เผยผลวิจัยดัชนีความสุขมวลรวมคนไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จาก 5.78 ในเดือน ก.พ.เป็น 7.17 คะแนนครั้งล่าสุด ชี้ ปัจจัยของความสุขสูงสุด คือความจงรักภักดีอยู่ที่ 9.32 คะแนน จากเต็ม 10 ส่วนเศรษฐกิจ-การเมือง คะแนนความสุขกระเตื้องดีขึ้น น่าห่วงความสุขในครอบครัว สุขภาพกายใจ คะแนนความสุขลดลง
นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง ศึกษาแนวโน้มดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนภายในประเทศ ประจำเดือนเมษายน 2552 กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 17 จังหวัดของประเทศได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปทุมธานี เพชรบุรี ขอนแก่น ศรีสะเกษ สกลนคร หนองบัวลำภู พัทลุง ระนอง และสุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,325 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 6-16 พฤษภาคม 2552 พบว่า ผลค่าความสุขมวลรวมของประชาชนภายในประเทศ ประจำเดือนเมษายนจนถึงช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ค่าความสุขมวลรวมของสาธารณชนภายในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 5.78 ในเดือนกุมภาพันธ์ มาอยู่ที่ 6.18 คะแนน ในเดือนมีนาคม และสูงขึ้นมาอยู่ที่ 7.17 คะแนนในการวิจัยครั้งล่าสุด
นายนพดล กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญหลายปัจจัยที่มีผลต่อความสุขมวลรวมของประชาชนภายในประเทศมีค่าสูงอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ได้แก่ ความสุขต่อความจงรักภักดีอยู่ที่ 9.32 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน วัฒนธรรมประเพณีไทยอยู่ที่ 8.22 คะแนน บรรยากาศภายในครอบครัวอยู่ที่ 8.13 คะแนน สุขภาพกายอยู่ที่ 7.76 คะแนน สภาวะการนอนหลับได้สนิท อยู่ที่ 7.59 คะแนน และสุขภาพใจอยู่ที่ 7.56 คะแนน ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม กลุ่มปัจจัยที่ยังคงทำให้ประชาชนมีความสุขในระดับท้ายๆ ยังคงเป็นเรื่อง สถานการณ์การเมืองปัจจุบัน และสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ คือ อยู่ที่ 5.05 และ 5.25 คะแนน
อย่างไรก็ตาม ผลวิจัยพบว่า มีตัวชี้วัดหลายตัวที่คนไทยมีความสุขเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ ความสุขต่อความจงรักภักดีเพิ่มสูงขึ้นจาก 9.17 มาอยู่ที่ 9.32 วัฒนธรรมประเพณีไทยเพิ่มขึ้นจาก 8.12 มาอยู่ที่ 8.22 สภาวะการนอนหลับได้สนิทเพิ่มขึ้นจาก 7.24 มาอยู่ที่ 7.59 ระบบการศึกษาของประเทศเพิ่มขึ้นจาก 6.69 มาอยู่ที่ 7.15 บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในชุมชนเพิ่มขึ้นจาก 6.43 มาอยู่ที่ 7.12 ความเป็นธรรมทางสังคมที่ได้รับเพิ่มขึ้นจาก 5.79 มาอยู่ที่ 6.15
แม้แต่สภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน ก็ยังพบว่าความสุขของประชาชนต่อปัจจัยทั้งสองเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยจาก 4.96 มาอยู่ที่ 5.25 และ 4.48 มาอยู่ที่ 5.05 คะแนนตามลำดับ ผลวิเคราะห์ด้วยสถิติวิจัยโดยใช้ค่า Odds Ratio พบว่า ประชาชนที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงมีโอกาสที่พบกับความสุขมากกว่ากลุ่มคนที่ไม่ใช้ชีวิตแบบพอเพียงสูงเกินกว่า 10 เท่า คือ 11.945 เท่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
“งานวิจัยครั้งนี้เป็นเครื่องยืนยันให้เห็นได้อย่างชัดเจนอีกครั้งว่า ความสุขของประชาชนยังขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความมั่งคั่งในข้าวของเงินทองหรือสภาวะเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว เพราะถึงแม้ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ เช่น ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP จะติดลบ แต่ค่าความสุขมวลรวมของประชาชนภายในประเทศ หรือ GDH กลับเป็นบวก และสามารถพุ่งทะยานสูงขึ้นได้ในหลายตัวชี้วัด” ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าว
นายนพดล กล่าวด้วยว่า ที่น่าเป็นห่วง คือ ความสุขของคนไทยต่อบางปัจจัยสำคัญที่มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย ได้แก่ บรรยากาศภายในครอบครัว สุขภาพกาย สุขภาพใจ การเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่ดี และสภาพแวดล้อมทางกายภาพของชุมชนที่พักอาศัย ซึ่งอาจมีสาเหตุจากความไม่ปกติทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่ผ่านมาอาจส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนก่อให้เกิดสภาวะความเครียด ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวและสุขภาพกายที่ต้องทำงานหนักและมีเวลาให้กับคนรอบข้างน้อยลง
นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง ศึกษาแนวโน้มดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนภายในประเทศ ประจำเดือนเมษายน 2552 กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 17 จังหวัดของประเทศได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปทุมธานี เพชรบุรี ขอนแก่น ศรีสะเกษ สกลนคร หนองบัวลำภู พัทลุง ระนอง และสุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,325 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 6-16 พฤษภาคม 2552 พบว่า ผลค่าความสุขมวลรวมของประชาชนภายในประเทศ ประจำเดือนเมษายนจนถึงช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ค่าความสุขมวลรวมของสาธารณชนภายในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 5.78 ในเดือนกุมภาพันธ์ มาอยู่ที่ 6.18 คะแนน ในเดือนมีนาคม และสูงขึ้นมาอยู่ที่ 7.17 คะแนนในการวิจัยครั้งล่าสุด
นายนพดล กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญหลายปัจจัยที่มีผลต่อความสุขมวลรวมของประชาชนภายในประเทศมีค่าสูงอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ได้แก่ ความสุขต่อความจงรักภักดีอยู่ที่ 9.32 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน วัฒนธรรมประเพณีไทยอยู่ที่ 8.22 คะแนน บรรยากาศภายในครอบครัวอยู่ที่ 8.13 คะแนน สุขภาพกายอยู่ที่ 7.76 คะแนน สภาวะการนอนหลับได้สนิท อยู่ที่ 7.59 คะแนน และสุขภาพใจอยู่ที่ 7.56 คะแนน ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม กลุ่มปัจจัยที่ยังคงทำให้ประชาชนมีความสุขในระดับท้ายๆ ยังคงเป็นเรื่อง สถานการณ์การเมืองปัจจุบัน และสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ คือ อยู่ที่ 5.05 และ 5.25 คะแนน
อย่างไรก็ตาม ผลวิจัยพบว่า มีตัวชี้วัดหลายตัวที่คนไทยมีความสุขเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ ความสุขต่อความจงรักภักดีเพิ่มสูงขึ้นจาก 9.17 มาอยู่ที่ 9.32 วัฒนธรรมประเพณีไทยเพิ่มขึ้นจาก 8.12 มาอยู่ที่ 8.22 สภาวะการนอนหลับได้สนิทเพิ่มขึ้นจาก 7.24 มาอยู่ที่ 7.59 ระบบการศึกษาของประเทศเพิ่มขึ้นจาก 6.69 มาอยู่ที่ 7.15 บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในชุมชนเพิ่มขึ้นจาก 6.43 มาอยู่ที่ 7.12 ความเป็นธรรมทางสังคมที่ได้รับเพิ่มขึ้นจาก 5.79 มาอยู่ที่ 6.15
แม้แต่สภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน ก็ยังพบว่าความสุขของประชาชนต่อปัจจัยทั้งสองเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยจาก 4.96 มาอยู่ที่ 5.25 และ 4.48 มาอยู่ที่ 5.05 คะแนนตามลำดับ ผลวิเคราะห์ด้วยสถิติวิจัยโดยใช้ค่า Odds Ratio พบว่า ประชาชนที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงมีโอกาสที่พบกับความสุขมากกว่ากลุ่มคนที่ไม่ใช้ชีวิตแบบพอเพียงสูงเกินกว่า 10 เท่า คือ 11.945 เท่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
“งานวิจัยครั้งนี้เป็นเครื่องยืนยันให้เห็นได้อย่างชัดเจนอีกครั้งว่า ความสุขของประชาชนยังขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความมั่งคั่งในข้าวของเงินทองหรือสภาวะเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว เพราะถึงแม้ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ เช่น ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP จะติดลบ แต่ค่าความสุขมวลรวมของประชาชนภายในประเทศ หรือ GDH กลับเป็นบวก และสามารถพุ่งทะยานสูงขึ้นได้ในหลายตัวชี้วัด” ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าว
นายนพดล กล่าวด้วยว่า ที่น่าเป็นห่วง คือ ความสุขของคนไทยต่อบางปัจจัยสำคัญที่มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย ได้แก่ บรรยากาศภายในครอบครัว สุขภาพกาย สุขภาพใจ การเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่ดี และสภาพแวดล้อมทางกายภาพของชุมชนที่พักอาศัย ซึ่งอาจมีสาเหตุจากความไม่ปกติทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่ผ่านมาอาจส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนก่อให้เกิดสภาวะความเครียด ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวและสุขภาพกายที่ต้องทำงานหนักและมีเวลาให้กับคนรอบข้างน้อยลง