หมอชี้สาวตายทั้งกลมน้ำคร่ำไหลย้อนเข้าสู่กระแสเลือดแค่สันนิษฐาน ยอมรับมดลูกแตกตาย ยันเหตุสุดวิสัย รักษาตามมาตรฐานแล้วแต่ผู้ป่วยไม่แสดงอาการชัดเจน อัลตราซาวนด์ก็ไม่พบผิดปกติ ชี้อาการแบบนี้เกิดน้อยมาก ด้านแม่ “น้ำอ้อย” ไม่เอาผิดทั้งแพ่งขอาญา เชื่อผิดจริงเรื่องแดงออกมาเอง
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข รองอธิบดีกรมการแพทย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง กรณี น.ส.น้ำอ้อย ตุ้มทับ อายุ 22 ปี เสียชีวิตพร้อมกับบุตรในครรภ์หลังเข้ารับบริการคลอดบุตรที่โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กล่าวว่า มติของคณะกรรมการฯ ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันพยาธิวิทยา ผู้เชี่ยวชาญโรงพยาบาลศิริราช รวมทั้งสื่อมวลชน ได้สรุปผลเบื้องต้นว่ากรณีของ น.ส.น้ำอ้อย ตุ้มทับ นั้นจากการตรวจดูแลคนไข้ในห้องคลอดเป็นการปฏิบัติไปตามปกติของมาตรฐานการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลตั้งไว้ ซึ่งแพทย์ได้ทำการอัลตราซาวนด์ก็ไม่พบสิ่งผิดปกติที่ชี้ให้เห็นว่ามดลูกแตก
ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นถือเป็นเหตุสุดวิสัยเกินกว่าที่แพทย์จะตรวจและทราบได้ว่ามดลูกจะแตก ทั้งนี้ ในรายดังกล่าวยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดที่ทำให้มดลูกแตก โดยจะต้องรอผลการตรวจพิสูจน์ชิ้นเนื้อปอดและมดลูก เพื่อยืนยันว่าเกิดจากปัจจัยอื่นใดที่ทำให้มดลูกแตก ซึ่งอาจจะทราบผลหรือไม่ก็ได้ หลังจากนั้นจะสรุปอย่างเป็นทางการนำเสนออธิบดีกรมการแพทย์ โดยเบื้องต้นจะเยียวยากับญาติผู้เสียชีวิตอย่างเต็มที่ต่อไป
“ส่วนสาเหตุที่ทำให้คนไข้เสียชีวิตที่มีผลมาจากสถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ คือ มดลูกแตก โดยการที่มดลูกแตกมี 2 สาเหตุคือ การที่แพทย์ช่วยเร่งให้เกิดการคลอด แต่รายนี้แพทย์ไม่ได้ทำอะไรเพราะยังเป็นเพียงระยะแรกในการคลอดเท่านั้น อีกสาเหตุคือ การแตกของมดลูกโดยปกติ ซึ่งในรายนี้เป็นการแตกอย่างเงียบๆ ค่อยเป็นค่อยไป จึงไม่ปวดท้องคลอดอย่างทุรนทุราย รวมถึงได้ตรวจประวัติการให้ยาก็ไม่พบว่ามีการขอยาแก้ปวด แต่อย่างใด และไม่พบอาการผิดปกติมาก่อน แต่เมื่อถึงระดับหนึ่งที่ร่างกายทนไม่ไหวจึงเกิดอาการช็อกอย่างรวดเร็ว จนไม่สามารถรักษาได้ทัน”นพ.เจษฎา กล่าว
นพ.เจษฎา กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้มดลูกอ่อนแอ ซึ่งทำให้มดลูกบางกว่าปกติ เมื่อมีการบีบรัดตัวมากๆจะทำให้มดลูกแตกได้ง่าย เกิดจากคนไข้มีประวัติในการเป็นรอยโรคที่มดลูกมาก่อน อาทิ เคยผ่าตัดการคลอด เคยเป็นเนื้องอกที่มดลูก หรือการขูดมดลูกมาก่อน แต่รายดังกล่าวแม้ว่าจะมีการคลอดบุตรมาแล้ว รวมถึงการขูดมดลูกด้วย แต่ก็ไม่ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงดังกล่าว เพราะอาการคลอดยังอยู่ในระยะเริ่มต้นเท่านั้น ซึ่งอยู่ในการดูแลของพยาบาลและอายุรแพทย์ในช่วงแรก แต่หลังจากเกิดภาวะช็อกก็อยู่ในการดูแลของสูตินรีแพทย์ในเวลาต่อมา
“ก่อนหน้าที่ที่ได้มีการวินิจฉัยของสูตินรีแพททย์ว่า เกิดภาวะน้ำคร่ำหลุดเข้าไปสู่ระบบกระแสเลือดนั้น เป็นแค่การสันนิษฐานตามอาการของโรคของผู้ป่วย เนื่องจากมีอาการช็อคมีความเป็นไปได้สูงที่น้ำคร่ำจะอุดตัน แต่ยังไม่ทราบผลชิ้นเนื้อ เมื่อผลชันสูตออกมาว่ามดลูกแตกก็ถือว่าเป็นคำตอบที่ถูกต้องแล้ว” นพ.เจษฎากล่าว
ด้าน ศ.คลินิก พญ.วิบูลพรรณ ฐิตะดิลก ผู้เชี่ยวชาญสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา สาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ โรงพยาบาลศิริราช กล่าวว่า มดลูกแตก เกิดได้จาก 2 สาเหตุ คือ 1 มีการรบกวนการคลอดโดยเร่งให้เกิดการคลอด เช่นการให้ยากระตุ้น และ 2 แตกแบบธรรมชาติ ซึ่งเกิดได้ทั้งแบบเฉียบพลันรุนแรง และค่อยๆ แตกอย่างเงียบๆ หรือค่อยเป็นค่อยไป โดยมาจากหลายสาเหตุ เช่น มีรอยโรคที่มดลูก มีแผลที่มดลูก เช่น แผลผ่าตัด การขูดมดลูก หรือมดลูกมีการยืดขยายมากเกินไป จากการที่เคยผ่าตัด ท้องแฝดน้ำ หรือ ลูกแฝด รวมทั้งแตกแบบไม่ทราบสาเหตุ โดยยังไม่มีการเก็บสถิติเพราะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้น้อยมาก
ศ.คลินิก พญ.วิบูลพรรณ กล่าวต่อว่า การที่ น.ส.น้ำอ้อยมดลูกแตก สันนิษฐานว่ามีการแตกของมดลูกอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้ไม่สามารถสังเกตได้ เพราะไม่มีอาการบ่งชี้ เช่น อาการปวดท้องอย่างรุนแรง มีการบีบตัวของมดลูกรุนแรง ความดันโลหิตต่ำ และบางรายจะสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนโดยหน้าท้องจะเป็นลอนสูงขึ้นบริเวณหน้าท้อง แต่บางรายก็สามารถตรวจพบได้ยาก ซึ่งช่วงที่จะเกิดการแตกของมดลูกได้ ถ้าเป็นกลุ่มที่ไม่มีแผลที่มดลูก ส่วนมากมักเกิดขึ้นระยะท้ายของการคลอด หากมีแผลที่มดลูก สามารถแตกได้ทั้งเมื่อข้าสู่ระยะการคลอดและยังไม่เข้าสู่ระยะคลอด ดังนั้น การที่มดลูกแตกจะต้องหาสาเหตุว่าแตกจากปัจจัยใด จึงต้องนำชิ้นเนื้อปอดและมดลูกชันสูตรอย่างละเอียดอีกครั้ง
ศ.คลินิก พญ.วิบูลพรรณ กล่าวอีกว่า เมื่อดูจากเวชระเบียนผู้ป่วยไม่มีการอาการปวด และไม่มีการขอยาแก้ปวดแต่อย่างใด รวมทั้งจากการสอบถามพยาบาลผู้ดูแล ระบุว่า ผู้ป่วยมีการอาการเจ็บครรภ์ไม่แตกต่างจากการเจ็บครรภ์ปกติ อาจเกิดจากการที่มดลูกปริแตกอย่างช้าๆ ทำให้ร่างกายสามารถปรับตัวได้ในระยะแรกของการแตกจนไม่สามารถสังเกตเห็นได้ จนเมื่อเข้าสู่ระยะเสียเลือดมากขึ้น จึงเกิดอาการช็อคขึ้น ซึ่งมีหลายสาเหตุที่แพทย์สามารถสันนิษฐานได้หลายโรค เพราะมีอาการคล้ายกัน เช่นความดันต่ำ หายใจเร็ว อาจจะเกิดภาวะ น้ำคร่ำอุดตัน ที่เกิดได้บ่อยกว่ามดลูกแตก
“ในช่วงระยะคลอด โดยหลักการรักษาปกติจะดูอาการทางคลินิก ประกอบกับประวัติการคลอดครั้งก่อน เพื่อประเมินความพร้อมในการคลอด หากมีประวัติคลอดได้ปกติก็จะเลือกให้คลอดแบบธรรมชาติ คือ ต้องรอให้ปากมดลูกเปิดประมาณ 10 เซนติเมตร มีการบีบตัวของมดลูกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในรายดังกล่าว พบว่าช่องเชิงกรานและขนาดของทารก ไม่ผิดสัดส่วน สามารถคลอดตามธรรมชาติได้ จึงยังอยู่ในช่วงการรอให้ผู้ป่วยมีสภาพพร้อมคลอด แต่ปกติหากกระบวนการคลอดเกิดชะงัก ก็สามารถเปลี่ยนแปลงการรักษาได้ อย่างไรก็ตาม ตามรายงานคนไข้ยังไม่อยู่ในระยะคลอด และไม่มีอาการบ่งชี้ว่าต้องเปลี่ยนวิธีการคลอด จนกระทั่งมีอาการช็อก ซึ่งไม่สามารถผ่าตัดได้ทันที เพราะสภาพคนไข้ไม่พร้อม” ศ.คลินิก พญ.วิบูลพรรณ กล่าว
ศ.คลินิก พญ.วิบูลพรรณ กล่าวด้วยว่า จากประวัติพบว่า น.ส.น้ำอ้อย เคยมีประวัติการขูดมดลูกมาก่อน ซึ่งอาจเป็นปัจจัยเสริมทำให้เกิดมดลูกแตกขึ้นได้ ซึ่งการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีประวัติมดลูกผิดปกติ หรือ มีความเสี่ยง มีอาการบ่งชี้ เช่น มีเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์ รกเกาะต่ำกว่าปกติ รกฝังตัวลึก หากมีอาการเช่นนี้แพทย์จะมีการดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะมีความเสี่ยงที่จะเกิดมดลูกแตกได้ แต่ในรายดังกล่าวรวมถึงหญิงที่ขูดมดลูกแต่ไม่เคยมีอาการผิดปกติบ่งชี้มาก่อน การดูแลจะเหมือนหญิงตั้งครรภ์รายอื่นๆ ทั้งนี้ หญิงตั้งครรภ์สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยเสริมว่าจะทำให้เกิดภาวะเสี่ยงได้มากเพียงใด รวมทั้งการช่วยเหลือ แม้ว่าจะทราบได้รวดเร็วว่าเกิดการแตกของมดลูก ก็มีโอกาสเสียชีวิตได้ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของผู้ป่วย และการเตรียมการผ่าตัด ว่าจะทำได้รวดเร็วเพียงใดด้วย
ขณะที่ นางสำรอง ตุ้มทับ อายุ 43 ปี มารดาน.ส.น้ำอ้อย กล่าวว่า คงจะไม่ได้ดำเนินการฟ้องร้องดำเนินคดีกับทางโรงพยาบาลทั้งแพ่งและอาญา เนื่องจากเชื่อว่าหากมีความผิดจริงความจริงก็จะปรากฏต่อสาธารณะชนเอง แต่สิ่งที่สงสัยคือ อยากรู้ว่าทำไมแพทย์ที่ให้การรักษาจึงไม่ทราบว่า มดลูกของบุตรสาวจะแตก ตลอดเวลาที่เข้ารับการรักษามีพยาบาลคอยดูแล
“โรงพยาบาลไม่ได้โทรมาหาหลังจากที่ลูกสาวอยู่ในภาวะวิกฤตแล้ว แต่ดิฉันรู้สึกสังหรณ์ใจจึงได้โทรศัพท์สอบถามโรงพยาบาลว่าบุตรสาวมีอาการเช่นไร เพราะตลอดทั้งวันก่อนเข้า รพ.อาเจียนจนรับประทานอาหารไม่ได้”นางสำรอง กล่าว
นางสำรอง กล่าวด้วยว่า เมื่อเช้าวันที่ 3 ก.พ.โรงพยาบาลได้เชิญตนเองและญาติไปพบ โดยรับปากกับญาติว่าจะจ่ายเงินช่วยเหลือ แต่ตนเองไม่ทราบรายละเอียด พร้อมยืนยันเงินไม่สามารถซื้อชีวิตลูกได้ และจนถึงขณะนี้ยังไม่ได้เรื่องการเสียชีวิตของนางน้ำอ้อยกับลูกชายคนโต เพราะเกรงว่าเด็กจะเสียใจจนช็อก ทั้งนี้จะรับศพนางน้ำอ้อยบำเพ็ญกุศลที่วัดหนองผักชี เป็นเวลา 3 วัน
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข รองอธิบดีกรมการแพทย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง กรณี น.ส.น้ำอ้อย ตุ้มทับ อายุ 22 ปี เสียชีวิตพร้อมกับบุตรในครรภ์หลังเข้ารับบริการคลอดบุตรที่โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กล่าวว่า มติของคณะกรรมการฯ ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันพยาธิวิทยา ผู้เชี่ยวชาญโรงพยาบาลศิริราช รวมทั้งสื่อมวลชน ได้สรุปผลเบื้องต้นว่ากรณีของ น.ส.น้ำอ้อย ตุ้มทับ นั้นจากการตรวจดูแลคนไข้ในห้องคลอดเป็นการปฏิบัติไปตามปกติของมาตรฐานการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลตั้งไว้ ซึ่งแพทย์ได้ทำการอัลตราซาวนด์ก็ไม่พบสิ่งผิดปกติที่ชี้ให้เห็นว่ามดลูกแตก
ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นถือเป็นเหตุสุดวิสัยเกินกว่าที่แพทย์จะตรวจและทราบได้ว่ามดลูกจะแตก ทั้งนี้ ในรายดังกล่าวยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดที่ทำให้มดลูกแตก โดยจะต้องรอผลการตรวจพิสูจน์ชิ้นเนื้อปอดและมดลูก เพื่อยืนยันว่าเกิดจากปัจจัยอื่นใดที่ทำให้มดลูกแตก ซึ่งอาจจะทราบผลหรือไม่ก็ได้ หลังจากนั้นจะสรุปอย่างเป็นทางการนำเสนออธิบดีกรมการแพทย์ โดยเบื้องต้นจะเยียวยากับญาติผู้เสียชีวิตอย่างเต็มที่ต่อไป
“ส่วนสาเหตุที่ทำให้คนไข้เสียชีวิตที่มีผลมาจากสถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ คือ มดลูกแตก โดยการที่มดลูกแตกมี 2 สาเหตุคือ การที่แพทย์ช่วยเร่งให้เกิดการคลอด แต่รายนี้แพทย์ไม่ได้ทำอะไรเพราะยังเป็นเพียงระยะแรกในการคลอดเท่านั้น อีกสาเหตุคือ การแตกของมดลูกโดยปกติ ซึ่งในรายนี้เป็นการแตกอย่างเงียบๆ ค่อยเป็นค่อยไป จึงไม่ปวดท้องคลอดอย่างทุรนทุราย รวมถึงได้ตรวจประวัติการให้ยาก็ไม่พบว่ามีการขอยาแก้ปวด แต่อย่างใด และไม่พบอาการผิดปกติมาก่อน แต่เมื่อถึงระดับหนึ่งที่ร่างกายทนไม่ไหวจึงเกิดอาการช็อกอย่างรวดเร็ว จนไม่สามารถรักษาได้ทัน”นพ.เจษฎา กล่าว
นพ.เจษฎา กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้มดลูกอ่อนแอ ซึ่งทำให้มดลูกบางกว่าปกติ เมื่อมีการบีบรัดตัวมากๆจะทำให้มดลูกแตกได้ง่าย เกิดจากคนไข้มีประวัติในการเป็นรอยโรคที่มดลูกมาก่อน อาทิ เคยผ่าตัดการคลอด เคยเป็นเนื้องอกที่มดลูก หรือการขูดมดลูกมาก่อน แต่รายดังกล่าวแม้ว่าจะมีการคลอดบุตรมาแล้ว รวมถึงการขูดมดลูกด้วย แต่ก็ไม่ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงดังกล่าว เพราะอาการคลอดยังอยู่ในระยะเริ่มต้นเท่านั้น ซึ่งอยู่ในการดูแลของพยาบาลและอายุรแพทย์ในช่วงแรก แต่หลังจากเกิดภาวะช็อกก็อยู่ในการดูแลของสูตินรีแพทย์ในเวลาต่อมา
“ก่อนหน้าที่ที่ได้มีการวินิจฉัยของสูตินรีแพททย์ว่า เกิดภาวะน้ำคร่ำหลุดเข้าไปสู่ระบบกระแสเลือดนั้น เป็นแค่การสันนิษฐานตามอาการของโรคของผู้ป่วย เนื่องจากมีอาการช็อคมีความเป็นไปได้สูงที่น้ำคร่ำจะอุดตัน แต่ยังไม่ทราบผลชิ้นเนื้อ เมื่อผลชันสูตออกมาว่ามดลูกแตกก็ถือว่าเป็นคำตอบที่ถูกต้องแล้ว” นพ.เจษฎากล่าว
ด้าน ศ.คลินิก พญ.วิบูลพรรณ ฐิตะดิลก ผู้เชี่ยวชาญสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา สาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ โรงพยาบาลศิริราช กล่าวว่า มดลูกแตก เกิดได้จาก 2 สาเหตุ คือ 1 มีการรบกวนการคลอดโดยเร่งให้เกิดการคลอด เช่นการให้ยากระตุ้น และ 2 แตกแบบธรรมชาติ ซึ่งเกิดได้ทั้งแบบเฉียบพลันรุนแรง และค่อยๆ แตกอย่างเงียบๆ หรือค่อยเป็นค่อยไป โดยมาจากหลายสาเหตุ เช่น มีรอยโรคที่มดลูก มีแผลที่มดลูก เช่น แผลผ่าตัด การขูดมดลูก หรือมดลูกมีการยืดขยายมากเกินไป จากการที่เคยผ่าตัด ท้องแฝดน้ำ หรือ ลูกแฝด รวมทั้งแตกแบบไม่ทราบสาเหตุ โดยยังไม่มีการเก็บสถิติเพราะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้น้อยมาก
ศ.คลินิก พญ.วิบูลพรรณ กล่าวต่อว่า การที่ น.ส.น้ำอ้อยมดลูกแตก สันนิษฐานว่ามีการแตกของมดลูกอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้ไม่สามารถสังเกตได้ เพราะไม่มีอาการบ่งชี้ เช่น อาการปวดท้องอย่างรุนแรง มีการบีบตัวของมดลูกรุนแรง ความดันโลหิตต่ำ และบางรายจะสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนโดยหน้าท้องจะเป็นลอนสูงขึ้นบริเวณหน้าท้อง แต่บางรายก็สามารถตรวจพบได้ยาก ซึ่งช่วงที่จะเกิดการแตกของมดลูกได้ ถ้าเป็นกลุ่มที่ไม่มีแผลที่มดลูก ส่วนมากมักเกิดขึ้นระยะท้ายของการคลอด หากมีแผลที่มดลูก สามารถแตกได้ทั้งเมื่อข้าสู่ระยะการคลอดและยังไม่เข้าสู่ระยะคลอด ดังนั้น การที่มดลูกแตกจะต้องหาสาเหตุว่าแตกจากปัจจัยใด จึงต้องนำชิ้นเนื้อปอดและมดลูกชันสูตรอย่างละเอียดอีกครั้ง
ศ.คลินิก พญ.วิบูลพรรณ กล่าวอีกว่า เมื่อดูจากเวชระเบียนผู้ป่วยไม่มีการอาการปวด และไม่มีการขอยาแก้ปวดแต่อย่างใด รวมทั้งจากการสอบถามพยาบาลผู้ดูแล ระบุว่า ผู้ป่วยมีการอาการเจ็บครรภ์ไม่แตกต่างจากการเจ็บครรภ์ปกติ อาจเกิดจากการที่มดลูกปริแตกอย่างช้าๆ ทำให้ร่างกายสามารถปรับตัวได้ในระยะแรกของการแตกจนไม่สามารถสังเกตเห็นได้ จนเมื่อเข้าสู่ระยะเสียเลือดมากขึ้น จึงเกิดอาการช็อคขึ้น ซึ่งมีหลายสาเหตุที่แพทย์สามารถสันนิษฐานได้หลายโรค เพราะมีอาการคล้ายกัน เช่นความดันต่ำ หายใจเร็ว อาจจะเกิดภาวะ น้ำคร่ำอุดตัน ที่เกิดได้บ่อยกว่ามดลูกแตก
“ในช่วงระยะคลอด โดยหลักการรักษาปกติจะดูอาการทางคลินิก ประกอบกับประวัติการคลอดครั้งก่อน เพื่อประเมินความพร้อมในการคลอด หากมีประวัติคลอดได้ปกติก็จะเลือกให้คลอดแบบธรรมชาติ คือ ต้องรอให้ปากมดลูกเปิดประมาณ 10 เซนติเมตร มีการบีบตัวของมดลูกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในรายดังกล่าว พบว่าช่องเชิงกรานและขนาดของทารก ไม่ผิดสัดส่วน สามารถคลอดตามธรรมชาติได้ จึงยังอยู่ในช่วงการรอให้ผู้ป่วยมีสภาพพร้อมคลอด แต่ปกติหากกระบวนการคลอดเกิดชะงัก ก็สามารถเปลี่ยนแปลงการรักษาได้ อย่างไรก็ตาม ตามรายงานคนไข้ยังไม่อยู่ในระยะคลอด และไม่มีอาการบ่งชี้ว่าต้องเปลี่ยนวิธีการคลอด จนกระทั่งมีอาการช็อก ซึ่งไม่สามารถผ่าตัดได้ทันที เพราะสภาพคนไข้ไม่พร้อม” ศ.คลินิก พญ.วิบูลพรรณ กล่าว
ศ.คลินิก พญ.วิบูลพรรณ กล่าวด้วยว่า จากประวัติพบว่า น.ส.น้ำอ้อย เคยมีประวัติการขูดมดลูกมาก่อน ซึ่งอาจเป็นปัจจัยเสริมทำให้เกิดมดลูกแตกขึ้นได้ ซึ่งการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีประวัติมดลูกผิดปกติ หรือ มีความเสี่ยง มีอาการบ่งชี้ เช่น มีเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์ รกเกาะต่ำกว่าปกติ รกฝังตัวลึก หากมีอาการเช่นนี้แพทย์จะมีการดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะมีความเสี่ยงที่จะเกิดมดลูกแตกได้ แต่ในรายดังกล่าวรวมถึงหญิงที่ขูดมดลูกแต่ไม่เคยมีอาการผิดปกติบ่งชี้มาก่อน การดูแลจะเหมือนหญิงตั้งครรภ์รายอื่นๆ ทั้งนี้ หญิงตั้งครรภ์สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยเสริมว่าจะทำให้เกิดภาวะเสี่ยงได้มากเพียงใด รวมทั้งการช่วยเหลือ แม้ว่าจะทราบได้รวดเร็วว่าเกิดการแตกของมดลูก ก็มีโอกาสเสียชีวิตได้ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของผู้ป่วย และการเตรียมการผ่าตัด ว่าจะทำได้รวดเร็วเพียงใดด้วย
ขณะที่ นางสำรอง ตุ้มทับ อายุ 43 ปี มารดาน.ส.น้ำอ้อย กล่าวว่า คงจะไม่ได้ดำเนินการฟ้องร้องดำเนินคดีกับทางโรงพยาบาลทั้งแพ่งและอาญา เนื่องจากเชื่อว่าหากมีความผิดจริงความจริงก็จะปรากฏต่อสาธารณะชนเอง แต่สิ่งที่สงสัยคือ อยากรู้ว่าทำไมแพทย์ที่ให้การรักษาจึงไม่ทราบว่า มดลูกของบุตรสาวจะแตก ตลอดเวลาที่เข้ารับการรักษามีพยาบาลคอยดูแล
“โรงพยาบาลไม่ได้โทรมาหาหลังจากที่ลูกสาวอยู่ในภาวะวิกฤตแล้ว แต่ดิฉันรู้สึกสังหรณ์ใจจึงได้โทรศัพท์สอบถามโรงพยาบาลว่าบุตรสาวมีอาการเช่นไร เพราะตลอดทั้งวันก่อนเข้า รพ.อาเจียนจนรับประทานอาหารไม่ได้”นางสำรอง กล่าว
นางสำรอง กล่าวด้วยว่า เมื่อเช้าวันที่ 3 ก.พ.โรงพยาบาลได้เชิญตนเองและญาติไปพบ โดยรับปากกับญาติว่าจะจ่ายเงินช่วยเหลือ แต่ตนเองไม่ทราบรายละเอียด พร้อมยืนยันเงินไม่สามารถซื้อชีวิตลูกได้ และจนถึงขณะนี้ยังไม่ได้เรื่องการเสียชีวิตของนางน้ำอ้อยกับลูกชายคนโต เพราะเกรงว่าเด็กจะเสียใจจนช็อก ทั้งนี้จะรับศพนางน้ำอ้อยบำเพ็ญกุศลที่วัดหนองผักชี เป็นเวลา 3 วัน