ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือ ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยถึงผลวิจัย เรื่องการศึกษาแนวโน้มดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนภายในประเทศ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2552 กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 18 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 4,959 ตัวอย่างว่า
ผลวิจัยพบว่า ค่าความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทย ภายในประเทศได้ ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่องจากช่วงปลายเดือนธันวาคม 2551 ที่ได้ 6.81 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน มาอยู่ที่ 5.78 คะแนนในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และเมื่อจำแนกตามภูมิภาคต่างๆ พบว่า คนกรุงเทพมหานคร มีค่าความสุขมวลรวมต่ำสุดอยู่ที่ 5.22 คะแนน ในขณะที่คนภาคเหนือ มีค่าความสุขสูงสุด อยู่ที่ 6.24 คะแนน โดยที่น่าเป็นห่วงคือ การเมือง การปกครอง และสภาวะเศรษฐกิจ กำลังเป็นปัจจัยสำคัญที่คนไทยมีความสุขน้อยที่สุด เพราะคนไทยมีความสุขต่อการเมืองการปกครองระดับประเทศ เพียง 4.53 คะแนน และความสุขต่อสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ เพียง 3.95 คะแนนเท่านั้น
ดร.นพดล ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า เมื่อศึกษาการนอนหลับของประชาชนล่าสุดพบ จำนวนคนนอนไม่ค่อยหลับถึงนอนไม่หลับเลย เพิ่มสูงขึ้นจาก ร้อยละ 10.6 มาอยู่ที่ ร้อยละ 16.8 และคนที่นอนหลับได้ค่อนข้างสนิทจนถึงนอนหลับสนิท มีจำนวนลดลงจาก ร้อยละ 79.7 มาอยู่ที่ ร้อยละ 70.4
ผลวิจัยพบว่า ค่าความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทย ภายในประเทศได้ ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่องจากช่วงปลายเดือนธันวาคม 2551 ที่ได้ 6.81 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน มาอยู่ที่ 5.78 คะแนนในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และเมื่อจำแนกตามภูมิภาคต่างๆ พบว่า คนกรุงเทพมหานคร มีค่าความสุขมวลรวมต่ำสุดอยู่ที่ 5.22 คะแนน ในขณะที่คนภาคเหนือ มีค่าความสุขสูงสุด อยู่ที่ 6.24 คะแนน โดยที่น่าเป็นห่วงคือ การเมือง การปกครอง และสภาวะเศรษฐกิจ กำลังเป็นปัจจัยสำคัญที่คนไทยมีความสุขน้อยที่สุด เพราะคนไทยมีความสุขต่อการเมืองการปกครองระดับประเทศ เพียง 4.53 คะแนน และความสุขต่อสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ เพียง 3.95 คะแนนเท่านั้น
ดร.นพดล ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า เมื่อศึกษาการนอนหลับของประชาชนล่าสุดพบ จำนวนคนนอนไม่ค่อยหลับถึงนอนไม่หลับเลย เพิ่มสูงขึ้นจาก ร้อยละ 10.6 มาอยู่ที่ ร้อยละ 16.8 และคนที่นอนหลับได้ค่อนข้างสนิทจนถึงนอนหลับสนิท มีจำนวนลดลงจาก ร้อยละ 79.7 มาอยู่ที่ ร้อยละ 70.4