สธ.คาดสถานการณ์ไข้เลือดออกปีนี้อาจรุนแรง มกราคมเดือนเดียวป่วยแล้ว 1,675 ราย เปิดศึกตั้งวอร์รูมไข้เลือดออกสู้ สั่งการผู้ตรวจกำกับสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศใกล้ชิด ขอความร่วมมือองค์กรท้องถิ่น และ อสม.รณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุกสัปดาห์เสร็จภายในสงกรานต์ ก่อนถึงฤดูกาลระบาด มิ.ย.-ก.ค.นี้
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกในปีนี้น่าห่วง จากการวิเคราะห์ข้อมูลของกรมควบคุมโรคพบว่า ตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา ประเทศไทยมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในแบบ 2 ปีเว้น 2 ปี โดยปี 2552 นี้จะเป็นปีที่มีการระบาดต่อเนื่อง และคาดว่าจำนวนผู้ป่วยจะใกล้เคียงกับปี 2551 ที่พบ 91,003 ราย และมีแนวโน้มสูงขึ้น ขณะที่ปี 2550 พบผู้ป่วย 65,581 ราย ปีนี้จึงต้องเร่งควบคุมป้องกันโรคทุกวิถีทาง โดยได้สั่งการให้เปิดวอร์รูมไข้เลือดออกที่กรมควบคุมโรค มี นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน และจัดประชุมผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำนักงานอนามัยกรุงเทพมหานคร องค์การอนามัยโลก ศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐด้านสาธารณสุข โดยติดตามสถานการณ์ทั้งภายในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อวางแผนป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างใกล้ชิดทุกสัปดาห์
นายวิทยา กล่าวต่อว่า ในระดับจังหวัด ได้มอบนโยบายให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เข้มข้นกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในบ้านและชุมชนที่มีบ้านอยู่กันอย่างหนาแน่นทุกสัปดาห์ โดยเฉพาะในโรงเรียน โรงพยาบาล และที่พักในแหล่งท่องเที่ยว จะต้องไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เริ่มตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เพื่อช่วยกันลดจำนวนยุงลายให้เหลือน้อยที่สุด ดำเนินการให้เสร็จสิ้นก่อนเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งจะมีประชาชนเดินทางกลับบ้านหรือท่องเที่ยวจำนวนมาก และก่อนเข้าสู่ฤดูฝนในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ซึ่งเป็นช่วงที่พบการระบาดสูงสุด และให้ผู้ตรวจราชการติดตามผลทุกเดือน เพราะหากไม่มียุงลายก็จะไม่มีคนป่วยไข้เลือดออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งมีฝนตกชุกนานถึง 8 เดือนตั้งแต่กลางปีจนถึงปลายปี ทำให้มีปริมาณยุงลายมาก และสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ที่ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานค่อนข้างยาก
ด้านนพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากรายงานการเฝ้าระวังโรคของสำนักระบาดวิทยา ในเดือนมกราคมปี 2552 นี้พบผู้ป่วยไข้เลือดออกทั่วประเทศแล้ว 1,675 ราย เสียชีวิต 2 ราย ขณะที่เดือนมกราคมปีที่แล้ว ป่วย 1,553 ราย เสียชีวิต 2 ราย โดยพบผู้ป่วยมากที่สุดที่ภาคกลาง 886 ราย รองลงมาคือภาคใต้ 546 ราย ส่วนกทม. มีรายงานพบ 303 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต ที่น่าสังเกตคือจังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 3 อันดับแรกของประเทศขณะนี้อยู่ใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ สงขลา ปัตตานี และยะลา
“ที่น่าเป็นห่วงคือ พบว่าผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในปีนี้ มากกว่าครึ่งอายุมากกว่า 15 ปี ได้กำชับให้แพทย์พยาบาลในสถานพยาบาลทุกแห่ง ตั้งข้อสงสัยผู้ป่วยทุกรายไม่ว่าจะอายุเท่าใด ว่าอาจเป็นไข้เลือดออกได้ หากมีไข้สูงติดต่อกันเกินกว่า 2 วัน กินยาลดไข้แล้วไข้ไม่ลด ขอให้ซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจเลือดอย่างละเอียด ขณะนี้กรมการแพทย์กำลังศึกษาความเป็นไปได้ ในการนำชุดทดสอบเชื้อไข้เลือดออกเบื้องต้นมาใช้ตรวจคัดกรองผู้ป่วยที่มีอาการเข้าข่ายไข้เลือดออก เพื่อให้การดูแลรักษาอย่างถูกต้องและเร็วที่สุด ถือเป็นการลดอัตราผู้ป่วยไข้เลือดออกให้ต่ำลง” นพ.ไพจิตร์ กล่าว
รองปลัดสธ.กล่าวต่อว่า ในเดือนกุมภาพันธ์นี้ กรมควบคุมโรคจะจัดประชุมการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกจังหวัดที่มีความเสี่ยงสูงประมาณ 30 จังหวัด เพื่อให้มาตรการที่เร่งรัดไปแล้วมีความเข้มข้นและต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน จะจัดประชุมผู้บริหารและผู้ดูแลในศูนย์เด็กเล็กก่อนวัยเรียนในเขต กทม.ด้วย เนื่องจากศูนย์เด็กเล็กเป็นพื้นที่เสี่ยงสำคัญเพราะดูแลเด็กในช่วงกลางวันซึ่งเป็นเวลาที่ยุงลายออกหากิน
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกในปีนี้น่าห่วง จากการวิเคราะห์ข้อมูลของกรมควบคุมโรคพบว่า ตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา ประเทศไทยมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในแบบ 2 ปีเว้น 2 ปี โดยปี 2552 นี้จะเป็นปีที่มีการระบาดต่อเนื่อง และคาดว่าจำนวนผู้ป่วยจะใกล้เคียงกับปี 2551 ที่พบ 91,003 ราย และมีแนวโน้มสูงขึ้น ขณะที่ปี 2550 พบผู้ป่วย 65,581 ราย ปีนี้จึงต้องเร่งควบคุมป้องกันโรคทุกวิถีทาง โดยได้สั่งการให้เปิดวอร์รูมไข้เลือดออกที่กรมควบคุมโรค มี นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน และจัดประชุมผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำนักงานอนามัยกรุงเทพมหานคร องค์การอนามัยโลก ศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐด้านสาธารณสุข โดยติดตามสถานการณ์ทั้งภายในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อวางแผนป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างใกล้ชิดทุกสัปดาห์
นายวิทยา กล่าวต่อว่า ในระดับจังหวัด ได้มอบนโยบายให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เข้มข้นกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในบ้านและชุมชนที่มีบ้านอยู่กันอย่างหนาแน่นทุกสัปดาห์ โดยเฉพาะในโรงเรียน โรงพยาบาล และที่พักในแหล่งท่องเที่ยว จะต้องไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เริ่มตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เพื่อช่วยกันลดจำนวนยุงลายให้เหลือน้อยที่สุด ดำเนินการให้เสร็จสิ้นก่อนเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งจะมีประชาชนเดินทางกลับบ้านหรือท่องเที่ยวจำนวนมาก และก่อนเข้าสู่ฤดูฝนในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ซึ่งเป็นช่วงที่พบการระบาดสูงสุด และให้ผู้ตรวจราชการติดตามผลทุกเดือน เพราะหากไม่มียุงลายก็จะไม่มีคนป่วยไข้เลือดออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งมีฝนตกชุกนานถึง 8 เดือนตั้งแต่กลางปีจนถึงปลายปี ทำให้มีปริมาณยุงลายมาก และสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ที่ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานค่อนข้างยาก
ด้านนพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากรายงานการเฝ้าระวังโรคของสำนักระบาดวิทยา ในเดือนมกราคมปี 2552 นี้พบผู้ป่วยไข้เลือดออกทั่วประเทศแล้ว 1,675 ราย เสียชีวิต 2 ราย ขณะที่เดือนมกราคมปีที่แล้ว ป่วย 1,553 ราย เสียชีวิต 2 ราย โดยพบผู้ป่วยมากที่สุดที่ภาคกลาง 886 ราย รองลงมาคือภาคใต้ 546 ราย ส่วนกทม. มีรายงานพบ 303 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต ที่น่าสังเกตคือจังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 3 อันดับแรกของประเทศขณะนี้อยู่ใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ สงขลา ปัตตานี และยะลา
“ที่น่าเป็นห่วงคือ พบว่าผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในปีนี้ มากกว่าครึ่งอายุมากกว่า 15 ปี ได้กำชับให้แพทย์พยาบาลในสถานพยาบาลทุกแห่ง ตั้งข้อสงสัยผู้ป่วยทุกรายไม่ว่าจะอายุเท่าใด ว่าอาจเป็นไข้เลือดออกได้ หากมีไข้สูงติดต่อกันเกินกว่า 2 วัน กินยาลดไข้แล้วไข้ไม่ลด ขอให้ซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจเลือดอย่างละเอียด ขณะนี้กรมการแพทย์กำลังศึกษาความเป็นไปได้ ในการนำชุดทดสอบเชื้อไข้เลือดออกเบื้องต้นมาใช้ตรวจคัดกรองผู้ป่วยที่มีอาการเข้าข่ายไข้เลือดออก เพื่อให้การดูแลรักษาอย่างถูกต้องและเร็วที่สุด ถือเป็นการลดอัตราผู้ป่วยไข้เลือดออกให้ต่ำลง” นพ.ไพจิตร์ กล่าว
รองปลัดสธ.กล่าวต่อว่า ในเดือนกุมภาพันธ์นี้ กรมควบคุมโรคจะจัดประชุมการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกจังหวัดที่มีความเสี่ยงสูงประมาณ 30 จังหวัด เพื่อให้มาตรการที่เร่งรัดไปแล้วมีความเข้มข้นและต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน จะจัดประชุมผู้บริหารและผู้ดูแลในศูนย์เด็กเล็กก่อนวัยเรียนในเขต กทม.ด้วย เนื่องจากศูนย์เด็กเล็กเป็นพื้นที่เสี่ยงสำคัญเพราะดูแลเด็กในช่วงกลางวันซึ่งเป็นเวลาที่ยุงลายออกหากิน