ศธ.จัดแข่งขันประวัติศาสตร์เพชรยอดมงกุฎขึ้นเป็นครั้งแรก สนองพระเสาวนีย์ราชินี หวังปลุกเยาวชนมีจิตสำนึกรักชาติ เตรียมปรับหนังสือประวัติศาสตร์ทำเป็นเรื่องๆ เริ่มใช้ปี 53
นายวินัย รอดจ่าย รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวถึง การแข่งขันประวัติศาสตร์เพชรยอดมงกุฎ โครงการเพชรยอดมงกุฎ ปี 2551 ว่า การจัดการแข่งขันประวัติศาสตร์เพชรยอดมงกุฎขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อสนองพระราชเสาวนีย์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยมีวัตถุประสงค์ส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าทางการศึกษาให้ดีขึ้น มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเต็มศักยภาพ พร้อมกันนี้ การแข่งขันวิชาประวัติศาสตร์นี้ นักเรียนจะได้ทำข้อสอบแนวท้าทายทั้งทักษะความจำ ประวัติความเป็นมาของชาติไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์และอื่นๆ รวมถึงยังได้รู้จักเพื่อนต่างสถานศึกษาและแลกเปลี่ยนประสบการณ์
นายวินัย กล่าวต่อว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เห็นว่า วิชาประวัติศาสตร์มีความสำคัญอย่างยิ่ง จะอยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ วิชาสังคมศึกษา ซึ่งจะแยกออกเป็น ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ พุทธศาสนา หน้าที่ศีลธรรม และเศรษฐศาสตร์ ฯลฯ อย่างไรก็ดี การที่จะปลูกฝังให้เด็กรู้ประวัติความเป็นมาและเกิดความรักชาติ ขึ้นอยู่กับการเรียนการสอนของแต่ละโรงเรียน
“จริงๆ สพฐ.มีหลักสูตรประวัติศาสตร์อยู่แล้ว เพียงแต่ไม่ได้ทำเป็นเรื่องเป็นเล่มแต่จะแทรกอยู่ในวิชาสังคมศึกษา ส่งผลให้การเรียนการสอนประวัติศาสตร์ไม่มีความต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ จึงมีแผนผลิตหนังสือประวัติศาสตร์ออกมาเป็นเรื่องเป็นเล่มเพื่อให้เด็กอ่านประวัติศาสตร์เรื่องนั้นๆ ซึ่งเรื่องนี้อยู่ระหว่างการหารือกับสำนักพิมพ์เพื่อจัดทำหนังสือประวัติศาสตร์ โดยจะนำมาใช้ในปีการศึกษา 2553”
ด้าน นางสาวเฟื่องฟ้า ประดิษฐพจน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีวิทยา กล่าวว่า การแข่งขันประวัติศาสตร์เพชรยอดมงกุฎ จะแบ่งออกเป็น 4 ช่วงชั้น ช่วงชั้นที่ (ป.1-3) ช่วงชั้นที่ 2 (ป.4-6) ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-ม.3) และช่วงชั้นที่ 4 (ม.4-6) โดยจะให้โรงเรียนตัดเลือกตัวแทนนักเรียนช่วงชั้นละ 3 คน เพื่อเข้าร่วมแข่งขัน โดยส่งรายชื่อนักเรียนเพื่อยืนยันเข้าร่วมการแข่งขันผ่านเว็บ www.satriwit.ac.th ตั้งแต่วันนี้ ถึง วันที่ 5 พ.ย.2551 หลังจากนั้น จะแบ่งการคัดเลือกนักเรียนออกเป็น 3 รอบ ได้แก่ รอบคัดเลือกเพชร รอบเจียระไนเพชร และรอบเพชรยอดมงกุฎ โดยมีกำหนดการแข่งขันระดับประถมศึกษา จะจัดขึ้นในวันที่ 29 พ.ย.2551 และระดับมัธยมศึกษา วันที่ 30 พ.ย.2551 สำหรับผู้ชนะเลิศ จะได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมเหรียญทองคำแท้ ส่วนรางวัลที่ 2 รับเงินรางวัล 7,000 บาท พร้อมเหรียญเงิน และรางวัลที่ 3 ได้รับเงิน 5,000 บาท พร้อมเหรียญทองแดง
นายวินัย รอดจ่าย รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวถึง การแข่งขันประวัติศาสตร์เพชรยอดมงกุฎ โครงการเพชรยอดมงกุฎ ปี 2551 ว่า การจัดการแข่งขันประวัติศาสตร์เพชรยอดมงกุฎขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อสนองพระราชเสาวนีย์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยมีวัตถุประสงค์ส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าทางการศึกษาให้ดีขึ้น มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเต็มศักยภาพ พร้อมกันนี้ การแข่งขันวิชาประวัติศาสตร์นี้ นักเรียนจะได้ทำข้อสอบแนวท้าทายทั้งทักษะความจำ ประวัติความเป็นมาของชาติไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์และอื่นๆ รวมถึงยังได้รู้จักเพื่อนต่างสถานศึกษาและแลกเปลี่ยนประสบการณ์
นายวินัย กล่าวต่อว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เห็นว่า วิชาประวัติศาสตร์มีความสำคัญอย่างยิ่ง จะอยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ วิชาสังคมศึกษา ซึ่งจะแยกออกเป็น ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ พุทธศาสนา หน้าที่ศีลธรรม และเศรษฐศาสตร์ ฯลฯ อย่างไรก็ดี การที่จะปลูกฝังให้เด็กรู้ประวัติความเป็นมาและเกิดความรักชาติ ขึ้นอยู่กับการเรียนการสอนของแต่ละโรงเรียน
“จริงๆ สพฐ.มีหลักสูตรประวัติศาสตร์อยู่แล้ว เพียงแต่ไม่ได้ทำเป็นเรื่องเป็นเล่มแต่จะแทรกอยู่ในวิชาสังคมศึกษา ส่งผลให้การเรียนการสอนประวัติศาสตร์ไม่มีความต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ จึงมีแผนผลิตหนังสือประวัติศาสตร์ออกมาเป็นเรื่องเป็นเล่มเพื่อให้เด็กอ่านประวัติศาสตร์เรื่องนั้นๆ ซึ่งเรื่องนี้อยู่ระหว่างการหารือกับสำนักพิมพ์เพื่อจัดทำหนังสือประวัติศาสตร์ โดยจะนำมาใช้ในปีการศึกษา 2553”
ด้าน นางสาวเฟื่องฟ้า ประดิษฐพจน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีวิทยา กล่าวว่า การแข่งขันประวัติศาสตร์เพชรยอดมงกุฎ จะแบ่งออกเป็น 4 ช่วงชั้น ช่วงชั้นที่ (ป.1-3) ช่วงชั้นที่ 2 (ป.4-6) ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-ม.3) และช่วงชั้นที่ 4 (ม.4-6) โดยจะให้โรงเรียนตัดเลือกตัวแทนนักเรียนช่วงชั้นละ 3 คน เพื่อเข้าร่วมแข่งขัน โดยส่งรายชื่อนักเรียนเพื่อยืนยันเข้าร่วมการแข่งขันผ่านเว็บ www.satriwit.ac.th ตั้งแต่วันนี้ ถึง วันที่ 5 พ.ย.2551 หลังจากนั้น จะแบ่งการคัดเลือกนักเรียนออกเป็น 3 รอบ ได้แก่ รอบคัดเลือกเพชร รอบเจียระไนเพชร และรอบเพชรยอดมงกุฎ โดยมีกำหนดการแข่งขันระดับประถมศึกษา จะจัดขึ้นในวันที่ 29 พ.ย.2551 และระดับมัธยมศึกษา วันที่ 30 พ.ย.2551 สำหรับผู้ชนะเลิศ จะได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมเหรียญทองคำแท้ ส่วนรางวัลที่ 2 รับเงินรางวัล 7,000 บาท พร้อมเหรียญเงิน และรางวัลที่ 3 ได้รับเงิน 5,000 บาท พร้อมเหรียญทองแดง