ASTVผู้จัดการรายวัน – “ศศิธารา” ลุ้นอภิปรายงบประมาณ หวังได้เงิน 453 ล้านบาทครบตามจำนวน เพื่อ จัดทริปท่องเที่ยวเยาวชนและผู้สูงอายุ ตามแนวคิดสร้างดีมานด์เทียม อัดฉีดเงินสายตรงเข้าถึงเอกชนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทุกส่วนทั่วประเทศ
วานนี้(27ม.ค.52)ภายหลังการประชุมโครงการนำเด็กเยาวชนและผู้สูงอายุเดินทางท่องเที่ยวไทย โดยมีผู้ร่วมประชุมเป็นสมาคมด้านการท่องเที่ยวต่างๆ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว(สทท.) และตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ นางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะประธานการประชุม กล่าวว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบร่วมกันในกรอบเงื่อนไขการทำงานในโครงการนำเด็กเยาวชนและผู้สูงอายุเดินทางท่องเที่ยว ภายใต้วงเงินงบประมาณ 153 ล้าน ซึ่งเป็นงบกลางปีงบประมาณ 2552 ที่ได้บรรจุอยู่ในพ.ร.บ.งบประมาณฯ
“วงเงินนี้มาจากที่ ครม.อนุมัติงบกลางปี ให้ กระทรวงการท่องเที่ยว 1,000 ล้านบาท แบ่งเป็น ททท. 450 ล้านบาท สพท. เพื่อสร้างห้องสุขาและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว 97 ล้านบาท สำนักปลัดกระทรวงการท่องเที่ยว 453ล้านบาท ในที่นี้จะมาใช้ในโครงการนี้ 153 ล้านบาท อีก300 ล้านบาท จะใช้ส่งเสริมท่องเที่ยวและกีฬาใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งวงเงินจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ต้องรอผลจากการอภิปรายงบประมาณของสภาผู้แทนราษฎรในวันนี้ (28ม.ค.52) หากได้ไม่ถึงก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ของโครงการบ้างให้เหมาะกับเงินที่ได้รับจริง”
ทั้งนี้จุดประสงค์ของโครงการ 1.เด็กเยาวชนและนักศึกษาได้มีโอกาสท่องเที่ยวในประเทศ 2.ได้ความรู้จากการท่องเที่ยวเกิดการกระจายรายได้และ3.เป็นแนวทางการกระจายแหล่งท่องเที่ยว โดยจะคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 153,000 คน โดยกระทรวงการท่องเที่ยวฯจะออกค่าใช้จ่ายจากงบ 153 ล้านบาท ให้แก่นักท่องเที่ยวได้เที่ยวฟรีเฉลี่ย 850 บาทต่อคนต่อวัน ระยะเวลา โครงการตั้งแต่ มี.ค.-มิ.ย.52 แบ่งเป็น เด็กเยาวชนและนักศึกษา 130,000 คน โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) และสำนักงานการอาชีวะ เป็นผู้คัดเลือก เน้นเด็กเยาวชนที่ด้อยโอกาส ,อีก 23,000 คน ผู้สูงอายุ ซึ่งกระทรวงพัฒนาสังคมและทรัพยากรมนุษย์ เป็นผู้คัดเลือก โดยผู้เข้าร่วมโครงการ จะมาจากทั้ง 75 จังหวัด เฉลี่ยงจังหวัดละ 2,000 คน ส่วนกรุงเทพฯจะคัดเลือก 3,000 คน
“วงเงิน 153 ล้านบาท จะแบ่งไว้ 10-20 ล้านบาท เพื่อจ้างมหาวิทยาลัยทำการสำรวจประเมินผลของโครงการที่จะได้รับว่า นักท่องเที่ยวที่ร่วมโครงการมีความพึ่งพอใจแค่ไหน และ เกิดการใช้จ่ายจากการท่องเที่ยวเป็นเงินจำนวนเท่าใด ส่วนเงินที่เหลือก็จะกระจายว่าจ้างเอกชนจัดทัวร์ท่องเที่ยว”
นางสาวศศิธารา กล่าวว่า ในหลักการดำเนินโครงการ จะจัดเป็นทัวร์ 1-2 วัน โดยจะต้องใช้บริการว่าจ้างผ่านบริษัทนำเที่ยว มัคคุเทศก์ โรงแรม และ ร้านอาหาร ที่ได้มาตรฐานจดทะเบียนตามกฎหมาย ซึ่งตรงนี้จะช่วยดึงดูดให้บริษัทในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวตื่นตัวที่จะเข้าสู่ระบบตามกฎหมายมากขึ้น เน้นเที่ยวกันภายในจังหวัดใกล้เคียง หรือ ตามกลุ่มจังหวัดใน 14 คลัสเตอร์ เพื่อให้ เยาวชนได้รู้จักแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดของตัวเองมากขึ้น
โดยจากนี้ไปให้ภาคเอกชนสมาคมท่องเที่ยวต่างๆ ไปจัดทำเอกสารข้อกำหนดการประกวดราคา(ร่างที่โออาร์)มาเสนอใน 15 ก.พ.52 จากนั้นจะร่วมกันพิจารณาในเรื่องของการจัดซื้อจัดจ้างเป็นลำดับต่อไป โดยจะเน้นในเรื่องของการกระจายรายได้สู่ภาคเอชนท่องเที่ยวทุกภาคส่วนทั้งในกรุงเทพฯและภูมิภาค ทั้งรายเล็กรายใหญ่ เพื่อให้เกิดกระแสเงินว่าจ้างหมุนเวียนเข้าถึงเอกชนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างทั่วถึงและโดยตรง โดยกระทรวงฯจะให้ศูนย์ท่องเที่ยวและนันทนาการจังหวัด เป็นผู้ตรวจสอบการใช้เงิน เพื่อไม่ให้เกิดการกระจุกตัวอยู่กับเอกชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
ทั้งนี้รายงานข่าวระบุว่า โครงการนี้รัฐบาลมุ่งหวังอัดฉีดเงินเข้าสู่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั้งระบบ เช่น บริษัทนำเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร รถเช่าเพื่อการท่องเที่ยว เป็นต้น เพื่อเสริมสภาพคล่องให้เอกชนในช่วงนักท่องเที่ยวต่างชาติหดหาย โดยนักท่องเที่ยวโครงการนี้ถือเป็นดีมานด์ที่ภาครัฐสร้างขึ้นมา
วานนี้(27ม.ค.52)ภายหลังการประชุมโครงการนำเด็กเยาวชนและผู้สูงอายุเดินทางท่องเที่ยวไทย โดยมีผู้ร่วมประชุมเป็นสมาคมด้านการท่องเที่ยวต่างๆ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว(สทท.) และตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ นางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะประธานการประชุม กล่าวว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบร่วมกันในกรอบเงื่อนไขการทำงานในโครงการนำเด็กเยาวชนและผู้สูงอายุเดินทางท่องเที่ยว ภายใต้วงเงินงบประมาณ 153 ล้าน ซึ่งเป็นงบกลางปีงบประมาณ 2552 ที่ได้บรรจุอยู่ในพ.ร.บ.งบประมาณฯ
“วงเงินนี้มาจากที่ ครม.อนุมัติงบกลางปี ให้ กระทรวงการท่องเที่ยว 1,000 ล้านบาท แบ่งเป็น ททท. 450 ล้านบาท สพท. เพื่อสร้างห้องสุขาและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว 97 ล้านบาท สำนักปลัดกระทรวงการท่องเที่ยว 453ล้านบาท ในที่นี้จะมาใช้ในโครงการนี้ 153 ล้านบาท อีก300 ล้านบาท จะใช้ส่งเสริมท่องเที่ยวและกีฬาใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งวงเงินจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ต้องรอผลจากการอภิปรายงบประมาณของสภาผู้แทนราษฎรในวันนี้ (28ม.ค.52) หากได้ไม่ถึงก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ของโครงการบ้างให้เหมาะกับเงินที่ได้รับจริง”
ทั้งนี้จุดประสงค์ของโครงการ 1.เด็กเยาวชนและนักศึกษาได้มีโอกาสท่องเที่ยวในประเทศ 2.ได้ความรู้จากการท่องเที่ยวเกิดการกระจายรายได้และ3.เป็นแนวทางการกระจายแหล่งท่องเที่ยว โดยจะคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 153,000 คน โดยกระทรวงการท่องเที่ยวฯจะออกค่าใช้จ่ายจากงบ 153 ล้านบาท ให้แก่นักท่องเที่ยวได้เที่ยวฟรีเฉลี่ย 850 บาทต่อคนต่อวัน ระยะเวลา โครงการตั้งแต่ มี.ค.-มิ.ย.52 แบ่งเป็น เด็กเยาวชนและนักศึกษา 130,000 คน โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) และสำนักงานการอาชีวะ เป็นผู้คัดเลือก เน้นเด็กเยาวชนที่ด้อยโอกาส ,อีก 23,000 คน ผู้สูงอายุ ซึ่งกระทรวงพัฒนาสังคมและทรัพยากรมนุษย์ เป็นผู้คัดเลือก โดยผู้เข้าร่วมโครงการ จะมาจากทั้ง 75 จังหวัด เฉลี่ยงจังหวัดละ 2,000 คน ส่วนกรุงเทพฯจะคัดเลือก 3,000 คน
“วงเงิน 153 ล้านบาท จะแบ่งไว้ 10-20 ล้านบาท เพื่อจ้างมหาวิทยาลัยทำการสำรวจประเมินผลของโครงการที่จะได้รับว่า นักท่องเที่ยวที่ร่วมโครงการมีความพึ่งพอใจแค่ไหน และ เกิดการใช้จ่ายจากการท่องเที่ยวเป็นเงินจำนวนเท่าใด ส่วนเงินที่เหลือก็จะกระจายว่าจ้างเอกชนจัดทัวร์ท่องเที่ยว”
นางสาวศศิธารา กล่าวว่า ในหลักการดำเนินโครงการ จะจัดเป็นทัวร์ 1-2 วัน โดยจะต้องใช้บริการว่าจ้างผ่านบริษัทนำเที่ยว มัคคุเทศก์ โรงแรม และ ร้านอาหาร ที่ได้มาตรฐานจดทะเบียนตามกฎหมาย ซึ่งตรงนี้จะช่วยดึงดูดให้บริษัทในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวตื่นตัวที่จะเข้าสู่ระบบตามกฎหมายมากขึ้น เน้นเที่ยวกันภายในจังหวัดใกล้เคียง หรือ ตามกลุ่มจังหวัดใน 14 คลัสเตอร์ เพื่อให้ เยาวชนได้รู้จักแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดของตัวเองมากขึ้น
โดยจากนี้ไปให้ภาคเอกชนสมาคมท่องเที่ยวต่างๆ ไปจัดทำเอกสารข้อกำหนดการประกวดราคา(ร่างที่โออาร์)มาเสนอใน 15 ก.พ.52 จากนั้นจะร่วมกันพิจารณาในเรื่องของการจัดซื้อจัดจ้างเป็นลำดับต่อไป โดยจะเน้นในเรื่องของการกระจายรายได้สู่ภาคเอชนท่องเที่ยวทุกภาคส่วนทั้งในกรุงเทพฯและภูมิภาค ทั้งรายเล็กรายใหญ่ เพื่อให้เกิดกระแสเงินว่าจ้างหมุนเวียนเข้าถึงเอกชนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างทั่วถึงและโดยตรง โดยกระทรวงฯจะให้ศูนย์ท่องเที่ยวและนันทนาการจังหวัด เป็นผู้ตรวจสอบการใช้เงิน เพื่อไม่ให้เกิดการกระจุกตัวอยู่กับเอกชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
ทั้งนี้รายงานข่าวระบุว่า โครงการนี้รัฐบาลมุ่งหวังอัดฉีดเงินเข้าสู่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั้งระบบ เช่น บริษัทนำเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร รถเช่าเพื่อการท่องเที่ยว เป็นต้น เพื่อเสริมสภาพคล่องให้เอกชนในช่วงนักท่องเที่ยวต่างชาติหดหาย โดยนักท่องเที่ยวโครงการนี้ถือเป็นดีมานด์ที่ภาครัฐสร้างขึ้นมา