“จุรินทร์” กำชับทุกหน่วยงานคุมเข้ม กันชื่อ “เด็กผี” โผล่รับเงินเรียนฟรี หากพบโผล่โรงเรียนไหน ผู้บริหารต้องรับผิดชอบ และดำเนินการสาวเอาผิดผู้เกี่ยวข้องตามกฎหมาย ยัน ปีการศึกษานี้ยังใช้ตำราเรียนหลักสูตรเดิม ไม่คล้อยตามสำนักพิมพ์เอกชนหนุนใช้ตำราเรียนใหม่ ด้าน “คุณหญิงกษมา” เผยเนื้อหาการเรียนยังเหมือนปีการศึกษาที่ผ่านมา
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวนโยบายเรียนฟรี 15 ปี ซึ่งรัฐบาลจะจ่ายเงินสดให้ผู้ปกครองนำไปใช้ซื้อเครื่องแบบนักเรียน และอุปกรณ์การเรียน ซึ่งมีผู้ท้วงติง ว่า อาจจะมีรายชื่อเด็กผี ซึ่งไม่ได้เรียนอยู่จริงสอดแทรกเข้ามาขอรับเงินอุดหนุนดังกล่าว ว่า แนวทางการป้องกันปัญหาเด็กผี ตนจะให้ต้นสังกัด ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และโรงเรียน ต้องช่วยกันตรวจสอบรายชื่อให้ตรงกับความเป็นจริง ว่า เด็กเรียนอยู่ที่ไหน หากไม่ตรงกับความเป็นจริง ทุกฝ่ายต้องร่วมกันรับผิดชอบ และต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
“ผู้ตรวจราชการต้องเช็กรายชื่ออย่างเข้มงวดในพื้นที่ที่ตนเองรับผิดชอบ ถ้าตรวจสอบรายชื่อนักเรียนแล้ว พบว่า มีเด็กผี โรงเรียนแห่งนั้นต้องรับผิดชอบ และต้องดำเนินสอบสวนตามกฎหมายว่ามีผู้ใดเกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดปัญหาน้อยที่สุด และ ศธ.จะใช้วิธีเกิดปัญหาจุดไหน แก้จุดนั้น”
ส่วนที่มีสำนักพิมพ์เอกชนบางแห่งผลักดันให้ใช้ตำราเรียนใหม่ นายจุรินทร์ แสดงความเห็นว่า ตำราใหม่จะเริ่มใช้ในปี 2553 สำหรับปีนี้ยังใช้ตำราปัจจุบัน จะเอาตำราปี 2553 มาใช้ไม่ได้ เพราะกระทรวงศึกษาธิการ ยังไม่ได้อนุญาตให้ใช้ อีกทั้งยังไม่ได้ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา ซึ่งสำนักพิมพ์บางแห่งมีปัญหาธุรกิจ แต่ไม่รู้ว่าที่ไหนบ้าง
ด้าน คุณหญิงกษมา กล่าวว่า ตำราเรียนในวิชาหลัก ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย อังกฤษ และ สังคม จะต้องผ่านการตรวจของ ศธ.ก่อน จึงจะได้รับอนุญาตนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้ ซึ่งวิชาหลักเนื้อหาส่วนใหญ่ไม่เปลี่ยนมากนัก โดยอาจจะมีวิชาสังคมศึกษาที่คงต้องเปลี่ยนบ้าง เพราะครูผู้สอนจะต้องปรับปรุงเนื้อเนื้อหาให้ทันสมัยให้แก่นักเรียน หรือสำนักพิมพ์อาจเลือกวิธีพิมพ์ใบแทรกเนื้อหาที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม เช่น การเปลี่ยนประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนวิชารอง เช่น ศิลปะ สุขศึกษา พลศึกษา การงานพื้นฐานอาชีพ สำนักพิมพ์จัดทำแล้วจะส่งมาให้ตรวจ
“ตำราล้าสมัย หรือไม่ล้าสมัย ต่างจากหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ที่มีช่วงระยะเวลา แต่ตำราเรียนสามารถใช้ได้ 5-7 ปี เพียงแต่ครูต้องมั่นปรับปรุงเนื้อหาโดยเฉพาะวิชาสังคมให้ทันกับสถานการณ์”
คุณหญิง กษมา กล่าวอีกว่า ปีนี้จะใช้หลักสูตรปัจจุบัน เพิ่มเติมหลักสูตรใหม่ ชั้น ป.1 ป.4 ม.1 และ ม.4 เฉพาะโรงเรียนนำร่อง 555 แห่ง อย่างไรก็ตาม หลักสูตรใหม่จะใช้พร้อมกันทุกแห่งในปี 2555
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวนโยบายเรียนฟรี 15 ปี ซึ่งรัฐบาลจะจ่ายเงินสดให้ผู้ปกครองนำไปใช้ซื้อเครื่องแบบนักเรียน และอุปกรณ์การเรียน ซึ่งมีผู้ท้วงติง ว่า อาจจะมีรายชื่อเด็กผี ซึ่งไม่ได้เรียนอยู่จริงสอดแทรกเข้ามาขอรับเงินอุดหนุนดังกล่าว ว่า แนวทางการป้องกันปัญหาเด็กผี ตนจะให้ต้นสังกัด ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และโรงเรียน ต้องช่วยกันตรวจสอบรายชื่อให้ตรงกับความเป็นจริง ว่า เด็กเรียนอยู่ที่ไหน หากไม่ตรงกับความเป็นจริง ทุกฝ่ายต้องร่วมกันรับผิดชอบ และต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
“ผู้ตรวจราชการต้องเช็กรายชื่ออย่างเข้มงวดในพื้นที่ที่ตนเองรับผิดชอบ ถ้าตรวจสอบรายชื่อนักเรียนแล้ว พบว่า มีเด็กผี โรงเรียนแห่งนั้นต้องรับผิดชอบ และต้องดำเนินสอบสวนตามกฎหมายว่ามีผู้ใดเกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดปัญหาน้อยที่สุด และ ศธ.จะใช้วิธีเกิดปัญหาจุดไหน แก้จุดนั้น”
ส่วนที่มีสำนักพิมพ์เอกชนบางแห่งผลักดันให้ใช้ตำราเรียนใหม่ นายจุรินทร์ แสดงความเห็นว่า ตำราใหม่จะเริ่มใช้ในปี 2553 สำหรับปีนี้ยังใช้ตำราปัจจุบัน จะเอาตำราปี 2553 มาใช้ไม่ได้ เพราะกระทรวงศึกษาธิการ ยังไม่ได้อนุญาตให้ใช้ อีกทั้งยังไม่ได้ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา ซึ่งสำนักพิมพ์บางแห่งมีปัญหาธุรกิจ แต่ไม่รู้ว่าที่ไหนบ้าง
ด้าน คุณหญิงกษมา กล่าวว่า ตำราเรียนในวิชาหลัก ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย อังกฤษ และ สังคม จะต้องผ่านการตรวจของ ศธ.ก่อน จึงจะได้รับอนุญาตนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้ ซึ่งวิชาหลักเนื้อหาส่วนใหญ่ไม่เปลี่ยนมากนัก โดยอาจจะมีวิชาสังคมศึกษาที่คงต้องเปลี่ยนบ้าง เพราะครูผู้สอนจะต้องปรับปรุงเนื้อเนื้อหาให้ทันสมัยให้แก่นักเรียน หรือสำนักพิมพ์อาจเลือกวิธีพิมพ์ใบแทรกเนื้อหาที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม เช่น การเปลี่ยนประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนวิชารอง เช่น ศิลปะ สุขศึกษา พลศึกษา การงานพื้นฐานอาชีพ สำนักพิมพ์จัดทำแล้วจะส่งมาให้ตรวจ
“ตำราล้าสมัย หรือไม่ล้าสมัย ต่างจากหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ที่มีช่วงระยะเวลา แต่ตำราเรียนสามารถใช้ได้ 5-7 ปี เพียงแต่ครูต้องมั่นปรับปรุงเนื้อหาโดยเฉพาะวิชาสังคมให้ทันกับสถานการณ์”
คุณหญิง กษมา กล่าวอีกว่า ปีนี้จะใช้หลักสูตรปัจจุบัน เพิ่มเติมหลักสูตรใหม่ ชั้น ป.1 ป.4 ม.1 และ ม.4 เฉพาะโรงเรียนนำร่อง 555 แห่ง อย่างไรก็ตาม หลักสูตรใหม่จะใช้พร้อมกันทุกแห่งในปี 2555