“ธงทอง” เผย รายงานสมรรถนะการศึกษานานาชาติปี 50 มาเลเซียเหนือกว่าไทยทุกด้าน ขณะที่ผลประเมินผู้เรียนด้านวิทย์-คณิต ก็ดีกว่าไทย ทั้งที่ครูมาเลย์ จบ ป.ตรี น้อยมาก แนะดูวิธีพัฒนาครูของเพื่อนบ้านที่เพิ่มค่าตอบแทนดึงคนเก่งเข้าสู่วิชาชีพ มีแผนดำเนินงาน และเป้าหมายการศึกษาระยะยาวชัดเจน รัฐหนุนงบเต็มที่
รศ.ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า ระหว่างวันที่ 17-20 พ.ย.2551 ประเทศมาเลเซีย และ ประเทศไทย โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) จัดประชุมทางวิชาการด้านการศึกษาร่วมกัน ที่เมืองสุบังจายา รัฐเซลังงอร์ ประเทศมาเลเซีย เพื่อแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษาของไทยเป็นอย่างยิ่ง เพราะประเทศมาเลเซียมีการพัฒนาการศึกษาที่รวดเร็วมากในรอบทศวรรษที่ผ่านมา และจากการประเมินผลความสามารถของผู้เรียนด้านวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์(TIMSS)ในปี พ.ศ.2542 พบว่า ประเทศมาเลเซียมีผลประเมินสูงกว่าประเทศไทยทั้ง 2 วิชา และจาก รายงานสมรรถนะการศึกษานานาชาติ พ.ศ.2550 พบว่า ความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติของประเทศมาเลเซีย เหนือกว่าประเทศไทยทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการศึกษา โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี และโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
“เป็นโอกาสดีที่ไทยจะได้ศึกษาเรียนรู้วิธีการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ของมาเลเซีย ซึ่งมีการจัดหลักสูตรการสอนทั้ง 2 วิชาเป็นภาษาอังกฤษ นำไปสู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียนและครูผู้สอนมีการพัฒนาทักษะการสอนและทักษะทางด้านภาษาต่างประเทศอย่างเห็นได้ชัด เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการสอนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เพื่อแข่งขันกับประเทศอื่นได้” รศ.ธงทอง กล่าว
เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวอีกว่า ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มาเลเซียประสบความสำเร็จในการพัฒนาการเรียนการสอน คือ การพัฒนาครูอย่างจริงจัง โดยใช้วิธีเพิ่มค่าตอบแทนให้สูงขึ้น เพื่อจูงใจให้คนเก่งเข้าสู่วิชาชีพครู ทั้งๆ ที่สภาพการอาชีพครูของมาเลเซียในปัจจุบันนั้น เปรียบเสมือนไทยเมื่อประมาณ 10-15 ปีก่อน ครูส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาไม่ถึงระดับปริญญาตรี แต่เขาสร้างแรงจูงใจให้คนเก่งเข้ามาเป็นครูรุ่นใหม่ พร้อมกับการพัฒนาศักยภาพครูเก่าให้มีคุณภาพมากขึ้น ทำให้คุณภาพการเรียนการสอนของเขาดีขึ้น ที่สำคัญ เมื่อรัฐบาลของเขาประกาศนโยบายเรื่องใดก็ตาม จะมีแผนดำเนินงานและเป้าหมายระยะยาว 5-10 ปีอย่างชัดเจน และนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง อีกทั้งมีการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนนโยบายด้านนั้นๆ โดยเฉพาะ รวมทั้งระดมทรัพยากรจากภาครัฐและภาคเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอย่างเต็มที่
รศ.ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า ระหว่างวันที่ 17-20 พ.ย.2551 ประเทศมาเลเซีย และ ประเทศไทย โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) จัดประชุมทางวิชาการด้านการศึกษาร่วมกัน ที่เมืองสุบังจายา รัฐเซลังงอร์ ประเทศมาเลเซีย เพื่อแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษาของไทยเป็นอย่างยิ่ง เพราะประเทศมาเลเซียมีการพัฒนาการศึกษาที่รวดเร็วมากในรอบทศวรรษที่ผ่านมา และจากการประเมินผลความสามารถของผู้เรียนด้านวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์(TIMSS)ในปี พ.ศ.2542 พบว่า ประเทศมาเลเซียมีผลประเมินสูงกว่าประเทศไทยทั้ง 2 วิชา และจาก รายงานสมรรถนะการศึกษานานาชาติ พ.ศ.2550 พบว่า ความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติของประเทศมาเลเซีย เหนือกว่าประเทศไทยทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการศึกษา โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี และโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
“เป็นโอกาสดีที่ไทยจะได้ศึกษาเรียนรู้วิธีการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ของมาเลเซีย ซึ่งมีการจัดหลักสูตรการสอนทั้ง 2 วิชาเป็นภาษาอังกฤษ นำไปสู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียนและครูผู้สอนมีการพัฒนาทักษะการสอนและทักษะทางด้านภาษาต่างประเทศอย่างเห็นได้ชัด เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการสอนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เพื่อแข่งขันกับประเทศอื่นได้” รศ.ธงทอง กล่าว
เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวอีกว่า ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มาเลเซียประสบความสำเร็จในการพัฒนาการเรียนการสอน คือ การพัฒนาครูอย่างจริงจัง โดยใช้วิธีเพิ่มค่าตอบแทนให้สูงขึ้น เพื่อจูงใจให้คนเก่งเข้าสู่วิชาชีพครู ทั้งๆ ที่สภาพการอาชีพครูของมาเลเซียในปัจจุบันนั้น เปรียบเสมือนไทยเมื่อประมาณ 10-15 ปีก่อน ครูส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาไม่ถึงระดับปริญญาตรี แต่เขาสร้างแรงจูงใจให้คนเก่งเข้ามาเป็นครูรุ่นใหม่ พร้อมกับการพัฒนาศักยภาพครูเก่าให้มีคุณภาพมากขึ้น ทำให้คุณภาพการเรียนการสอนของเขาดีขึ้น ที่สำคัญ เมื่อรัฐบาลของเขาประกาศนโยบายเรื่องใดก็ตาม จะมีแผนดำเนินงานและเป้าหมายระยะยาว 5-10 ปีอย่างชัดเจน และนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง อีกทั้งมีการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนนโยบายด้านนั้นๆ โดยเฉพาะ รวมทั้งระดมทรัพยากรจากภาครัฐและภาคเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอย่างเต็มที่