ปลัด ศธ.เด้งรับนโยบาย “จุรินทร์” มอบ กศน.วิเคราะห์ และจัดทำแผนแม่บทส่งเสริมการศึกษานอกระบบ ปรับบทบาท กศน.ยุคใหม่สร้างความมั่นคงให้ชาติ ความรู้ ความเข้าใจ และจิตสำนึกที่ถูกต้องกับประชาชนเพราะเป็นหน่วยงานการศึกษาที่ใกล้ชิดกับรากหญ้ามากที่สุด
นายชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยถึงกรณีที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ มีนโยบายที่จะส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ให้มีความเข้มแข็งและเท่าเทียมกับการศึกษาในระบบ ว่า นโยบายดังกล่าวเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่สมัยนายวิจิตร ศรีสอ้าน ดำรงตำแหน่ง รมว.ศึกษาธิการแล้ว โดยสามารถผลักดัน พ.ร.บ.กศน.ได้เป็นผลสำเร็จ ขณะนี้ตนได้มอบให้ กศน.เตรียมวิเคราะห์ และจัดทำแผนแม่บทของการส่งเสริม กศน. ซึ่งจะมีขอบเขตที่กว้างขวางมากกว่าที่ผ่านมาโดยครอบคลุมถึงประชาชนด้วย รวมทั้งได้มอบแนวทางในการปรับบทบาทของ กศน.ในยุคใหม่ที่มีกฎหมายรองรับแล้วว่า กศน.เป็นเครื่องมือในการสร้างเสถียรภาพให้กับรัฐบาล และประเทศชาติให้เกิดความมั่นคง ฉะนั้น จะต้องสร้างความรู้ ความเข้าใจ และจิตสำนึกที่ถูกต้องกับประชาชน เพราะ กศน.เป็นหน่วยงานเดียวที่ลงถึงระดับรากหญ้า เข้าถึงชุมชน และเข้าใจในวัฒนธรรมวิถีชีวิตของประชาน กศน.จึงน่าจะเป็นหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่นี้ได้อย่างดี
“โจทย์ในการจัดการศึกษานอกระบบฯ จะต้องนำปัญหาบ้านเมืองมาเป็นจุดวิเคราะห์ ว่าแนวคิดการจัดการศึกษาควรจะดำเนินการ และมีจุดเน้นอย่างไร เริ่มตั้งแต่ปัญหาด้านศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เช่น การประกอบอาชีพ การทำการเกษตร การใช้สิทธิและเสียงตามระบอบประชาธิปไตย และความเข้าใจในรัฐธรรมนูญ เป็นต้น ซึ่งต้องให้ความรู้กับประชาชนในยุคปัจจุบัน เพราะหากเข้าใจผิดจะทำให้เกิดปัญหาตามมาได้” นายชินภัทร กล่าว
ปลัด ศธ.กล่าวอีกว่า หลังจากนี้ กศน.ต้องไม่จัดการศึกษาตามที่กศน.อยากจัด แต่ต้องจัดตามกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ด้วยการจัดเวทีชาวบ้านระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน และนำมาวิเคราะห์กำหนดเป็นองค์ความรู้เพื่อช่วยให้ประชาชนข้ามวิกฤติเหล่านั้นไปได้ โดยขณะนี้ กศน. ได้ร่วมกับสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) หรือ สบร.ในการจัดทำโครงการนำร่อง “ศูนย์ความรู้กินได้” ที่ จ.อุบลราชธานี และเชียงใหม่ ซึ่งจะเป็นจุดที่ทำให้ความรู้เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตในการประกอบอาชีพได้อย่างดี เพราะบางครั้งชาวบ้านผลิตสินค้ามาแต่ขายไม่ได้ กศน.ก็ต้องเข้ามาเพิ่มพูนความรู้ในการออกแบบสินค้า หรือใส่มูลค่าเพิ่มเข้าไป เพื่อให้เกิดผลลัพท์ที่จะทำให้เศรษฐกิจของชุมชนและประเทศชาติดีขึ้น
ปลัด ศธ.กล่าวต่อไปว่า สำหรับเรื่องคุณภาพการศึกษานั้นก็ต้องมีการเติมเต็ม แต่ต้องเข้าใจว่าคุณภาพก็ต้องเหมาะแก่กลุ่มเป้าหมายด้วย ซึ่งหลักสูตรของ กศน.ไม่เหมือนกับหลักสูตรของพื้นฐาน จะเป็นมาตรฐานหลักสูตรเทียบเคียงระดับอิงในระบบ แต่จะไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ที่ผ่านมา กศน.ก็ไม่เคยปล่อยปละละเลยเรื่องคุณภาพการศึกษา และไม่เน้นเชิงปริมาณ ซึ่งเหล่านี้สามารถตรวจสอบได้ เพราะที่ผ่านมาเด็กหลายคนต้องผ่านกระบวนการประเมินด้วยความยากลำบาก
นายชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยถึงกรณีที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ มีนโยบายที่จะส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ให้มีความเข้มแข็งและเท่าเทียมกับการศึกษาในระบบ ว่า นโยบายดังกล่าวเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่สมัยนายวิจิตร ศรีสอ้าน ดำรงตำแหน่ง รมว.ศึกษาธิการแล้ว โดยสามารถผลักดัน พ.ร.บ.กศน.ได้เป็นผลสำเร็จ ขณะนี้ตนได้มอบให้ กศน.เตรียมวิเคราะห์ และจัดทำแผนแม่บทของการส่งเสริม กศน. ซึ่งจะมีขอบเขตที่กว้างขวางมากกว่าที่ผ่านมาโดยครอบคลุมถึงประชาชนด้วย รวมทั้งได้มอบแนวทางในการปรับบทบาทของ กศน.ในยุคใหม่ที่มีกฎหมายรองรับแล้วว่า กศน.เป็นเครื่องมือในการสร้างเสถียรภาพให้กับรัฐบาล และประเทศชาติให้เกิดความมั่นคง ฉะนั้น จะต้องสร้างความรู้ ความเข้าใจ และจิตสำนึกที่ถูกต้องกับประชาชน เพราะ กศน.เป็นหน่วยงานเดียวที่ลงถึงระดับรากหญ้า เข้าถึงชุมชน และเข้าใจในวัฒนธรรมวิถีชีวิตของประชาน กศน.จึงน่าจะเป็นหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่นี้ได้อย่างดี
“โจทย์ในการจัดการศึกษานอกระบบฯ จะต้องนำปัญหาบ้านเมืองมาเป็นจุดวิเคราะห์ ว่าแนวคิดการจัดการศึกษาควรจะดำเนินการ และมีจุดเน้นอย่างไร เริ่มตั้งแต่ปัญหาด้านศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เช่น การประกอบอาชีพ การทำการเกษตร การใช้สิทธิและเสียงตามระบอบประชาธิปไตย และความเข้าใจในรัฐธรรมนูญ เป็นต้น ซึ่งต้องให้ความรู้กับประชาชนในยุคปัจจุบัน เพราะหากเข้าใจผิดจะทำให้เกิดปัญหาตามมาได้” นายชินภัทร กล่าว
ปลัด ศธ.กล่าวอีกว่า หลังจากนี้ กศน.ต้องไม่จัดการศึกษาตามที่กศน.อยากจัด แต่ต้องจัดตามกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ด้วยการจัดเวทีชาวบ้านระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน และนำมาวิเคราะห์กำหนดเป็นองค์ความรู้เพื่อช่วยให้ประชาชนข้ามวิกฤติเหล่านั้นไปได้ โดยขณะนี้ กศน. ได้ร่วมกับสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) หรือ สบร.ในการจัดทำโครงการนำร่อง “ศูนย์ความรู้กินได้” ที่ จ.อุบลราชธานี และเชียงใหม่ ซึ่งจะเป็นจุดที่ทำให้ความรู้เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตในการประกอบอาชีพได้อย่างดี เพราะบางครั้งชาวบ้านผลิตสินค้ามาแต่ขายไม่ได้ กศน.ก็ต้องเข้ามาเพิ่มพูนความรู้ในการออกแบบสินค้า หรือใส่มูลค่าเพิ่มเข้าไป เพื่อให้เกิดผลลัพท์ที่จะทำให้เศรษฐกิจของชุมชนและประเทศชาติดีขึ้น
ปลัด ศธ.กล่าวต่อไปว่า สำหรับเรื่องคุณภาพการศึกษานั้นก็ต้องมีการเติมเต็ม แต่ต้องเข้าใจว่าคุณภาพก็ต้องเหมาะแก่กลุ่มเป้าหมายด้วย ซึ่งหลักสูตรของ กศน.ไม่เหมือนกับหลักสูตรของพื้นฐาน จะเป็นมาตรฐานหลักสูตรเทียบเคียงระดับอิงในระบบ แต่จะไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ที่ผ่านมา กศน.ก็ไม่เคยปล่อยปละละเลยเรื่องคุณภาพการศึกษา และไม่เน้นเชิงปริมาณ ซึ่งเหล่านี้สามารถตรวจสอบได้ เพราะที่ผ่านมาเด็กหลายคนต้องผ่านกระบวนการประเมินด้วยความยากลำบาก