“กษมา” ฟังเสียงประชาพิจารณ์ที่ชลบุรีอีกรอบ เร่งหาข้อสรุปจัดซื้อชุดนักเรียน ตำรา อุปกรณ์ คาดใช้คูปอง เลข 13 หลัก พร้อมให้ผู้ปกครอง ร้านค้า ผู้แทน ร.ร. ร่วมลงนามกำชับ ด้านตำราเรียน “อู๊ดด้า” สั่ง สพฐ.สำรวจตำราเรียนที่วางจำหน่ายในตลาดตรงกับหลักสูตรที่กำหนดหรือไม่
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวถึงนโยบายเรียนฟรี 15 ปีว่า 6 กุมภาพันธ์ จะเปิดเวทีประชาพิจารณ์อีกครั้ง ที่จังหวัดชลบุรีครั้งนี้จะลงลึกในรายละเอียดเกี่ยวกับขบวนการจัดซื้อชุดนักเรียน อุปกรณ์การสอน ตำราเรียน ค่ายกิจกรรม โดยจะมีตัวแทนจากสำนักงานเขตพื้นที่ 17 แห่งๆ ละ 15 คน ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ผู้ประกอบการค้า ผู้ที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนจากโรงเรียนสาธิต โรงเรียนตำรวจตะเวนชายแดน พร้อมทั้งจะเปิด Hotline ให้ผู้สนใจซักถามข้อสงสัยและแสดงความคิดเห็นด้วย
ทั้งนี้ จากการเปิดเวทีประชาพิจารณ์ที่โรงเรียนสตรีวิทยา วันที่ 30 มกราคม ที่ผ่านมา มีข้อเสนอเกี่ยวกับขั้นตอนการจัดซื้ออย่างกว้างขวาง ซึ่งมีแนวโน้มใช้คูปอง โดยจะใช้เลข 13 หลัก เมื่อผู้ปกครองซื้อชุดนักเรียน ตำราเรียน ร้านค้าจะต้องออกใบเสร็จ ซึ่งจะต้องมีลายเซ็นของผู้ขาย ผู้ปกครอง ผู้แทนของโรงเรียน กำกับด้วย วิธีนี้จะเช็คได้มีการจัดซื้อจริงและยังตรวจสอบกลับได้
ส่วนกรณีที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าจะมีการนำหนังสือเรียนเก่ามาฉีกปกแล้วนำกลับมาขาย คุณหญิงกษมา กล่าวว่า เพื่อให้เกิดความสบายใจว่าไม่มีหนังสือเรียนที่พิมพ์ก่อนปี 2544 อย่างแน่นอน และเพื่อความมั่นใจก่อนซื้อให้สังเกตปกหนังสือจะมีใบอนุญาต นอกจากนี้ยังดูข้อมูลหนังสือเรียนผ่านเว็บไซต์ของ สพฐ. เพราะเราจะบอกรายละเอียดว่าวิชานี้มีจำนวนกี่หน้า ราคาเท่าไหร่ และมีกี่สำนักพิมพ์
“เพื่อป้องกันปัญหาข้างต้น จะส่งซีดีตัวอย่างหนังสือเรียนที่ถูกต้องไปยังสำนักงานเขตพื้นที่ กระจายให้โรงเรียนดูรายละเอียด วิชาที่มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาจะเป็นวิชาประวัติศาสตร์ที่มีการเพิ่มเติมหรือตัดเนื้อบางส่วนเพื่อให้ทันสมัย” คุณหญิงกษมา กล่าวต่อว่า เวลาจะซื้อตำราเรียนควรดูว่าตรงตามหลักสูตรที่กำหนดหรือไม่ ควรให้ฝ่ายวิชาการ หรือครูผู้สอน เข้าไปมีส่วนร่วมในการช่วยดูเนื้อหาก่อนซื้อด้วย
นายวินัย รอดจ่าย รองเลขา สพฐ.กล่าวเสริมว่า มีเพียงโรงเรียนนำร่องหลักสูตรใหม่เพียง 100 กว่าโรงที่จะใช้หลักสูตรใหม่ ส่วนที่เหลือยังใช้หลักสูตรเดิมซึ่งยังใช้ได้ 2-3 ปี เพราะการเปลี่ยนตำราเรียนไม่ใช่เปลี่ยนพร้อมกันทุกแห่ง เราทยอยเปลี่ยน
ด้าน นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า เห็นด้วยที่จะให้ สพฐ.ส่งผู้เชี่ยวชาญเรื่องหนังสือเรียนไปสำรวจหนังสือที่วางจำหน่าย เพื่อดูว่าถูกต้องตรงตามหลักสูตรที่กำหนดหรือไม่
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวถึงนโยบายเรียนฟรี 15 ปีว่า 6 กุมภาพันธ์ จะเปิดเวทีประชาพิจารณ์อีกครั้ง ที่จังหวัดชลบุรีครั้งนี้จะลงลึกในรายละเอียดเกี่ยวกับขบวนการจัดซื้อชุดนักเรียน อุปกรณ์การสอน ตำราเรียน ค่ายกิจกรรม โดยจะมีตัวแทนจากสำนักงานเขตพื้นที่ 17 แห่งๆ ละ 15 คน ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ผู้ประกอบการค้า ผู้ที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนจากโรงเรียนสาธิต โรงเรียนตำรวจตะเวนชายแดน พร้อมทั้งจะเปิด Hotline ให้ผู้สนใจซักถามข้อสงสัยและแสดงความคิดเห็นด้วย
ทั้งนี้ จากการเปิดเวทีประชาพิจารณ์ที่โรงเรียนสตรีวิทยา วันที่ 30 มกราคม ที่ผ่านมา มีข้อเสนอเกี่ยวกับขั้นตอนการจัดซื้ออย่างกว้างขวาง ซึ่งมีแนวโน้มใช้คูปอง โดยจะใช้เลข 13 หลัก เมื่อผู้ปกครองซื้อชุดนักเรียน ตำราเรียน ร้านค้าจะต้องออกใบเสร็จ ซึ่งจะต้องมีลายเซ็นของผู้ขาย ผู้ปกครอง ผู้แทนของโรงเรียน กำกับด้วย วิธีนี้จะเช็คได้มีการจัดซื้อจริงและยังตรวจสอบกลับได้
ส่วนกรณีที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าจะมีการนำหนังสือเรียนเก่ามาฉีกปกแล้วนำกลับมาขาย คุณหญิงกษมา กล่าวว่า เพื่อให้เกิดความสบายใจว่าไม่มีหนังสือเรียนที่พิมพ์ก่อนปี 2544 อย่างแน่นอน และเพื่อความมั่นใจก่อนซื้อให้สังเกตปกหนังสือจะมีใบอนุญาต นอกจากนี้ยังดูข้อมูลหนังสือเรียนผ่านเว็บไซต์ของ สพฐ. เพราะเราจะบอกรายละเอียดว่าวิชานี้มีจำนวนกี่หน้า ราคาเท่าไหร่ และมีกี่สำนักพิมพ์
“เพื่อป้องกันปัญหาข้างต้น จะส่งซีดีตัวอย่างหนังสือเรียนที่ถูกต้องไปยังสำนักงานเขตพื้นที่ กระจายให้โรงเรียนดูรายละเอียด วิชาที่มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาจะเป็นวิชาประวัติศาสตร์ที่มีการเพิ่มเติมหรือตัดเนื้อบางส่วนเพื่อให้ทันสมัย” คุณหญิงกษมา กล่าวต่อว่า เวลาจะซื้อตำราเรียนควรดูว่าตรงตามหลักสูตรที่กำหนดหรือไม่ ควรให้ฝ่ายวิชาการ หรือครูผู้สอน เข้าไปมีส่วนร่วมในการช่วยดูเนื้อหาก่อนซื้อด้วย
นายวินัย รอดจ่าย รองเลขา สพฐ.กล่าวเสริมว่า มีเพียงโรงเรียนนำร่องหลักสูตรใหม่เพียง 100 กว่าโรงที่จะใช้หลักสูตรใหม่ ส่วนที่เหลือยังใช้หลักสูตรเดิมซึ่งยังใช้ได้ 2-3 ปี เพราะการเปลี่ยนตำราเรียนไม่ใช่เปลี่ยนพร้อมกันทุกแห่ง เราทยอยเปลี่ยน
ด้าน นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า เห็นด้วยที่จะให้ สพฐ.ส่งผู้เชี่ยวชาญเรื่องหนังสือเรียนไปสำรวจหนังสือที่วางจำหน่าย เพื่อดูว่าถูกต้องตรงตามหลักสูตรที่กำหนดหรือไม่