กรมสุขภาพจิต จัดงานสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ ประจำปี 2551 แนะวิธีเสริมเพิ่มพลังสุขภาพจิต เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส 7 ประการ ให้ประชาชนเสริมเพิ่มความเข้มแข็งทางจิตใจ พร้อมเผยปัจจัยที่ทำให้คนกรุงเทพฯ-ปริมณฑลเครียดมากที่สุด คือ ปัญหาการงาน รองลงมา คือ ปัญหาการเงิน โดยที่เพศหญิงมีความเครียดสูงกว่าเพศชาย
นพ.ชาตรี บานชื่น อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำการสำรวจสุขภาพจิตของประชาชนในภาวะวิกฤต เพื่อให้ทราบสถานการณ์ของปัญหาสุขภาพจิตและหาแนวทางการช่วยเหลือ ตลอดจนเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตประชาชน โดยได้ทำการสำรวจ ในช่วงเดือนสิงหาคม 2550 ถึงเดือนพฤษภาคม 2551 ด้วยการเก็บข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,400 คน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งจากการสำรวจทั้ง 3 ครั้ง พบว่า ครั้งที่ 1 กลุ่มตัวอย่างมีความเครียด ร้อยละ 46.9 ครั้งที่ 2 ร้อยละ 50.1 และครั้งที่ 3 ร้อยละ 47.4
ทั้งนี้ ปัญหาที่ทำให้เครียดมากที่สุด คือ ปัญหาการงาน รองลงมา คือ ปัญหาการเงิน โดยที่เพศหญิงมีความเครียดสูงกว่าเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 47.3, 51.9 และ 65.2 ตามลำดับ ขณะเดียวกัน จากการสำรวจครั้งที่ 1-2 กลุ่มตัวอย่างช่วงอายุ 41-50 ปี มีความเครียดคิดเป็นร้อยละมากกว่ากลุ่มอื่น ส่วนการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง ครั้งที่ 3 พบว่า กลุ่มอายุ 21-30 ปีจะมีความเครียด คิดเป็นร้อยละมากกว่ากลุ่มอื่น ทั้งนี้ ความรู้สึกกับปัญหาที่เกิดขึ้นของกลุ่มตัวอย่างที่พบมากที่สุด คือ รู้สึกว่าปัญหาที่เกิดขึ้นหนักหนา และมองว่าปัญหาสามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง คิดเป็นร้อยละ 92.7, 91.8 และ 91.7 ตามลำดับ
อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวต่อว่า การเกิดภาวะเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า หรือการคิดฆ่าตัวตายล้วนเป็นผลกระทบต่อสภาวะจิตใจของคนไทยที่มีสาเหตุสำคัญมาจากวิกฤตเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการเกิดเหตุการณ์รุนแรงจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ และจากการกระทำของน้ำมือมนุษย์ หรือการเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนความขัดแย้งทางการเมือง วิกฤตต่างๆ ที่เกิดขึ้น นอกจากจะส่งผลกระทบต่อจิตใจของประชาชน และทำให้ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวานกำเริบได้ และยังทำให้ความสุขของคนไทยลดลง ซึ่งสอดคล้องกับผลงานวิจัยความสุข ของศูนย์วิจัยความสุขชุมชน ที่พบว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสุขของประชาชนขึ้นอยู่กับ “สุขภาพใจ” เป็นอันดับแรก ตามด้วยปัจจัยอื่นๆ ทางเศรษฐกิจ สภาพสังคมไทย การดำเนินชีวิตของครอบครัว หน้าที่การงาน สถานการณ์การเมือง บรรยากาศภายในชุมชนที่พักอาศัย ความเป็นธรรมทางสังคม เป็นต้น
ดังนั้น กรมสุขภาพจิต จึงได้นำแนวคิดในการเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสมาเป็นหัวข้อในการจัดงานสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ ประจำปี 2551 ด้วยการชูประเด็น “พลังสุขภาพจิต เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส” ทั้งนี้ เพื่อเป็นการจุดประกายให้ทุกคนในสังคมหันมาใส่ใจสุขภาพจิตของตนเอง ตลอดจนเป็นการแนะนำแนวทางในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีให้กับประชาชนให้มีภูมิคุ้มกันและมีความเข้มแข็งทางใจ พร้อมที่จะเผชิญหน้ากับวิกฤติเหตุการณ์ต่างๆ ได้อย่างมั่นคง เพื่อทุกคนจะได้นำพาประเทศชาติ ให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตไปได้ ด้วยการเติมพลัง 7 ประการ ในการเติมเต็มพลังสุขภาพจิต ได้แก่
1.การทำใจให้นิ่ง พิจารณาปัญหาอย่างรอบด้านด้วยความเข้าใจ 2.มองโลกแง่ดี เติมความหวังและกำลังใจให้กับตัวเอง 3.เข้าใจธรรมชาติของปัญหา ว่าปัญหาแต่ละประเภทแตกต่างกัน 4.หันมองดูตัวเอง อย่ามัวแต่โทษผู้อื่น 5.สร้างความเชื่อมั่นศรัทธาต่อชีวิตและสิ่งดีงาม 6.ลงมือทำในสิ่งที่ทำได้ ด้วยความเข้าใจและด้วยความอดทน และ 7.ดูแลสุขภาพร่างกายให้สดชื่นแข็งแรงอยู่เสมอ
ด้านนพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผอ.สำนักสุขภาพจิตสังคม กรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ประชาชนที่สนใจสามารถเข้ามาร่วมค้นหาคำตอบในการเติมเต็มพลังสุขภาพจิตได้ในงานสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ ซึ่งมีกิจกรรมเสริมทักษะการเพิ่มเติมเต็มพลังใจทั้ง 7 ประการ ให้สามารถนำไปปฏิบัติได้พร้อมของที่ระลึกสำหรับเตือนตนเองและ เข้าร่วมเสวนาในหัวข้อ “อยู่อย่างไรในยุคสังคมแบ่งแยก” โดย อ.สุขุม นวลสกุล และ นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ปาฐกถาพิเศษ “พลังสุขภาพจิตเพื่อชีวิตที่ดีกว่า” โดย ศ.นพ.ประสพ รัตนากร การสนทนาในหัวข้อ “คนไทยปรับตัวอย่างไรในภาวะวิกฤต” จากพระเจ้าอาวาสวัดป่านซ่านในพื้นที่ อ.คุระบุรี ฟังการสนทนาในเรื่อง “วิกฤตเศรษฐกิจ บริหารจิตและการเงินอย่างไร” โดย อ.สมศักดิ์ แสนเต่า ซึ่งในงานมีการฝึกทักษะต่างๆ Workshop นันทนาการและสาระบันเทิงต่างๆ อีกมากมาย เช่น วิธีการจัดการกับความเครียดด้วยวิธีการต่างๆ โดยใช้เครื่องมือที่หลากหลายตามความถนัดของแต่ละบุคคล การสื่อสารด้วยใจคลายวิกฤต การเสริม IQ EQ MQ RQ และ CQ พร้อมทั้งชม นิทรรศการต่างๆ มีเคล็ดลับในการเสริมพลังใจ และรับของที่ระลึกอีกมากมาย
โดยงานสัปดาห์สุขภาพจิตประจำปี 2551 “พลังสุขภาพจิตเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส” จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 5-7 พฤศจิกายนนี้ เวลา 10.00-19.00 น.ณ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0-2951-1300-29 ต่อ 8233, 8409 www.dmh.go.th
นพ.ชาตรี บานชื่น อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำการสำรวจสุขภาพจิตของประชาชนในภาวะวิกฤต เพื่อให้ทราบสถานการณ์ของปัญหาสุขภาพจิตและหาแนวทางการช่วยเหลือ ตลอดจนเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตประชาชน โดยได้ทำการสำรวจ ในช่วงเดือนสิงหาคม 2550 ถึงเดือนพฤษภาคม 2551 ด้วยการเก็บข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,400 คน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งจากการสำรวจทั้ง 3 ครั้ง พบว่า ครั้งที่ 1 กลุ่มตัวอย่างมีความเครียด ร้อยละ 46.9 ครั้งที่ 2 ร้อยละ 50.1 และครั้งที่ 3 ร้อยละ 47.4
ทั้งนี้ ปัญหาที่ทำให้เครียดมากที่สุด คือ ปัญหาการงาน รองลงมา คือ ปัญหาการเงิน โดยที่เพศหญิงมีความเครียดสูงกว่าเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 47.3, 51.9 และ 65.2 ตามลำดับ ขณะเดียวกัน จากการสำรวจครั้งที่ 1-2 กลุ่มตัวอย่างช่วงอายุ 41-50 ปี มีความเครียดคิดเป็นร้อยละมากกว่ากลุ่มอื่น ส่วนการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง ครั้งที่ 3 พบว่า กลุ่มอายุ 21-30 ปีจะมีความเครียด คิดเป็นร้อยละมากกว่ากลุ่มอื่น ทั้งนี้ ความรู้สึกกับปัญหาที่เกิดขึ้นของกลุ่มตัวอย่างที่พบมากที่สุด คือ รู้สึกว่าปัญหาที่เกิดขึ้นหนักหนา และมองว่าปัญหาสามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง คิดเป็นร้อยละ 92.7, 91.8 และ 91.7 ตามลำดับ
อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวต่อว่า การเกิดภาวะเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า หรือการคิดฆ่าตัวตายล้วนเป็นผลกระทบต่อสภาวะจิตใจของคนไทยที่มีสาเหตุสำคัญมาจากวิกฤตเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการเกิดเหตุการณ์รุนแรงจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ และจากการกระทำของน้ำมือมนุษย์ หรือการเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนความขัดแย้งทางการเมือง วิกฤตต่างๆ ที่เกิดขึ้น นอกจากจะส่งผลกระทบต่อจิตใจของประชาชน และทำให้ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวานกำเริบได้ และยังทำให้ความสุขของคนไทยลดลง ซึ่งสอดคล้องกับผลงานวิจัยความสุข ของศูนย์วิจัยความสุขชุมชน ที่พบว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสุขของประชาชนขึ้นอยู่กับ “สุขภาพใจ” เป็นอันดับแรก ตามด้วยปัจจัยอื่นๆ ทางเศรษฐกิจ สภาพสังคมไทย การดำเนินชีวิตของครอบครัว หน้าที่การงาน สถานการณ์การเมือง บรรยากาศภายในชุมชนที่พักอาศัย ความเป็นธรรมทางสังคม เป็นต้น
ดังนั้น กรมสุขภาพจิต จึงได้นำแนวคิดในการเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสมาเป็นหัวข้อในการจัดงานสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ ประจำปี 2551 ด้วยการชูประเด็น “พลังสุขภาพจิต เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส” ทั้งนี้ เพื่อเป็นการจุดประกายให้ทุกคนในสังคมหันมาใส่ใจสุขภาพจิตของตนเอง ตลอดจนเป็นการแนะนำแนวทางในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีให้กับประชาชนให้มีภูมิคุ้มกันและมีความเข้มแข็งทางใจ พร้อมที่จะเผชิญหน้ากับวิกฤติเหตุการณ์ต่างๆ ได้อย่างมั่นคง เพื่อทุกคนจะได้นำพาประเทศชาติ ให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตไปได้ ด้วยการเติมพลัง 7 ประการ ในการเติมเต็มพลังสุขภาพจิต ได้แก่
1.การทำใจให้นิ่ง พิจารณาปัญหาอย่างรอบด้านด้วยความเข้าใจ 2.มองโลกแง่ดี เติมความหวังและกำลังใจให้กับตัวเอง 3.เข้าใจธรรมชาติของปัญหา ว่าปัญหาแต่ละประเภทแตกต่างกัน 4.หันมองดูตัวเอง อย่ามัวแต่โทษผู้อื่น 5.สร้างความเชื่อมั่นศรัทธาต่อชีวิตและสิ่งดีงาม 6.ลงมือทำในสิ่งที่ทำได้ ด้วยความเข้าใจและด้วยความอดทน และ 7.ดูแลสุขภาพร่างกายให้สดชื่นแข็งแรงอยู่เสมอ
ด้านนพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผอ.สำนักสุขภาพจิตสังคม กรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ประชาชนที่สนใจสามารถเข้ามาร่วมค้นหาคำตอบในการเติมเต็มพลังสุขภาพจิตได้ในงานสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ ซึ่งมีกิจกรรมเสริมทักษะการเพิ่มเติมเต็มพลังใจทั้ง 7 ประการ ให้สามารถนำไปปฏิบัติได้พร้อมของที่ระลึกสำหรับเตือนตนเองและ เข้าร่วมเสวนาในหัวข้อ “อยู่อย่างไรในยุคสังคมแบ่งแยก” โดย อ.สุขุม นวลสกุล และ นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ปาฐกถาพิเศษ “พลังสุขภาพจิตเพื่อชีวิตที่ดีกว่า” โดย ศ.นพ.ประสพ รัตนากร การสนทนาในหัวข้อ “คนไทยปรับตัวอย่างไรในภาวะวิกฤต” จากพระเจ้าอาวาสวัดป่านซ่านในพื้นที่ อ.คุระบุรี ฟังการสนทนาในเรื่อง “วิกฤตเศรษฐกิจ บริหารจิตและการเงินอย่างไร” โดย อ.สมศักดิ์ แสนเต่า ซึ่งในงานมีการฝึกทักษะต่างๆ Workshop นันทนาการและสาระบันเทิงต่างๆ อีกมากมาย เช่น วิธีการจัดการกับความเครียดด้วยวิธีการต่างๆ โดยใช้เครื่องมือที่หลากหลายตามความถนัดของแต่ละบุคคล การสื่อสารด้วยใจคลายวิกฤต การเสริม IQ EQ MQ RQ และ CQ พร้อมทั้งชม นิทรรศการต่างๆ มีเคล็ดลับในการเสริมพลังใจ และรับของที่ระลึกอีกมากมาย
โดยงานสัปดาห์สุขภาพจิตประจำปี 2551 “พลังสุขภาพจิตเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส” จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 5-7 พฤศจิกายนนี้ เวลา 10.00-19.00 น.ณ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0-2951-1300-29 ต่อ 8233, 8409 www.dmh.go.th