ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ – หาดใหญ่โพล โดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ สำรวจความคิดเห็นชาวหาดใหญ่เกี่ยวกับหาดใหญ่-สงขลา กับการท่องเที่ยวสุขสันต์เทศกาลลอยกระทง สรุปต้องการอธิษฐานให้บ้านเมืองสงบสุขช่วงลอยกระทง
หาดใหญ่โพล โดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของชาวหาดใหญ่เกี่ยวกับหาดใหญ่-สงขลา กับการท่องเที่ยวสุขสันต์เทศกาลลอยกระทง กลุ่มตัวอย่างที่สำรวจครั้งนี้ ประกอบด้วยประชาชนในเขตจังหวัดสงขลา จำนวน 1,088 คน โดยใช้ แบบสำรวจเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 7-11 พฤศจิกายน 2551 สรุปผลการสำรวจ ดังนี้
สถานภาพกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 55.8) มีอายุระหว่าง 18-25 ปี (ร้อยละ 46.6) รองลงมา อายุ 26-35 ปี (ร้อยละ 25.6) และอายุ 36-45 ปี (ร้อยละ 21.2) ตามลำดับ เมื่อพิจารณาสถานภาพอาชีพ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นนักเรียน/นักศึกษา (ร้อยละ 35.8) รองลงมาประกอบอาชีพพนักงานบริษัท/รับจ้าง (ร้อยละ 34.7) และ ประกอบอาชีพกิจการส่วนตัว/ค้าขาย (ร้อยละ 17.6) ตามลำดับ
จากผลการสำรวจพบว่า ประชาชนในจังหวัดสงขลา ร้อยละ 84.3 ไปร่วมงานลอยกระทงที่จัดโดยเทศบาลนครหาดใหญ่ โดยเหตุผลที่ไปร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ร้อยละ 49.72 เนื่องจาก ต้องการร่วมสนุกสนานในงานเทศกาลกับเพื่อน รองลงมา เป็นการบูชาและขมาแม่คงคา ร้อยละ 18.87 ประชาชนส่วนใหญ่จะไปร่วมกิจกรรมลอยกระทงที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คิดเป็น ร้อยละ 24.0 รองลงมา โรงแรมลีการ์เด้น ร้อยละ 22.9
ประชาชนส่วนใหญ่ คิดเป็น ร้อยละ 81.0 เห็นว่าตลาดนัดคลองแห สามารถสร้างจุดขายในการท่องเที่ยวของเมืองหาดใหญ่ ในระดับปานกลางถึงระดับมาก ในขณะที่มองว่าสร้างจุดขายได้น้อยมีเพียง ร้อยละ 5.5 เมื่อเปรียบเทียบจำนวนนักท่องเที่ยวกับปีที่ผ่านมาประชาชนร้อยละ 66.2 คิดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวยังเหมือนเดิม รองลงมา คิดว่าเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 22.1) มีเพียงร้อยละ 11.2 ที่คิดว่านักท่องเที่ยวจะลดลงกว่าปีที่แล้ว ส่วนการไปร่วมกิจกรรมลอยกระทงในปีนี้ประชาชน ร้อยละ 24.8 ให้ความสำคัญกับสถาบันครอบครัวโดยไปร่วมลอยกระทงกับครอบครัว ร้อยละ 30.5 รองลงมา ไปลอยกระทงกับแฟน/คนรัก (ร้อยละ 29.5)
สิ่งที่ประชาชนอยากอธิฐานเกี่ยวกับการเมืองไทย ในวันลอยกระทงประชาชนส่วนใหญ่ อยากขอให้การเมืองไทยมีความสมานฉันท์ระหว่างพันธมิตรกับรัฐบาล (ร้อยละ 24.8) รองลงมา อยากให้สังคมไทยยุติความรุนแรง (ร้อยละ 20.2)
ส่วนการอธิษฐานให้ปลดเปลื้องความทุกข์/ความกังวล พบว่า ประชาชน ร้อยละ 45.4 ให้ช่วยปลดเปลื้องปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันให้ลอยไปกับกระทง รองลงมา เห็นว่าเป็นปัญหาเศรษฐกิจ/ความเป็นอยู่/การเงิน (ร้อยละ 18.2) ด้านมาตรการในการป้องกันการเล่นพลุ/ดอกไม้ไฟในช่วงเทศกาลลอยกระทง ประชาชน ร้อยละ 53.9 ไม่มั่นในใจมาตรการป้องกันปัญหาของตำรวจ และมีเพียงร้อยละ 29.1 ที่มั่นใจในมาตรการดังกล่าว
ส่วนสิ่งที่ประชาชนมีความหวาดกลัว และไม่อยากให้เกิดขึ้นในวันลอยกระทง คือการจี้/ปล้น/ล้วงกระเป๋า/ลักทรัพย์ คิดเป็น ร้อยละ 30.4 รองลงมา คือ การล่วงละเมิดทางเพศ/ล่อลวง/ฆ่าข่มขืน (ร้อยละ 28.4) และการทะเลาะวิวาท/เมาสุรา (ร้อยละ 15.7) มีประชาชนร้อยละ 30.1 คิดว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุจากการเล่นพลุ/ดอกไม้ไฟ มากที่สุดเป็นความรู้เท่าไม่ถึงการณ์/ไม่รู้ถึงอันตราย รองลงมา คือ การผลิตพลุ/ดอกไม้ไฟไม่ได้มาตรฐาน (ร้อยละ 25.8) และคึกคะนอง/สนุกเกินเหตุ (ร้อยละ 18.8) สำหรับพฤติกรรมวัยรุ่นที่น่าเป็นห่วงในช่วงเทศกาลลอยกระทงเป็นพฤติกรรมแก็งมอเตอร์ไซค์ซิ่ง (ร้อยละ 28.8) จี้/ปล้น/ล้วงกระเป๋า/ลักทรัพย์ (ร้อยละ 23.4) ทะเลาะวิวาท/เมาสุรา (ร้อยละ 23.2)
ประชาชนส่วนใหญ่คิดว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรมีมาตรการในการป้องกันอุบัติเหตุจากการเล่นพลุดอกไม้ไฟในเทศกาลลอยกระทง โดยจัดเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมดูแล/ตรวจตราการเล่นพลุ ดอกไม้ไฟ (ร้อยละ 29.0) ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยจากพลุ ดอกไม้ไฟ อย่างกว้างขวาง (ร้อยละ 28.3) และจับผู้กระทำผิดจากการเล่นพลุ ดอกไม้ไฟมาลงโทษอย่างจริงจัง ร้อยละ 21.7 และนอกจากนี้ประชาชน ร้อยละ 71.6 เห็นด้วยกับนโยบายห้ามจำหน่ายและดื่มแอลกอฮอล์ ในพื้นที่งานประเพณีลอยกระทง และมีเพียงร้อยละ18.8 ที่ไม่เห็นด้วยกับการห้ามดื่มและจำหน่ายแอลกอฮอล์
หาดใหญ่โพล โดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของชาวหาดใหญ่เกี่ยวกับหาดใหญ่-สงขลา กับการท่องเที่ยวสุขสันต์เทศกาลลอยกระทง กลุ่มตัวอย่างที่สำรวจครั้งนี้ ประกอบด้วยประชาชนในเขตจังหวัดสงขลา จำนวน 1,088 คน โดยใช้ แบบสำรวจเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 7-11 พฤศจิกายน 2551 สรุปผลการสำรวจ ดังนี้
สถานภาพกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 55.8) มีอายุระหว่าง 18-25 ปี (ร้อยละ 46.6) รองลงมา อายุ 26-35 ปี (ร้อยละ 25.6) และอายุ 36-45 ปี (ร้อยละ 21.2) ตามลำดับ เมื่อพิจารณาสถานภาพอาชีพ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นนักเรียน/นักศึกษา (ร้อยละ 35.8) รองลงมาประกอบอาชีพพนักงานบริษัท/รับจ้าง (ร้อยละ 34.7) และ ประกอบอาชีพกิจการส่วนตัว/ค้าขาย (ร้อยละ 17.6) ตามลำดับ
จากผลการสำรวจพบว่า ประชาชนในจังหวัดสงขลา ร้อยละ 84.3 ไปร่วมงานลอยกระทงที่จัดโดยเทศบาลนครหาดใหญ่ โดยเหตุผลที่ไปร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ร้อยละ 49.72 เนื่องจาก ต้องการร่วมสนุกสนานในงานเทศกาลกับเพื่อน รองลงมา เป็นการบูชาและขมาแม่คงคา ร้อยละ 18.87 ประชาชนส่วนใหญ่จะไปร่วมกิจกรรมลอยกระทงที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คิดเป็น ร้อยละ 24.0 รองลงมา โรงแรมลีการ์เด้น ร้อยละ 22.9
ประชาชนส่วนใหญ่ คิดเป็น ร้อยละ 81.0 เห็นว่าตลาดนัดคลองแห สามารถสร้างจุดขายในการท่องเที่ยวของเมืองหาดใหญ่ ในระดับปานกลางถึงระดับมาก ในขณะที่มองว่าสร้างจุดขายได้น้อยมีเพียง ร้อยละ 5.5 เมื่อเปรียบเทียบจำนวนนักท่องเที่ยวกับปีที่ผ่านมาประชาชนร้อยละ 66.2 คิดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวยังเหมือนเดิม รองลงมา คิดว่าเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 22.1) มีเพียงร้อยละ 11.2 ที่คิดว่านักท่องเที่ยวจะลดลงกว่าปีที่แล้ว ส่วนการไปร่วมกิจกรรมลอยกระทงในปีนี้ประชาชน ร้อยละ 24.8 ให้ความสำคัญกับสถาบันครอบครัวโดยไปร่วมลอยกระทงกับครอบครัว ร้อยละ 30.5 รองลงมา ไปลอยกระทงกับแฟน/คนรัก (ร้อยละ 29.5)
สิ่งที่ประชาชนอยากอธิฐานเกี่ยวกับการเมืองไทย ในวันลอยกระทงประชาชนส่วนใหญ่ อยากขอให้การเมืองไทยมีความสมานฉันท์ระหว่างพันธมิตรกับรัฐบาล (ร้อยละ 24.8) รองลงมา อยากให้สังคมไทยยุติความรุนแรง (ร้อยละ 20.2)
ส่วนการอธิษฐานให้ปลดเปลื้องความทุกข์/ความกังวล พบว่า ประชาชน ร้อยละ 45.4 ให้ช่วยปลดเปลื้องปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันให้ลอยไปกับกระทง รองลงมา เห็นว่าเป็นปัญหาเศรษฐกิจ/ความเป็นอยู่/การเงิน (ร้อยละ 18.2) ด้านมาตรการในการป้องกันการเล่นพลุ/ดอกไม้ไฟในช่วงเทศกาลลอยกระทง ประชาชน ร้อยละ 53.9 ไม่มั่นในใจมาตรการป้องกันปัญหาของตำรวจ และมีเพียงร้อยละ 29.1 ที่มั่นใจในมาตรการดังกล่าว
ส่วนสิ่งที่ประชาชนมีความหวาดกลัว และไม่อยากให้เกิดขึ้นในวันลอยกระทง คือการจี้/ปล้น/ล้วงกระเป๋า/ลักทรัพย์ คิดเป็น ร้อยละ 30.4 รองลงมา คือ การล่วงละเมิดทางเพศ/ล่อลวง/ฆ่าข่มขืน (ร้อยละ 28.4) และการทะเลาะวิวาท/เมาสุรา (ร้อยละ 15.7) มีประชาชนร้อยละ 30.1 คิดว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุจากการเล่นพลุ/ดอกไม้ไฟ มากที่สุดเป็นความรู้เท่าไม่ถึงการณ์/ไม่รู้ถึงอันตราย รองลงมา คือ การผลิตพลุ/ดอกไม้ไฟไม่ได้มาตรฐาน (ร้อยละ 25.8) และคึกคะนอง/สนุกเกินเหตุ (ร้อยละ 18.8) สำหรับพฤติกรรมวัยรุ่นที่น่าเป็นห่วงในช่วงเทศกาลลอยกระทงเป็นพฤติกรรมแก็งมอเตอร์ไซค์ซิ่ง (ร้อยละ 28.8) จี้/ปล้น/ล้วงกระเป๋า/ลักทรัพย์ (ร้อยละ 23.4) ทะเลาะวิวาท/เมาสุรา (ร้อยละ 23.2)
ประชาชนส่วนใหญ่คิดว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรมีมาตรการในการป้องกันอุบัติเหตุจากการเล่นพลุดอกไม้ไฟในเทศกาลลอยกระทง โดยจัดเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมดูแล/ตรวจตราการเล่นพลุ ดอกไม้ไฟ (ร้อยละ 29.0) ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยจากพลุ ดอกไม้ไฟ อย่างกว้างขวาง (ร้อยละ 28.3) และจับผู้กระทำผิดจากการเล่นพลุ ดอกไม้ไฟมาลงโทษอย่างจริงจัง ร้อยละ 21.7 และนอกจากนี้ประชาชน ร้อยละ 71.6 เห็นด้วยกับนโยบายห้ามจำหน่ายและดื่มแอลกอฮอล์ ในพื้นที่งานประเพณีลอยกระทง และมีเพียงร้อยละ18.8 ที่ไม่เห็นด้วยกับการห้ามดื่มและจำหน่ายแอลกอฮอล์