“เกย์นที” ทวงถามความคืบหน้าการบริจาคเลือดกลุ่มชายรักชาย ด้านสภากาชาด แจงรักเพศเดียวกันมีความเสี่ยงมากกว่ากลุ่มอื่นร้อยละ 20 ส่วนแบบสอบถามไม่เน้นแค่ความแตกต่างทางเพศ รสนิยมทางเพศ แต่พิจารณาความเสี่ยงทางเพศเป็นสำคัญ
วันนี้ (17 ก.พ.) ที่สภากาชาดไทย นายนที กลุ่มเกย์การเมือง ได้เดินทางมายืนหนังสือเพื่อท้วงถามความคืบหน้าการแก้ไขระเบียบการรับบริจาคโลหิต ที่กำหนดไม่รับบริจาคเลือดจากกลุ่มชายรักชาย โดยมี นาวาโทหญิง พญ.อุบลวัณณ์ จรูญเรืองฤทธิ์ รองผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย รับเรื่องร้องเรียน พร้อมกล่าวว่า จากข้อมูลทางวิชาการ ยังพบว่า กลุ่มคนรักเพศเดียวกันโดยเฉพาะชายรักชาย ถือว่ามีความเสี่ยงมากกว่ากลุ่มอื่นร้อยละ 20
ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจากลักษณะพฤติกรรมของกลุ่มคนดังกล่าว และวิธีการมีเพศสัมพันธ์ที่มีความรุนแรงทำให้มีโอกาสที่อวัยวะเพศจะฉีกขาดได้ง่ายกว่าเพศชายหรือเพศหญิง หากข้อมูลทางวิชาการยังบ่งชี้ว่าเป็นคนกลุ่มเสี่ยงก็คงยังไม่มีการแก้ไขวิธีการคัดกรอง แต่หากพบข้อมูลทางวิชาการมากขึ้น หรือระบุได้ว่า ความเสี่ยงของกลุ่มคนรักเพศเดียวกันมีอัตราเสี่ยงไม่ต่างจากคนกลุ่มอื่นก็สามารถเปลี่ยนแปลงเกณฑ์ดังกล่าวได้ ส่วนแบบสอบถามไม่ได้เน้นแค่ความแตกต่างทางเพศ รสนิยมทางเพศ แต่พิจารณาเรื่องพฤติกรรมความเสี่ยงทางเพศเป็นสำคัญ รวมทั้งสุขภาพด้านอื่นๆ ด้วย
“องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดว่า เกณฑ์การรับบริจาคเลือดต้องมีการคัดแยก และคัดกรองให้ได้เลือดจากกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุด ซึ่งสภากาชาดยึดหลักดังกล่าวมาตลอด 1 ปี ส่วนแบบสอบถามนั้น ก็มีการแก้ไขแล้ว โดยเปลี่ยนเป็นกลุ่มคนที่มีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน ไม่ได้เฉพาะเจาะจงว่าเป็น ชายกับชาย หรือ หญิงกับหญิง ซึ่งการคัดกรองไม่ได้ถามเฉพาะเรื่องเพศสัมพันธ์แต่ยังดูปัจจัยอื่นๆ เช่น การกินยา โรคประจำตัว ฯลฯ ”นาวาโทหญิง พญ.อุบลวัณณ์ กล่าว
วันนี้ (17 ก.พ.) ที่สภากาชาดไทย นายนที กลุ่มเกย์การเมือง ได้เดินทางมายืนหนังสือเพื่อท้วงถามความคืบหน้าการแก้ไขระเบียบการรับบริจาคโลหิต ที่กำหนดไม่รับบริจาคเลือดจากกลุ่มชายรักชาย โดยมี นาวาโทหญิง พญ.อุบลวัณณ์ จรูญเรืองฤทธิ์ รองผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย รับเรื่องร้องเรียน พร้อมกล่าวว่า จากข้อมูลทางวิชาการ ยังพบว่า กลุ่มคนรักเพศเดียวกันโดยเฉพาะชายรักชาย ถือว่ามีความเสี่ยงมากกว่ากลุ่มอื่นร้อยละ 20
ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจากลักษณะพฤติกรรมของกลุ่มคนดังกล่าว และวิธีการมีเพศสัมพันธ์ที่มีความรุนแรงทำให้มีโอกาสที่อวัยวะเพศจะฉีกขาดได้ง่ายกว่าเพศชายหรือเพศหญิง หากข้อมูลทางวิชาการยังบ่งชี้ว่าเป็นคนกลุ่มเสี่ยงก็คงยังไม่มีการแก้ไขวิธีการคัดกรอง แต่หากพบข้อมูลทางวิชาการมากขึ้น หรือระบุได้ว่า ความเสี่ยงของกลุ่มคนรักเพศเดียวกันมีอัตราเสี่ยงไม่ต่างจากคนกลุ่มอื่นก็สามารถเปลี่ยนแปลงเกณฑ์ดังกล่าวได้ ส่วนแบบสอบถามไม่ได้เน้นแค่ความแตกต่างทางเพศ รสนิยมทางเพศ แต่พิจารณาเรื่องพฤติกรรมความเสี่ยงทางเพศเป็นสำคัญ รวมทั้งสุขภาพด้านอื่นๆ ด้วย
“องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดว่า เกณฑ์การรับบริจาคเลือดต้องมีการคัดแยก และคัดกรองให้ได้เลือดจากกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุด ซึ่งสภากาชาดยึดหลักดังกล่าวมาตลอด 1 ปี ส่วนแบบสอบถามนั้น ก็มีการแก้ไขแล้ว โดยเปลี่ยนเป็นกลุ่มคนที่มีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน ไม่ได้เฉพาะเจาะจงว่าเป็น ชายกับชาย หรือ หญิงกับหญิง ซึ่งการคัดกรองไม่ได้ถามเฉพาะเรื่องเพศสัมพันธ์แต่ยังดูปัจจัยอื่นๆ เช่น การกินยา โรคประจำตัว ฯลฯ ”นาวาโทหญิง พญ.อุบลวัณณ์ กล่าว