ผลวิจัยเผยความสุขมวลรวมคนไทยเดือน ม.ค.2552 ลดลง คนใช้ชีวิตพอเพียงมีความสุขสูง ชี้ปัจจัยที่ทำให้มีความสุข คือ ความจงรักภักดี ความรัก ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ความสุขลดเพราะความไม่เป็นธรรมในสังคม ความรู้สึกไม่มั่นคงในหน้าที่การงาน สุขภาพกาย สุขภาพใจ แนะรัฐบาลให้ความสำคัญสังคมควบคู่แก้ปัญหาปากท้องของประชาชนจริงจัง
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือศูนย์วิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กล่าวว่า ได้ทำการวิจัยเรื่อง ชีวิตพอเพียงกับความสุขมวลรวมของประชาชนประจำเดือนมกราคม 2552 กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้ที่พักอาศัยอยู่ใน 18 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี ลพบุรี จันทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุรินทร์ อุบลราชธานี อุดรธานี ขอนแก่น หนองคาย เชียงใหม่ สุโขทัย พิษณุโลก นครศรีธรรมราช และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 2,170 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 24 มกราคม - 7 กุมภาพันธ์ 2552
ดร.นพดล กล่าวว่า จากการประเมินผลค่าความสุขมวลรวมของประชาชนภายในประเทศ หรือ Gross Domestic Happiness, GDH ในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่าความสุขมวลรวมของประชาชนเริ่มลดลงจาก 6.81 ในปลายเดือนธันวาคม 2551 มาอยู่ที่ 6.59 ในเดือนมกราคม 2552
ประเด็นที่น่าพิจารณา คือ ปัจจัยที่ยังคงเป็นปัจจัยติดค่าบวกโดยมีค่าเพิ่มขึ้นในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ความจงรักภักดี อยู่ที่ 9.21 คะแนน บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ได้ 8.04 คะแนน วัฒนธรรมประเพณี สิ่งที่ดีงามในสังคมไทย ได้ 7.49 บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในชุมชน ได้ 7.05 การเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ที่ดี ได้ 6.99 และสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย เช่น ถนน ไฟฟ้า ดิน อากาศ น้ำ ได้ 6.87 คะแนน
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ที่น่าเป็นห่วงคือ ปัจจัยที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยลดต่ำลง ได้แก่ สุขภาพกายลดลงจาก 7.39 มาอยู่ที่ 7.35 สุขภาพใจลดลงจาก 7.36 มาอยู่ที่ 7.33 หน้าที่การงานและอาชีพลดลงจาก 6.65 มาอยู่ที่ 5.77 ความเป็นธรรมในสังคมที่ได้รับ ลดลงจาก 5.72 มาอยู่ที่ 5.28 ความสุขต่อสภาวะเศรษฐกิจของตัวผู้ตอบแบบสอบถามลดลงจาก 4.98 มาอยู่ที่ 4.43 ความสุขต่อสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ลดลงจาก 3.26 มาอยู่ที่ 3.09 และความสุขต่อสถานการณ์การเมืองลดลงจาก 3.07 มาอยู่ที่ 3.01
ดร.นพดล กล่าวอีกว่า เมื่อวิเคราะห์การใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน พบว่า ร้อยละ 10.0 ได้ใช้ชีวิตพอเพียงอย่างเคร่งครัดแท้จริง ร้อยละ 36.1 ใช้ชีวิตค่อนข้างพอเพียง ร้อยละ 39.1 ใช้ชีวิตไม่ค่อยพอเพียง และร้อยละ 14.8 ใช้ชีวิตไม่พอเพียง โดยอุปสรรคสำคัญต่อการใช้ชีวิตพอเพียงของประชาชน 5 ประการที่ค้นพบในการวิจัยครั้งนี้คือ ร้อยละ 64.8 ยังคงเล่นอบายมุข เล่นหวยและการพนันในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 53.1 คิดว่าการทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดาในการทำธุรกิจ ร้อยละ 47.4 จะเดือดร้อนต้องพึ่งพาคนอื่นทันที ถ้าไม่มีรายได้เดือนนี้ ร้อยละ 40.5 อยากจะซื้ออะไรก็ซื้อ โดยไม่วางแผนล่วงหน้า และร้อยละ 31.9 เมื่อซื้อของหรือสินค้ามาแล้ว ไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่
“อย่างไรก็ตาม ผลวิจัยค้นพบว่า กลุ่มประชาชนที่ใช้ชีวิตพอเพียงอย่างเคร่งครัดแท้จริงมีค่าเฉลี่ยความสุขมวลรวมสูงที่สุดคือ 6.85 กลุ่มคนที่ใช้ชีวิตค่อนข้างพอเพียงได้ 6.83 กลุ่มคนที่ใช้ชีวิตไม่ค่อยพอเพียงได้ 6.39 และกลุ่มคนที่ใช้ชีวิตไม่พอเพียงได้ค่าเฉลี่ยความสุขต่ำสุดในการวิจัยครั้งนี้คือ 6.24 ตามลำดับ”ดร.นพดล กล่าว
ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวด้วยว่า สิ่งที่ทำให้ประชาชนมีความสุขไม่ได้ขึ้นอยู่กับแนวทางการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเพียงอย่างเดียว เพราะสิ่งที่ค้นพบในงานวิจัยครั้งนี้เห็นได้ชัดเจนว่า ความสุขของประชาชนที่ลดลงยังเกี่ยวข้องกับเรื่องของความไม่เป็นธรรมในสังคม ความรู้สึกไม่มั่นคงในหน้าที่การงาน สุขภาพกาย สุขภาพใจ สถานการณ์การเมืองโดยรวมของประเทศ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ทำให้คนไทยมีความสุขอยู่ได้เพราะมีเรื่องความจงรักภักดี ความรักความสัมพันธ์ของคนภายในครอบครัว วัฒนธรรมและสิ่งที่ดีงามในสังคมไทย สภาพแวดล้อมและบรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในชุมชน จึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลน่าจะให้ความสำคัญโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานขับเคลื่อนด้วยตนเองในมิติทางสังคมและการเมืองอย่างจริงจังควบคู่ไปกับการแก้ปัญหาปากท้องของประชาชน โดยต้องรักษาและหนุนเสริมให้ปัจจัยสำคัญที่มีส่วนทำให้คนไทยมีความสุขจากการวิจัยครั้งนี้เพิ่มสูงขึ้นและคงอยู่ตลอดไป
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือศูนย์วิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กล่าวว่า ได้ทำการวิจัยเรื่อง ชีวิตพอเพียงกับความสุขมวลรวมของประชาชนประจำเดือนมกราคม 2552 กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้ที่พักอาศัยอยู่ใน 18 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี ลพบุรี จันทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุรินทร์ อุบลราชธานี อุดรธานี ขอนแก่น หนองคาย เชียงใหม่ สุโขทัย พิษณุโลก นครศรีธรรมราช และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 2,170 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 24 มกราคม - 7 กุมภาพันธ์ 2552
ดร.นพดล กล่าวว่า จากการประเมินผลค่าความสุขมวลรวมของประชาชนภายในประเทศ หรือ Gross Domestic Happiness, GDH ในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่าความสุขมวลรวมของประชาชนเริ่มลดลงจาก 6.81 ในปลายเดือนธันวาคม 2551 มาอยู่ที่ 6.59 ในเดือนมกราคม 2552
ประเด็นที่น่าพิจารณา คือ ปัจจัยที่ยังคงเป็นปัจจัยติดค่าบวกโดยมีค่าเพิ่มขึ้นในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ความจงรักภักดี อยู่ที่ 9.21 คะแนน บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ได้ 8.04 คะแนน วัฒนธรรมประเพณี สิ่งที่ดีงามในสังคมไทย ได้ 7.49 บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในชุมชน ได้ 7.05 การเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ที่ดี ได้ 6.99 และสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย เช่น ถนน ไฟฟ้า ดิน อากาศ น้ำ ได้ 6.87 คะแนน
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ที่น่าเป็นห่วงคือ ปัจจัยที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยลดต่ำลง ได้แก่ สุขภาพกายลดลงจาก 7.39 มาอยู่ที่ 7.35 สุขภาพใจลดลงจาก 7.36 มาอยู่ที่ 7.33 หน้าที่การงานและอาชีพลดลงจาก 6.65 มาอยู่ที่ 5.77 ความเป็นธรรมในสังคมที่ได้รับ ลดลงจาก 5.72 มาอยู่ที่ 5.28 ความสุขต่อสภาวะเศรษฐกิจของตัวผู้ตอบแบบสอบถามลดลงจาก 4.98 มาอยู่ที่ 4.43 ความสุขต่อสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ลดลงจาก 3.26 มาอยู่ที่ 3.09 และความสุขต่อสถานการณ์การเมืองลดลงจาก 3.07 มาอยู่ที่ 3.01
ดร.นพดล กล่าวอีกว่า เมื่อวิเคราะห์การใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน พบว่า ร้อยละ 10.0 ได้ใช้ชีวิตพอเพียงอย่างเคร่งครัดแท้จริง ร้อยละ 36.1 ใช้ชีวิตค่อนข้างพอเพียง ร้อยละ 39.1 ใช้ชีวิตไม่ค่อยพอเพียง และร้อยละ 14.8 ใช้ชีวิตไม่พอเพียง โดยอุปสรรคสำคัญต่อการใช้ชีวิตพอเพียงของประชาชน 5 ประการที่ค้นพบในการวิจัยครั้งนี้คือ ร้อยละ 64.8 ยังคงเล่นอบายมุข เล่นหวยและการพนันในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 53.1 คิดว่าการทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดาในการทำธุรกิจ ร้อยละ 47.4 จะเดือดร้อนต้องพึ่งพาคนอื่นทันที ถ้าไม่มีรายได้เดือนนี้ ร้อยละ 40.5 อยากจะซื้ออะไรก็ซื้อ โดยไม่วางแผนล่วงหน้า และร้อยละ 31.9 เมื่อซื้อของหรือสินค้ามาแล้ว ไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่
“อย่างไรก็ตาม ผลวิจัยค้นพบว่า กลุ่มประชาชนที่ใช้ชีวิตพอเพียงอย่างเคร่งครัดแท้จริงมีค่าเฉลี่ยความสุขมวลรวมสูงที่สุดคือ 6.85 กลุ่มคนที่ใช้ชีวิตค่อนข้างพอเพียงได้ 6.83 กลุ่มคนที่ใช้ชีวิตไม่ค่อยพอเพียงได้ 6.39 และกลุ่มคนที่ใช้ชีวิตไม่พอเพียงได้ค่าเฉลี่ยความสุขต่ำสุดในการวิจัยครั้งนี้คือ 6.24 ตามลำดับ”ดร.นพดล กล่าว
ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวด้วยว่า สิ่งที่ทำให้ประชาชนมีความสุขไม่ได้ขึ้นอยู่กับแนวทางการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเพียงอย่างเดียว เพราะสิ่งที่ค้นพบในงานวิจัยครั้งนี้เห็นได้ชัดเจนว่า ความสุขของประชาชนที่ลดลงยังเกี่ยวข้องกับเรื่องของความไม่เป็นธรรมในสังคม ความรู้สึกไม่มั่นคงในหน้าที่การงาน สุขภาพกาย สุขภาพใจ สถานการณ์การเมืองโดยรวมของประเทศ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ทำให้คนไทยมีความสุขอยู่ได้เพราะมีเรื่องความจงรักภักดี ความรักความสัมพันธ์ของคนภายในครอบครัว วัฒนธรรมและสิ่งที่ดีงามในสังคมไทย สภาพแวดล้อมและบรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในชุมชน จึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลน่าจะให้ความสำคัญโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานขับเคลื่อนด้วยตนเองในมิติทางสังคมและการเมืองอย่างจริงจังควบคู่ไปกับการแก้ปัญหาปากท้องของประชาชน โดยต้องรักษาและหนุนเสริมให้ปัจจัยสำคัญที่มีส่วนทำให้คนไทยมีความสุขจากการวิจัยครั้งนี้เพิ่มสูงขึ้นและคงอยู่ตลอดไป