กทม.เสนอใช้รูปแบบเสาปูน-หินทิ้ง แทนไส้กรอกทรายเจ้าปัญหากันน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งบางขุนเทียนแล้ว ขณะที่ชาวชุมชนยังไม่สรุปจะเอาหรือไม่ บอกทดลองเขื่อนไม้ไผ่ค่อนข้างได้ผล เผย 8 เดือน ตะกอนดินเพิ่ม 1.50 เมตร ปลูกไม้โกงกางได้ 5 พันต้น
ผู้จัดการรายวัน - แหล่งข่าวจากสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สนน.ได้ยกเลิกการเสนอรูปแบบไส้กรอกทรายที่ใช้ในการก่อสร้างแนวกันคลื่น (ทีกรอยน์) ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียนระยะทาง 5 กิโลเมตรแล้ว เนื่องจากชาวบ้านเกรงว่าหากสร้างแบบไส้กรอกทรายในระยะยาวจะทำให้ทรายแตกและทำลายระบบนิเวศชายฝั่งได้ ซึ่ง สนน.ได้รับฟังและกลับมานำเสนออีก 2 รูปแบบ คงรูปตัวทีเหมือนเดิม คือ แบบที่ 1 เป็นเสาปูนซีเมนต์ความสูง 2 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.80 เมตร บริเวณฐานของเสาที่ปักลงในหาดโคลนเป็นรูปสามเหลี่ยมความกว้าง 9.50 เมตร เพื่อใส่หินขนาดเล็กลงไปในสามเหลี่ยม และโยนหินทิ้งขนาดใหญ่บริเวณรอบๆหัวเสา โดยหัวเสาจะมีการหล่อปูนแผ่นขนาดใหญ่ครอบหัวเสาเพื่อวางหินขนาดใหญ่เป็นรูป 3 เหลี่ยมป้องกันคลื่นด้วย ซึ่งความห่างแต่ละตัวห่างกัน 300 เมตร ส่วนแบบที่ 2 เป็นการปรับความห่างของเสาให้เหลือระยะห่างกันเพียง 50 เมตร นอกนั้นโครงสร้างต่างๆเหมือนแบบแรกทั้งหมด เนื่องจากชาวบ้านเห็นว่ามีความห่างกันเกินไป จะทำให้น้ำกัดเซาะบางพื้นที่เสียหาย อย่างไรก็ตาม จะมีการประชุมกลุ่มย่อยกับแกนนำชุมชนภายในต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยจะมีการเชิญสำนักงบประมาณเข้ามาร่วมชุมนุมรับฟังด้วย เนื่องจากงบเดิมตั้งไว้ที่ 316 ล้านบาท แต่รูปแบบใหม่นี้จะต้องใช้งบประมาณมากขึ้น และหลังจากนั้นภายใน 1 สัปดาห์จะมีการประชาพิจารณ์กับชาวบ้าน ว่าต้องการให้ กทม.สร้างในรูปแบบใดซึ่ง สนน.พยายามจะทำให้ดีที่สุดและใช้งบอย่างเหมาะสมที่สุด
ด้านนายคงศักดิ์ ฤกษ์งาม แกนนำชุมชนคลองพิทยากรณ์ กล่าวว่า ขณะนี้ ชาวบ้านได้มีการประชุมเพื่อหารือถึงวัสดุในการก่อสร้างแนวกันคลื่นที่ กทม. เสนอมาแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะเอารูปแบบใด หรือาจจะไม่เอาที่ กทม. เสนอมาเลยก็เป็นได้ ทั้งนี้ จากการทดลองสร้างเขื่อนไม้ไผ่ระยะทาง 1 กม.เป็นแนวกันคลื่นของชาวบ้าน ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ค่อนข้างได้ผล โดยมีตะกอนดินเพิ่มขึ้นประมาณ 50 เซนติเมตร นอกจากนี้ บริเวณใกล้ห่างกันไป 3 กม.ติดกับ จ.สมุทรสาคร ยังมีการทดลองเขื่อนไม้ไผ่เช่นเดียวกัน โดยแบ่งเป็น 3 ชั้น ชั้นแรกห่างจากชายฝั่ง 20 เมตร ชั้น ที่ 2 และ ชั้นที่ 3 ห่างกันชั้นละ 30 เมตร ซึ่งระยะเวลา ผ่านไป 8 เดือน มีตะกอนดินตกในชั้นต่างสูงถึง 1.50 เมตร ทำให้ชาวบ้านบริเวณดังกล่าวสามารถนำต้นแสม ต้น โกงกางไปปลูกในตะกอนดินที่เพิ่มขึ้นจำนวนกว่า 5 พันต้นแล้ว ซึ่งเป็นที่ชอบใจของชาวบ้านผู้พบเห็นเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันในระยะยาวต้องดูเรื่องความแข็งแรงของเขื่อนไม้ไผ่ด้วย
ผู้จัดการรายวัน - แหล่งข่าวจากสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สนน.ได้ยกเลิกการเสนอรูปแบบไส้กรอกทรายที่ใช้ในการก่อสร้างแนวกันคลื่น (ทีกรอยน์) ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียนระยะทาง 5 กิโลเมตรแล้ว เนื่องจากชาวบ้านเกรงว่าหากสร้างแบบไส้กรอกทรายในระยะยาวจะทำให้ทรายแตกและทำลายระบบนิเวศชายฝั่งได้ ซึ่ง สนน.ได้รับฟังและกลับมานำเสนออีก 2 รูปแบบ คงรูปตัวทีเหมือนเดิม คือ แบบที่ 1 เป็นเสาปูนซีเมนต์ความสูง 2 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.80 เมตร บริเวณฐานของเสาที่ปักลงในหาดโคลนเป็นรูปสามเหลี่ยมความกว้าง 9.50 เมตร เพื่อใส่หินขนาดเล็กลงไปในสามเหลี่ยม และโยนหินทิ้งขนาดใหญ่บริเวณรอบๆหัวเสา โดยหัวเสาจะมีการหล่อปูนแผ่นขนาดใหญ่ครอบหัวเสาเพื่อวางหินขนาดใหญ่เป็นรูป 3 เหลี่ยมป้องกันคลื่นด้วย ซึ่งความห่างแต่ละตัวห่างกัน 300 เมตร ส่วนแบบที่ 2 เป็นการปรับความห่างของเสาให้เหลือระยะห่างกันเพียง 50 เมตร นอกนั้นโครงสร้างต่างๆเหมือนแบบแรกทั้งหมด เนื่องจากชาวบ้านเห็นว่ามีความห่างกันเกินไป จะทำให้น้ำกัดเซาะบางพื้นที่เสียหาย อย่างไรก็ตาม จะมีการประชุมกลุ่มย่อยกับแกนนำชุมชนภายในต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยจะมีการเชิญสำนักงบประมาณเข้ามาร่วมชุมนุมรับฟังด้วย เนื่องจากงบเดิมตั้งไว้ที่ 316 ล้านบาท แต่รูปแบบใหม่นี้จะต้องใช้งบประมาณมากขึ้น และหลังจากนั้นภายใน 1 สัปดาห์จะมีการประชาพิจารณ์กับชาวบ้าน ว่าต้องการให้ กทม.สร้างในรูปแบบใดซึ่ง สนน.พยายามจะทำให้ดีที่สุดและใช้งบอย่างเหมาะสมที่สุด
ด้านนายคงศักดิ์ ฤกษ์งาม แกนนำชุมชนคลองพิทยากรณ์ กล่าวว่า ขณะนี้ ชาวบ้านได้มีการประชุมเพื่อหารือถึงวัสดุในการก่อสร้างแนวกันคลื่นที่ กทม. เสนอมาแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะเอารูปแบบใด หรือาจจะไม่เอาที่ กทม. เสนอมาเลยก็เป็นได้ ทั้งนี้ จากการทดลองสร้างเขื่อนไม้ไผ่ระยะทาง 1 กม.เป็นแนวกันคลื่นของชาวบ้าน ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ค่อนข้างได้ผล โดยมีตะกอนดินเพิ่มขึ้นประมาณ 50 เซนติเมตร นอกจากนี้ บริเวณใกล้ห่างกันไป 3 กม.ติดกับ จ.สมุทรสาคร ยังมีการทดลองเขื่อนไม้ไผ่เช่นเดียวกัน โดยแบ่งเป็น 3 ชั้น ชั้นแรกห่างจากชายฝั่ง 20 เมตร ชั้น ที่ 2 และ ชั้นที่ 3 ห่างกันชั้นละ 30 เมตร ซึ่งระยะเวลา ผ่านไป 8 เดือน มีตะกอนดินตกในชั้นต่างสูงถึง 1.50 เมตร ทำให้ชาวบ้านบริเวณดังกล่าวสามารถนำต้นแสม ต้น โกงกางไปปลูกในตะกอนดินที่เพิ่มขึ้นจำนวนกว่า 5 พันต้นแล้ว ซึ่งเป็นที่ชอบใจของชาวบ้านผู้พบเห็นเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันในระยะยาวต้องดูเรื่องความแข็งแรงของเขื่อนไม้ไผ่ด้วย