พบคนไทยเสี่ยงเบาหวานมากขึ้น เหตุเพราะอ้วนเกินมาตรฐาน ความดันโลหิตสูง ส่งผลให้เกิดโรคร้ายเรื้อรัง โรคแทรกซ้อน ทั้งระบบประสาทตา หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ ไตวาย สปสช.เผยจัดโครงการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานและภาวะที่เกี่ยวข้องกับเบาหวานอย่างครบวงจร เร่งค้นหาผู้ป่วยและผู้มีความเสี่ยงลงทะเบียนรับการรักษาและป้องกัน หลังนำร่อง 3 จังหวัด 2 อำเภอ ตั้งเป้าคัดกรองประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป 1.2 ล้านคน เพื่อให้ได้กลุ่มเสี่ยงสูงลงทะเบียนป้องกันก่อนเป็นเบาหวาน ส่วนผู้ป่วยก็รักษาตามมาตรฐาน คาด ภายในปี 55 ขยายครอบคลุมทุกจังหวัด
วันนี้ (13 พ.ย.) นายแพทย์วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ปัจจุบันคนไทยกำลังเผชิญกับภาวะความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานที่คุกคามต่อสุขภาพประชาชนอย่างมาก ทั้งจากภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน และความดันโลหิตสูง ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขระบุว่า จากการสำรวจประชาชนอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป พบเป็นโรคเบาหวานกว่า 3 ล้านคน ในจำนวนนี้รู้ตัวว่าป่วยเพียง 1.4 ล้านคน และมีผู้ที่มีความเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังเบาหวานประมาณ 1.8 ล้านคน โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญระดับโลกเพราะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ลดต่ำลงจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ความผิดปกติของปลายประสาท จอประสาทตาเสื่อม โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคไตวาย รวมถึงแผลบริเวณเท้าที่ยากต่อการรักษา และความพิการทางสายตา
ทั้งนี้ ในวันที่ 14 พ.ย.ของทุกปีองค์การอนามัยโลก และสหพันธ์เบาหวานนานาชาติกำหนดให้เป็นวันเบาหวานโลก ซึ่งสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้นดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานอย่างเต็มที่ แต่เนื่องจากโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังหนึ่งที่มีภาวะคุกคามคนไทยสูง สปสช.จึงร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดระบบพิเศษดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานและภาวะที่เกี่ยวข้องกับเบาหวานอย่างครบวงจร ซึ่งดำเนินการต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2550 ที่ผ่านมานำร่องใน 3 จังหวัด 2 อำเภอ คือ จ.นครราชสีมา จ.สุราษฎร์ธานี จ.แพร่ อ.ภูกระดึง จ.เลย และ อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ เพื่อให้เห็นรูปธรรมของการจัดการที่จะเป็นต้นแบบที่ดี และในปี 2552 นั้น จะมีการขยายจังหวัดเพิ่มเติม และคาดว่า ภายในปี 2555 จะขยายครอบคลุมทุกจังหวัด เพื่อดูแลผู้ป่วยอย่างเต็มที่ ลดภาวะเสี่ยง และป้องกันผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงไม่ให้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน
นพ.วินัย กล่าวด้วยว่า ในการดำเนินการนั้น จะมีการลงทะเบียนผู้ป่วยและค้นหาผู้มีความเสี่ยง โดยตั้งเป้าหมายประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองความเสี่ยง 1.2 ล้านคน โดยมีกลุ่มเสี่ยงสูงที่จะป่วยเป็นเบาหวานกว่า 4 หมื่นคน ได้รับการลงทะเบียนเพื่อเฝ้าระวังและได้รับความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และมีผู้ป่วยเบาหวาน 6.5 หมื่นราย ได้รับการลงทะเบียนเพื่อรับการรักษาตามแนวเวชปฏิบัติ โดยการคัดกรองจะดำเนินการร่วมกับหน่วยบริการ ชุมชน และ อบต.เทศบาล และมีการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่เพื่อการดูแลใกล้บ้านต่อเนื่อง จัดให้มีระบบส่งต่อกรณีที่ตรวจพบภาวะแทรกซ้อน เพื่อการรักษาที่ทันท่วงทีไปยังหน่วยบริการระดับสูงขึ้นไป
วันนี้ (13 พ.ย.) นายแพทย์วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ปัจจุบันคนไทยกำลังเผชิญกับภาวะความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานที่คุกคามต่อสุขภาพประชาชนอย่างมาก ทั้งจากภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน และความดันโลหิตสูง ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขระบุว่า จากการสำรวจประชาชนอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป พบเป็นโรคเบาหวานกว่า 3 ล้านคน ในจำนวนนี้รู้ตัวว่าป่วยเพียง 1.4 ล้านคน และมีผู้ที่มีความเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังเบาหวานประมาณ 1.8 ล้านคน โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญระดับโลกเพราะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ลดต่ำลงจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ความผิดปกติของปลายประสาท จอประสาทตาเสื่อม โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคไตวาย รวมถึงแผลบริเวณเท้าที่ยากต่อการรักษา และความพิการทางสายตา
ทั้งนี้ ในวันที่ 14 พ.ย.ของทุกปีองค์การอนามัยโลก และสหพันธ์เบาหวานนานาชาติกำหนดให้เป็นวันเบาหวานโลก ซึ่งสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้นดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานอย่างเต็มที่ แต่เนื่องจากโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังหนึ่งที่มีภาวะคุกคามคนไทยสูง สปสช.จึงร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดระบบพิเศษดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานและภาวะที่เกี่ยวข้องกับเบาหวานอย่างครบวงจร ซึ่งดำเนินการต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2550 ที่ผ่านมานำร่องใน 3 จังหวัด 2 อำเภอ คือ จ.นครราชสีมา จ.สุราษฎร์ธานี จ.แพร่ อ.ภูกระดึง จ.เลย และ อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ เพื่อให้เห็นรูปธรรมของการจัดการที่จะเป็นต้นแบบที่ดี และในปี 2552 นั้น จะมีการขยายจังหวัดเพิ่มเติม และคาดว่า ภายในปี 2555 จะขยายครอบคลุมทุกจังหวัด เพื่อดูแลผู้ป่วยอย่างเต็มที่ ลดภาวะเสี่ยง และป้องกันผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงไม่ให้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน
นพ.วินัย กล่าวด้วยว่า ในการดำเนินการนั้น จะมีการลงทะเบียนผู้ป่วยและค้นหาผู้มีความเสี่ยง โดยตั้งเป้าหมายประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองความเสี่ยง 1.2 ล้านคน โดยมีกลุ่มเสี่ยงสูงที่จะป่วยเป็นเบาหวานกว่า 4 หมื่นคน ได้รับการลงทะเบียนเพื่อเฝ้าระวังและได้รับความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และมีผู้ป่วยเบาหวาน 6.5 หมื่นราย ได้รับการลงทะเบียนเพื่อรับการรักษาตามแนวเวชปฏิบัติ โดยการคัดกรองจะดำเนินการร่วมกับหน่วยบริการ ชุมชน และ อบต.เทศบาล และมีการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่เพื่อการดูแลใกล้บ้านต่อเนื่อง จัดให้มีระบบส่งต่อกรณีที่ตรวจพบภาวะแทรกซ้อน เพื่อการรักษาที่ทันท่วงทีไปยังหน่วยบริการระดับสูงขึ้นไป