ปลัดกระทรวงสาธารณสุข สั่งโรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศ 800 แห่งจัดทีมแพทย์ฉุกเฉินกว่า 3,000 ทีม เตรียมรถพยาบาลและเจ้าหน้าที่ให้พร้อมปฏิบัติงานทันที และเปิดสายด่วน 1669 รับแจ้งเหตุตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมเผยปัญหาที่พบบ่อยในคืนลอยกระทง คือบาดเจ็บจากการเล่นพลุ ประทัด อุบัติเหตุจราจร และจมน้ำ
วันนี้ (12 พ.ย.)นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวเกี่ยวกับการเตรียมพร้อมรับมือในเทศกาลลอยกระทงคืนวันนี้ว่า ได้สั่งการกำชับให้โรงพยาบาลในสังกัดกว่า 800 แห่งทั่วประเทศ จัดทีมแพทย์ฉุกเฉินซึ่งมีกว่า 3,000 ทีม พร้อมรถพยาบาล และจัดกำลังเจ้าหน้าที่ประจำห้องฉุกเฉิน คลังเลือด ให้พร้อมรักษาพยาบาลเต็มที่ โดยเปิดสายด่วน 1669 รับแจ้งเหตุการณ์บาดเจ็บหรือป่วยฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง โทรศัพท์ทุกระบบสามารถโทรตรงได้ฟรีทุกจังหวัด หลังวางสาย ทีมสามารถออกปฏิบัติการได้ทันที และถึงที่เกิดเหตุภายใน 10-15 นาที
นพ.ปราชญ์ กล่าวต่อว่า ปัญหาที่พบบ่อยที่สุดในคืนลอยกระทงมี 3 เรื่องใหญ่ คือ การบาดเจ็บจากการเล่นพลุ ประทัด ดอกไม้ไฟ ซึ่งจากสถิติในรอบ 3 ปี พบในวันลอยกระทงวันเดียว มีผู้บาดเจ็บจากเหตุนี้มากถึง 130 ราย หรือประมาณ 1 ใน 3 ของผู้บาดเจ็บทั้งปี ซึ่งมีเฉลี่ยประมาณ 400 ราย ในปี 2548 มีผู้เล่นพลุและเกิดการระเบิดจนนิ้วมือแตก แพทย์ต้องตัดนิ้วทิ้ง 8 ราย และยังสะเก็ดพลุ ดอกไม้ไฟเข้าตา เฉียดตาบอดอีก 43 ราย
ปัญหาที่ 2 ได้แก่ อุบัติเหตุจราจร เนื่องจากมีการใช้รถกันมาก และยังมีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฉลองเทศกาล พบได้ร้อยละ 43 ของผู้บาดเจ็บ และปัญหาสุดท้ายคือการจมน้ำ ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากพลัดตกน้ำ หรือว่ายน้ำไปเก็บสตางค์ที่ประชาชนใสในกระทง ซึ่งมักพบในกลุ่มเด็กๆ
“ประชาชน ผู้ปกครองต้องช่วยกันย้ำเตือน อย่าให้ลูกหลานลงน้ำ เนื่องจากสภาพอากาศขณะนี้หนาวเย็นลงเรื่อยๆ อาจทำให้เกิดตะคริวได้ง่าย และจมน้ำเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ การเสียชีวิตหลังจมน้ำนั้น พบว่าเกิดขึ้นรวดเร็วมาก หากเป็นน้ำจืดจะเสียชีวิตภายใน 3-4 นาที ส่วนน้ำเค็มจะใช้เวลาประมาณ 7-8 นาที เท่านั้น” ปลัด สธ.กล่าว
วันนี้ (12 พ.ย.)นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวเกี่ยวกับการเตรียมพร้อมรับมือในเทศกาลลอยกระทงคืนวันนี้ว่า ได้สั่งการกำชับให้โรงพยาบาลในสังกัดกว่า 800 แห่งทั่วประเทศ จัดทีมแพทย์ฉุกเฉินซึ่งมีกว่า 3,000 ทีม พร้อมรถพยาบาล และจัดกำลังเจ้าหน้าที่ประจำห้องฉุกเฉิน คลังเลือด ให้พร้อมรักษาพยาบาลเต็มที่ โดยเปิดสายด่วน 1669 รับแจ้งเหตุการณ์บาดเจ็บหรือป่วยฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง โทรศัพท์ทุกระบบสามารถโทรตรงได้ฟรีทุกจังหวัด หลังวางสาย ทีมสามารถออกปฏิบัติการได้ทันที และถึงที่เกิดเหตุภายใน 10-15 นาที
นพ.ปราชญ์ กล่าวต่อว่า ปัญหาที่พบบ่อยที่สุดในคืนลอยกระทงมี 3 เรื่องใหญ่ คือ การบาดเจ็บจากการเล่นพลุ ประทัด ดอกไม้ไฟ ซึ่งจากสถิติในรอบ 3 ปี พบในวันลอยกระทงวันเดียว มีผู้บาดเจ็บจากเหตุนี้มากถึง 130 ราย หรือประมาณ 1 ใน 3 ของผู้บาดเจ็บทั้งปี ซึ่งมีเฉลี่ยประมาณ 400 ราย ในปี 2548 มีผู้เล่นพลุและเกิดการระเบิดจนนิ้วมือแตก แพทย์ต้องตัดนิ้วทิ้ง 8 ราย และยังสะเก็ดพลุ ดอกไม้ไฟเข้าตา เฉียดตาบอดอีก 43 ราย
ปัญหาที่ 2 ได้แก่ อุบัติเหตุจราจร เนื่องจากมีการใช้รถกันมาก และยังมีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฉลองเทศกาล พบได้ร้อยละ 43 ของผู้บาดเจ็บ และปัญหาสุดท้ายคือการจมน้ำ ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากพลัดตกน้ำ หรือว่ายน้ำไปเก็บสตางค์ที่ประชาชนใสในกระทง ซึ่งมักพบในกลุ่มเด็กๆ
“ประชาชน ผู้ปกครองต้องช่วยกันย้ำเตือน อย่าให้ลูกหลานลงน้ำ เนื่องจากสภาพอากาศขณะนี้หนาวเย็นลงเรื่อยๆ อาจทำให้เกิดตะคริวได้ง่าย และจมน้ำเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ การเสียชีวิตหลังจมน้ำนั้น พบว่าเกิดขึ้นรวดเร็วมาก หากเป็นน้ำจืดจะเสียชีวิตภายใน 3-4 นาที ส่วนน้ำเค็มจะใช้เวลาประมาณ 7-8 นาที เท่านั้น” ปลัด สธ.กล่าว