แพทย์รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล เตรียมเข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานรางวัล 28 ม.ค.นี้ หมอชาวบราซิลเจ้าของผลงานค้นพบโปรตีนจากพิษงูช่วยลดความดันโลหิต แนะไทยพึ่งตัวเอง กระตุ้นคิดค้นวิจัยสิ่งใกล้ตัวผลิตยาราคาถูกให้ประชาชนเข้าถึงมากขึ้น พร้อมหนุนทำซีแอล ถือเป็นการช่วยเหลือมนุษยชาติ
เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 27 มกราคม ที่โรงพยาบาลศิริราช ศ.คลินิก นพ.ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ได้จัดพิธีต้อนรับผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2551 สาขาการแพทย์ คือ ศ.นพ.แซร์จิโอ เอนริเก เฟอร์เรรา (Professor Sergio Henrique Ferreira) ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ เมืองริเบเรา เปรโต มหาวิทยาลัยเซาเปาโล ประเทศบราซิล จากผลการค้นพบและพัฒนายากลุ่ม ACEI และ COX-2 inhibitors ซึ่งเป็นยาลดความโลหิตสูง และยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ส่วนสาขาสาธารณสุข คือ ศ.นพ.มิชิอากิ ทาคาฮาชิ (Professor Michiaki Takahashi) ศาสตร์จารย์เกียรติคุณและประธานกรรมการมูลนิธิวิจัยโรคติดเชื้อ มหาวิทยาลัยโอซากา ประเทศญี่ปุ่น ผู้ค้นพบวัคซีนป้องกันโรคสุกใสในเด็ก และ ศ.นพ.หยู หย่งซิน (Professor Yu Yongxin) ผู้อำนวยการเกียรติคุณ แผนกวัคซีนไวรัส สถาบันควบคุมชีวเภสัชภัณฑ์แห่งชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน ผู้ศึกษาค้นคว้าและพัฒนาวัคซีนไข้สมองอักเสบ
ทั้งนี้ ในวันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ.2552 เวลา 17.30 น. ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2551 ซึ่งจะได้รับพระราชทานเหรียญรางวัล ประกาศนียบัตร และเงินรางวัลจำนวน 50,000 เหรียญสหรัฐ จากนั้น เวลา 20.00 น. จากนั้นในเวลา 20.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในงานพระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำแก่ผู้ที่ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2551 ณ พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร
ศ.นพ.แซจิโอ้ กล่าวว่า ได้เริ่มศึกษาค้นคว้าวิธีการรักษาอาการความดันโลหิตสูง ซึ่งใช้เวลาศึกษา 2 ปี จึงได้ค้นพบโปรตีนเปปไทด์จากพิษงูชนิดหนึ่งของประเทศบราซิล ทำให้หลอดเลือดขยายตัว และลดความดันโลหิตได้ นำไปสู่การศึกษาพัฒนายาในกลุ่ม ACEI ซึ่งยาตัวแรก คือ Captopril ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่ามีประสิทธิภาพในการลดความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยเบาหวานที่มีความดันโลหิตสูงร่วมกับความเสื่อมของไต สามารถลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยจากภาวะหัวใจล้มเหลวได้มากโดยได้นำไปตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ในปี 1994 นอกจากนี้ยังค้นพบกลไกการออกฤทธิ์ของยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ นำไปสู่การค้นพบยาต้านการอักเสบในกลุ่ม COX-2 inhibitors ซึ่งความสำเร็จส่วนหนึ่งเป็นเพราะรัฐบาลบราซิลให้การสนับสนุนการวิจัยและผลิตยาชนิดใหม่ๆ จึงทำให้เกิดการวิจัยพัฒนาขึ้น
“สำหรับการได้รับรางวัลครั้งนี้ ถือเป็นสิ่งที่น่ายินดี เพราะเท่ากับยืนยันว่า งานที่ได้ทุ่มเททำมาตลอดทั้งชีวิตเป็นงานที่มีความสำคัญต่อมนุษยชาติ และจะเป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญให้นักวิจัยรุ่นใหม่ๆ ตั้งใจทำงานเรียนรู้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ แก่มนุษยชาติ ซึ่งยากกว่าการทำวิจัยเพียงอย่างเดียว”ศ.นพ.แซร์จิโอ กล่าว
ศ.นพ.แซร์จิโอ กล่าวอีกว่า บทบาทของประเทศที่พัฒนาแล้วควรมีส่วนช่วยประเทศกำลังพัฒนา โดยการไม่ดูดมันสมองบุคลากรของประเทศกำลังพัฒนาเข้าไปใช้ประโยชน์ในประเทศของตน และการทำให้ราคายาไม่แพงจนเกินไป อย่างไรก็ตาม ประเทศที่กำลังพัฒนาก็ควรช่วยเหลือตัวเองให้มากที่สุด โดยการพัฒนาอุตสาหกรรมยาในประเทศ โดยพิจารณาปัจจัยพื้นฐาน เช่น ประเทศไทยมีวัตถุดิบที่เหมาะแก่การนำมาใช้ในอุตสาหกรรมยา อย่างปิโตรเคมี อ้อย ซึ่งเป็นพื้นฐานของการผลิตสารเคมีที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว แต่รัฐบาลจำเป็นต้องมีการสนับสนุนกระตุ้นให้เกิดการวิจัยพัฒนา ทำงานมากขึ้น เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงยามากขึ้นด้วย
“ผมเห็นด้วยกับการทำซีแอลของประเทศกำลังพัฒนา เพราะทำให้ยาราคาถูกลงเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ ขณะเดียวกัน ประเทศกำลังพัฒนาก็ต้องเร่งพัฒนาให้เกิดการผลิตยาเองเพื่อทำให้ราคายาถูกลง ซึ่งปัญหาของประเทศไทย คือไม่สามารถผลิตสารตั้งต้นได้ แม้ว่าจะผลิตยาเองได้ก็ต้องนำเข้าสารเคมี ทำให้ยามีราคาแพงอยู่ดี”ศ.นพ.แซร์จิโอ กล่าว
ขณะที่ ศ.นพ.หยู กล่าวว่า เมื่อปี 1950 ในประเทศจีนได้เกิดการระบาดของโรคไข้สมองอักเสบ ซึ่งคร่าชีวิตเด็กชาวจีนไปจำนวนมาก ส่วนเด็กที่รอดก็พิการ เป็นอัมพาต หรือสมองตาย เป็นเจ้าชายนิทรา ส่วนหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อก็ทำให้แท้งลูก จึงได้มีการค้นกว้าพัฒนาวัคซีน ซึ่งใช้เวลากว่า 3 ทศวรรษ เพื่อพัฒนาวัคซีนไข้สมองอักเสบจนสำเร็จ โดยได้ผลิตจากเซลล์ไตของหนูแฮมเตอร์ จนปี 1988 ได้ผลิตวัคซีนฉีดให้เด็กชาวจีนมากกว่า 200 ล้านคน จากนั้นจึงได้นำไปให้เด็กในหลายๆ ประเทศของภูมิภาคเอเชีย เช่น อินเดีย เกาหลี ศรีลังกา เนปาล และไทย ซึ่งช่วยให้การระบาดของโรคไข้สมองอักเสบในภูมิภาคเอเชียยลดลงอย่างมาก ทั้งนี้โรคไข้สมองอักเสบ จีอี เกิดจากไวรัสที่มีแมลงเป็นพาหะนำโรค ซึ่งปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรค แต่สามารถป้องกันด้วยวัคซีนดังกล่าวได้ โดยปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุขไทย ได้บรรจุวัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบ เป็นวัคซีนพื้นฐานให้กับเด็กเกิดใหม่ทุกราย
นพ.มิชิอากิ กล่าวว่า ได้ศึกษาค้นคว้าวิจัยจนสามารถแยกเชื้อไวรัส Varicella-zoster ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มไวรัส Herpes อาการของโรคไข้สุกใส หรือไข้อีสุกอีใส จากโลหิตของเด็กชายอายุ 3 ขวบได้ จึงตั้งชื่อว่า สายพันธุ์โอกะ (Oka) ตามชื่อของเด็กชาย จากนั้นนำไปผ่านขบวนการขยายพันธุ์ในเซลล์เพาะเลี้ยง เพื่อให้อ่อนแรงลง แต่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันป้องกันไข้สุกใสได้ดี ใช้ชื่อว่า วาริเซลลาวัคซีน ซึ่งได้มาตรฐานชีววัตถุตามข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลก เป็นที่ยอมรับและถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก เช่นประเทศญี่ปุ่น เกาหลี สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส รวมทั้งประเทศไทยด้วย ช่วยให้ผู้ที่ได้รับวัคซีนนี้ เมื่อป่วยเป็นไข้สุกใส จะไม่ค่อยมีไข้ ไม่ค่อยเกิดแผลเป็น และหายป่วยเร็วกว่า
นอกจากนี้ยังพบว่า เด็กที่ได้รับวัคซีนนี้เมื่อมีอายุมากขึ้นจะมีอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคงูสวัดน้อยกว่าเด็กที่เป็นไข้สุกใสตามธรรมชาติ ในผู้ใหญ่อายุมากกว่า 60 ปี วัคซีนนี้สามารถป้องกันการเกิดโรคงูสวัด ลดอาการแทรกซ้อนและป้องกันการลุกลามของโรคได้ จึงมีความเป็นไปได้ที่วัคซีนนี้จะถูกนำมาใช้ป้องกันโรคงูสวัดในคนสูงอายุด้วย
ทั้งนี้ สำหรับอาการของโรคไข้สุกใส หรือไข้อีสุกอีใส เริ่มด้วยมีไข้ ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร และมีผื่นขึ้นที่ผิวหนัง พบได้ทั่วทุกภูมิภาคของโลก พบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี โดยทั่วไปไม่มีอาการรุนแรง แต่ติดต่อได้ง่าย อาการแทรกซ้อนที่พบไม่บ่อยคือ สมองอักเสบ ปอดอักเสบ ถ้าเป็นในผู้ใหญ่จะมีอาการรุนแรงและระยะเวลานานกว่า ซึ่งผลการคิดค้นวัคซีนครั้งนี้นำไปสู่การใช้วัคซีนป้องกันไข้สุกใส อย่างกว้างขวางทั่วโลก บรรเทาความทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจ ตลอดจนลดอัตราตายจากไข้สุกใสของประชากร โดยเฉพาะเด็กๆ นับร้อยล้านคนทั่วโลก
เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 27 มกราคม ที่โรงพยาบาลศิริราช ศ.คลินิก นพ.ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ได้จัดพิธีต้อนรับผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2551 สาขาการแพทย์ คือ ศ.นพ.แซร์จิโอ เอนริเก เฟอร์เรรา (Professor Sergio Henrique Ferreira) ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ เมืองริเบเรา เปรโต มหาวิทยาลัยเซาเปาโล ประเทศบราซิล จากผลการค้นพบและพัฒนายากลุ่ม ACEI และ COX-2 inhibitors ซึ่งเป็นยาลดความโลหิตสูง และยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ส่วนสาขาสาธารณสุข คือ ศ.นพ.มิชิอากิ ทาคาฮาชิ (Professor Michiaki Takahashi) ศาสตร์จารย์เกียรติคุณและประธานกรรมการมูลนิธิวิจัยโรคติดเชื้อ มหาวิทยาลัยโอซากา ประเทศญี่ปุ่น ผู้ค้นพบวัคซีนป้องกันโรคสุกใสในเด็ก และ ศ.นพ.หยู หย่งซิน (Professor Yu Yongxin) ผู้อำนวยการเกียรติคุณ แผนกวัคซีนไวรัส สถาบันควบคุมชีวเภสัชภัณฑ์แห่งชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน ผู้ศึกษาค้นคว้าและพัฒนาวัคซีนไข้สมองอักเสบ
ทั้งนี้ ในวันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ.2552 เวลา 17.30 น. ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2551 ซึ่งจะได้รับพระราชทานเหรียญรางวัล ประกาศนียบัตร และเงินรางวัลจำนวน 50,000 เหรียญสหรัฐ จากนั้น เวลา 20.00 น. จากนั้นในเวลา 20.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในงานพระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำแก่ผู้ที่ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2551 ณ พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร
ศ.นพ.แซจิโอ้ กล่าวว่า ได้เริ่มศึกษาค้นคว้าวิธีการรักษาอาการความดันโลหิตสูง ซึ่งใช้เวลาศึกษา 2 ปี จึงได้ค้นพบโปรตีนเปปไทด์จากพิษงูชนิดหนึ่งของประเทศบราซิล ทำให้หลอดเลือดขยายตัว และลดความดันโลหิตได้ นำไปสู่การศึกษาพัฒนายาในกลุ่ม ACEI ซึ่งยาตัวแรก คือ Captopril ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่ามีประสิทธิภาพในการลดความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยเบาหวานที่มีความดันโลหิตสูงร่วมกับความเสื่อมของไต สามารถลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยจากภาวะหัวใจล้มเหลวได้มากโดยได้นำไปตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ในปี 1994 นอกจากนี้ยังค้นพบกลไกการออกฤทธิ์ของยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ นำไปสู่การค้นพบยาต้านการอักเสบในกลุ่ม COX-2 inhibitors ซึ่งความสำเร็จส่วนหนึ่งเป็นเพราะรัฐบาลบราซิลให้การสนับสนุนการวิจัยและผลิตยาชนิดใหม่ๆ จึงทำให้เกิดการวิจัยพัฒนาขึ้น
“สำหรับการได้รับรางวัลครั้งนี้ ถือเป็นสิ่งที่น่ายินดี เพราะเท่ากับยืนยันว่า งานที่ได้ทุ่มเททำมาตลอดทั้งชีวิตเป็นงานที่มีความสำคัญต่อมนุษยชาติ และจะเป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญให้นักวิจัยรุ่นใหม่ๆ ตั้งใจทำงานเรียนรู้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ แก่มนุษยชาติ ซึ่งยากกว่าการทำวิจัยเพียงอย่างเดียว”ศ.นพ.แซร์จิโอ กล่าว
ศ.นพ.แซร์จิโอ กล่าวอีกว่า บทบาทของประเทศที่พัฒนาแล้วควรมีส่วนช่วยประเทศกำลังพัฒนา โดยการไม่ดูดมันสมองบุคลากรของประเทศกำลังพัฒนาเข้าไปใช้ประโยชน์ในประเทศของตน และการทำให้ราคายาไม่แพงจนเกินไป อย่างไรก็ตาม ประเทศที่กำลังพัฒนาก็ควรช่วยเหลือตัวเองให้มากที่สุด โดยการพัฒนาอุตสาหกรรมยาในประเทศ โดยพิจารณาปัจจัยพื้นฐาน เช่น ประเทศไทยมีวัตถุดิบที่เหมาะแก่การนำมาใช้ในอุตสาหกรรมยา อย่างปิโตรเคมี อ้อย ซึ่งเป็นพื้นฐานของการผลิตสารเคมีที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว แต่รัฐบาลจำเป็นต้องมีการสนับสนุนกระตุ้นให้เกิดการวิจัยพัฒนา ทำงานมากขึ้น เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงยามากขึ้นด้วย
“ผมเห็นด้วยกับการทำซีแอลของประเทศกำลังพัฒนา เพราะทำให้ยาราคาถูกลงเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ ขณะเดียวกัน ประเทศกำลังพัฒนาก็ต้องเร่งพัฒนาให้เกิดการผลิตยาเองเพื่อทำให้ราคายาถูกลง ซึ่งปัญหาของประเทศไทย คือไม่สามารถผลิตสารตั้งต้นได้ แม้ว่าจะผลิตยาเองได้ก็ต้องนำเข้าสารเคมี ทำให้ยามีราคาแพงอยู่ดี”ศ.นพ.แซร์จิโอ กล่าว
ขณะที่ ศ.นพ.หยู กล่าวว่า เมื่อปี 1950 ในประเทศจีนได้เกิดการระบาดของโรคไข้สมองอักเสบ ซึ่งคร่าชีวิตเด็กชาวจีนไปจำนวนมาก ส่วนเด็กที่รอดก็พิการ เป็นอัมพาต หรือสมองตาย เป็นเจ้าชายนิทรา ส่วนหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อก็ทำให้แท้งลูก จึงได้มีการค้นกว้าพัฒนาวัคซีน ซึ่งใช้เวลากว่า 3 ทศวรรษ เพื่อพัฒนาวัคซีนไข้สมองอักเสบจนสำเร็จ โดยได้ผลิตจากเซลล์ไตของหนูแฮมเตอร์ จนปี 1988 ได้ผลิตวัคซีนฉีดให้เด็กชาวจีนมากกว่า 200 ล้านคน จากนั้นจึงได้นำไปให้เด็กในหลายๆ ประเทศของภูมิภาคเอเชีย เช่น อินเดีย เกาหลี ศรีลังกา เนปาล และไทย ซึ่งช่วยให้การระบาดของโรคไข้สมองอักเสบในภูมิภาคเอเชียยลดลงอย่างมาก ทั้งนี้โรคไข้สมองอักเสบ จีอี เกิดจากไวรัสที่มีแมลงเป็นพาหะนำโรค ซึ่งปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรค แต่สามารถป้องกันด้วยวัคซีนดังกล่าวได้ โดยปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุขไทย ได้บรรจุวัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบ เป็นวัคซีนพื้นฐานให้กับเด็กเกิดใหม่ทุกราย
นพ.มิชิอากิ กล่าวว่า ได้ศึกษาค้นคว้าวิจัยจนสามารถแยกเชื้อไวรัส Varicella-zoster ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มไวรัส Herpes อาการของโรคไข้สุกใส หรือไข้อีสุกอีใส จากโลหิตของเด็กชายอายุ 3 ขวบได้ จึงตั้งชื่อว่า สายพันธุ์โอกะ (Oka) ตามชื่อของเด็กชาย จากนั้นนำไปผ่านขบวนการขยายพันธุ์ในเซลล์เพาะเลี้ยง เพื่อให้อ่อนแรงลง แต่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันป้องกันไข้สุกใสได้ดี ใช้ชื่อว่า วาริเซลลาวัคซีน ซึ่งได้มาตรฐานชีววัตถุตามข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลก เป็นที่ยอมรับและถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก เช่นประเทศญี่ปุ่น เกาหลี สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส รวมทั้งประเทศไทยด้วย ช่วยให้ผู้ที่ได้รับวัคซีนนี้ เมื่อป่วยเป็นไข้สุกใส จะไม่ค่อยมีไข้ ไม่ค่อยเกิดแผลเป็น และหายป่วยเร็วกว่า
นอกจากนี้ยังพบว่า เด็กที่ได้รับวัคซีนนี้เมื่อมีอายุมากขึ้นจะมีอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคงูสวัดน้อยกว่าเด็กที่เป็นไข้สุกใสตามธรรมชาติ ในผู้ใหญ่อายุมากกว่า 60 ปี วัคซีนนี้สามารถป้องกันการเกิดโรคงูสวัด ลดอาการแทรกซ้อนและป้องกันการลุกลามของโรคได้ จึงมีความเป็นไปได้ที่วัคซีนนี้จะถูกนำมาใช้ป้องกันโรคงูสวัดในคนสูงอายุด้วย
ทั้งนี้ สำหรับอาการของโรคไข้สุกใส หรือไข้อีสุกอีใส เริ่มด้วยมีไข้ ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร และมีผื่นขึ้นที่ผิวหนัง พบได้ทั่วทุกภูมิภาคของโลก พบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี โดยทั่วไปไม่มีอาการรุนแรง แต่ติดต่อได้ง่าย อาการแทรกซ้อนที่พบไม่บ่อยคือ สมองอักเสบ ปอดอักเสบ ถ้าเป็นในผู้ใหญ่จะมีอาการรุนแรงและระยะเวลานานกว่า ซึ่งผลการคิดค้นวัคซีนครั้งนี้นำไปสู่การใช้วัคซีนป้องกันไข้สุกใส อย่างกว้างขวางทั่วโลก บรรเทาความทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจ ตลอดจนลดอัตราตายจากไข้สุกใสของประชากร โดยเฉพาะเด็กๆ นับร้อยล้านคนทั่วโลก