นักเรียนเผยข้อสอบ GAT ยากมาก ต้องอ่านคิดวิเคราะห์ การแก้โจทย์ปัญหา รู้สึกเครียด เผยมีนักเรียนเลือกสอบ PAT ตั้งแต่ 5-7 PAT เหตุไม่แน่ใจแอดมิชชันคณะอะไรจึงเลือกครอบคลุมไว้ก่อน ด้านผู้ปกครองยอมรับลูกเครียดต้องแนะนำและทำความเข้าใจกับลูกมากๆ
นายวงศกร สิงห์เอี่ยม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนนทรีวิทยา ซึ่งสมัครสอบความถนัดเฉพาะด้าน/วิชาการ (PAT) ครบทั้ง 7 PAT แม้จะสนใจสอบแอดมิชชันในคณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวว่า สาเหตุที่สมัครทั้ง 7 PAT เพราะอยากดูข้อสอบ อีกทั้งตนเป็นรุ่นแรกที่สอบระบบใหม่ ส่วนการสอบความถนัดทั่วไป (GAT) ในวันนี้ยากมาก เป็นข้อสอบที่ต้องอ่าน คิด วิเคราะห์ แก้โจทย์ปัญหา เพิ่งเคยเจอ ถ้าตอบผิดคะแนนถูกหัก 3 คะแนน เนื่องจากคำถามจะเชื่อมโยงกันไปแต่ละข้อ ถ้าอ่านแล้วถึงจะทำได้ ส่วนความเห็นการสอบสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง (เอเน็ต) แบบเดิมเป็นการสอบที่รวมกันหลายวิชาในหมวดเดียวกัน หากเด่นอย่าง หรือด้อยอย่าง ยังช่วยดึงคะแนนได้ แต่ PAT เป็นการแยกสอบรายวิชา ไม่สามารถช่วยดึงคะแนนได้ จึงเลือกไว้ทั้งหมด
น.ส.รักษ์สิริ เลิศสถิตย์พงษ์ นักเรียน ม.5 โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ กล่าวว่า ข้อสอบ GAT วันนี้ต้องอ่านคำสั่งให้ละเอียด ส่วน PAT เลือกสอบ 5 PAT เนื่องจากยังไม่แน่ใจว่าเลือกแอดมิชชันคณะอะไรในกลุ่มสายวิทย์ ขณะที่ น.ส.ธมลวรรณ ลาภานันต์ นักเรียนชั้น ม.5 โรงเรียนเดียวกัน เลือกสอบ 5 PAT เช่นกันโดย กล่าวว่าวิธีสอบ GAT/PAT น่าจะเป็นวิธีคัดเลือกเด็กที่ได้คุณภาพมากขึ้น แต่เป็นภาระกับตัวเด็กที่ต้องทำข้อสอบยากขึ้น และไม่เคยเรียนรู้เรื่อง GAT/PAT มาก่อน ทำให้เครียด
ด้าน น.ส.สุนีย์ ลือวิพันธ์ ผู้ปกครอง กล่าวว่า การสอบ GAT/PAT ครั้งนี้ เมื่อเทียบกับการสอบเอเน็ตของบุตรสาวคนโตที่สอบเมื่อปีที่แล้ว รู้สึกว่า ลูกเครียดมากกว่า แต่โชคดีที่ได้สอบ 3 วัน ในสนามเดียวไม่ต้องย้ายที่ ตัวเองบอกลูกไม่ให้เครียดต้องสอบทุกครั้ง และทำให้ดีที่สุดเพราะเป็นช่วงเวลาไม่กี่วัน ในฐานะที่เป็นผู้ปกครองก็ต้องให้คำแนะนำ ทำความเข้าใจกับลูกมาก ๆ ส่วนลูกชอบเรียนอะไรก็ให้เรียน ไม่บังคับ
นางอุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) กล่าวว่า GAT เป็นการสอบที่ไม่ผูกพันกับวิชาการ เป็นสิ่งที่มีอยู่ในตัวเด็ก ต้องอ่านจับใจความเท่านั้นถึงจะเข้าใจ ส่วน PAT เป็นการสอบ 2 ส่วน คือ ส่วนความรู้และศักยภาพในวิชาชีพ อยากให้เด็กเรียนถึงชั้น ม.6 ก่อน เพราะ ม.5 ไม่ได้เรียนบางวิชาอาจมีปัญหาได้ อย่างไรก็ตาม มีบางโรงเรียนที่เร่งสอน หรือนักเรียนไปเรียนพิเศษเองถือว่าไม่จำเป็น และทำให้ผิดหลักวิชาการ อีกทั้งยังมีเวลาสอบอีกครั้งในเดือนกรกฎาคมนี้
นางอุทุมพร กล่าวด้วยว่า จากการสำรวจตัวเลขนักเรียนที่สมัครสอบ GAT/PAT ทุกวิชา มี 47 คน ซึ่งต้องเสียค่าสมัครถึง 4,800 บาท
นายวงศกร สิงห์เอี่ยม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนนทรีวิทยา ซึ่งสมัครสอบความถนัดเฉพาะด้าน/วิชาการ (PAT) ครบทั้ง 7 PAT แม้จะสนใจสอบแอดมิชชันในคณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวว่า สาเหตุที่สมัครทั้ง 7 PAT เพราะอยากดูข้อสอบ อีกทั้งตนเป็นรุ่นแรกที่สอบระบบใหม่ ส่วนการสอบความถนัดทั่วไป (GAT) ในวันนี้ยากมาก เป็นข้อสอบที่ต้องอ่าน คิด วิเคราะห์ แก้โจทย์ปัญหา เพิ่งเคยเจอ ถ้าตอบผิดคะแนนถูกหัก 3 คะแนน เนื่องจากคำถามจะเชื่อมโยงกันไปแต่ละข้อ ถ้าอ่านแล้วถึงจะทำได้ ส่วนความเห็นการสอบสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง (เอเน็ต) แบบเดิมเป็นการสอบที่รวมกันหลายวิชาในหมวดเดียวกัน หากเด่นอย่าง หรือด้อยอย่าง ยังช่วยดึงคะแนนได้ แต่ PAT เป็นการแยกสอบรายวิชา ไม่สามารถช่วยดึงคะแนนได้ จึงเลือกไว้ทั้งหมด
น.ส.รักษ์สิริ เลิศสถิตย์พงษ์ นักเรียน ม.5 โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ กล่าวว่า ข้อสอบ GAT วันนี้ต้องอ่านคำสั่งให้ละเอียด ส่วน PAT เลือกสอบ 5 PAT เนื่องจากยังไม่แน่ใจว่าเลือกแอดมิชชันคณะอะไรในกลุ่มสายวิทย์ ขณะที่ น.ส.ธมลวรรณ ลาภานันต์ นักเรียนชั้น ม.5 โรงเรียนเดียวกัน เลือกสอบ 5 PAT เช่นกันโดย กล่าวว่าวิธีสอบ GAT/PAT น่าจะเป็นวิธีคัดเลือกเด็กที่ได้คุณภาพมากขึ้น แต่เป็นภาระกับตัวเด็กที่ต้องทำข้อสอบยากขึ้น และไม่เคยเรียนรู้เรื่อง GAT/PAT มาก่อน ทำให้เครียด
ด้าน น.ส.สุนีย์ ลือวิพันธ์ ผู้ปกครอง กล่าวว่า การสอบ GAT/PAT ครั้งนี้ เมื่อเทียบกับการสอบเอเน็ตของบุตรสาวคนโตที่สอบเมื่อปีที่แล้ว รู้สึกว่า ลูกเครียดมากกว่า แต่โชคดีที่ได้สอบ 3 วัน ในสนามเดียวไม่ต้องย้ายที่ ตัวเองบอกลูกไม่ให้เครียดต้องสอบทุกครั้ง และทำให้ดีที่สุดเพราะเป็นช่วงเวลาไม่กี่วัน ในฐานะที่เป็นผู้ปกครองก็ต้องให้คำแนะนำ ทำความเข้าใจกับลูกมาก ๆ ส่วนลูกชอบเรียนอะไรก็ให้เรียน ไม่บังคับ
นางอุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) กล่าวว่า GAT เป็นการสอบที่ไม่ผูกพันกับวิชาการ เป็นสิ่งที่มีอยู่ในตัวเด็ก ต้องอ่านจับใจความเท่านั้นถึงจะเข้าใจ ส่วน PAT เป็นการสอบ 2 ส่วน คือ ส่วนความรู้และศักยภาพในวิชาชีพ อยากให้เด็กเรียนถึงชั้น ม.6 ก่อน เพราะ ม.5 ไม่ได้เรียนบางวิชาอาจมีปัญหาได้ อย่างไรก็ตาม มีบางโรงเรียนที่เร่งสอน หรือนักเรียนไปเรียนพิเศษเองถือว่าไม่จำเป็น และทำให้ผิดหลักวิชาการ อีกทั้งยังมีเวลาสอบอีกครั้งในเดือนกรกฎาคมนี้
นางอุทุมพร กล่าวด้วยว่า จากการสำรวจตัวเลขนักเรียนที่สมัครสอบ GAT/PAT ทุกวิชา มี 47 คน ซึ่งต้องเสียค่าสมัครถึง 4,800 บาท