ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เผยผลสำรวจความสุขมวลรวมคนไทยวันนี้ พบภาพรวมลดลงจากการสำรวจครั้งที่แล้วเล็กน้อย จาก 7.17 ลงมาที่ 7.15 เมื่อลงรายละเอียดแต่ละด้านเกินครึ่งหมด โดยเฉพาะอันดับหนึ่ง คือความสุขต่อความจงรักภักดีอยู่ที่ 9.07 เศร้าสุดจากเหตุการณ์ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ระบุรัฐต้องเร่งแก้ด่วน 10 ปัญหาหลัก คือปัญหาปากท้อง-ความไม่สงบใต้-ยาเสพติด-คอรัปชั่น
นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือ ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัย “เอแบคเรียลไทม์โพลล์” สำรวจความสุขมวลรวมวันนี้ของประชาชนภายในประเทศ ประจำเดือนมิถุนายน 2552 กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ ปทุมธานี เพชรบุรี ฉะเชิงเทรา กาญจนบุรี ชลบุรี หนองบัวลำภู สกลนคร ศรีสะเกษ ขอนแก่น ระนอง พัทลุง และสุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,030 ครัวเรือน ในวันที่ 13 มิถุนายน 2552 พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 86.7 ติดตามข่าวสารการเมืองผ่านสื่อมวลชนเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
เมื่อประเมินความสุขมวลรวมวันนี้ของคนไทยภายในประเทศ หรือที่เรียกว่า GDH พบว่า ลดลงเล็กน้อยจาก 7.17 ในการสำรวจครั้งก่อน ลงมาอยู่ที่ 7.15 อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาค่าความสุขมวลรวมของประชาชนในแต่ละกลุ่มปัจจัยเมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า เกินกว่าครึ่งในทุกด้านโดยค่าสูงสุดใน 5 อันดับแรก ได้แก่ ความสุขต่อความจงรักภักดีอยู่ที่ 9.07 วัฒนธรรมประเพณีไทยอยู่ที่ 8.14 บรรยากาศภายในครอบครัวอยู่ที่ 8.07 สภาวะการนอนหลับได้สนิทอยู่ที่ 7.69 และสุขภาพกายอยู่ที่ 7.64 ตามลำดับ ส่วนค่าต่ำสุดใน 3 อันดับสุดท้าย ได้แก่ ความเป็นธรรมทางสังคมที่ได้รับอยู่ที่ 6.25 สถานการณ์การเมืองปัจจุบันอยู่ที่ 5.46 และสภาวะเศรษฐกิจของประเทศอยู่ที่ 5.21 ตามลำดับ
นายนพดล กล่าวว่า เมื่อถามถึงความรู้สึกของคนไทยต่อสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พบผลสำรวจที่สะท้อนให้เห็นว่า คนไทยส่วนใหญ่ยังคงมีความผูกพันต่อกันและกัน โดยพบว่า ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 69.4 รู้สึกเศร้าใจมากถึงมากที่สุด ต่อสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ส่วน 10 ปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่คนไทยต้องการให้รัฐบาลเร่งแก้ไข เพื่อเพิ่มความสุขมวลรวมให้กับคนไทย พบว่า อันดับแรก หรือร้อยละ 96.1 ระบุปัญหาปากท้องของประชาชน รองลงมาคือ ร้อยละ 95.0 ปัญหาสถานการณ์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อันดับสามหรือ ร้อยละ 94.9 ปัญหายาเสพติด ร้อยละ 90.7 ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน ร้อยละ 90.5 ปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชน ร้อยละ 89.7 ปัญหาการระบาดไข้หวัดใหญ่ 2009 ร้อยละ 88.3 ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ 86.1 ปัญหาสภาวะโลกร้อน ร้อยละ 83.2 ปัญหาคนต่างชาติหลบหนีเข้าเมือง และร้อยละ 77.0 ระบุปัญหาผู้ลี้ภัย ตามลำดับ
นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือ ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัย “เอแบคเรียลไทม์โพลล์” สำรวจความสุขมวลรวมวันนี้ของประชาชนภายในประเทศ ประจำเดือนมิถุนายน 2552 กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ ปทุมธานี เพชรบุรี ฉะเชิงเทรา กาญจนบุรี ชลบุรี หนองบัวลำภู สกลนคร ศรีสะเกษ ขอนแก่น ระนอง พัทลุง และสุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,030 ครัวเรือน ในวันที่ 13 มิถุนายน 2552 พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 86.7 ติดตามข่าวสารการเมืองผ่านสื่อมวลชนเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
เมื่อประเมินความสุขมวลรวมวันนี้ของคนไทยภายในประเทศ หรือที่เรียกว่า GDH พบว่า ลดลงเล็กน้อยจาก 7.17 ในการสำรวจครั้งก่อน ลงมาอยู่ที่ 7.15 อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาค่าความสุขมวลรวมของประชาชนในแต่ละกลุ่มปัจจัยเมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า เกินกว่าครึ่งในทุกด้านโดยค่าสูงสุดใน 5 อันดับแรก ได้แก่ ความสุขต่อความจงรักภักดีอยู่ที่ 9.07 วัฒนธรรมประเพณีไทยอยู่ที่ 8.14 บรรยากาศภายในครอบครัวอยู่ที่ 8.07 สภาวะการนอนหลับได้สนิทอยู่ที่ 7.69 และสุขภาพกายอยู่ที่ 7.64 ตามลำดับ ส่วนค่าต่ำสุดใน 3 อันดับสุดท้าย ได้แก่ ความเป็นธรรมทางสังคมที่ได้รับอยู่ที่ 6.25 สถานการณ์การเมืองปัจจุบันอยู่ที่ 5.46 และสภาวะเศรษฐกิจของประเทศอยู่ที่ 5.21 ตามลำดับ
นายนพดล กล่าวว่า เมื่อถามถึงความรู้สึกของคนไทยต่อสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พบผลสำรวจที่สะท้อนให้เห็นว่า คนไทยส่วนใหญ่ยังคงมีความผูกพันต่อกันและกัน โดยพบว่า ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 69.4 รู้สึกเศร้าใจมากถึงมากที่สุด ต่อสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ส่วน 10 ปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่คนไทยต้องการให้รัฐบาลเร่งแก้ไข เพื่อเพิ่มความสุขมวลรวมให้กับคนไทย พบว่า อันดับแรก หรือร้อยละ 96.1 ระบุปัญหาปากท้องของประชาชน รองลงมาคือ ร้อยละ 95.0 ปัญหาสถานการณ์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อันดับสามหรือ ร้อยละ 94.9 ปัญหายาเสพติด ร้อยละ 90.7 ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน ร้อยละ 90.5 ปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชน ร้อยละ 89.7 ปัญหาการระบาดไข้หวัดใหญ่ 2009 ร้อยละ 88.3 ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ 86.1 ปัญหาสภาวะโลกร้อน ร้อยละ 83.2 ปัญหาคนต่างชาติหลบหนีเข้าเมือง และร้อยละ 77.0 ระบุปัญหาผู้ลี้ภัย ตามลำดับ