สพฐ. เร่งเครื่องพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กที่ไม่ผ่านการประเมินจาก สมศ. นำร่อง 215 โรงทั่วประเทศ เตรียมเชิญนายกฯ เปิดโครงการแห่งแรกที่ จ.นครสวรรค์ กลางธันวา
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวถึงความคืบหน้าการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กว่า ตามที่ ดร.โอฬาร ไชยประวัติ อดีตที่ปรึกษา รมว.ศึกษาธิการ และประธานคณะกรรมการบริหารสำนักงานตรวจสอบมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ได้มีนโยบายที่จะพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กที่ไม่ผ่านการรับรองจากสำนักงานตรวจสอบมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) รอบ 2 จำนวน 3,475 โรงนั้น ให้ สพฐ.คัดเลือกโรงเรียนที่ไม่ผ่านการรับรองดังกล่าวจาก 22 เขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 215 โรงทั่วประเทศมานำร่องทดลองรูปแบบยกระดับคุณภาพการศึกษา
ขณะนี้ สพฐ.ได้คัดเลือกโรงเรียนเรียบร้อยแล้ว และโรงเรียนก็ได้ทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้ ดร.โอฬาร ได้เริ่มส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก อย่างไรก็ตาม ดร.โอฬารสั่งการให้โรงเรียนร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) เพื่อดำเนินการพัฒนาแผนโดยอยู่ในกรอบการดำเนินงานระยะเวลา 3 ปี โดยตั้งเป้าว่าโรงเรียนจะต้องพัฒนาตนเองจนผ่านเกณฑ์การประเมินจาก สมศ.ตามมาตรฐานที่ 4,5,6, และ 9 เพิ่มขึ้นให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 25 ต่อปี
สำหรับวัสดุ อุปกรณ์ที่ ดร.โอฬาร จะมอบให้กับโรงเรียนทั้ง 215 โรงนั้น ประกอบด้วย โทรทัศน์ จอแอลซีดี ชั้นละ 1 เครื่อง คอมพิวเตอร์ 1 เครื่องต่อ 1 ห้องเรียน เครื่องปริ๊นเตอร์ 2 เครื่องต่อโรง เครื่องถ่ายเอกสาร 1 เครื่องต่อโรง และมอบซอร์ฟแวร์ที่เป็นสื่อการเรียนการสอนสำหรับครูนำไปใช้ประกอบการสอนเป็นการลดภาระให้ครู รวมแล้วแต่ละโรงจะได้รับวัสดุ อุปกรณ์ประมาณโรงละ 8 ชุด คิดเป็นเงิน 660,000 บาท
คุณหญิงกษมา กล่าวต่อว่า ประมาณกลางเดือนธันวาคม ดร.โอฬาร จะเชิญนายกรัฐมนตรีไปเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กที่โรงเรียนบ้านสายลำโพงกลาง จ.นครสวรรค์ ซึ่งป็นแห่งแรก จากนั้นจะทยอยเปิดอีก 4 จุดทั่วประเทศ คือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ มุกดาหาร นราธิวาส และตราด
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวถึงความคืบหน้าการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กว่า ตามที่ ดร.โอฬาร ไชยประวัติ อดีตที่ปรึกษา รมว.ศึกษาธิการ และประธานคณะกรรมการบริหารสำนักงานตรวจสอบมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ได้มีนโยบายที่จะพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กที่ไม่ผ่านการรับรองจากสำนักงานตรวจสอบมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) รอบ 2 จำนวน 3,475 โรงนั้น ให้ สพฐ.คัดเลือกโรงเรียนที่ไม่ผ่านการรับรองดังกล่าวจาก 22 เขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 215 โรงทั่วประเทศมานำร่องทดลองรูปแบบยกระดับคุณภาพการศึกษา
ขณะนี้ สพฐ.ได้คัดเลือกโรงเรียนเรียบร้อยแล้ว และโรงเรียนก็ได้ทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้ ดร.โอฬาร ได้เริ่มส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก อย่างไรก็ตาม ดร.โอฬารสั่งการให้โรงเรียนร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) เพื่อดำเนินการพัฒนาแผนโดยอยู่ในกรอบการดำเนินงานระยะเวลา 3 ปี โดยตั้งเป้าว่าโรงเรียนจะต้องพัฒนาตนเองจนผ่านเกณฑ์การประเมินจาก สมศ.ตามมาตรฐานที่ 4,5,6, และ 9 เพิ่มขึ้นให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 25 ต่อปี
สำหรับวัสดุ อุปกรณ์ที่ ดร.โอฬาร จะมอบให้กับโรงเรียนทั้ง 215 โรงนั้น ประกอบด้วย โทรทัศน์ จอแอลซีดี ชั้นละ 1 เครื่อง คอมพิวเตอร์ 1 เครื่องต่อ 1 ห้องเรียน เครื่องปริ๊นเตอร์ 2 เครื่องต่อโรง เครื่องถ่ายเอกสาร 1 เครื่องต่อโรง และมอบซอร์ฟแวร์ที่เป็นสื่อการเรียนการสอนสำหรับครูนำไปใช้ประกอบการสอนเป็นการลดภาระให้ครู รวมแล้วแต่ละโรงจะได้รับวัสดุ อุปกรณ์ประมาณโรงละ 8 ชุด คิดเป็นเงิน 660,000 บาท
คุณหญิงกษมา กล่าวต่อว่า ประมาณกลางเดือนธันวาคม ดร.โอฬาร จะเชิญนายกรัฐมนตรีไปเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กที่โรงเรียนบ้านสายลำโพงกลาง จ.นครสวรรค์ ซึ่งป็นแห่งแรก จากนั้นจะทยอยเปิดอีก 4 จุดทั่วประเทศ คือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ มุกดาหาร นราธิวาส และตราด