สธ.ชี้หญิงไทยวัย 35 ปีขึ้นไป กว่า 8 ล้านคน เสี่ยงมะเร็งปากมดลูกเพราะอายหมอ ไม่กล้าไปตรวจ รณรงค์ตรวจแป็ปสเมียร์ฟรีทั่วประเทศ พร้อมจี้อย.เร่งแก้ชื่อวัคซีนใหม่ จากวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกเป็นวัคซีนป้องกันเชื้อเอชพีวี แก้ไขเข้าใจผิด
วันนี้(9 ธ.ค.) ที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิร์ล กทม. นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดงานวันต่อต้านโรคมะเร็งแห่งชาติ ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี โดยในปีนี้กำหนดคำขวัญการรณรงค์ ว่า “ตรวจแป๊ปสเมียร์ไม่น่ากลัว ไม่น่าอาย ไม่ตายจากมะเร็งปากมดลูก” (Have no fear, Take a Pap smear) เพื่อสร้างกระแสให้หญิงไทยตระหนักถึงอันตรายของโรคมะเร็งปากมดลูก ซึ่งพบมากเป็นอันดับหนึ่งในผู้หญิง แต่รักษาให้หายขาดได้หากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม
นพ.ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ ผู้อำนวยการสถานบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวว่า ขณะนี้โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุที่ทำให้หญิงไทยเสียชีวิตมากเป็นอันดับ 1 ปีละกว่า 3,000 ราย โดยในปี 2551 คาดว่าจะมีผู้หญิงป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูกรายใหม่เพิ่มขึ้นถึง 8,000 ราย ส่วนใหญ่ 90% พบมากในช่วงอายุ 35-50 ปี โดยที่ประมาณ 80% จะเสียชีวิตเพราะโรคลุกลาม ทั้งๆ ที่มะเร็งชนิดนี้สามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ ถ้าตรวจพบและได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะที่เซลล์มะเร็งยังไม่ลุกลาม
“ปัจจุบันประเทศไทยมีหญิงอายุ 35 ปีขึ้นไป มีประมาณ 10 ล้านคน แต่มีหญิงที่ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพียง 25% หรือประมาณ 2 ล้านคน ซึ่งถือว่าต่ำกว่าเป้าหมาย โดยสธ.ตั้งเป้าใน 5 ปี คัดกรองเพิ่มเป็น 80% ของหญิงวัย 35-60 ปี ซึ่งจากผลการวิจัยยืนยันว่าหากสามารถตรวจหามะเร็งปากมดลูกให้ครอบคลุม 80% ของหญิงไทยทุกปี จะลดอัตราการตายจากมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 61% และภายใน 5 ปี คาดว่าจะลดอัตราการเกิดมะเร็งปากมดลูกลงได้ 50%”นพ.ธีรวุฒิ กล่าว
นพ.ธีรวุฒิ กล่าวต่อว่า สาเหตุที่หญิงไทยประมาณ 8 ล้าน ไม่ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เพราะไม่กล้าและอายหมอ ทำให้ไม่มีโอกาสรู้ล่วงหน้าว่าเกิดความผิดปกติที่ปากมดลูก เนื่องจากโรคมะเร็งปากมดลูกใช้เวลาก่อตัวนาน 5-10 ปี โดยไม่มีอาการเจ็บปวดแต่อย่างใด หรือส่งสัญญาณผิดปกติ แต่หากอยู่ในระยะลุกลามโดยจะมีอาการตกขาวมีกลิ่น มีเลือดออกทางช่องคลอด หรือตกขาวมีลักษณะคล้ายน้ำคาวปลา หากเป็นมากอาจถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด หรือปัสสาวะลำบาก ซึ่งอาจต้องเสียเงินค่ารักษาซึ่งอย่างต่ำรายละประมาณ 20,000 บาท โดยไม่ได้อะไร เพราะไม่สามารถรักษาหายขาดและต้องเสียชีวิตในที่สุด
“ส่วนการป้องกันมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีการฉีดวัคซีนนั้น สามารถป้องกันได้เพียง 70% ดังนั้นก่อนตัดสินใจฉีดวัคซีนควรได้รับคำปรึกษาให้เข้าใจก่อน เนื่องจากคนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจผิดว่าวัคซีนป้องกันเชื้อเอชพีวี สามารถป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกได้ โดยได้ประสานสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ให้มีการแก้ไขเปลี่ยนชื่อวัคซีนใหม่ เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด นอกจากนี้ได้ทำหนังสือไปยังหน่วยงานต่างๆ เกี่ยวกับข้อเท็จจริงของวัคซีนป้องกันเชื้อเอชไอวี ซึ่งวัคซีนชนิดนี้ในทางป้องกันถือว่าไม่คุ้มค่า หากจะนำวัคซีนดังกล่าวเข้าบรรจุในบัญชีวัคซีนหลักแห่งชาติ เนื่องจากมีราคาแพงและไม่สามารถป้องกันได้ 100% อีกทั้งวิธีการตรวจแป็ปสเมียร์ (Pap smear) ซึ่งมีราคาไม่แพงแต่มีประสิทธิภาพดีกว่าในการป้องกันโรค”นพ.ธีรวุฒิกล่าว
นพ.ธีรวุฒิ กล่าวด้วยว่า ในการรณรงค์การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เชิงรุกสถานบริการทุกจังหวัดทั่วปะเทศร่วมกันรณรงค์ให้หญิงไทยอายุ 35 ปีขึ้นไป เข้ารับบริการตรวจเซลล์ปากมดลูกฟรี ด้วยวิธี แป็ปสเมียร์โดยใช้เวลาไม่ถึง 2 นาที และรู้ผลตรวจภายใน15 วัน ซึ่งผู้หญิงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ทั้งที่แต่งงานแล้วและยังโสด ควรตรวจทุกปี หรืออย่างน้อย 5 ปี/ครั้ง ทั้งนี้ ในปี 2551 สธ.ได้จัดรณรงค์ตรวจมะเร็งปากมดลูกเฉลิมพระเกียรติ 116 วันแม่ถึงวันพ่อ มีผู้รับการตรวจทั้งหมด 82,705 ราย พบความผิดปกติ 175 ราย ได้ส่งตัวรักษาทันที
วันนี้(9 ธ.ค.) ที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิร์ล กทม. นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดงานวันต่อต้านโรคมะเร็งแห่งชาติ ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี โดยในปีนี้กำหนดคำขวัญการรณรงค์ ว่า “ตรวจแป๊ปสเมียร์ไม่น่ากลัว ไม่น่าอาย ไม่ตายจากมะเร็งปากมดลูก” (Have no fear, Take a Pap smear) เพื่อสร้างกระแสให้หญิงไทยตระหนักถึงอันตรายของโรคมะเร็งปากมดลูก ซึ่งพบมากเป็นอันดับหนึ่งในผู้หญิง แต่รักษาให้หายขาดได้หากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม
นพ.ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ ผู้อำนวยการสถานบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวว่า ขณะนี้โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุที่ทำให้หญิงไทยเสียชีวิตมากเป็นอันดับ 1 ปีละกว่า 3,000 ราย โดยในปี 2551 คาดว่าจะมีผู้หญิงป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูกรายใหม่เพิ่มขึ้นถึง 8,000 ราย ส่วนใหญ่ 90% พบมากในช่วงอายุ 35-50 ปี โดยที่ประมาณ 80% จะเสียชีวิตเพราะโรคลุกลาม ทั้งๆ ที่มะเร็งชนิดนี้สามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ ถ้าตรวจพบและได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะที่เซลล์มะเร็งยังไม่ลุกลาม
“ปัจจุบันประเทศไทยมีหญิงอายุ 35 ปีขึ้นไป มีประมาณ 10 ล้านคน แต่มีหญิงที่ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพียง 25% หรือประมาณ 2 ล้านคน ซึ่งถือว่าต่ำกว่าเป้าหมาย โดยสธ.ตั้งเป้าใน 5 ปี คัดกรองเพิ่มเป็น 80% ของหญิงวัย 35-60 ปี ซึ่งจากผลการวิจัยยืนยันว่าหากสามารถตรวจหามะเร็งปากมดลูกให้ครอบคลุม 80% ของหญิงไทยทุกปี จะลดอัตราการตายจากมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 61% และภายใน 5 ปี คาดว่าจะลดอัตราการเกิดมะเร็งปากมดลูกลงได้ 50%”นพ.ธีรวุฒิ กล่าว
นพ.ธีรวุฒิ กล่าวต่อว่า สาเหตุที่หญิงไทยประมาณ 8 ล้าน ไม่ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เพราะไม่กล้าและอายหมอ ทำให้ไม่มีโอกาสรู้ล่วงหน้าว่าเกิดความผิดปกติที่ปากมดลูก เนื่องจากโรคมะเร็งปากมดลูกใช้เวลาก่อตัวนาน 5-10 ปี โดยไม่มีอาการเจ็บปวดแต่อย่างใด หรือส่งสัญญาณผิดปกติ แต่หากอยู่ในระยะลุกลามโดยจะมีอาการตกขาวมีกลิ่น มีเลือดออกทางช่องคลอด หรือตกขาวมีลักษณะคล้ายน้ำคาวปลา หากเป็นมากอาจถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด หรือปัสสาวะลำบาก ซึ่งอาจต้องเสียเงินค่ารักษาซึ่งอย่างต่ำรายละประมาณ 20,000 บาท โดยไม่ได้อะไร เพราะไม่สามารถรักษาหายขาดและต้องเสียชีวิตในที่สุด
“ส่วนการป้องกันมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีการฉีดวัคซีนนั้น สามารถป้องกันได้เพียง 70% ดังนั้นก่อนตัดสินใจฉีดวัคซีนควรได้รับคำปรึกษาให้เข้าใจก่อน เนื่องจากคนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจผิดว่าวัคซีนป้องกันเชื้อเอชพีวี สามารถป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกได้ โดยได้ประสานสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ให้มีการแก้ไขเปลี่ยนชื่อวัคซีนใหม่ เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด นอกจากนี้ได้ทำหนังสือไปยังหน่วยงานต่างๆ เกี่ยวกับข้อเท็จจริงของวัคซีนป้องกันเชื้อเอชไอวี ซึ่งวัคซีนชนิดนี้ในทางป้องกันถือว่าไม่คุ้มค่า หากจะนำวัคซีนดังกล่าวเข้าบรรจุในบัญชีวัคซีนหลักแห่งชาติ เนื่องจากมีราคาแพงและไม่สามารถป้องกันได้ 100% อีกทั้งวิธีการตรวจแป็ปสเมียร์ (Pap smear) ซึ่งมีราคาไม่แพงแต่มีประสิทธิภาพดีกว่าในการป้องกันโรค”นพ.ธีรวุฒิกล่าว
นพ.ธีรวุฒิ กล่าวด้วยว่า ในการรณรงค์การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เชิงรุกสถานบริการทุกจังหวัดทั่วปะเทศร่วมกันรณรงค์ให้หญิงไทยอายุ 35 ปีขึ้นไป เข้ารับบริการตรวจเซลล์ปากมดลูกฟรี ด้วยวิธี แป็ปสเมียร์โดยใช้เวลาไม่ถึง 2 นาที และรู้ผลตรวจภายใน15 วัน ซึ่งผู้หญิงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ทั้งที่แต่งงานแล้วและยังโสด ควรตรวจทุกปี หรืออย่างน้อย 5 ปี/ครั้ง ทั้งนี้ ในปี 2551 สธ.ได้จัดรณรงค์ตรวจมะเร็งปากมดลูกเฉลิมพระเกียรติ 116 วันแม่ถึงวันพ่อ มีผู้รับการตรวจทั้งหมด 82,705 ราย พบความผิดปกติ 175 ราย ได้ส่งตัวรักษาทันที