ศธ.ทำกรอบเมกะโปรเจกต์ เพื่อสร้างสังคมการเรียนรู้ โครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา พัฒนา ETV วิทยุชุมชน ห้องสมุด โละสื่ออาชีวะอายุกว่า 30 ปี ยกเครื่องระดับอุดมฯ หวังไทยเป็นฮับเอเชีย เร่งผลิตนักเรียน บัณฑิตย์ให้มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน
นายชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวภายหลังการประชุมโครงการเมกะโปเจกต์ร่วมกับสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ว่า เพื่อกำหนดทิศทางและแนวนโยบายสำหรับโครงการทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาล โดยในส่วนกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ต้องมองภาพกว้างให้การศึกษามีส่วนในการพัฒนาสังคม โดยแบ่งออกเป็น 2 ด้านใหญ่ๆ ด้วยกัน 1.สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ 2.การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา พร้อมกันนี้ ต้องพยายามคิดโครงการให้เชื่อมโยงกับมิติด้านสังคม โดยศึกษาจากปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน ทั้งทางด้านพฤติกรรมและการแสดงออกทางวัฒนธรรม ปัญหาเรื่องคุณภาพการศึกษาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ยังต่ำกว่ามาตรฐาน และปัญหาการผลิตบุคลากรที่ยังไม่สอดคล้องกับตามความต้องการของตลาดแรงงาน ไม่ว่าจะด้านปริมาณและคุณภาพ
รวมทั้งมองไปถึงปัญหาการผลิตบัณฑิตในระดับอุดมศึกษาที่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ โดยเฉพาะในสาขาที่ขาดแคลน เช่น สาขาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ปัจจุบันเรายังขาดแคลนนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ ส่งผลให้ไม่สามารถต่อยอดเรื่องงานวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยี สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เราไม่สามารถพัฒนาสมรรถนะแข่งขันได้
ปลัด ศธ.กล่าวว่า จุดหลักที่จะนำมาพิจารณา ก็คือ เรื่องคุณภาพการศึกษาที่มุ่งลงทุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการศึกษาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในเรื่องการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ โดยคำนึงถึงโครงข่ายระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา ทั้งระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา อุดมศึกษา และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) และต้องครอบคลุมถึงการใช้สำหรับการศึกษาทางไกลเพื่อให้เยาวชนและนักเรียนเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ เช่น โครงการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (ETV) วิทยุชุมชนเพื่อการศึกษาให้ลงไปในระดับหมู่บ้านเพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ความเคลื่อนไหวด้านการศึกษาอย่างทั่วถึง และพัฒนาห้องสมุดให้มีความทันสมัยและเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ครบวงจร
“อย่างไรก็ตาม หัวใจสำคัญของการศึกษา ก็คือต้องพัฒนาคุณภาพครูทั้งระบบ และปฏิรูปอาชีวศึกษาครั้งใหญ่ โดยต้องปรับปรุงอุปกรณ์การเรียนการสอน ที่มีอายุใช้งานมากว่า 30 ปี ให้มีความทันสมัยขึ้น เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจและอยากมาเรียนอาชีวะมากขึ้น รวมถึงพัฒนาการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษาเพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาของเอเชีย”ปลัด ศธ.กล่าวด้วยว่า เร็วๆ นี้จะเชิญผู้บริหารทั้ง 5 องค์กรหลักของศธ.มาร่วมจัดทำโครงการเมกะโปรเจกต์ตามกรอบที่กำหนด โดยคาดว่า ภายใน 1 เดือนจะแล้วเสร็จ จากนั้นจะนำไปเสนอต่อสภาพัฒน์พิจารณาต่อไป
นายชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวภายหลังการประชุมโครงการเมกะโปเจกต์ร่วมกับสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ว่า เพื่อกำหนดทิศทางและแนวนโยบายสำหรับโครงการทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาล โดยในส่วนกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ต้องมองภาพกว้างให้การศึกษามีส่วนในการพัฒนาสังคม โดยแบ่งออกเป็น 2 ด้านใหญ่ๆ ด้วยกัน 1.สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ 2.การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา พร้อมกันนี้ ต้องพยายามคิดโครงการให้เชื่อมโยงกับมิติด้านสังคม โดยศึกษาจากปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน ทั้งทางด้านพฤติกรรมและการแสดงออกทางวัฒนธรรม ปัญหาเรื่องคุณภาพการศึกษาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ยังต่ำกว่ามาตรฐาน และปัญหาการผลิตบุคลากรที่ยังไม่สอดคล้องกับตามความต้องการของตลาดแรงงาน ไม่ว่าจะด้านปริมาณและคุณภาพ
รวมทั้งมองไปถึงปัญหาการผลิตบัณฑิตในระดับอุดมศึกษาที่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ โดยเฉพาะในสาขาที่ขาดแคลน เช่น สาขาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ปัจจุบันเรายังขาดแคลนนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ ส่งผลให้ไม่สามารถต่อยอดเรื่องงานวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยี สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เราไม่สามารถพัฒนาสมรรถนะแข่งขันได้
ปลัด ศธ.กล่าวว่า จุดหลักที่จะนำมาพิจารณา ก็คือ เรื่องคุณภาพการศึกษาที่มุ่งลงทุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการศึกษาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในเรื่องการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ โดยคำนึงถึงโครงข่ายระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา ทั้งระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา อุดมศึกษา และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) และต้องครอบคลุมถึงการใช้สำหรับการศึกษาทางไกลเพื่อให้เยาวชนและนักเรียนเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ เช่น โครงการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (ETV) วิทยุชุมชนเพื่อการศึกษาให้ลงไปในระดับหมู่บ้านเพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ความเคลื่อนไหวด้านการศึกษาอย่างทั่วถึง และพัฒนาห้องสมุดให้มีความทันสมัยและเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ครบวงจร
“อย่างไรก็ตาม หัวใจสำคัญของการศึกษา ก็คือต้องพัฒนาคุณภาพครูทั้งระบบ และปฏิรูปอาชีวศึกษาครั้งใหญ่ โดยต้องปรับปรุงอุปกรณ์การเรียนการสอน ที่มีอายุใช้งานมากว่า 30 ปี ให้มีความทันสมัยขึ้น เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจและอยากมาเรียนอาชีวะมากขึ้น รวมถึงพัฒนาการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษาเพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาของเอเชีย”ปลัด ศธ.กล่าวด้วยว่า เร็วๆ นี้จะเชิญผู้บริหารทั้ง 5 องค์กรหลักของศธ.มาร่วมจัดทำโครงการเมกะโปรเจกต์ตามกรอบที่กำหนด โดยคาดว่า ภายใน 1 เดือนจะแล้วเสร็จ จากนั้นจะนำไปเสนอต่อสภาพัฒน์พิจารณาต่อไป