มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ชี้แบบสอบถามก่อนบริจาคเลือดสร้างตราบาปคนบางกลุ่ม แนะปรับแบบสอบถามบางข้อ พร้อมให้ข้อมูลที่ถูกต้องก่อนบริจาคเลือด เพื่อศึกษาพฤติกรรมเสี่ยง
นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ เปิดเผยภายหลังเข้าหารือกับตัวแทนของสภากาชาดไทย เพื่อหารือร่วมกันในเรื่องเกณฑ์การคัดเลือกผู้บริจาคโลหิต ว่า เป็นการหารือร่วมกันอย่างเข้าใจว่าการบริจาคเลือดนั้นเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องทำให้เลือดนั้นปลอดภัยโดยที่ต่างฝ่ายไม่ต้องทะเลาะกัน และจะมีวิธีใดให้การคัดเลือกเลือดนั้น ผิดพลาดน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม ถ้ายังใช้แบบสอบถามเดิมแล้วเป็นการสร้างตราบาปให้กับคนบางกลุ่มก็คงไม่เหมาะสม และหากเจาะจงว่าคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นผู้เสี่ยง ก็อาจทำให้คนกลุ่มอื่นที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ไม่ตระหนักและทำให้เกิดเป็นกลุ่มเสี่ยงเอง
นายนิมิตร์ กล่าวต่อว่า สำหรับแบบสอบถามข้อ 11 ที่ระบุว่า ท่านและคู่ของท่านมีพฤติกรรมความเสี่ยงทางเพศกับผู้อื่นใช้หรือไม่ ได้เสนอให้ ตัดคำว่า “ผู้อื่น” ออก ส่วน ข้อ 12 ที่ระบุว่า ท่านหรือคู่ของท่านมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกันใช่หรือไม่นั้น ทางเครือข่ายได้เสนอว่า ควรเปลี่ยนวิธีให้ทุกคนที่จะบริจาคเลือดอ่านคู่มือที่ให้ความรู้ เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ให้รอบด้านว่าคืออะไรบ้าง เช่น การมีคู่นอนมากกว่า 1 คน การมีพฤติกรรมมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย เพื่อให้ผู้บริจาคตัดสินใจว่ายังจะบริจาคหรือไม่
“การตรวจสอบเลือดทุกยูนิตอย่างเข้มงวดนั้น ถือว่ามีความสำคัญ ต้องมีไว้และไม่พลาด ซึ่งคงต้องเน้นว่าผู้บริจาคต้องรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกัน ไม่ใช่เพียงกลุ่มเกย์ ที่มีความเสี่ยง การมีแบบสอบถามจึงไม่ช่วยให้ปลอดภัยขึ้นแต่อย่างใด โดยจากการหารือครั้งนี้ สภากาชาดไทย รับจะไปประชุมกันอีกครั้ง โดยจะนำเข้าคณะอนุกรรมการวิชาการ ก่อนที่จะหารือร่วมกับเครือข่ายฯอีกครั้งในวันที่ 4 เม.ย.นี้”นายนิมิตร์ กล่าว
นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ เปิดเผยภายหลังเข้าหารือกับตัวแทนของสภากาชาดไทย เพื่อหารือร่วมกันในเรื่องเกณฑ์การคัดเลือกผู้บริจาคโลหิต ว่า เป็นการหารือร่วมกันอย่างเข้าใจว่าการบริจาคเลือดนั้นเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องทำให้เลือดนั้นปลอดภัยโดยที่ต่างฝ่ายไม่ต้องทะเลาะกัน และจะมีวิธีใดให้การคัดเลือกเลือดนั้น ผิดพลาดน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม ถ้ายังใช้แบบสอบถามเดิมแล้วเป็นการสร้างตราบาปให้กับคนบางกลุ่มก็คงไม่เหมาะสม และหากเจาะจงว่าคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นผู้เสี่ยง ก็อาจทำให้คนกลุ่มอื่นที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ไม่ตระหนักและทำให้เกิดเป็นกลุ่มเสี่ยงเอง
นายนิมิตร์ กล่าวต่อว่า สำหรับแบบสอบถามข้อ 11 ที่ระบุว่า ท่านและคู่ของท่านมีพฤติกรรมความเสี่ยงทางเพศกับผู้อื่นใช้หรือไม่ ได้เสนอให้ ตัดคำว่า “ผู้อื่น” ออก ส่วน ข้อ 12 ที่ระบุว่า ท่านหรือคู่ของท่านมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกันใช่หรือไม่นั้น ทางเครือข่ายได้เสนอว่า ควรเปลี่ยนวิธีให้ทุกคนที่จะบริจาคเลือดอ่านคู่มือที่ให้ความรู้ เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ให้รอบด้านว่าคืออะไรบ้าง เช่น การมีคู่นอนมากกว่า 1 คน การมีพฤติกรรมมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย เพื่อให้ผู้บริจาคตัดสินใจว่ายังจะบริจาคหรือไม่
“การตรวจสอบเลือดทุกยูนิตอย่างเข้มงวดนั้น ถือว่ามีความสำคัญ ต้องมีไว้และไม่พลาด ซึ่งคงต้องเน้นว่าผู้บริจาคต้องรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกัน ไม่ใช่เพียงกลุ่มเกย์ ที่มีความเสี่ยง การมีแบบสอบถามจึงไม่ช่วยให้ปลอดภัยขึ้นแต่อย่างใด โดยจากการหารือครั้งนี้ สภากาชาดไทย รับจะไปประชุมกันอีกครั้ง โดยจะนำเข้าคณะอนุกรรมการวิชาการ ก่อนที่จะหารือร่วมกับเครือข่ายฯอีกครั้งในวันที่ 4 เม.ย.นี้”นายนิมิตร์ กล่าว