 ทาง คือ 1.ผู้ใหญ่เป็นผู้คิดและจัดการแก้ปัญหาเอง และ 2.ใช้วิธีการไกล่เกลี่ย ซึ่งวิธีไกล่เกลี่ยคือการตั้งคณะกรรมการประกอบด้วยคู่กรณีมาแก้ปัญหากันเอง ซึ่งทางกรมคุมประพฤติใช้วิธีนี้ในการแก้ปัญหาการทะเลาะวิวาทของเยาวชนที่ถูกควบคุมความประพฤติ ซึ่งได้ผลดีและเท่าที่ทราบในต่างประเทศก็ใช้วิธีไกล่เกลี่ย และมีสถานศึกษาใน 100 ประเทศก็ใช้วิธีดังกล่าว
“การเปิดให้เด็กและเยาวชนเข้ามาไกล่เกลี่ยเพราะเรารู้ว่าเด็กมีความคิด มีสติปัญญาที่รู้ว่าจะแก้ปัญหากันเองได้ โดยให้นักเรียนคัดเลือกผู้แทนของนักเรียนเอง เพราะแต่ละโรงเรียนจะมีคนที่เด็กเชื่อถือ หรือเด็กที่เป็นหัวโจก เพื่อตั้งเป็นคณะกรรมการ เมื่อเกิดปัญหาก็ให้คณะกรรมการชุดนี้เป็นคนไกล่เกลี่ย โดยมีครูเข้าไปร่วมให้คำแนะนำ ไม่ใช่สั่งการ และให้คอยดูแลกันเอง หากเริ่มมีการวิวาท ก็รีบหาทางไกล่เกลี่ยไม่ต้องรอให้ปัญหาบานปลายถึงขั้นรุนแรง อีกทั้งเด็กที่เคยเป็นหัวโจกเมื่อต้องมาทำหน้าที่คณะกรรมการไกล่เกลี่ยก็จะปรับพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งวิธีนี้ไม่ใช่แค่แก้ปัญหาได้ผลเฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น ยังแก้ปัญหาระหว่างสถาบันได้ด้วย เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทน กับสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน เชื่อว่าหากให้นักศึกษาเลือกผู้แทน แล้วจัดตั้งเป็นกรรมการร่วม 2 สถาบัน เมื่อเกิดเหตุหรือส่อสัญญาณว่าจะมีเหตุตีกัน ก็ให้เชิญคู่กรณีมาไกล่เกลี่ย ก็จะป้องกันปัญหาความรุนแรง สร้างความสมานฉันท์กันได้”
ด้าน รศ.ดร.จิราภรณ์ ศิริทวี อาจารย์ ร.ร.สาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) กล่าวว่า จะต้องมีการบ่มเพาะความดีให้กับเด็กตั้งแต่ระดับประถมศึกษา แต่ที่ผ่านมาครูไม่ได้ทำหน้าที่นี้ เนื่องจากหลักสูตรการเรียนการสอนของ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เน้นแต่วิชาการ ดังนั้น ตนอยากให้ ศธ.หันกลับมาทบทวนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551ใหม่ที่เน้นเด็กมีความเป็นมนุษย์มากขึ้น โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้มีเวลาทำกิจกรรมมากขึ้นไม่เฉพาะเรียนแต่วิชาการ โดยในช่วงเช้าอาจจะให้เป็นเวลาเรียนแต่ช่วงบ่ายของแต่ละวันให้ทำกิจกรรมเพราะความเป็นคนปลูกฝังได้จากการทำกิจกรรม
นายจารณะ บุญประเสริฐ นักเรียนม.6 จาก ร.ร.สันติราษฎ์วิทยาลัย ในฐานะประธานนักเรียน ร.ร.สันติราษฎ์วิทยาลัย กล่าวว่า ปัญหาการทะเลาะวิวาทของเด็กและเยาวชนนับวันจะยิ่งทวีความรุนแรง และทะเลาะกันตั้นแต่ระดับประถม ดังนั้น เราจะต้องเริ่มปลูกฝังเด็กให้มีแนวคิดที่ดี และทำกิจกรรมดีๆ ตั้งแต่ประถม โดยการปลูกฝังประเพณีที่ดีงามของไทยให้เด็ก และนำหลักธรรมทางศาสนามาช่วยกล่อมเกลาเด็ก แต่ที่สำคัญการแก้ปัญหานั้นจะต้องให้เด็กเข้ามามีส่วนร่วม ส่วนผู้ใหญ่คอยดูแลให้คำแนะนำอยู่ห่าง ๆ
นายไพศาล บุญรอด ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง กล่าวว่า วิทยาลัยเทคนิคดอนเมืองประสบปัญหาเด็กตีกันโดยมีวิทยาลัยคู่อริที่มักก่อเหตุร่วมกันบ่อยครั้ง ซึ่งเมื่อทางวิทยาลัยเทคนิคดอนเมืองเข้าไปแก้ปัญหาพบว่าเด็กในสถานศึกษาจะมีอยู่ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเด็กดี และกลุ่มเด็กที่มีปัญหา เมื่อเด็กรวมกลุ่มกันจะมีผู้นำกลุ่ม ดังนั้น การแก้ปัญหาพ่อแม่ต้องเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งเป็นวิธีที่วิทยาลัยเทคนิคดอนเมืองใช้ค่อนข้างได้ผล โดยเชิญพ่อแม่เด็กที่เป็นผู้นำกลุ่มเข้ามาร่วมแก้ปัญหาด้วย เนื่องจากปัญหาเด็กที่ตีกันบางครั้งเกิดจากครอบครัว เช่น พ่อแม่แยกทางกันทำให้เด็กแสวงหาการยอมรับ การแก้ปัญหาโดยให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู และเด็กเข้ามามีส่วนร่วมเป็นแนวทางที่ได้ผลค่อนข้างมาก
นายโคทม อารียา ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล และประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า การแก้ปัญหาในสังคมไทย ส่วนใหญ่เป้นการสั่งการหรือการสร้างกฎระเบียบ ซึ่งเราต้องมาทบทวนว่ากฎระเบียบ หรือการสั่งการโดยผู้ใหญ่นั้น ได้สร้างความคับข้องใจแก่คนในสังคมหรือไม่ ซึ่งการแก้ปัญหาความรุนแรงในสถานศึกษานั้น หากสถานศึกษายังมีลักษณะอำนาจนิยมที่ผู้ใหญ่พูดอะไรถูกหมด แนวทางสันติวัฒนธรรมจะไม่เกิดขึ้น เพราะสถานศึกษาต้องใช้สันติวัฒนธรรมเป็นแบบอย่าง ดังนั้น การแก้ปัญหาต้องเน้นเสรีภาพ การแสดงออก การรวมกลุ่ม ความมีวินัย หากสถานศึกษายังเป็นตัวอย่างการใช้อำนาจนิยมจะไม่มีทางแก้ปัญหาได้
ด้าน รศ.ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า ตนจะสรุปผลการเสวนาครั้งนี้เสนอต่อนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ ในการประชุมองค์กรหลัก เพื่อใช้เป็นแนวทางกำหนดนโยบายในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไป