ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง สถานการณ์การใช้ความรุนแรงในกลุ่มเด็กและเยาวชน กรณีศึกษาเด็กและเยาวชนที่มีอายุ 12-24 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 2,511 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 10-17 กุมภาพันธ์ พบว่า เด็กและเยาวชนร้อยละ 91.1 ติดตามข่าวสารเป็นประจำผ่านสื่อโทรทัศน์ โดยติดตามชมละครโทรทัศน์มากเป็นอันดับแรก ที่น่าสนใจคือเด็กและเยาวชนร้อยละ 52.2 พบเห็นสภาพความรักความอบอุ่นของครอบครัวผ่านรายการโทรทัศน์บ่อยๆ แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่พบเห็นภาพการใช้อาวุธ เช่น อาวุธปืน มีด ทำร้ายกันบ่อยๆ
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อถามถึงกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่เด็กและเยาวชนผู้ถูกศึกษาทำเป็นประจำในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.9 ระบุเรียนพิเศษ แต่ที่น่าพิจารณาคือ เด็กและเยาวชนในช่วงเศรษฐกิจถดถอยนี้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 64.4 ทำงานหารายได้พิเศษ ส่วนกิจกรรมที่ไม่สร้างสรรค์คือเล่นเกมคอมพิวเตอร์หรือเกมออนไลน์ประเภท เกมต่อสู้ เช่น ยืงปืน ฟัน เตะต่อย ทั้งนี้เด็กและเยาวชนที่ใช้สารเสพติดประเภทต่างๆ ไม่นับรวมเหล้า บุหรี่ เบียร์ ไวน์ มีความเสี่ยงในการใช้ความรุนแรงสูงถึงประมาณ 20 เท่า หรือ 19.75 เท่ามากกว่าเด็กและเยาวชนที่ไม่ใช้สารเสพติด ดังนั้นทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน โดยพ่อแม่ผู้ปกครองควรพูดคุยกับเด็กและเยาวชนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อกัน ส่วนกลุ่มวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชน น่าจะลดการนำเสนอภาพการใช้ความรุนแรงในสถานศึกษา และชุมชน แต่ควรมุ่งเน้นการนำเสนอสาระของเหตุการณ์ และข้อคิดเพื่อเตือนให้สังคมเกิดความตระหนักในปัญหาการใช้ความรุนแรงในกลุ่มเด็กเยาวชน
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อถามถึงกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่เด็กและเยาวชนผู้ถูกศึกษาทำเป็นประจำในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.9 ระบุเรียนพิเศษ แต่ที่น่าพิจารณาคือ เด็กและเยาวชนในช่วงเศรษฐกิจถดถอยนี้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 64.4 ทำงานหารายได้พิเศษ ส่วนกิจกรรมที่ไม่สร้างสรรค์คือเล่นเกมคอมพิวเตอร์หรือเกมออนไลน์ประเภท เกมต่อสู้ เช่น ยืงปืน ฟัน เตะต่อย ทั้งนี้เด็กและเยาวชนที่ใช้สารเสพติดประเภทต่างๆ ไม่นับรวมเหล้า บุหรี่ เบียร์ ไวน์ มีความเสี่ยงในการใช้ความรุนแรงสูงถึงประมาณ 20 เท่า หรือ 19.75 เท่ามากกว่าเด็กและเยาวชนที่ไม่ใช้สารเสพติด ดังนั้นทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน โดยพ่อแม่ผู้ปกครองควรพูดคุยกับเด็กและเยาวชนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อกัน ส่วนกลุ่มวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชน น่าจะลดการนำเสนอภาพการใช้ความรุนแรงในสถานศึกษา และชุมชน แต่ควรมุ่งเน้นการนำเสนอสาระของเหตุการณ์ และข้อคิดเพื่อเตือนให้สังคมเกิดความตระหนักในปัญหาการใช้ความรุนแรงในกลุ่มเด็กเยาวชน