หมอเตือนอย่าฉีดซิลิโคนเข้าร่างกาย ไม่ได้มาตรฐานวิชาชีพ แถมเป็นวิธีที่เลิกใช้มานานแล้ว พร้อมสั่งสอบด่วนกรณีสาวอุบลฯ สถานประกอบการ รวมทั้งคนฉีด มีความรู้ได้มาตรฐานหรือไม่ ชี้ อยากเสริมความงามต้องหาข้อมูลให้ดี
นพ.เรวัต วิศรุตเวช อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงกรณี นางธัญญ์ธรัส นาราช อายุ 35 ปี เสียชีวิตจากการฉีดเสริมเต้านม จากหมอเถื่อนในหมู่บ้าน ว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปสาเหตุการเสียชีวิตของ นางธัญญ์ธรัส ได้ เนื่องจากอาจเกิดจากหลายสาเหตุ จึงต้องรอผลการชันสูตรอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม การเสริมหน้าอกที่ถูกและมีมาตรฐานทางการแพทย์ขณะนี้ คือ การผ่าตัดใส่ซิลิโคน ซึ่งต้องบรรจุอยู่ในถุงอย่างดีเท่านั้น ส่วนวิธีการฉีดซิลิโคน ถือเป็นการกระทำที่ไม่ได้มาตรฐานวิชาชีพแพทย์และเป็นวิธีที่ทางการแพทย์เลิกใช้มาเป็นเวลานานแล้ว ทั้งนี้ การฉีดซิลิโคนเป็นการทำให้เกิดการปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกาย ซิลิโคนจะเข้าไปปนเปื้อนกับเนื้อเยื่อและอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ และสามารถแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ยาก
“การฉีดซิลิโคนโดยผู้ที่ไม่ใช่แพทย์ ปัญหาที่จะพบได้บ่อยๆ คือ เรื่องของความสะอาด หากเครื่องมือไม่มีการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้องและเข็มที่ฉีดติดเชื้อ ก็จะเป็นสาเหตุทำให้เกิดการติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เกิดอันตราย กรณีดังกล่าวจะต้องรอการตรวจสอบก่อน หากไม่ขออนุญาตเปิดสถานประกอบการ ก็ถือว่ามีความผิด หากผู้รักษาไม่มีใบประกอบวิชาชีพแพทย์ ก็ถือว่ามีความผิดเช่นกัน” นพ.เรวัต กล่าว
นพ.เรวัต กล่าวด้วยว่า ขอเตือนประชาชนหากอยากเสริมความงาม จำเป็นต้องหาความรู้ และสังเกตว่า เป็นสถานประกอบการที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ผู้ประกอบการ มีใบอนุญาตประกอบการหรือไม่ ไม่ควรเสี่ยงรักษาเพราะคิดว่าราคาถูก เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ ส่วนการปราบปรามตามจับสถานประกอบการหรือแพทย์เถื่อน เป็นสิ่งที่กระทรวงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่สามารถปราบปรามได้ทั้งหมด ฉะนั้นประชาชนที่มีข้อมูลหรือทราบว่าที่ใดมีการเปิดสถานพยาบาลเถื่อน ขอให้แจ้งให้ทางการทราบเพื่อหาทางป้องกันต่อไป
ด้าน นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า ขณะนี้ต้องตรวจสอบสารที่ใช้ฉีดเข้าไปในร่างกายของผู้เสียชีวิต เพราะสารที่จะนำมาใช้นั้น มีอยู่หลายประเภทขึ้นอยู่กับผู้ฉีดจะใช้สารตัวใด แต่หากเป็นแพทย์ก็จะมีความรู้และทราบว่าสารชนิดใดฉีดได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นสารที่ถูกต้องแต่กระบวนการฉีดไม่ถูกต้อง หรือไม่ได้รับการฆ่าเชื้อที่ถูกวิธี หรือ กระทำโดยผู้ที่ไม่มีความรู้ ก็สามารถทำให้เกิดอันตรายได้ เช่น หากฉีดโดนกระแสเลือดโดยตรงก็สามารถทำให้เสียชีวิตได้ทันที หรือ หากเปิดปากแผลเร็วเกิดไป ก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อตนเสียชีวิตได้ หรือ หากเข็มที่ฉีดโดยอวัยวะภายในทำให้เลือดออกข้างในก็เกิดโอกาสติดเชื้อและลุกลามจนเสียชีวิตได้เช่นกัน
นพ.สมยศ กล่าวว่า สำหรับโทษของผู้ที่ลักลอบเปิดสถานบริการทางการแพทย์ หากตรวจสอบพบว่า ไม่มีการขออนุญาตเปิดสถานบริการ จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับ ไม่เกิน 6 หมื่นบาท และหากผู้ประกอบการไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแพทย์ จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท เนื่องจากการรักษาพยาบาลหรือการศัลยกรรมเสริมความงามนั้น ผู้กระทำจำเป็นต้องทำโดยมีความรู้และมีมาตรฐานทางการแพทย์ ส่วนสถานพยาบาล ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ และมีการตรวจสอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้อง เพื่อให้สถานพยาบาลมีความพร้อมในการรักษาให้มีความปลอดภัยที่สุด
นพ.เรวัต วิศรุตเวช อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงกรณี นางธัญญ์ธรัส นาราช อายุ 35 ปี เสียชีวิตจากการฉีดเสริมเต้านม จากหมอเถื่อนในหมู่บ้าน ว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปสาเหตุการเสียชีวิตของ นางธัญญ์ธรัส ได้ เนื่องจากอาจเกิดจากหลายสาเหตุ จึงต้องรอผลการชันสูตรอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม การเสริมหน้าอกที่ถูกและมีมาตรฐานทางการแพทย์ขณะนี้ คือ การผ่าตัดใส่ซิลิโคน ซึ่งต้องบรรจุอยู่ในถุงอย่างดีเท่านั้น ส่วนวิธีการฉีดซิลิโคน ถือเป็นการกระทำที่ไม่ได้มาตรฐานวิชาชีพแพทย์และเป็นวิธีที่ทางการแพทย์เลิกใช้มาเป็นเวลานานแล้ว ทั้งนี้ การฉีดซิลิโคนเป็นการทำให้เกิดการปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกาย ซิลิโคนจะเข้าไปปนเปื้อนกับเนื้อเยื่อและอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ และสามารถแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ยาก
“การฉีดซิลิโคนโดยผู้ที่ไม่ใช่แพทย์ ปัญหาที่จะพบได้บ่อยๆ คือ เรื่องของความสะอาด หากเครื่องมือไม่มีการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้องและเข็มที่ฉีดติดเชื้อ ก็จะเป็นสาเหตุทำให้เกิดการติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เกิดอันตราย กรณีดังกล่าวจะต้องรอการตรวจสอบก่อน หากไม่ขออนุญาตเปิดสถานประกอบการ ก็ถือว่ามีความผิด หากผู้รักษาไม่มีใบประกอบวิชาชีพแพทย์ ก็ถือว่ามีความผิดเช่นกัน” นพ.เรวัต กล่าว
นพ.เรวัต กล่าวด้วยว่า ขอเตือนประชาชนหากอยากเสริมความงาม จำเป็นต้องหาความรู้ และสังเกตว่า เป็นสถานประกอบการที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ผู้ประกอบการ มีใบอนุญาตประกอบการหรือไม่ ไม่ควรเสี่ยงรักษาเพราะคิดว่าราคาถูก เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ ส่วนการปราบปรามตามจับสถานประกอบการหรือแพทย์เถื่อน เป็นสิ่งที่กระทรวงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่สามารถปราบปรามได้ทั้งหมด ฉะนั้นประชาชนที่มีข้อมูลหรือทราบว่าที่ใดมีการเปิดสถานพยาบาลเถื่อน ขอให้แจ้งให้ทางการทราบเพื่อหาทางป้องกันต่อไป
ด้าน นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า ขณะนี้ต้องตรวจสอบสารที่ใช้ฉีดเข้าไปในร่างกายของผู้เสียชีวิต เพราะสารที่จะนำมาใช้นั้น มีอยู่หลายประเภทขึ้นอยู่กับผู้ฉีดจะใช้สารตัวใด แต่หากเป็นแพทย์ก็จะมีความรู้และทราบว่าสารชนิดใดฉีดได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นสารที่ถูกต้องแต่กระบวนการฉีดไม่ถูกต้อง หรือไม่ได้รับการฆ่าเชื้อที่ถูกวิธี หรือ กระทำโดยผู้ที่ไม่มีความรู้ ก็สามารถทำให้เกิดอันตรายได้ เช่น หากฉีดโดนกระแสเลือดโดยตรงก็สามารถทำให้เสียชีวิตได้ทันที หรือ หากเปิดปากแผลเร็วเกิดไป ก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อตนเสียชีวิตได้ หรือ หากเข็มที่ฉีดโดยอวัยวะภายในทำให้เลือดออกข้างในก็เกิดโอกาสติดเชื้อและลุกลามจนเสียชีวิตได้เช่นกัน
นพ.สมยศ กล่าวว่า สำหรับโทษของผู้ที่ลักลอบเปิดสถานบริการทางการแพทย์ หากตรวจสอบพบว่า ไม่มีการขออนุญาตเปิดสถานบริการ จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับ ไม่เกิน 6 หมื่นบาท และหากผู้ประกอบการไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแพทย์ จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท เนื่องจากการรักษาพยาบาลหรือการศัลยกรรมเสริมความงามนั้น ผู้กระทำจำเป็นต้องทำโดยมีความรู้และมีมาตรฐานทางการแพทย์ ส่วนสถานพยาบาล ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ และมีการตรวจสอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้อง เพื่อให้สถานพยาบาลมีความพร้อมในการรักษาให้มีความปลอดภัยที่สุด