“ในหลวง” พระราชทานทุนการศึกษา ด.ญ.อรอุทัย นักเรียนชั้น ม.1 วิทยาลัยนาฏศิลป จนจบปริญญาตรี หลังบิดาถูกโจรใต้ทำร้ายเสียชีวิต ด้าน “อรอุทัย” สัญญาว่าจะตั้งใจเรียนแล้วสืบสานอนุรักษ์วัฒนธรรมตามที่ตั้งใจไว้
วันนี้ (9 ธ.ค.) นายชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบทุนการศึกษาเยียวยาต่อเนื่องแก่ ด.ญ.อรอุทัย นิลนาม นักเรียนชั้น ม.1 วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จ.นครปฐม จำนวน 6,000 บาท หากเรียนชั้นมัธยมปลายจะได้รับ 8,000 บาท สำหรับปริญญาตรีจะได้รับ 10,000 บาท
นายชินภัทร กล่าวว่า ตามหนังสือสำนักเลขาธิการรัฐมนตรี ที่ นร 0508/6138 ลงวันที่ 18 กันยายน แจ้งว่า ขอให้พิจารณาหาหนทางคลี่คลายปัญหา ของ ด.ญ.อรอุทัย ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ จ.ยะลา ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา ความว่า กำลังศึกษาอยู่ชั้น ม.1 วิทยาลัยนาฏศิลป เป็นบุตรของ นายอุทัย นิลนาม พนักงานขับรถยนต์ของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ บิดาเสียชีวิตเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2550 และทางครอบครัวมีภาระเงินกู้ยืมเพื่อปลูกสร้างบ้านกับสหกรณ์ออมทรัพย์ครูยะลา จำกัด และธนาคารออมสิน ปัจจุบัน นางดวงแก้ว นิลนาม เป็นผู้หาเลี้ยงครอบครัว เกรงว่ามารดาจะไม่สามารถรับภาระค่าผ่อนบ้านและค่าเล่าเรียนได้
ทั้งนี้ สำนักอำนวยการ สป.ได้สอบข้อมูลไปที่นางดวงแก้ว เป็นลูกจ้างสหกรณ์ออมทรัพย์ครูยะลา มีรายได้เดือนละ 19,170 บาท เป็นหนี้สหกรณ์อยู่ 134,573 บาท โดยจะต้องผ่อนชำระเดือนละ 3,500 บาท ซึ่งเดิมกู้เงินจากธนาคารออมสิน 350,000 บาท และสหกรณ์ 600,000 บาท เพื่อซื้อที่ดินและปลูกสร้างบ้าน เมื่อได้รับเงินบำเหน็จของนายอุทัย จึงนำไปชำระหนี้ทั้งหมด แต่ยังเหลือหนี้ที่กู้ไว้อีกแสนกว่าบาท
ด.ญ.อรอุทัย เล่าว่า ตนดูรายการโทรทัศน์ช่องหนึ่งพูดถึงการเขียนจดหมายถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อขอทุนการศึกษา จึงตัดสินใจเขียนจดหมายเพื่อขอพระราชทานความช่วยเหลือ โดยเล่าเรื่องราวภายในครอบครัวและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า คุณพ่อกับคุณแม่ทำงานเป็นลูกจ้างสหกรณ์ออมทรัพย์ครูยะลา ได้ซื้อที่ดินและสร้างบ้านหลังนี้โดยกู้เงินจากสหกรณ์ กับธนาคารออมสิน ก็ผ่อนชำระตามปกติ พอเกิดเหตุการณ์ยิงและเผาผู้อำนวยการและครูโรงเรียนบ้านบาโด ยิงและเผานักศึกษาหญิง มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ซึ่งเหตุการณ์นั้นอยู่ไม่ไกลจากบ้านพักของหนู อย่างไรก็ตาม ครอบครัวของหนูได้รับความกรุณาจากท่านผู้มีพระคุณท่านหนึ่งให้พักอาศัยในสำนักงานรับส่งสินค้าในตัวเมือง เพื่อความปลอดภัย แต่พ่อเป็นห่วงบ้าน พืชผัก สัตว์เลี้ยง ก็ไปดูแลเป็นครั้งคราว จนวันที่ 6 สิงหาคม 2550 พ่อถูกทำร้ายจนเสียชีวิต
“กว่า 1 ปีที่พ่อเสียชีวิต เงินบำเหน็จของพ่อส่วนหนึ่งต้องตัดแบ่งให้ปู่ ย่า ส่วนที่เป็นของหนูกับแม่ ได้นำไปชำระหนี้ค่าบ้าน แต่ชำระยังไม่หมด ขณะนี้แม่ต้องผ่อนเดือนละ 3,500 บาท และบ้านก็อยู่ไม่ได้ จะขายก็ไม่มีใครซื้อ แล้วแม่ต้องส่งเสียให้หนูเรียนวิทยาลัยนาฏศิลป ขณะนี้แม่เครียดมากจนป่วยต้องเข้าโรงพยาบาล หากแม่เป็นอะไรไปอีกคน หนูคงไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือ ความตั้งใจของหนูวางแผนว่าอนาคตจะเป็นครูนาฏศิลป์ เพื่อสืบสานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ให้คงคู่ชาติไทย”
ด.ญ.อรทัย กล่าวอีกว่า ปัจจุบันตนอาศัยอยู่กับเพื่อนของแม่ที่กรุงเทพฯ ในวันเสาร์-อาทิตย์ ส่วนวันปกติจะอยู่หอพักของโรงเรียนที่เมตตาให้พักโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
ด.ญ.อรทัย กล่าวว่า ช่วงที่เขียนจดหมายเพื่อขอพระราชทานความช่วยเหลือ กระทั่งแม่โทรศัพท์จากยะลา ว่า มีจดหมายจากสำนักราชเลขาฯ ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทราบเรื่องเดือดร้อน เมตตาพระราชทานทุนการศึกษาให้จนเรียนจบปริญญาตรี
“ความเมตตาของพระองค์ครั้งนี้ เหมือนเป็นแสงสว่างของหนูกับแม่ หนูขอสัญญาว่าจะตั้งใจเรียนแล้วนำความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยไปเผยแพร่ตามที่ได้ตั้งใจไว้”ด.ญ.อุทัย กล่าว
วันนี้ (9 ธ.ค.) นายชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบทุนการศึกษาเยียวยาต่อเนื่องแก่ ด.ญ.อรอุทัย นิลนาม นักเรียนชั้น ม.1 วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จ.นครปฐม จำนวน 6,000 บาท หากเรียนชั้นมัธยมปลายจะได้รับ 8,000 บาท สำหรับปริญญาตรีจะได้รับ 10,000 บาท
นายชินภัทร กล่าวว่า ตามหนังสือสำนักเลขาธิการรัฐมนตรี ที่ นร 0508/6138 ลงวันที่ 18 กันยายน แจ้งว่า ขอให้พิจารณาหาหนทางคลี่คลายปัญหา ของ ด.ญ.อรอุทัย ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ จ.ยะลา ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา ความว่า กำลังศึกษาอยู่ชั้น ม.1 วิทยาลัยนาฏศิลป เป็นบุตรของ นายอุทัย นิลนาม พนักงานขับรถยนต์ของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ บิดาเสียชีวิตเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2550 และทางครอบครัวมีภาระเงินกู้ยืมเพื่อปลูกสร้างบ้านกับสหกรณ์ออมทรัพย์ครูยะลา จำกัด และธนาคารออมสิน ปัจจุบัน นางดวงแก้ว นิลนาม เป็นผู้หาเลี้ยงครอบครัว เกรงว่ามารดาจะไม่สามารถรับภาระค่าผ่อนบ้านและค่าเล่าเรียนได้
ทั้งนี้ สำนักอำนวยการ สป.ได้สอบข้อมูลไปที่นางดวงแก้ว เป็นลูกจ้างสหกรณ์ออมทรัพย์ครูยะลา มีรายได้เดือนละ 19,170 บาท เป็นหนี้สหกรณ์อยู่ 134,573 บาท โดยจะต้องผ่อนชำระเดือนละ 3,500 บาท ซึ่งเดิมกู้เงินจากธนาคารออมสิน 350,000 บาท และสหกรณ์ 600,000 บาท เพื่อซื้อที่ดินและปลูกสร้างบ้าน เมื่อได้รับเงินบำเหน็จของนายอุทัย จึงนำไปชำระหนี้ทั้งหมด แต่ยังเหลือหนี้ที่กู้ไว้อีกแสนกว่าบาท
ด.ญ.อรอุทัย เล่าว่า ตนดูรายการโทรทัศน์ช่องหนึ่งพูดถึงการเขียนจดหมายถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อขอทุนการศึกษา จึงตัดสินใจเขียนจดหมายเพื่อขอพระราชทานความช่วยเหลือ โดยเล่าเรื่องราวภายในครอบครัวและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า คุณพ่อกับคุณแม่ทำงานเป็นลูกจ้างสหกรณ์ออมทรัพย์ครูยะลา ได้ซื้อที่ดินและสร้างบ้านหลังนี้โดยกู้เงินจากสหกรณ์ กับธนาคารออมสิน ก็ผ่อนชำระตามปกติ พอเกิดเหตุการณ์ยิงและเผาผู้อำนวยการและครูโรงเรียนบ้านบาโด ยิงและเผานักศึกษาหญิง มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ซึ่งเหตุการณ์นั้นอยู่ไม่ไกลจากบ้านพักของหนู อย่างไรก็ตาม ครอบครัวของหนูได้รับความกรุณาจากท่านผู้มีพระคุณท่านหนึ่งให้พักอาศัยในสำนักงานรับส่งสินค้าในตัวเมือง เพื่อความปลอดภัย แต่พ่อเป็นห่วงบ้าน พืชผัก สัตว์เลี้ยง ก็ไปดูแลเป็นครั้งคราว จนวันที่ 6 สิงหาคม 2550 พ่อถูกทำร้ายจนเสียชีวิต
“กว่า 1 ปีที่พ่อเสียชีวิต เงินบำเหน็จของพ่อส่วนหนึ่งต้องตัดแบ่งให้ปู่ ย่า ส่วนที่เป็นของหนูกับแม่ ได้นำไปชำระหนี้ค่าบ้าน แต่ชำระยังไม่หมด ขณะนี้แม่ต้องผ่อนเดือนละ 3,500 บาท และบ้านก็อยู่ไม่ได้ จะขายก็ไม่มีใครซื้อ แล้วแม่ต้องส่งเสียให้หนูเรียนวิทยาลัยนาฏศิลป ขณะนี้แม่เครียดมากจนป่วยต้องเข้าโรงพยาบาล หากแม่เป็นอะไรไปอีกคน หนูคงไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือ ความตั้งใจของหนูวางแผนว่าอนาคตจะเป็นครูนาฏศิลป์ เพื่อสืบสานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ให้คงคู่ชาติไทย”
ด.ญ.อรทัย กล่าวอีกว่า ปัจจุบันตนอาศัยอยู่กับเพื่อนของแม่ที่กรุงเทพฯ ในวันเสาร์-อาทิตย์ ส่วนวันปกติจะอยู่หอพักของโรงเรียนที่เมตตาให้พักโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
ด.ญ.อรทัย กล่าวว่า ช่วงที่เขียนจดหมายเพื่อขอพระราชทานความช่วยเหลือ กระทั่งแม่โทรศัพท์จากยะลา ว่า มีจดหมายจากสำนักราชเลขาฯ ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทราบเรื่องเดือดร้อน เมตตาพระราชทานทุนการศึกษาให้จนเรียนจบปริญญาตรี
“ความเมตตาของพระองค์ครั้งนี้ เหมือนเป็นแสงสว่างของหนูกับแม่ หนูขอสัญญาว่าจะตั้งใจเรียนแล้วนำความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยไปเผยแพร่ตามที่ได้ตั้งใจไว้”ด.ญ.อุทัย กล่าว