“เฉลียว” สั่ง อศจ.จับมือสถานศึกษาในจังหวัด กำหนดทิศทางการรับนักศึกษาปี 2552 พร้อมเปิดปริญญาตรีแน่ ย้ำนักศึกษาอยู่จังหวัดไหน ให้เรียนจังหวัดนั้น เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ยันไม่รื้อนโยบายอาชีวะ รอฟังนโยบายรัฐมนตรีคนใหม่ก่อน
นายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวถึงแนวทางการรับนักศึกษาเพื่อเรียนต่อในวิทยาลัยอาชีวศึกษาว่า มอบหมายให้สำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัด (อศจ.) หารือร่วมกับวิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยอาชีวศึกษา วิทยาลัยสารพัดช่าง ที่อยู่จังหวัดเดียวกัน ว่า จะมีวิธีการรับนักศึกษากันอย่างไร พร้อมกันนี้ ให้เชิญผู้ว่าราชการจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด แรงงานจังหวัด ประธานหอการค้า สภาอุตสาหกรรมจังหวัด และสถานประกอบการมาประชุมร่วมกันเพื่อหาข้อสรุปถึงแนวทางการผลิตนักศึกษาในอนาคตว่าจะเป็นไปในทิศทางใด
“ต้องมีการกำหนดวิชาเรียน สาขาวิชาละกี่คน ที่ต้องทำเช่นนี้เพราะอยากให้นักศึกษาเรียนจบออกมาแล้วมีงานทำทุกคน ที่สำคัญ นักศึกษาอาศัยอยู่จังหวัดไหนอยากให้ทำงานจังหวัดนั้น เพื่อลดค่าใช้จ่าย เช่น ไม่ใช่จบที่เชียงใหม่ แต่มาทำงานที่กรุงเทพฯ เขาจะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง ต้องเช่าบ้าน ค่าอาหาร และต้องจากอกพ่อแม่ หากได้ทำงานที่เชียงใหม่ ไม่ต้องเสียค่าเช่าบ้าน ได้อยู่กับพ่อแม่ ตรงนี้จะลดค่าใช้จ่าย อีกทั้งสร้างความอบอุ่นภายในครอบครัว”
ปีการศึกษา 2552 สถาบันอาชีวศึกษาจะเปิดการศึกษาถึงระดับปริญญาตรี ขอให้ อสจ.ร่วมกันคิดว่าจะเปิดระดับปริญญาตรีสาขาใดบ้าง แล้วประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาที่จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ที่สนใจเรียนต่อระดับปริญญาตรีต่อไป
นายเฉลียว กล่าวต่อว่า การเรียกเก็บเงินค่าเล่าเรียนนั้น ขอย้ำว่า การศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) นักศึกษาทุกคนเรียนฟรี ไม่มีการเรียกเก็บค่าเล่าเรียนแต่อย่างใด ตามนโยบายของรัฐบาล ส่วนระดับ ปวส.นั้น ให้วิทยาลัยแต่ละแห่งเรียกเก็บเงินได้ ตามระเบียบของสถานศึกษา แต่ปัจจุบันวิทยาลัยทุกแห่งจะได้รับเงินอุดหนุนรายหัวจากรัฐบาลอยู่แล้ว และขณะนี้ สอศ.ได้โอนเงินให้สถานศึกษาแล้วประมาณ 7 พันล้านบาท และเมื่อวิทยาลัยแต่ละแห่งได้รับเงินอุดหนุนรายหัวแล้ว สามารถนำไปใช้ซื้ออุปกรณ์การเรียนการสอนได้ตามความเหมาะสม
“สอศ.ไม่รื้อนโยบายและการดำเนินงานด้านอาชีวศึกษา เพราะไม่ทราบว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คนใหม่จะมีนโยบายด้านการศึกษาอาชีวะในทิศทางใด ส่วนตัวคิดว่าคงจะไม่ต่างไปจากเดิมมากนัก แต่อาจปรับปฏิบัติเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพคงต้องขอรับนโยบายจาก รมว.ศธ.คนใหม่ เสียก่อน”
นายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวถึงแนวทางการรับนักศึกษาเพื่อเรียนต่อในวิทยาลัยอาชีวศึกษาว่า มอบหมายให้สำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัด (อศจ.) หารือร่วมกับวิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยอาชีวศึกษา วิทยาลัยสารพัดช่าง ที่อยู่จังหวัดเดียวกัน ว่า จะมีวิธีการรับนักศึกษากันอย่างไร พร้อมกันนี้ ให้เชิญผู้ว่าราชการจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด แรงงานจังหวัด ประธานหอการค้า สภาอุตสาหกรรมจังหวัด และสถานประกอบการมาประชุมร่วมกันเพื่อหาข้อสรุปถึงแนวทางการผลิตนักศึกษาในอนาคตว่าจะเป็นไปในทิศทางใด
“ต้องมีการกำหนดวิชาเรียน สาขาวิชาละกี่คน ที่ต้องทำเช่นนี้เพราะอยากให้นักศึกษาเรียนจบออกมาแล้วมีงานทำทุกคน ที่สำคัญ นักศึกษาอาศัยอยู่จังหวัดไหนอยากให้ทำงานจังหวัดนั้น เพื่อลดค่าใช้จ่าย เช่น ไม่ใช่จบที่เชียงใหม่ แต่มาทำงานที่กรุงเทพฯ เขาจะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง ต้องเช่าบ้าน ค่าอาหาร และต้องจากอกพ่อแม่ หากได้ทำงานที่เชียงใหม่ ไม่ต้องเสียค่าเช่าบ้าน ได้อยู่กับพ่อแม่ ตรงนี้จะลดค่าใช้จ่าย อีกทั้งสร้างความอบอุ่นภายในครอบครัว”
ปีการศึกษา 2552 สถาบันอาชีวศึกษาจะเปิดการศึกษาถึงระดับปริญญาตรี ขอให้ อสจ.ร่วมกันคิดว่าจะเปิดระดับปริญญาตรีสาขาใดบ้าง แล้วประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาที่จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ที่สนใจเรียนต่อระดับปริญญาตรีต่อไป
นายเฉลียว กล่าวต่อว่า การเรียกเก็บเงินค่าเล่าเรียนนั้น ขอย้ำว่า การศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) นักศึกษาทุกคนเรียนฟรี ไม่มีการเรียกเก็บค่าเล่าเรียนแต่อย่างใด ตามนโยบายของรัฐบาล ส่วนระดับ ปวส.นั้น ให้วิทยาลัยแต่ละแห่งเรียกเก็บเงินได้ ตามระเบียบของสถานศึกษา แต่ปัจจุบันวิทยาลัยทุกแห่งจะได้รับเงินอุดหนุนรายหัวจากรัฐบาลอยู่แล้ว และขณะนี้ สอศ.ได้โอนเงินให้สถานศึกษาแล้วประมาณ 7 พันล้านบาท และเมื่อวิทยาลัยแต่ละแห่งได้รับเงินอุดหนุนรายหัวแล้ว สามารถนำไปใช้ซื้ออุปกรณ์การเรียนการสอนได้ตามความเหมาะสม
“สอศ.ไม่รื้อนโยบายและการดำเนินงานด้านอาชีวศึกษา เพราะไม่ทราบว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คนใหม่จะมีนโยบายด้านการศึกษาอาชีวะในทิศทางใด ส่วนตัวคิดว่าคงจะไม่ต่างไปจากเดิมมากนัก แต่อาจปรับปฏิบัติเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพคงต้องขอรับนโยบายจาก รมว.ศธ.คนใหม่ เสียก่อน”