กรรมการสิทธิฯ แนะแรงงานรวมพลังเพื่อผู้ใช้แรงงาน พร้อมแนะใช้บทเรียนจาก 35 ปี 14 ตุลา เผยผู้นำแรงงานยังแตกแยกในความเห็นด้านการเมือง
ในงานรำลึก 35 ปี 14 ตุลาคม 2516 และครบรอบ 15 ปี การก่อตั้งพิพิธภัณท์แรงงานไทย ซึ่งจัดโดยมูลนิธิพิพิธภัณท์แรงงานไทย และสหพันธ์แรงงานทั่วประเทศ ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาคม มีการแสดงวิดีทัศน์เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์การต่อสู้ของผู้ใช้แรงงาน และการปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “การต่อสู้ของขบวนการแรงงานไทยนับตั้งแต่ยุค 14 ตุลาคม 2516” โดย นางสุนี ไชยรส กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ อดีตที่ปรึกษากรรมกรอ้อมน้อย กล่าวว่า การต่อสู้ในยุค 14 ตุลาคม คนส่วนใหญ่มักคิดว่าเป็นการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย แต่แท้ที่จริง เริ่มจากการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ที่เรียกร้องการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และมีการขยายวงไปอย่างกว้างขวาง โดยมีขบวนการ 3 ประสาน ประกอบด้วยผู้ใช้แรงงาน ขบวนการนิสิตนักศึกษา และสหภาพแรงงาน ร่วมกันเป็นแรงผลักสำคัญ
ปัจจุบันขบวนการแรงงานในแง่ตัวเลขแม้จะมีอยู่มากแต่ขาดพลังที่เป็นแนวร่วม ส่วนอุปสรรคของขบวนการแรงงาน เช่น ระบบเผด็จการ แม้วันนี้จะไม่มีการแสดงออกอย่างเต็มรูปแบบ แต่ก็ยังคงมีอยู่ เช่นเดียวกับระบบทุนนิยมที่มีความสลับซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับกลไกรัฐมากยิ่งขึ้น อีกทั้งผู้นำแรงงานยังมีความแตกแยกในความเห็นด้านการเมืองที่น่าเป็นห่วง ดังนั้นจากนี้ไป ขบวนการแรงงานจะต้องหันมาให้ความสำคัญกับภารกิจใหญ่ที่จะต้องต่อสู้เพื่อผู้ใช้แรงงานทั้งหมดให้มากขึ้น โดยนำการต่อสู้ของผู้ใช้แรงงาน ตลอด 35 ปีที่ผ่านมา เป็นบทเรียน
ในงานรำลึก 35 ปี 14 ตุลาคม 2516 และครบรอบ 15 ปี การก่อตั้งพิพิธภัณท์แรงงานไทย ซึ่งจัดโดยมูลนิธิพิพิธภัณท์แรงงานไทย และสหพันธ์แรงงานทั่วประเทศ ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาคม มีการแสดงวิดีทัศน์เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์การต่อสู้ของผู้ใช้แรงงาน และการปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “การต่อสู้ของขบวนการแรงงานไทยนับตั้งแต่ยุค 14 ตุลาคม 2516” โดย นางสุนี ไชยรส กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ อดีตที่ปรึกษากรรมกรอ้อมน้อย กล่าวว่า การต่อสู้ในยุค 14 ตุลาคม คนส่วนใหญ่มักคิดว่าเป็นการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย แต่แท้ที่จริง เริ่มจากการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ที่เรียกร้องการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และมีการขยายวงไปอย่างกว้างขวาง โดยมีขบวนการ 3 ประสาน ประกอบด้วยผู้ใช้แรงงาน ขบวนการนิสิตนักศึกษา และสหภาพแรงงาน ร่วมกันเป็นแรงผลักสำคัญ
ปัจจุบันขบวนการแรงงานในแง่ตัวเลขแม้จะมีอยู่มากแต่ขาดพลังที่เป็นแนวร่วม ส่วนอุปสรรคของขบวนการแรงงาน เช่น ระบบเผด็จการ แม้วันนี้จะไม่มีการแสดงออกอย่างเต็มรูปแบบ แต่ก็ยังคงมีอยู่ เช่นเดียวกับระบบทุนนิยมที่มีความสลับซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับกลไกรัฐมากยิ่งขึ้น อีกทั้งผู้นำแรงงานยังมีความแตกแยกในความเห็นด้านการเมืองที่น่าเป็นห่วง ดังนั้นจากนี้ไป ขบวนการแรงงานจะต้องหันมาให้ความสำคัญกับภารกิจใหญ่ที่จะต้องต่อสู้เพื่อผู้ใช้แรงงานทั้งหมดให้มากขึ้น โดยนำการต่อสู้ของผู้ใช้แรงงาน ตลอด 35 ปีที่ผ่านมา เป็นบทเรียน