สธ. ห่วงภัยอันตราย พลุ ดอกไม้ไฟ พบบาดเจ็บทุกปี เฉลี่ยกว่า 400 คน สูงที่สุดในวันลอยกระทง สั่งโรงพยาบาลในสังกัดทั่วไทยเตรียมพร้อมรับมือ 24 ชั่วโมง
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงการเตรียมพร้อมรับมืออุบัติเหตุช่วงฉลองเทศกาลลอยกระทง ที่จะถึงในวันพุธที่ 12 พฤศจิกายน 2551 ว่า ได้สั่งการให้โรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศเตรียมพร้อมหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งมีกว่า 3,000 ทีม พร้อมรถพยาบาล ซึ่งมีเครื่องมือแพทย์ช่วยชีวิตประจำรถให้พร้อม และจัดกำลังเจ้าหน้าที่ประจำห้องฉุกเฉิน คลังเลือด ให้พร้อมต่อการช่วยเหลือประชาชน
ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวต่อว่า ปัญหาที่มักพบเสมอในเทศกาลนี้ 3 เรื่อง คือ การบาดเจ็บจากการเล่นดอกไม้ไฟ หรือ เล่นพลุ ประทัด จากอุบัติเหตุจราจร และการจมน้ำ หากประชาชนพบเห็นผู้บาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน ขอให้โทรศัพท์แจ้งหน่วยกู้ชีพ นเรนทร หมายเลข 1669 ฟรีทุกระบบ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค วิเคราะห์ข้อมูลจากผู้บาดเจ็บ ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ในสังกัด 29 แห่งทั่วประเทศ ปรากฏว่า ในรอบ 3 ปีมานี้ พบว่า แต่ละปีมีผู้บาดเจ็บจากเหตุเล่นพลุ ประทัด ดอกไม้ไฟ เฉลี่ยปีละ 400 กว่าคน สูงที่สุดในวันลอยกระทง ซึ่งตรงกับเดือนพฤศจิกายน มีผู้บาดเจ็บวันเดียวมากถึง 1 ใน 3 ของผู้บาดเจ็บทั้งปี หรือประมาณ 130 คน
“ที่น่าสนใจพบว่าผู้บาดเจ็บในวันลอยกระทงปี 2548 เกือบครึ่งอายุต่ำกว่า 15 ปี และเป็นนักเรียน นักศึกษา และในกลุ่มผู้บาดเจ็บดังกล่าว เมาเหล้าร่วมด้วยมากถึงร้อยละ 43 อายุต่ำสุดแค่ 8 ขวบ สูงสุดอายุ 50 ปี พบสูงสุดที่จังหวัดระยอง ร้อยละ 75 รองลงมา คือ นนทบุรี ร้อยละ 50 ชี้ให้เห็นว่า การเมาเหล้า จะทำให้ขาดสติ และมีโอกาสเสี่ยงสูงได้รับบาดเจ็บในการเล่นพลุดอกไม้ไฟ หรือจุดพลุ” ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว
ด้านนพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากการวิเคราะห์อวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บจากสะเก็ดดอกไม้ไฟหรือพลุ ในวันลอยกระทงปี 2548 ส่วนใหญ่จะเกิดที่มือและข้อมือมากที่สุด ร้อยละ 53 ในจำนวนนี้ กระดูกนิ้วมือแตกละเอียดแพทย์ต้องตัดทิ้ง จำนวน 8 คน และยังมีผู้ถูกสะเก็ดพลุดอกไม้ไฟเข้าที่ตาและรอบๆ ดวงตา เยื่อตา และตาดำ เฉียดตาบอดอีก 43 คน
นพ.ปราชญ์ กล่าวอีกว่า กระทรวงสาธารณสุข ไม่ส่งเสริมให้ประชาชนเล่นดอกไม้ไฟ และพลุ เนื่องจากเป็นวัตถุอันตรายอยู่ในหมวดหมู่ของวัตถุระเบิดชนิดหนึ่ง ไม่ใช่ของเล่นทั่วๆ ไป โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ประชาชนต้องสอนให้ลูกหลานพึงตระหนักว่าดอกไม้ไฟ หรือพลุไม่ใช่ของเล่น เป็นอันตรายสำหรับเด็ก ห้ามจุดเล่นเองเด็ดขาด และไม่ควรให้เด็กอยู่ใกล้บริเวณที่จุดพลุ
ส่วนในผู้ใหญ่ หากจะเล่นต้องเล่นให้ถูกวิธีตามข้อแนะนำอย่างเคร่งครัด คือ เล่นในโล่ง ที่ราบ อยู่ห่างไกลจากบ้านเรือน หรือใบไม้แห้ง รวมทั้งห่างไกลวัตถุไวไฟต่างๆ พลุ หรือดอกไม้ไฟที่จุดแล้วแต่ไม่ติด หรือไม่ระเบิด ห้ามจุดซ้ำอย่างเด็ดขาด เวลาเล่นควรเตรียมน้ำเปล่า 1 ถังไว้ใกล้ตัวเสมอ เพื่อใช้ดับเพลิงดอกไม้ไฟ หรือพลุ ที่จุดแล้วแต่ไม่ระเบิด ที่สำคัญคือ อย่าทดลองทำดอกไม้ไฟ หรือพลุ เล่นเอง เนื่องจากเคมีแต่ละตัว สามารถทำปฏิกิริยา อาจจะทำให้เกิดอันตราย หรือกระทบกระเทือน สามารถทำให้ระเบิดได้ บางอย่างหากเก็บไว้ไม่เป็นที่เป็นทางก็อาจเกิดระเบิดได้เช่นกัน
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงการเตรียมพร้อมรับมืออุบัติเหตุช่วงฉลองเทศกาลลอยกระทง ที่จะถึงในวันพุธที่ 12 พฤศจิกายน 2551 ว่า ได้สั่งการให้โรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศเตรียมพร้อมหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งมีกว่า 3,000 ทีม พร้อมรถพยาบาล ซึ่งมีเครื่องมือแพทย์ช่วยชีวิตประจำรถให้พร้อม และจัดกำลังเจ้าหน้าที่ประจำห้องฉุกเฉิน คลังเลือด ให้พร้อมต่อการช่วยเหลือประชาชน
ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวต่อว่า ปัญหาที่มักพบเสมอในเทศกาลนี้ 3 เรื่อง คือ การบาดเจ็บจากการเล่นดอกไม้ไฟ หรือ เล่นพลุ ประทัด จากอุบัติเหตุจราจร และการจมน้ำ หากประชาชนพบเห็นผู้บาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน ขอให้โทรศัพท์แจ้งหน่วยกู้ชีพ นเรนทร หมายเลข 1669 ฟรีทุกระบบ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค วิเคราะห์ข้อมูลจากผู้บาดเจ็บ ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ในสังกัด 29 แห่งทั่วประเทศ ปรากฏว่า ในรอบ 3 ปีมานี้ พบว่า แต่ละปีมีผู้บาดเจ็บจากเหตุเล่นพลุ ประทัด ดอกไม้ไฟ เฉลี่ยปีละ 400 กว่าคน สูงที่สุดในวันลอยกระทง ซึ่งตรงกับเดือนพฤศจิกายน มีผู้บาดเจ็บวันเดียวมากถึง 1 ใน 3 ของผู้บาดเจ็บทั้งปี หรือประมาณ 130 คน
“ที่น่าสนใจพบว่าผู้บาดเจ็บในวันลอยกระทงปี 2548 เกือบครึ่งอายุต่ำกว่า 15 ปี และเป็นนักเรียน นักศึกษา และในกลุ่มผู้บาดเจ็บดังกล่าว เมาเหล้าร่วมด้วยมากถึงร้อยละ 43 อายุต่ำสุดแค่ 8 ขวบ สูงสุดอายุ 50 ปี พบสูงสุดที่จังหวัดระยอง ร้อยละ 75 รองลงมา คือ นนทบุรี ร้อยละ 50 ชี้ให้เห็นว่า การเมาเหล้า จะทำให้ขาดสติ และมีโอกาสเสี่ยงสูงได้รับบาดเจ็บในการเล่นพลุดอกไม้ไฟ หรือจุดพลุ” ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว
ด้านนพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากการวิเคราะห์อวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บจากสะเก็ดดอกไม้ไฟหรือพลุ ในวันลอยกระทงปี 2548 ส่วนใหญ่จะเกิดที่มือและข้อมือมากที่สุด ร้อยละ 53 ในจำนวนนี้ กระดูกนิ้วมือแตกละเอียดแพทย์ต้องตัดทิ้ง จำนวน 8 คน และยังมีผู้ถูกสะเก็ดพลุดอกไม้ไฟเข้าที่ตาและรอบๆ ดวงตา เยื่อตา และตาดำ เฉียดตาบอดอีก 43 คน
นพ.ปราชญ์ กล่าวอีกว่า กระทรวงสาธารณสุข ไม่ส่งเสริมให้ประชาชนเล่นดอกไม้ไฟ และพลุ เนื่องจากเป็นวัตถุอันตรายอยู่ในหมวดหมู่ของวัตถุระเบิดชนิดหนึ่ง ไม่ใช่ของเล่นทั่วๆ ไป โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ประชาชนต้องสอนให้ลูกหลานพึงตระหนักว่าดอกไม้ไฟ หรือพลุไม่ใช่ของเล่น เป็นอันตรายสำหรับเด็ก ห้ามจุดเล่นเองเด็ดขาด และไม่ควรให้เด็กอยู่ใกล้บริเวณที่จุดพลุ
ส่วนในผู้ใหญ่ หากจะเล่นต้องเล่นให้ถูกวิธีตามข้อแนะนำอย่างเคร่งครัด คือ เล่นในโล่ง ที่ราบ อยู่ห่างไกลจากบ้านเรือน หรือใบไม้แห้ง รวมทั้งห่างไกลวัตถุไวไฟต่างๆ พลุ หรือดอกไม้ไฟที่จุดแล้วแต่ไม่ติด หรือไม่ระเบิด ห้ามจุดซ้ำอย่างเด็ดขาด เวลาเล่นควรเตรียมน้ำเปล่า 1 ถังไว้ใกล้ตัวเสมอ เพื่อใช้ดับเพลิงดอกไม้ไฟ หรือพลุ ที่จุดแล้วแต่ไม่ระเบิด ที่สำคัญคือ อย่าทดลองทำดอกไม้ไฟ หรือพลุ เล่นเอง เนื่องจากเคมีแต่ละตัว สามารถทำปฏิกิริยา อาจจะทำให้เกิดอันตราย หรือกระทบกระเทือน สามารถทำให้ระเบิดได้ บางอย่างหากเก็บไว้ไม่เป็นที่เป็นทางก็อาจเกิดระเบิดได้เช่นกัน