วานนี้ (30 เม.ย.) นางธนนุช ตรีทิพยบุตร เลขาธิการสถิติแห่งชาติ แถลงการสำรวจแรงงานไทย เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ 1 พ.ค.ว่า ในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันต้องมีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เพื่อให้รายได้เพียงพอต่อรายจ่าย ซึ่งเป็นประเด็นนี้ทางไตรภาคี คือ ภาคลูกจ้าง ภาคนายจ้าง และ ภาครัฐ ต้องพิจารณาเป็นพิเศษ
แม้ในสถิติที่ผ่านมาพบว่า รายได้ครอบคลุมรายจ่าย แต่เป็นช่วงที่ยังไม่มีการปรับขึ้นราคาสินค้า แต่เมื่อมีการปรับขึ้นราคาสินค้า ย่อมส่งผลให้รายจ่ายด้านอุปโภคบริโภค รายจ่ายส่วนใหญ่ของภาคแรงงานโดยรวมอยู่ในส่วนของรายจ่ายด้านอุปโภค ในขณะที่หนี้สินส่วนใหญ่ เกิดจากการสะสมทุน เช่น การซื้ออสังหาริมทรัพย์เป็นต้น ซึ่งยังไม่น่าเป็นห่วง
ดังนั้นโดยสรุปควรปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เพราะต้นทุนผู้ประกอบการเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น และทำให้รายจ่ายในการบริโภคเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน
หากพิจารณาข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานไทย จากการสำรวจพบว่า ประเทศไทยเป็นประเทศสังคมอุตสาหกรรม เนื่องจากผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ของประเทศภาคเกษตรลดลงอย่างต่อเนื่อง จากผลิตภัณฑ์ภาคเกษตรต่อจีดีพี 18.6% ในปี 2525 ลดลงเหลือ 11.4 % ในปี 50
ที่สำคัญเกิดการย้ายแรงงานภาคเกษตรไปสู่ภาคอุตสาหกรรม เพราะค่าตอบแทนที่สูงกว่า โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม และ การบริการ ทำให้แรงงานภาคเกษตรเหลือเพียง 15.49 ล้านคน หรือคิดเป็น 41.7% ในขณะที่แรงงานนอกภาคเกษตร เพิ่มสูงขึ้นเป็น 21.63 ล้านคน หรือ คิดเป็น 58.3% ของประชากรทั้งหมด
นอกจากนี้จากสถิติพบว่า หากแบ่งเป็นโครงสร้างแรงงานประชากรไทย จะแบ่งได้ คือ อายุต่ำกว่า 15 ปี มีประชากรจำนวน 14.61 ล้านคน ในขณะที่กำลังแรงงานอายุ 15 ปีขึ้นไป พบว่ามีจำนวน 36.72 ล้านคน แบ่งออกเป็นแรงงานนอกภาคเกษตรกรรม 23.12 ล้านคน และ แรงงานภาคเกษตรกรรม 12.68 ล้านคน ในขณะที่แรงงานรอฤดูกาล 3.7 แสนคน และ มีผู้ว่างงาน 5.5 แสนคน คิดเป็นผู้มีงานทำทั้งหมด จำนวน 35.80 ล้านคน
ในขณะที่ประชากรนอกกำลังแรงงาน ส่วนใหญ่เป็นแม่บ้าน นักศึกษาเรียนหนังสือ และอื่นๆ มีจำนวน 14.69 ล้านคน ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ราคาสินค้าเกษตรกำลังสูงขึ้น พบสถิติที่น่าสนใจ คือ ความเป็นอยู่ของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรที่มีที่ดินที่นา หรือ เช่าที่ดิน ถือว่าเป็นเกษตรกรโดยแท้ มีรายได้ 12,000 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน เฉลี่ยครัวเรือนละ 3.2 คน คือ พ่อ แม่ และ ลูกเฉลี่ยไม่เกินครอบครัวละ 2 คน มีหนี้สิน 107,000 บาทต่อครัวเรือน
เลขาธิการสถิติ กล่าวว่าในขณะที่เกษตรกรที่เป็นลูกจ้าง มีรายได้ 9,700 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน มีหนี้สิน 60,000 บาทต่อครัวเรือน ที่สำคัญ คือ หนี้สินส่วนใหญ่ของเกษตรกรเป็นหนี้จากการลงทุนทำการเกษตรเป็นอันดับแรก ตามมาด้วยหนี้จากการอุปโภคและบริโภค ดังนั้นเรื่องหนี้จากการลงทุนทำเกษตรทางภาครัฐต้องให้ความสำคัญ
อย่างไรก็ตาม สถิติที่น่าติดตามคือ แรงงานภาคเกษตรเหล่านี้ยังมีการย้ายแรงงานในช่วงรอฤดูกาลด้วย ท่ามกลางการจ้างแรงงานที่เกิดขึ้นทั้งภาคเกษตร และ นอกภาคเกษตร (ภาคผลิต อุตสาหกรรม และ บริการ) ในจำนวน 36.72 ล้านคน เป็นแรงงานอยู่ในระบบที่มีสวัสดิการประกันรายได้ และ สุขภาพรองรับ มีเพียง 13.84 ล้านคน คิดเป็น 37.3% และเป็นแรงงานนอกระบบ ไม่มีสวัสดิการประกันรายได้ และ สุขภาพรองรับ 23.28 ล้านคน คิดเป็น 62.7% ที่สำคัญไปกว่านั้นคือในจำนวนแรงงานทั้งหมด คิดเป็น 61.8% ของกำลังแรงงานนอกระบบเป็นแรงงานเกษตร ไม่มีหลักประกันสุขภาพ และ สวัสดิการ ต้องเผชิญปัญหาสารพิษตกค้าง อุบัติเหตุจากเครื่องจักร ตาบอด หูหนวก ซึ่งประเด็นนี้ทางภาครัฐต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษด้วย
**ทีดีอาร์ไอหนุนปรับค่าจ้างขั้นต่ำ
ดร.วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส ประจำสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า อัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐานของประเทศ ของแต่ละจังหวัดขณะนี้ มีอัตราที่ไม่เท่ากัน การปรับอัตราค่าจ้างจึงควรปรับตามฐานปัจจุบันที่เป็นอยู่ โดยเฉพาะในส่วนอัตราเงินเฟ้อ 5% ก็ควรจะปรับเพื่อให้ลูกจ้างมีชีวิตความเป็นอยู่เท่ากับค่าครองชีพ ซึ่งในกรุงเทพฯ อัตราค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ที่ 194 บาท ต่ออัตราเงินเฟ้อ 5 % ดังนั้นอัตราใหม่ก็ควรจะเป็น 210 บาท ในขณะที่อัตราค่าจ้างขั้นพื้นฐานที่ใช้กับจังหวัดอื่นๆที่ไม่ได้ประกาศในกฎหมาย จาก 144 บาท ขึ้น5% ก็คือ 7 บาท ส่วนอัตราเงินเฟ้อ ทางการที่ประกาศตามภูมิภาคเป็นเท่าไร และดูถึงภาพรวมของทั้งประเทศ จึงพอคาดเดาได้ว่า ทั้งประเทศการขึ้นราคาของใกล้เคียงกันคือ 5% จึงน่าจะใช้ 5%เป็นเกณฑ์ในการปรับได้
ในช่วง 2-3ปีที่ผ่านมาก็มีการปรับราคาสินค้าขั้นสุดท้ายมากขึ้น ในขณะที่อัตราค่าจ้างเท่าเดิม เจ้าของกิจการมีการปรับตัวเพื่อที่จะจัดการกับเรื่องอัตราเงินเฟ้อหรือต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น การขึ้นอัตราค่าจ้างของแรงงานจึงเป็นส่วนหนึ่งที่เจ้าของกิจการจะต้องปรับตัว และจะจัดการได้ในที่สุด
ดร.วรวรรณ กล่าวต่อว่าในระยะต้นภาคธุรกิจต้องพยายามที่จะปรับตัว ซึ่งภาคธุรกิจของไทยนั้น มีศักยภาพการแข่งขันพอสมควร แต่ในที่สุดก็จะปรับตัวได้เพราะว่าการเพิ่มของแรงงานขั้นต่ำก็ไม่ได้มาก เนื่องจากสิ่งที่ต่อรองกลับไม่ได้เกิน 5%ของอัตราเงินเฟ้อ ตามที่นักธุรกิจคาดการไว้แล้วว่าจะต้องเกิด
"แต่ไม่ได้เห็นด้วยว่า จะต้องขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 9 บาททั่วประเทศ แต่ควรที่จะปรับให้ทันตามอัตราเงินเฟ้อ เพื่อรักษามาตราฐานการดำรงชีพของแรงงาน หากอัตราเงินเฟ้อแต่ละภูมิภาคไม่เท่ากัน ก็ควรที่จะปรับให้เท่ากัน และเมื่อทราบว่าอัตราเงินเฟ้อทั้งประเทศเท่ากับ 5%หรือใกล้เคียงกัน ก็ให้ดูจากฐานอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และปรับตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ บางแห่งก็จะได้ไม่เท่ากัน การขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำแค่ 5% จึงไม่น่าจะเป็นปัญหา"
**อัดรัฐไม่จริงใจปรับค่าจ้างขั้นต่ำ
น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า รัฐบาลไม่มีความจริงใจ ในการพิจารณาปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เพราะต้นทุนในส่วนแรงงานเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนการผลิต และอุตสาหกรรมที่มีการใช้เทคโนโลยีที่ไปไกล ต้นทุนส่วนของแรงงานจึงเป็นสัดส่วนที่ไม่ใหญ่มาก และอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีเหล่านั้น ก็ไม่ได้ใช้แรงงานแบบที่จ่ายค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งเป็นแรงงานที่มีทักษะและค่าจ้างสูงเกินกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ
ทำให้ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเหล่านั้นก็ไม่ได้มากมายอย่างที่คิด ที่จะกระทบก็คืออุตสาหกรรมย่อยๆ ที่จ้างแรงงานไร้ฝีมือและจ่ายตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ในส่วนของต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมทั่วไป แรงงานอาจไม่ใช่ต้นทุนใหญ่แล้วแต่จะเป็นในเรื่องของเครื่องจักรและเทคโนโลยี ซึ่งแต่ละอุตสาหกรรมมีความแตกต่างกัน เช่น กลุ่มแรงงานทอผ้าลูกจ้างจะมีระดับค่อยๆสูงขึ้น และก็มีลูกจ้างจำนวนหนึ่งที่มีทักษะค่าจ้างก็จะเกินอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
ดังนั้นต้องขึ้นอยู่กับคณะกรรมการพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำ ว่าจะประกาศออกมาว่าจะปรับเท่าไI ในส่วนของตัวลูกจ้างเองก็ขึ้นอยู่กับว่ารัฐจะตอบสนองต่อการประกาศออกมาอย่างไร ถ้าหากว่าลูกจ้างสามารถรวมกลุ่มกันได้ดี มีอำนาจในการต่อรองค่อนข้างดี ก็จะเรียกร้องต่อเพราะว่าตรงนี้ถือว่าต่ำเกินกว่าที่คุณภาพชีวิตของลูกจ้างจะรักษาให้เหมือนเดิมเพราะหากคณะกรรมการฯ จะเปรียบเทียบกับเกณฑ์เดิม ถ้าหากว่าปรับน้อยมากจนทำให้รู้สึกแย่ลงมาก ลูกจ้างก็อาจเรียกร้องเพิ่มเติมได้อีก
**ขู่รัฐแรงงานเคลื่อนแน่
น.ส.วิไลวรรณ กล่าวอีกว่า ประเด็นเรื่องปากเรื่องท้องของแรงงาน เป็นประเด็นที่สำคัญต่อคุณภาพชีวิต เมื่อค่าครองชีพสูงขึ้น ค่าจ้างถูกกดทับจนหายไป คงจะต้องมีความเคลื่อนไหวต่อรัฐบาล ซึ่งวันที่ 1 พ.ค.นี้ เป็นวันที่สำคัญที่พี่น้องเราร่วมกันออกมาเคลื่อนไหว ที่ผ่านมาคิดว่าจะออกมาเคลื่อนไหวไม่มาก แต่วันนี้ถ้าคำประกาศของทางกระทรวงแรงงานไม่ให้ความสำคัญกับค่าแรงค่าครองชีพของแรงงาน ก็คงต้องมีความเคลื่อนไหวกัน และจะมีคนงานออกมาร่วมกันมากกว่าที่คิดไว้
อย่างไรก็ตามหลังจากวันแรงงาน จะต้องมีการประชุมศึกษาหารือกันอีกว่าจะต้องมีมาตราการในการเคลื่อนไหวเรียกค่าจ้างและที่สำคัญคือไม่อยากให้รัฐบาลเอาความไม่เป็นเอกภาพมาเป็นข้อจำกัดในการที่จะไม่ปรับค่าจ้างให้กับลูกจ้าง จริงๆแล้วต้องเอาชีวิตความเป็นอยู่ของคนงานจริงๆมาเป็นการปรับค่าจ้างและดูแลคุณภาพชีวิตของคนงานมากกว่าที่จะหาข้ออ้างว่าความไม่เป็นเอกภาพมาเป็นข้อจำกัดมากำหนด ที่จะไม่ปรับค่าจ้างหรือจะไม่ดูแลคุณภาพชีวิตของคนงาน
แม้ในสถิติที่ผ่านมาพบว่า รายได้ครอบคลุมรายจ่าย แต่เป็นช่วงที่ยังไม่มีการปรับขึ้นราคาสินค้า แต่เมื่อมีการปรับขึ้นราคาสินค้า ย่อมส่งผลให้รายจ่ายด้านอุปโภคบริโภค รายจ่ายส่วนใหญ่ของภาคแรงงานโดยรวมอยู่ในส่วนของรายจ่ายด้านอุปโภค ในขณะที่หนี้สินส่วนใหญ่ เกิดจากการสะสมทุน เช่น การซื้ออสังหาริมทรัพย์เป็นต้น ซึ่งยังไม่น่าเป็นห่วง
ดังนั้นโดยสรุปควรปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เพราะต้นทุนผู้ประกอบการเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น และทำให้รายจ่ายในการบริโภคเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน
หากพิจารณาข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานไทย จากการสำรวจพบว่า ประเทศไทยเป็นประเทศสังคมอุตสาหกรรม เนื่องจากผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ของประเทศภาคเกษตรลดลงอย่างต่อเนื่อง จากผลิตภัณฑ์ภาคเกษตรต่อจีดีพี 18.6% ในปี 2525 ลดลงเหลือ 11.4 % ในปี 50
ที่สำคัญเกิดการย้ายแรงงานภาคเกษตรไปสู่ภาคอุตสาหกรรม เพราะค่าตอบแทนที่สูงกว่า โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม และ การบริการ ทำให้แรงงานภาคเกษตรเหลือเพียง 15.49 ล้านคน หรือคิดเป็น 41.7% ในขณะที่แรงงานนอกภาคเกษตร เพิ่มสูงขึ้นเป็น 21.63 ล้านคน หรือ คิดเป็น 58.3% ของประชากรทั้งหมด
นอกจากนี้จากสถิติพบว่า หากแบ่งเป็นโครงสร้างแรงงานประชากรไทย จะแบ่งได้ คือ อายุต่ำกว่า 15 ปี มีประชากรจำนวน 14.61 ล้านคน ในขณะที่กำลังแรงงานอายุ 15 ปีขึ้นไป พบว่ามีจำนวน 36.72 ล้านคน แบ่งออกเป็นแรงงานนอกภาคเกษตรกรรม 23.12 ล้านคน และ แรงงานภาคเกษตรกรรม 12.68 ล้านคน ในขณะที่แรงงานรอฤดูกาล 3.7 แสนคน และ มีผู้ว่างงาน 5.5 แสนคน คิดเป็นผู้มีงานทำทั้งหมด จำนวน 35.80 ล้านคน
ในขณะที่ประชากรนอกกำลังแรงงาน ส่วนใหญ่เป็นแม่บ้าน นักศึกษาเรียนหนังสือ และอื่นๆ มีจำนวน 14.69 ล้านคน ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ราคาสินค้าเกษตรกำลังสูงขึ้น พบสถิติที่น่าสนใจ คือ ความเป็นอยู่ของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรที่มีที่ดินที่นา หรือ เช่าที่ดิน ถือว่าเป็นเกษตรกรโดยแท้ มีรายได้ 12,000 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน เฉลี่ยครัวเรือนละ 3.2 คน คือ พ่อ แม่ และ ลูกเฉลี่ยไม่เกินครอบครัวละ 2 คน มีหนี้สิน 107,000 บาทต่อครัวเรือน
เลขาธิการสถิติ กล่าวว่าในขณะที่เกษตรกรที่เป็นลูกจ้าง มีรายได้ 9,700 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน มีหนี้สิน 60,000 บาทต่อครัวเรือน ที่สำคัญ คือ หนี้สินส่วนใหญ่ของเกษตรกรเป็นหนี้จากการลงทุนทำการเกษตรเป็นอันดับแรก ตามมาด้วยหนี้จากการอุปโภคและบริโภค ดังนั้นเรื่องหนี้จากการลงทุนทำเกษตรทางภาครัฐต้องให้ความสำคัญ
อย่างไรก็ตาม สถิติที่น่าติดตามคือ แรงงานภาคเกษตรเหล่านี้ยังมีการย้ายแรงงานในช่วงรอฤดูกาลด้วย ท่ามกลางการจ้างแรงงานที่เกิดขึ้นทั้งภาคเกษตร และ นอกภาคเกษตร (ภาคผลิต อุตสาหกรรม และ บริการ) ในจำนวน 36.72 ล้านคน เป็นแรงงานอยู่ในระบบที่มีสวัสดิการประกันรายได้ และ สุขภาพรองรับ มีเพียง 13.84 ล้านคน คิดเป็น 37.3% และเป็นแรงงานนอกระบบ ไม่มีสวัสดิการประกันรายได้ และ สุขภาพรองรับ 23.28 ล้านคน คิดเป็น 62.7% ที่สำคัญไปกว่านั้นคือในจำนวนแรงงานทั้งหมด คิดเป็น 61.8% ของกำลังแรงงานนอกระบบเป็นแรงงานเกษตร ไม่มีหลักประกันสุขภาพ และ สวัสดิการ ต้องเผชิญปัญหาสารพิษตกค้าง อุบัติเหตุจากเครื่องจักร ตาบอด หูหนวก ซึ่งประเด็นนี้ทางภาครัฐต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษด้วย
**ทีดีอาร์ไอหนุนปรับค่าจ้างขั้นต่ำ
ดร.วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส ประจำสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า อัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐานของประเทศ ของแต่ละจังหวัดขณะนี้ มีอัตราที่ไม่เท่ากัน การปรับอัตราค่าจ้างจึงควรปรับตามฐานปัจจุบันที่เป็นอยู่ โดยเฉพาะในส่วนอัตราเงินเฟ้อ 5% ก็ควรจะปรับเพื่อให้ลูกจ้างมีชีวิตความเป็นอยู่เท่ากับค่าครองชีพ ซึ่งในกรุงเทพฯ อัตราค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ที่ 194 บาท ต่ออัตราเงินเฟ้อ 5 % ดังนั้นอัตราใหม่ก็ควรจะเป็น 210 บาท ในขณะที่อัตราค่าจ้างขั้นพื้นฐานที่ใช้กับจังหวัดอื่นๆที่ไม่ได้ประกาศในกฎหมาย จาก 144 บาท ขึ้น5% ก็คือ 7 บาท ส่วนอัตราเงินเฟ้อ ทางการที่ประกาศตามภูมิภาคเป็นเท่าไร และดูถึงภาพรวมของทั้งประเทศ จึงพอคาดเดาได้ว่า ทั้งประเทศการขึ้นราคาของใกล้เคียงกันคือ 5% จึงน่าจะใช้ 5%เป็นเกณฑ์ในการปรับได้
ในช่วง 2-3ปีที่ผ่านมาก็มีการปรับราคาสินค้าขั้นสุดท้ายมากขึ้น ในขณะที่อัตราค่าจ้างเท่าเดิม เจ้าของกิจการมีการปรับตัวเพื่อที่จะจัดการกับเรื่องอัตราเงินเฟ้อหรือต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น การขึ้นอัตราค่าจ้างของแรงงานจึงเป็นส่วนหนึ่งที่เจ้าของกิจการจะต้องปรับตัว และจะจัดการได้ในที่สุด
ดร.วรวรรณ กล่าวต่อว่าในระยะต้นภาคธุรกิจต้องพยายามที่จะปรับตัว ซึ่งภาคธุรกิจของไทยนั้น มีศักยภาพการแข่งขันพอสมควร แต่ในที่สุดก็จะปรับตัวได้เพราะว่าการเพิ่มของแรงงานขั้นต่ำก็ไม่ได้มาก เนื่องจากสิ่งที่ต่อรองกลับไม่ได้เกิน 5%ของอัตราเงินเฟ้อ ตามที่นักธุรกิจคาดการไว้แล้วว่าจะต้องเกิด
"แต่ไม่ได้เห็นด้วยว่า จะต้องขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 9 บาททั่วประเทศ แต่ควรที่จะปรับให้ทันตามอัตราเงินเฟ้อ เพื่อรักษามาตราฐานการดำรงชีพของแรงงาน หากอัตราเงินเฟ้อแต่ละภูมิภาคไม่เท่ากัน ก็ควรที่จะปรับให้เท่ากัน และเมื่อทราบว่าอัตราเงินเฟ้อทั้งประเทศเท่ากับ 5%หรือใกล้เคียงกัน ก็ให้ดูจากฐานอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และปรับตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ บางแห่งก็จะได้ไม่เท่ากัน การขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำแค่ 5% จึงไม่น่าจะเป็นปัญหา"
**อัดรัฐไม่จริงใจปรับค่าจ้างขั้นต่ำ
น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า รัฐบาลไม่มีความจริงใจ ในการพิจารณาปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เพราะต้นทุนในส่วนแรงงานเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนการผลิต และอุตสาหกรรมที่มีการใช้เทคโนโลยีที่ไปไกล ต้นทุนส่วนของแรงงานจึงเป็นสัดส่วนที่ไม่ใหญ่มาก และอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีเหล่านั้น ก็ไม่ได้ใช้แรงงานแบบที่จ่ายค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งเป็นแรงงานที่มีทักษะและค่าจ้างสูงเกินกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ
ทำให้ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเหล่านั้นก็ไม่ได้มากมายอย่างที่คิด ที่จะกระทบก็คืออุตสาหกรรมย่อยๆ ที่จ้างแรงงานไร้ฝีมือและจ่ายตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ในส่วนของต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมทั่วไป แรงงานอาจไม่ใช่ต้นทุนใหญ่แล้วแต่จะเป็นในเรื่องของเครื่องจักรและเทคโนโลยี ซึ่งแต่ละอุตสาหกรรมมีความแตกต่างกัน เช่น กลุ่มแรงงานทอผ้าลูกจ้างจะมีระดับค่อยๆสูงขึ้น และก็มีลูกจ้างจำนวนหนึ่งที่มีทักษะค่าจ้างก็จะเกินอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
ดังนั้นต้องขึ้นอยู่กับคณะกรรมการพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำ ว่าจะประกาศออกมาว่าจะปรับเท่าไI ในส่วนของตัวลูกจ้างเองก็ขึ้นอยู่กับว่ารัฐจะตอบสนองต่อการประกาศออกมาอย่างไร ถ้าหากว่าลูกจ้างสามารถรวมกลุ่มกันได้ดี มีอำนาจในการต่อรองค่อนข้างดี ก็จะเรียกร้องต่อเพราะว่าตรงนี้ถือว่าต่ำเกินกว่าที่คุณภาพชีวิตของลูกจ้างจะรักษาให้เหมือนเดิมเพราะหากคณะกรรมการฯ จะเปรียบเทียบกับเกณฑ์เดิม ถ้าหากว่าปรับน้อยมากจนทำให้รู้สึกแย่ลงมาก ลูกจ้างก็อาจเรียกร้องเพิ่มเติมได้อีก
**ขู่รัฐแรงงานเคลื่อนแน่
น.ส.วิไลวรรณ กล่าวอีกว่า ประเด็นเรื่องปากเรื่องท้องของแรงงาน เป็นประเด็นที่สำคัญต่อคุณภาพชีวิต เมื่อค่าครองชีพสูงขึ้น ค่าจ้างถูกกดทับจนหายไป คงจะต้องมีความเคลื่อนไหวต่อรัฐบาล ซึ่งวันที่ 1 พ.ค.นี้ เป็นวันที่สำคัญที่พี่น้องเราร่วมกันออกมาเคลื่อนไหว ที่ผ่านมาคิดว่าจะออกมาเคลื่อนไหวไม่มาก แต่วันนี้ถ้าคำประกาศของทางกระทรวงแรงงานไม่ให้ความสำคัญกับค่าแรงค่าครองชีพของแรงงาน ก็คงต้องมีความเคลื่อนไหวกัน และจะมีคนงานออกมาร่วมกันมากกว่าที่คิดไว้
อย่างไรก็ตามหลังจากวันแรงงาน จะต้องมีการประชุมศึกษาหารือกันอีกว่าจะต้องมีมาตราการในการเคลื่อนไหวเรียกค่าจ้างและที่สำคัญคือไม่อยากให้รัฐบาลเอาความไม่เป็นเอกภาพมาเป็นข้อจำกัดในการที่จะไม่ปรับค่าจ้างให้กับลูกจ้าง จริงๆแล้วต้องเอาชีวิตความเป็นอยู่ของคนงานจริงๆมาเป็นการปรับค่าจ้างและดูแลคุณภาพชีวิตของคนงานมากกว่าที่จะหาข้ออ้างว่าความไม่เป็นเอกภาพมาเป็นข้อจำกัดมากำหนด ที่จะไม่ปรับค่าจ้างหรือจะไม่ดูแลคุณภาพชีวิตของคนงาน