เคยเป็นกันไหม เมื่อมีคนมาแนะนำให้ไปตรวจสุขภาพประจำปี หรือเมื่อพบเห็นแผ่นพับแนะนำโปรแกรมตรวจร่างกายของโรงพยาบาลต่างๆ แล้วเกิดคำถามตามมาว่า การเข้าไปเช็คสุขภาพในโรงพยาบาลนั้นจำเป็นจริงหรือ และดีจริงตามคำโฆษณาเหล่านั้นหรือไม่ หรือแค่เป็นการชักชวนให้เสียสตางค์ของโรงพยาบาลเท่านั้น
สำหรับคนที่กำลังเตรียมเนื้อเตรียมตัวไปตรวจสุขภาพ หรือพาคนที่คุณรักไปตรวจในช่วงปีใหม่ วันนี้...มีทั้งคำตอบ และคำแนะนำมาฝากกัน
** เช็กสุขภาพประจำปี ดีจริงหรือ
รศ.พญ.สมจิต พฤกษะริตานนท์ ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายว่า การตรวจสุขภาพทั่วไป เช่น ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์ ฯลฯ และใช้ผลตัวเลขวัดและตัดสินว่าสุขภาพดีหรือไม่ เมื่อตัวเลขแสดงผลออกมาเห็นค่าว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ ทำให้คนส่วนใหญ่คิดว่า การตรวจสุขภาพกี่ปีๆ ก็ไม่ต่างจากเดิม และไม่จำเป็นต้องตรวจอีก กล่าวคืออาจหลงคิดว่าตัวเองแข็งแรงแล้วจากผลตัวเลขที่ปรากฏ แล้วต่อจากนั้นก็ยังใช้ชีวิตอย่างประมาท ยังคงดื่มเหล้า สูบบุหรี่ และมีพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจนำไปสู่โรคได้ในที่สุด
ดังนั้น การตรวจสุขภาพเป็นประจำเพื่อสำรวจความเปลี่ยนแปลงภายในร่างกายย่อมมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย อาจจะเข้าโรงพยาบาลเพื่อเช็กทุกๆ ปี หรือสองปีครั้งก็ย่อมได้ แต่การหันหลังให้โรงพยาบาลอย่างถาวรนั้นไม่เป็นการดีแน่นอน เนื่องจากการตรวจสุขภาพเป็นหนึ่งในขั้นตอนการป้องกันการเกิดโรค ซึ่งในทางการแพทย์เรียกว่า “การคัดกรองโรค”
“เมื่อตรวจสุขภาพแล้วมีผลดีแน่ เพราะถ้าทราบว่ามีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ว่าทางร่างกายหรือพฤติกรรมก็จะได้ปรับปรุงแก้ไขเสียแต่เนิ่นๆ หรือทราบว่าเป็นโรคก็จะได้รักษาไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนก่อนที่จะลุกลามร้ายแรง จนเยียวยาไม่ได้ หรือสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาเป็นจำนวนมากโดยไม่จำเป็น”
รศ.พญ.สมจิต เปรียบเทียบข้อดีของการเช็กสภาพร่างกายประจำไว้อย่างน่าสนใจว่า รถต้องเข้าอู่ให้ช่างตรวจสภาพ เพื่อดูว่ามีอะไรสึกหรอหรือชำรุด ต้องซ่อมแซม หรือเปลี่ยนอะไหล่ ก่อนที่จะเสียหายหรือชำรุดจนใช้การไม่ได้ หรือไปเกิดอันตรายระหว่างเดินทาง ร่ายกายคนเราก็เช่นเดียวกัน ก็ควรจะเข้าโรงหมอให้แพทย์ตรวจสภาพเป็นระยะๆ ก่อนที่จะป่วยขึ้นมา ยิ่งแก่ตัวลงก็ต้องยิ่งเช็กถี่ขึ้น และเช็คมากอย่างขึ้น หรือยิ่งถ้าเป็นโรคบางอย่างอยู่แล้ว เช่นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือติดเชื้อเอชไอวี ก็ยิ่งต้องเช็คบ่อยขึ้นและละเอียดมากขึ้น
ทั้งนี้ เพื่อยืนยันและค้นหาว่าแต่ละคนมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคด้านใดบ้าง ทั้งด้านร่างกายและพฤติกรรม ตลอดจนสาขาการทำงานเพื่อจะนำไปสู่การรักษาที่ทันท่วงที
** เตรียมตัวอย่างไรก่อนไปโรงหมอ
รศ.พ.อ.นพ.วิเชียร มงคลศรีตระกูล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยา โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า แนะนำว่า ก่อนเดินเข้าไปหาหมอเพื่อเช็คสุขภาพประจำปีนั้นต้องมีการเตรียมตัว เตรียมใจให้พร้อมสำหรับผลที่จะออกมาไม่ว่าจะดีหรือไม่ดีก็ตาม ต้องเข้าใจพื้นฐานว่าตรวจสุขภาพว่าต้องทำอะไรบ้าง อาทิ หากจะต้องตรวจเลือดต้องงดอาหารอย่างน้อย 12 ชั่วโมง ตรวจเบาหวานปัจจุบันไม่ต้องงดอาหารก็สามารถตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดได้เลย
ด้าน รศ.พญ.สมจิต เสริมว่า กรณีที่คุณหมอจะตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงการโรค ซึ่งไม่สามารถตรวจหาได้ในห้องปฏิบัติการ ก็จะตรวจซักประวัติด้วยการสอบถาม เช่น พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่อาจสะสมไขมันในเลือดสูง เกิดปัญหาเส้นเลือดหัวใจตีบ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้นเหตุแห่งโรคตับ ตับอ่อนอักเสบ พิษสุราเรื้อรัง หรือแม้กระทั่งอุบัติเหตุ ตลอดจนการไม่ออกกำลังกายทำให้อ้วนที่เป็นบ่อแห่งเบาหวาน ไขมัน และคอเลสเตอรอล เป็นต้น
นอกจากนี้ เพื่อให้ครอบคลุม แพทย์จะซักประวัติการทำงาน และประวัติการรับวัคซีน ตลอดจนประวัติครอบครัวเพื่อคัดกรองโรคที่อาจถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวได้
“โดยทั่วไปการตรวจสุขภาพที่คุ้นเคยเราจะพบว่า ทางโรงพยาบาลจะเน้นไปที่ตรวจร่างกาย วัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก และวัดความดัน ตรวจชีพจน หรือถ้าผู้ป่วยรู้สึกผิดปกติตรงไหนก็จะตรวจร่างกายเป็นส่วนๆ ซึ่งจะตรวจเท่าที่จำเป็นนอกเหนือจากการซักประวัติ” คุณหมอเวชศาสตร์ครอบครัว อธิบาย
** อายุนั้นสำคัญต่อการเช็คสุขภาพไฉน
รศ.พ.อ.นพ.วิเชียร ให้การยืนยันว่า ‘อายุ’ เป็นปัจจัยที่อาจถือว่าสำคัญที่สุดในการกำหนดว่า ใครควรจะตรวจอะไรบ้าง ในคนหนุ่มสาวอายุน้อยกว่า 30 ปี โดยทั่วไปการตรวจมักจะไม่มาก มีการตรวจเม็ดเลือดทั่วไป ตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์ปอด หรืออาจจะตรวจการติดเชื้อซิฟิลิส ไวรัสตับอักเสบบี หากอายุมากขึ้นระหว่าง 30-50 ปี ก็จะตรวจเพิ่มขึ้น โดยจะมีการตรวจเบาหวาน ไขมันในเลือด ตรวจการทำงานของตับและไต คลื่นหัวใจ ตรวจภายในกรณีที่เป็นเพศหญิง เป็นต้น
ขณะที่ รศ.พญ.สมจิต ให้ข้อคิดเห็นไปในแนวทางเดียวกันว่า ในแต่ละช่วงวัยมีความแตกต่างของพฤติกรรมและรูปแบบการดำเนินชีวิต ทำให้ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคก็จะแตกต่างกัน ทำให้ลักษณะการตรวจหาโรคย่อมแตกต่างกันไปด้วย โดยในวัยเด็กมักจะมีอาการติดเชื้อ ควรได้รับการตรวจรับวัคซีน และพัฒนาการในวัยที่ต้องตรวจในห้องปฏิบัติการมากหน่อย คือ วัย 40 ปีขึ้นไป ซึ่งถือเป็นวัยเสื่อมมีความเสี่ยงจากพฤติกรรมจากกการกินอาหาร หรือขาดการออกกำลังกายทำให้เริ่มมีไขมันในเส้นเลือด น้ำตาลในเลือด เสี่ยงต่อเบาหวาน การทำงานของตับและไต ในผู้หญิงต้องตรวจมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูกต้องตรวจก่อน 65 ปี เป็นต้น
สำหรับวัยสูงอายุ ในช่วง 60 ปีขึ้นไปที่เคลื่อนไหวช้า ความจำไม่ค่อยดี ติดเชื้อโรคจากสภาพแวดล้อมได้ง่าย หรือไม่เมื่อป่วยระยะต้นแล้วสามารถมีโรคแทรกซ้อนได้ง่าย ต้องตรวจความหนาแน่นของกระดูก อัมพาต อัมพฤกษ์ อาการสายตาพร่า ต้อกระจก มะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชาย การได้ยิน โดยที่มะเร็งเต้านมต้องตรวจก่อนมีอายุ 70 ปี
** ตรวจอย่างไรให้คุ้มค่า
เมื่อถามถึงความคุ้มค่าของการตรวจสุขภาพว่ามีมากน้อยเพียงใด เมื่อเทียบแล้วดีหรือเสียมากกว่ากัน ก็ได้รับคำตอบจาก แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว รพ.รามาธิบดีว่า สำหรับในทางการแพทย์ถือว่าหากผู้เข้ารับตรวจสุขภาพมีปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นโรคที่พบบ่อยๆ ถือว่าคุ้มทุน โดยให้เหตุผลว่า เพราะมีวิธีการรักษาที่ทันท่วงทีได้ และอาจจะสามารถหายได้ในระยะต้นที่ตรวจพบ แต่หากเป็นโรคที่ยากต่อการรักษาหรือไม่ค่อยค้นพบเมื่อค้นเจอก็อาจจะทำให้ผู้ป่วยสูญเสียกำลังใจได้ ดังนั้นผู้ที่จะเข้ารับการตรวจสุขภาพจะต้องพร้อมด้านจิตใจด้วยส่วนหนึ่ง
“เพราะเหตุผลที่ว่าบางคนกลัวว่าถ้ามาตรวจแล้วจะเป็นโรคร้ายแรง หรือรักษาไม่หายก็เลยคิดเองว่าไม่มาตรวจดีกว่า ซึ่งความคิดนี้ไม่ถูกต้องทีเดียวนัก อย่างน้อยหากสังเกตปัจจัยเสี่ยงได้เองก็พอจะคำนวณสุขภาพเราได้อยู่แล้ว ดังนั้นคนที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงๆ ควรจะมาตรวจสุขภาพเพื่อดูความเปลี่ยนแปลงของสุขภาพ”รศ.พญ.สมจิต ให้ข้อคิดเห็น
รศ.พ.อ.นพ.วิเชียร ทิ้งทายว่า การตรวจร่างกายประจำปี เป็นเหมือนการเฝ้าระวังการเกิดโรค อาจจะต้องมีการลงทุนบ้าง แต่ในท้ายที่สุดแล้วจะคุ้มค่าในระยะยาว ทั้งสำหรับสุขภาพและเงินในกระเป๋า หากพบเมื่อโรคเป็นมากแล้ว ให้การรักษาช้า โรคแทรกซ้อนจะมีมากขึ้น ค่ารักษาพยาบาลสูงขึ้น และที่สำคัญ ร่างกายของเราอาจจะไม่สามารถกลับมาเหมือนกับปกติก่อนที่จะเกิดโรคได้
...ดังนั้น หากปีใหม่นี้อยากจะหาของขวัญดีๆ สักชิ้นให้ตัวเองหรือคนที่รัก การเริ่มต้นตรวจสุขภาพประจำปีรับปีใหม่ก็ถือว่าไม่เลวนัก
** โรคที่ควรจะตรวจ
** รายการแนะนำเพิ่มเติมสำหรับโปรแกรมตรวจประจำปี
หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยในแต่ระโรงพยาบาลอาจมีการเปลี่ยนแปลง
สำหรับคนที่กำลังเตรียมเนื้อเตรียมตัวไปตรวจสุขภาพ หรือพาคนที่คุณรักไปตรวจในช่วงปีใหม่ วันนี้...มีทั้งคำตอบ และคำแนะนำมาฝากกัน
** เช็กสุขภาพประจำปี ดีจริงหรือ
รศ.พญ.สมจิต พฤกษะริตานนท์ ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายว่า การตรวจสุขภาพทั่วไป เช่น ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์ ฯลฯ และใช้ผลตัวเลขวัดและตัดสินว่าสุขภาพดีหรือไม่ เมื่อตัวเลขแสดงผลออกมาเห็นค่าว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ ทำให้คนส่วนใหญ่คิดว่า การตรวจสุขภาพกี่ปีๆ ก็ไม่ต่างจากเดิม และไม่จำเป็นต้องตรวจอีก กล่าวคืออาจหลงคิดว่าตัวเองแข็งแรงแล้วจากผลตัวเลขที่ปรากฏ แล้วต่อจากนั้นก็ยังใช้ชีวิตอย่างประมาท ยังคงดื่มเหล้า สูบบุหรี่ และมีพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจนำไปสู่โรคได้ในที่สุด
ดังนั้น การตรวจสุขภาพเป็นประจำเพื่อสำรวจความเปลี่ยนแปลงภายในร่างกายย่อมมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย อาจจะเข้าโรงพยาบาลเพื่อเช็กทุกๆ ปี หรือสองปีครั้งก็ย่อมได้ แต่การหันหลังให้โรงพยาบาลอย่างถาวรนั้นไม่เป็นการดีแน่นอน เนื่องจากการตรวจสุขภาพเป็นหนึ่งในขั้นตอนการป้องกันการเกิดโรค ซึ่งในทางการแพทย์เรียกว่า “การคัดกรองโรค”
“เมื่อตรวจสุขภาพแล้วมีผลดีแน่ เพราะถ้าทราบว่ามีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ว่าทางร่างกายหรือพฤติกรรมก็จะได้ปรับปรุงแก้ไขเสียแต่เนิ่นๆ หรือทราบว่าเป็นโรคก็จะได้รักษาไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนก่อนที่จะลุกลามร้ายแรง จนเยียวยาไม่ได้ หรือสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาเป็นจำนวนมากโดยไม่จำเป็น”
รศ.พญ.สมจิต เปรียบเทียบข้อดีของการเช็กสภาพร่างกายประจำไว้อย่างน่าสนใจว่า รถต้องเข้าอู่ให้ช่างตรวจสภาพ เพื่อดูว่ามีอะไรสึกหรอหรือชำรุด ต้องซ่อมแซม หรือเปลี่ยนอะไหล่ ก่อนที่จะเสียหายหรือชำรุดจนใช้การไม่ได้ หรือไปเกิดอันตรายระหว่างเดินทาง ร่ายกายคนเราก็เช่นเดียวกัน ก็ควรจะเข้าโรงหมอให้แพทย์ตรวจสภาพเป็นระยะๆ ก่อนที่จะป่วยขึ้นมา ยิ่งแก่ตัวลงก็ต้องยิ่งเช็กถี่ขึ้น และเช็คมากอย่างขึ้น หรือยิ่งถ้าเป็นโรคบางอย่างอยู่แล้ว เช่นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือติดเชื้อเอชไอวี ก็ยิ่งต้องเช็คบ่อยขึ้นและละเอียดมากขึ้น
ทั้งนี้ เพื่อยืนยันและค้นหาว่าแต่ละคนมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคด้านใดบ้าง ทั้งด้านร่างกายและพฤติกรรม ตลอดจนสาขาการทำงานเพื่อจะนำไปสู่การรักษาที่ทันท่วงที
** เตรียมตัวอย่างไรก่อนไปโรงหมอ
รศ.พ.อ.นพ.วิเชียร มงคลศรีตระกูล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยา โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า แนะนำว่า ก่อนเดินเข้าไปหาหมอเพื่อเช็คสุขภาพประจำปีนั้นต้องมีการเตรียมตัว เตรียมใจให้พร้อมสำหรับผลที่จะออกมาไม่ว่าจะดีหรือไม่ดีก็ตาม ต้องเข้าใจพื้นฐานว่าตรวจสุขภาพว่าต้องทำอะไรบ้าง อาทิ หากจะต้องตรวจเลือดต้องงดอาหารอย่างน้อย 12 ชั่วโมง ตรวจเบาหวานปัจจุบันไม่ต้องงดอาหารก็สามารถตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดได้เลย
ด้าน รศ.พญ.สมจิต เสริมว่า กรณีที่คุณหมอจะตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงการโรค ซึ่งไม่สามารถตรวจหาได้ในห้องปฏิบัติการ ก็จะตรวจซักประวัติด้วยการสอบถาม เช่น พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่อาจสะสมไขมันในเลือดสูง เกิดปัญหาเส้นเลือดหัวใจตีบ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้นเหตุแห่งโรคตับ ตับอ่อนอักเสบ พิษสุราเรื้อรัง หรือแม้กระทั่งอุบัติเหตุ ตลอดจนการไม่ออกกำลังกายทำให้อ้วนที่เป็นบ่อแห่งเบาหวาน ไขมัน และคอเลสเตอรอล เป็นต้น
นอกจากนี้ เพื่อให้ครอบคลุม แพทย์จะซักประวัติการทำงาน และประวัติการรับวัคซีน ตลอดจนประวัติครอบครัวเพื่อคัดกรองโรคที่อาจถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวได้
“โดยทั่วไปการตรวจสุขภาพที่คุ้นเคยเราจะพบว่า ทางโรงพยาบาลจะเน้นไปที่ตรวจร่างกาย วัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก และวัดความดัน ตรวจชีพจน หรือถ้าผู้ป่วยรู้สึกผิดปกติตรงไหนก็จะตรวจร่างกายเป็นส่วนๆ ซึ่งจะตรวจเท่าที่จำเป็นนอกเหนือจากการซักประวัติ” คุณหมอเวชศาสตร์ครอบครัว อธิบาย
** อายุนั้นสำคัญต่อการเช็คสุขภาพไฉน
รศ.พ.อ.นพ.วิเชียร ให้การยืนยันว่า ‘อายุ’ เป็นปัจจัยที่อาจถือว่าสำคัญที่สุดในการกำหนดว่า ใครควรจะตรวจอะไรบ้าง ในคนหนุ่มสาวอายุน้อยกว่า 30 ปี โดยทั่วไปการตรวจมักจะไม่มาก มีการตรวจเม็ดเลือดทั่วไป ตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์ปอด หรืออาจจะตรวจการติดเชื้อซิฟิลิส ไวรัสตับอักเสบบี หากอายุมากขึ้นระหว่าง 30-50 ปี ก็จะตรวจเพิ่มขึ้น โดยจะมีการตรวจเบาหวาน ไขมันในเลือด ตรวจการทำงานของตับและไต คลื่นหัวใจ ตรวจภายในกรณีที่เป็นเพศหญิง เป็นต้น
ขณะที่ รศ.พญ.สมจิต ให้ข้อคิดเห็นไปในแนวทางเดียวกันว่า ในแต่ละช่วงวัยมีความแตกต่างของพฤติกรรมและรูปแบบการดำเนินชีวิต ทำให้ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคก็จะแตกต่างกัน ทำให้ลักษณะการตรวจหาโรคย่อมแตกต่างกันไปด้วย โดยในวัยเด็กมักจะมีอาการติดเชื้อ ควรได้รับการตรวจรับวัคซีน และพัฒนาการในวัยที่ต้องตรวจในห้องปฏิบัติการมากหน่อย คือ วัย 40 ปีขึ้นไป ซึ่งถือเป็นวัยเสื่อมมีความเสี่ยงจากพฤติกรรมจากกการกินอาหาร หรือขาดการออกกำลังกายทำให้เริ่มมีไขมันในเส้นเลือด น้ำตาลในเลือด เสี่ยงต่อเบาหวาน การทำงานของตับและไต ในผู้หญิงต้องตรวจมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูกต้องตรวจก่อน 65 ปี เป็นต้น
สำหรับวัยสูงอายุ ในช่วง 60 ปีขึ้นไปที่เคลื่อนไหวช้า ความจำไม่ค่อยดี ติดเชื้อโรคจากสภาพแวดล้อมได้ง่าย หรือไม่เมื่อป่วยระยะต้นแล้วสามารถมีโรคแทรกซ้อนได้ง่าย ต้องตรวจความหนาแน่นของกระดูก อัมพาต อัมพฤกษ์ อาการสายตาพร่า ต้อกระจก มะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชาย การได้ยิน โดยที่มะเร็งเต้านมต้องตรวจก่อนมีอายุ 70 ปี
** ตรวจอย่างไรให้คุ้มค่า
เมื่อถามถึงความคุ้มค่าของการตรวจสุขภาพว่ามีมากน้อยเพียงใด เมื่อเทียบแล้วดีหรือเสียมากกว่ากัน ก็ได้รับคำตอบจาก แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว รพ.รามาธิบดีว่า สำหรับในทางการแพทย์ถือว่าหากผู้เข้ารับตรวจสุขภาพมีปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นโรคที่พบบ่อยๆ ถือว่าคุ้มทุน โดยให้เหตุผลว่า เพราะมีวิธีการรักษาที่ทันท่วงทีได้ และอาจจะสามารถหายได้ในระยะต้นที่ตรวจพบ แต่หากเป็นโรคที่ยากต่อการรักษาหรือไม่ค่อยค้นพบเมื่อค้นเจอก็อาจจะทำให้ผู้ป่วยสูญเสียกำลังใจได้ ดังนั้นผู้ที่จะเข้ารับการตรวจสุขภาพจะต้องพร้อมด้านจิตใจด้วยส่วนหนึ่ง
“เพราะเหตุผลที่ว่าบางคนกลัวว่าถ้ามาตรวจแล้วจะเป็นโรคร้ายแรง หรือรักษาไม่หายก็เลยคิดเองว่าไม่มาตรวจดีกว่า ซึ่งความคิดนี้ไม่ถูกต้องทีเดียวนัก อย่างน้อยหากสังเกตปัจจัยเสี่ยงได้เองก็พอจะคำนวณสุขภาพเราได้อยู่แล้ว ดังนั้นคนที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงๆ ควรจะมาตรวจสุขภาพเพื่อดูความเปลี่ยนแปลงของสุขภาพ”รศ.พญ.สมจิต ให้ข้อคิดเห็น
รศ.พ.อ.นพ.วิเชียร ทิ้งทายว่า การตรวจร่างกายประจำปี เป็นเหมือนการเฝ้าระวังการเกิดโรค อาจจะต้องมีการลงทุนบ้าง แต่ในท้ายที่สุดแล้วจะคุ้มค่าในระยะยาว ทั้งสำหรับสุขภาพและเงินในกระเป๋า หากพบเมื่อโรคเป็นมากแล้ว ให้การรักษาช้า โรคแทรกซ้อนจะมีมากขึ้น ค่ารักษาพยาบาลสูงขึ้น และที่สำคัญ ร่างกายของเราอาจจะไม่สามารถกลับมาเหมือนกับปกติก่อนที่จะเกิดโรคได้
...ดังนั้น หากปีใหม่นี้อยากจะหาของขวัญดีๆ สักชิ้นให้ตัวเองหรือคนที่รัก การเริ่มต้นตรวจสุขภาพประจำปีรับปีใหม่ก็ถือว่าไม่เลวนัก
** โรคที่ควรจะตรวจ
โรคที่ควรตรวจ | ประวัติที่บ่งบอกถึงความเสี่ยงต่อการเกิดโรค | การตรวจที่แนะนำ |
มะเร็งลำไส้ | มีญาติสายตรงเป็นระเร็งลำไส้หรือทวารหนัก | Stool occult blood / colonoscope |
เบาหวาน | คนอ้วน ญาติสายตรงเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง | Fasting blood sugar |
ไขมันในเลือดสูง | คนอ้วน ความดันสูง เบาหวาน สูบบุหรี่ | Cholesterol, Triglyceride, HDL-C |
โลหิตจางธาลัสซีเมีย | มีญาติเป็นธาลัสซีเมีย ตรวจเลือดก่อนแต่งงาน | Hemoglobin typing |
มะเร็งเต้านม | มีญาติเป็นมะเร็ง แต่งงานแล้ว ผู้หญิง 35 ปีขั้นไป | คลำเต้านม ตรวจแบบเมมโมแกรม |
** รายการแนะนำเพิ่มเติมสำหรับโปรแกรมตรวจประจำปี
รายการ | อัตราค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ย(บาท) |
หาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี | 400 |
ตรวจการได้ยิน | 700 |
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ | 450 |
ตรวจมะเร็งปากมดลูก | 1,200 |
หาสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก | 950 |
ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งลำไส้ | 650 |
ตรวจเต้านมเพื่อดูมะเร็ง | 3,500 |
ตรวจหัวใจโดยการวิ่งสายพาน | 3,000 |
หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยในแต่ระโรงพยาบาลอาจมีการเปลี่ยนแปลง