นับเป็นก้าวย่างที่เปี่ยมไปด้วยศักยภาพที่ทรงพลังของเด็กไทย หลังจากคว้าชัยการแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยโลกมาแล้วถึง 3 ปีซ้อน ทีมที่กรุยทางให้ฝันของหุ่นยนต์ไทยผงาดในเวทีโลก คือ รุ่นพี่จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งนั่นเป็นเครื่องพิสูจน์แล้วว่าฝีมือเด็กไทยไม่แพ้ชาติไหนในโลก

และในการแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยชิงแชมป์แห่งประเทศไทย ปี 2551 ทีม “iRAP_PRO” จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เดินตามหลังรุ่นพี่มาติดๆ ด้วยการคว้าชัยเหนือทีมเยือนที่น่ากลัวอย่างทีมที่หุ่นยนต์มีสมรรถนะเป็นเยี่ยมอย่างทีม MRL จากอิหร่าน และ NuTech-R จากญี่ปุ่น ได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และมีสิทธิ์ไปป้องกันแชมป์โลกสมัยที่ 4 ณ เมืองกราซ ประเทศออสเตรีย กลางปี 2552
** รู้จัก “iRAP_PRO”
เด็กปี 4 จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่งรวมตัวกันสร้างหุ่นยนต์มาแล้ว 4 ปีเต็ม หลายครั้งผิดพลาด มีไม่น้อยที่ล้มเหลว แต่รางวัลของรุ่นพี่จากสถาบันเดียวกันที่คว้ามาได้ ไม่ว่าระดับชาติหรือระดับโลกกลับยิ่งกระตุ้นเร้าให้พวกเขาอยากจะไปยืนในจุดนั้นบ้าง
และวันนั้นของพวกเขาก็เริ่มขึ้นเมื่อการแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยชิงแชมป์ประเทศไทย รอบคัดเลือก พวกเขาสามารถฝ่าด่านอรหันต์เข้ามาเป็น 8 ทีมสุดท้ายได้สำเร็จ โดยจะต้องประลองฝีมือกับเพื่อนสถาบันเดียวกันอีก 3 ทีม และเพื่อนต่างสถาบันอีก 5 ทีม และในความพิเศษที่ท้าทายมากขึ้น ก็คือ พวกเขาต้องเจอศึกหนัก เพราะต้องเจอรองแชมป์โลกจากประเทศอิหร่านและต้นตำรับหุ่นยนต์ ซึ่งมาร่วมแข่งขันกับหุ่นยนต์ไทยเป็นครั้งแรกรวมแล้ว 3 ทีม
แต่ยิ่งท้าทายยิ่งต้องรอบคอบ...ความถี่ถ้วนของพวกเขาก็ไม่ทำให้แฟนๆ หุ่นยนต์ผิดหวัง

อาทิตย์ ตระกูลธงชัย หรือ บิ๊ก อายุ 22 ปี นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมการผลิต รองหัวหน้าทีม บอกด้วยน้ำเสียงตื่นเต้นหลังรู้ผลการแข่งขัน ว่า “iRAP_PRO” เป็นตัวแทนทีมไทยไปแข่งหุ่นยนต์กู้ภัยโลก ว่า พวกเขารอเวลานี้มา 4 ปีเต็มแล้ว และก่อนจะจบการศึกษาจากรั้ว มจพ.นี่คือ ของขวัญที่พวกเขาจะมอบให้ตัวเอง ครอบครัว และสถานศึกษาที่ประสาทวิชาให้แห่งนี้
“เราเห็นรุ่นพี่ทำสำเร็จมาหลายปี ทีมผมก็พยายามด้วยกันมาพลาดบ่อยครั้ง แต่วันนี้เราก็ทำสำเร็จ และคิดว่าสิ่งที่ทำให้พวกเราทำได้ผลงานที่ดีครั้งนี้ เพราะความสามัคคีของเพื่อนในทีม ความละเอียดรอบคอบ ไม่มองข้ามรายละเอียดเล็กน้อยของหุ่น ซ้อมกับหุ่นค่อนข้างบ่อยและแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน” อาทิตย์ บอก
ด้านคฑาวุฒิ อุชชิน หรือ โฟม อายุ 21 ปี หัวหน้าทีมและผู้บังคับหุ่นยนต์ในห้องควบคุม บอกว่า การออกแบบหุ่นยนต์ได้ทำตามหลักวิศวกรรมทุกขั้นตอนการออกแบบ จึงถือว่าไม่มีปัญหา แต่สิ่งที่ต้องทำต่อไปหลังจากได้แชมป์ประเทศไทยก็คือ การพัฒนาศักยภาพของหุ่นยนต์ให้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากปีนี้ได้เห็นจุดเด่นของทีมจากประเทศญี่ปุ่นและอิหร่าน บวกกับสนามแข่งขันที่หฤโหดกว่าทุกปีทำให้เห็นว่ามีจุดใดที่หุ่นยนต์กู้ภัยสัญชาติไทยจาก พระนครเหนือจะได้รับการพัฒนา
“จากที่เห็นเพื่อนจากต่างชาติมาร่วมแข่งก็ทำให้เราเห็นว่าหุ่นยนต์ไทยต้องพัฒนาให้เทียบเท่าเขา เราอาจจะคิดว่าทำได้ดีแล้ว พัฒนาได้เต็มที่แล้ว แต่เมื่อเห็นความเปลี่ยนแปลงของต่างชาติก็ทำให้เห็นว่าเราหยุดพัฒนาตัวเองไม่ได้” โฟม บอก
เมื่อถามถึงความรู้สึกที่ต้องไปรักษาแชมป์โลกสมัยที่ 4 ในนามตัวแทนประเทศไทย เด็กหนุ่มยิ้มน้อยๆ และบอกว่า ไม่ได้รู้สึกกดดัน แต่จะทำให้ดีที่สุดในเวลาการเตรียมตัวที่เหลืออยู่

** เด็กไทยในทีม “เทศ” มองอย่างไร
โกสน เสาน้อย หรือ เอก อายุ 26 ปี นักศึกษาปริญญาโท ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งนากาโอกะ ประเทศญี่ปุ่น เขามาในนามทีม NuTech –R ตัวแทนประเทศญี่ปุ่น เข้าร่วมประลองกับน้องๆ ประเทศไทย ในมุมมองของเด็กไทยในอินเตอร์จะมองรุ่นน้องอย่าง “iRAP_PRO” ว่าอย่างไร?
“เด็กไทยไม่ได้เป็นรองใคร การแข่งขันและด้านเทคโนโลยี แต่จะเห็นว่าเราขาดวัตถุดิบ เรื่องจินตนาการเด็กไทยไม่น้อยหน้าใคร แต่เครื่องมือที่มีไม่สามารถรองรับจินตนาการของน้องๆ ได้ พวกเขาจึงต้องดัดแปลงให้ใกล้เคียง ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพบางอย่างลดลงไป ขณะที่ญี่ปุ่นเขาสามารถทำตามสเปกได้เลย” โกสน ให้ความเห็น
โกสน มองว่า หนทางในการป้องกันแชมป์หุ่นยนต์กู้ภัยโลกของเด็กไทยสมัยที่ 4 นั้น ไม่ยาก แต่ก็ถือว่าไม่ง่ายเสียทีเดียว อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องทำต่อไป คือ เตรียมตัวให้พร้อมและศึกษากติกาการแข่งขันให้แม่นยำ สำหรับศักยภาพของหุ่นยนต์นั้นถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แต่ยังต้องพัฒนาเนื่องจากยังมีจุดอ่อนอยู่ ซึ่งก็ต้องแก้ไขเป็นจุดๆ รักษามาตรฐานของตัวเองให้ได้ก่อนจะพัฒนาแบบก้าวกระโดด ซึ่งหากทำแบบหลังจะทำให้ศักยภาพของหุ่นยนต์ไทยดูด้อยลง

** หุ่นไทยบนถนนหุ่นยนต์โลก
ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) ในฐานะที่คลุกคลีอยู่กับวงการหุ่นยนต์มานาน มองว่า ศักยภาพของหุ่นยนต์ของเด็กไทยไม่น้อยหน้าต่างประเทศ หากแต่อุปกรณ์ เครื่องมือที่รองรับ และการนำไปใช้งานได้จริงและขาดอุตสาหกรรมมารองรับความสามารถนั้น ดังนั้น แชมป์โลกที่ได้มาจึงค่อยๆ เงียบหายไปตามสายลม
สำหรับการแข่งขันชิงแชมป์ประเทศไทยปี 2551 นี้ หุ่นยนต์อัตโนมัติของ “iRAP_PRO” สามารถเก็บคะแนนได้ดี ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่ทำให้นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้แชมป์บ่อยครั้ง เพราะมีการบริหารจัดการที่ดีกว่าทีมอื่นๆ มีการฝึกซ้อมและวางแผนการเล่นที่ดี
นั่นเพราะไทยใช้จุดอ่อนของตัวเองเป็นประโยชน์ กล่าวได้ว่า ด้วยเพราะขาดอุปกรณ์เด็กไทยจึงดิ้นรน หมั่นเพียร และเรียนรู้ดัดแปลงด้วยตัวเองทำให้ไม่มองข้ามรายละเอียดเล็กน้อยไป
“หุ่นยนต์ของทั้งสองชาติที่มาร่วมแข่ง เขาเป็นแชมป์ระดับประเทศเขาทั้งนั้น ถือว่าเด็กไทยเจองานหินก่อนชิงแชมป์โลกเสียอีก แต่ก็ถือเป็นการดีสำหรับเด็กเรา อย่างไรก็ตาม หากต่อไปทีมจากพระนครเหนือปีนี้สามารถคว้าแชมป์โลกสมัยที่ 4 มาได้ ก็อยากให้ผู้ใหญ่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องช่วยสนับสนุน ผลักดันให้เรื่องเทคโนโลยีเป็นเรื่องที่เด็กไทยสามารถต่อยอดได้”
เมื่อเรามีทรัพยากรบุคคลที่ดีอยู่แล้ว แต่ยังขาดโอกาส เส้นชัยแชมป์โลกที่รออยู่ และที่เคยผ่านมาแล้วอาจจะเป็นเพียงสิ่งท้าทายที่ผ่านมาและผ่านไปเท่านั้น หากผู้ใหญ่ทั้งหลายไม่ยอมผลักดันให้ความเก่งนั้นอยู่ยั้ง...คงทน
และในการแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยชิงแชมป์แห่งประเทศไทย ปี 2551 ทีม “iRAP_PRO” จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เดินตามหลังรุ่นพี่มาติดๆ ด้วยการคว้าชัยเหนือทีมเยือนที่น่ากลัวอย่างทีมที่หุ่นยนต์มีสมรรถนะเป็นเยี่ยมอย่างทีม MRL จากอิหร่าน และ NuTech-R จากญี่ปุ่น ได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และมีสิทธิ์ไปป้องกันแชมป์โลกสมัยที่ 4 ณ เมืองกราซ ประเทศออสเตรีย กลางปี 2552
** รู้จัก “iRAP_PRO”
เด็กปี 4 จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่งรวมตัวกันสร้างหุ่นยนต์มาแล้ว 4 ปีเต็ม หลายครั้งผิดพลาด มีไม่น้อยที่ล้มเหลว แต่รางวัลของรุ่นพี่จากสถาบันเดียวกันที่คว้ามาได้ ไม่ว่าระดับชาติหรือระดับโลกกลับยิ่งกระตุ้นเร้าให้พวกเขาอยากจะไปยืนในจุดนั้นบ้าง
และวันนั้นของพวกเขาก็เริ่มขึ้นเมื่อการแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยชิงแชมป์ประเทศไทย รอบคัดเลือก พวกเขาสามารถฝ่าด่านอรหันต์เข้ามาเป็น 8 ทีมสุดท้ายได้สำเร็จ โดยจะต้องประลองฝีมือกับเพื่อนสถาบันเดียวกันอีก 3 ทีม และเพื่อนต่างสถาบันอีก 5 ทีม และในความพิเศษที่ท้าทายมากขึ้น ก็คือ พวกเขาต้องเจอศึกหนัก เพราะต้องเจอรองแชมป์โลกจากประเทศอิหร่านและต้นตำรับหุ่นยนต์ ซึ่งมาร่วมแข่งขันกับหุ่นยนต์ไทยเป็นครั้งแรกรวมแล้ว 3 ทีม
แต่ยิ่งท้าทายยิ่งต้องรอบคอบ...ความถี่ถ้วนของพวกเขาก็ไม่ทำให้แฟนๆ หุ่นยนต์ผิดหวัง
อาทิตย์ ตระกูลธงชัย หรือ บิ๊ก อายุ 22 ปี นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมการผลิต รองหัวหน้าทีม บอกด้วยน้ำเสียงตื่นเต้นหลังรู้ผลการแข่งขัน ว่า “iRAP_PRO” เป็นตัวแทนทีมไทยไปแข่งหุ่นยนต์กู้ภัยโลก ว่า พวกเขารอเวลานี้มา 4 ปีเต็มแล้ว และก่อนจะจบการศึกษาจากรั้ว มจพ.นี่คือ ของขวัญที่พวกเขาจะมอบให้ตัวเอง ครอบครัว และสถานศึกษาที่ประสาทวิชาให้แห่งนี้
“เราเห็นรุ่นพี่ทำสำเร็จมาหลายปี ทีมผมก็พยายามด้วยกันมาพลาดบ่อยครั้ง แต่วันนี้เราก็ทำสำเร็จ และคิดว่าสิ่งที่ทำให้พวกเราทำได้ผลงานที่ดีครั้งนี้ เพราะความสามัคคีของเพื่อนในทีม ความละเอียดรอบคอบ ไม่มองข้ามรายละเอียดเล็กน้อยของหุ่น ซ้อมกับหุ่นค่อนข้างบ่อยและแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน” อาทิตย์ บอก
ด้านคฑาวุฒิ อุชชิน หรือ โฟม อายุ 21 ปี หัวหน้าทีมและผู้บังคับหุ่นยนต์ในห้องควบคุม บอกว่า การออกแบบหุ่นยนต์ได้ทำตามหลักวิศวกรรมทุกขั้นตอนการออกแบบ จึงถือว่าไม่มีปัญหา แต่สิ่งที่ต้องทำต่อไปหลังจากได้แชมป์ประเทศไทยก็คือ การพัฒนาศักยภาพของหุ่นยนต์ให้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากปีนี้ได้เห็นจุดเด่นของทีมจากประเทศญี่ปุ่นและอิหร่าน บวกกับสนามแข่งขันที่หฤโหดกว่าทุกปีทำให้เห็นว่ามีจุดใดที่หุ่นยนต์กู้ภัยสัญชาติไทยจาก พระนครเหนือจะได้รับการพัฒนา
“จากที่เห็นเพื่อนจากต่างชาติมาร่วมแข่งก็ทำให้เราเห็นว่าหุ่นยนต์ไทยต้องพัฒนาให้เทียบเท่าเขา เราอาจจะคิดว่าทำได้ดีแล้ว พัฒนาได้เต็มที่แล้ว แต่เมื่อเห็นความเปลี่ยนแปลงของต่างชาติก็ทำให้เห็นว่าเราหยุดพัฒนาตัวเองไม่ได้” โฟม บอก
เมื่อถามถึงความรู้สึกที่ต้องไปรักษาแชมป์โลกสมัยที่ 4 ในนามตัวแทนประเทศไทย เด็กหนุ่มยิ้มน้อยๆ และบอกว่า ไม่ได้รู้สึกกดดัน แต่จะทำให้ดีที่สุดในเวลาการเตรียมตัวที่เหลืออยู่
** เด็กไทยในทีม “เทศ” มองอย่างไร
โกสน เสาน้อย หรือ เอก อายุ 26 ปี นักศึกษาปริญญาโท ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งนากาโอกะ ประเทศญี่ปุ่น เขามาในนามทีม NuTech –R ตัวแทนประเทศญี่ปุ่น เข้าร่วมประลองกับน้องๆ ประเทศไทย ในมุมมองของเด็กไทยในอินเตอร์จะมองรุ่นน้องอย่าง “iRAP_PRO” ว่าอย่างไร?
“เด็กไทยไม่ได้เป็นรองใคร การแข่งขันและด้านเทคโนโลยี แต่จะเห็นว่าเราขาดวัตถุดิบ เรื่องจินตนาการเด็กไทยไม่น้อยหน้าใคร แต่เครื่องมือที่มีไม่สามารถรองรับจินตนาการของน้องๆ ได้ พวกเขาจึงต้องดัดแปลงให้ใกล้เคียง ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพบางอย่างลดลงไป ขณะที่ญี่ปุ่นเขาสามารถทำตามสเปกได้เลย” โกสน ให้ความเห็น
โกสน มองว่า หนทางในการป้องกันแชมป์หุ่นยนต์กู้ภัยโลกของเด็กไทยสมัยที่ 4 นั้น ไม่ยาก แต่ก็ถือว่าไม่ง่ายเสียทีเดียว อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องทำต่อไป คือ เตรียมตัวให้พร้อมและศึกษากติกาการแข่งขันให้แม่นยำ สำหรับศักยภาพของหุ่นยนต์นั้นถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แต่ยังต้องพัฒนาเนื่องจากยังมีจุดอ่อนอยู่ ซึ่งก็ต้องแก้ไขเป็นจุดๆ รักษามาตรฐานของตัวเองให้ได้ก่อนจะพัฒนาแบบก้าวกระโดด ซึ่งหากทำแบบหลังจะทำให้ศักยภาพของหุ่นยนต์ไทยดูด้อยลง
** หุ่นไทยบนถนนหุ่นยนต์โลก
ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) ในฐานะที่คลุกคลีอยู่กับวงการหุ่นยนต์มานาน มองว่า ศักยภาพของหุ่นยนต์ของเด็กไทยไม่น้อยหน้าต่างประเทศ หากแต่อุปกรณ์ เครื่องมือที่รองรับ และการนำไปใช้งานได้จริงและขาดอุตสาหกรรมมารองรับความสามารถนั้น ดังนั้น แชมป์โลกที่ได้มาจึงค่อยๆ เงียบหายไปตามสายลม
สำหรับการแข่งขันชิงแชมป์ประเทศไทยปี 2551 นี้ หุ่นยนต์อัตโนมัติของ “iRAP_PRO” สามารถเก็บคะแนนได้ดี ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่ทำให้นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้แชมป์บ่อยครั้ง เพราะมีการบริหารจัดการที่ดีกว่าทีมอื่นๆ มีการฝึกซ้อมและวางแผนการเล่นที่ดี
นั่นเพราะไทยใช้จุดอ่อนของตัวเองเป็นประโยชน์ กล่าวได้ว่า ด้วยเพราะขาดอุปกรณ์เด็กไทยจึงดิ้นรน หมั่นเพียร และเรียนรู้ดัดแปลงด้วยตัวเองทำให้ไม่มองข้ามรายละเอียดเล็กน้อยไป
“หุ่นยนต์ของทั้งสองชาติที่มาร่วมแข่ง เขาเป็นแชมป์ระดับประเทศเขาทั้งนั้น ถือว่าเด็กไทยเจองานหินก่อนชิงแชมป์โลกเสียอีก แต่ก็ถือเป็นการดีสำหรับเด็กเรา อย่างไรก็ตาม หากต่อไปทีมจากพระนครเหนือปีนี้สามารถคว้าแชมป์โลกสมัยที่ 4 มาได้ ก็อยากให้ผู้ใหญ่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องช่วยสนับสนุน ผลักดันให้เรื่องเทคโนโลยีเป็นเรื่องที่เด็กไทยสามารถต่อยอดได้”
เมื่อเรามีทรัพยากรบุคคลที่ดีอยู่แล้ว แต่ยังขาดโอกาส เส้นชัยแชมป์โลกที่รออยู่ และที่เคยผ่านมาแล้วอาจจะเป็นเพียงสิ่งท้าทายที่ผ่านมาและผ่านไปเท่านั้น หากผู้ใหญ่ทั้งหลายไม่ยอมผลักดันให้ความเก่งนั้นอยู่ยั้ง...คงทน