แพทย์ชี้ “คนเมือง” มีอัตราเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือดสูงขึ้นเฉลี่ย 38% คาดอีก 20 ปีข้างหน้าคนไทยเป็นโรคหัวใจเพิ่มเป็น 60% พร้อมเผยผลวิจัยพนักงาน กฟผ.ศึกษาอย่างต่อเนื่อง 23 ปี พบว่าความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ และการสูบบุหรี่ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการป่วยและเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจในคนไทย ไม่ต่างจากข้อมูลการศึกษาในต่างประเทศ เพียงแต่อุบัติการณ์ของโรคหลอดเลือดหัวใจในประชากรไทยยังต่ำกว่าในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา โดยมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจต่อปีในพนักงานการไฟฟ้าฯ ประมาณ 80 ต่อ 100,000 คน
ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธารา ผู้อำนวยการศูนย์หัวใจหลอดเลือดและ เมแทบอลิซึม รองหัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดเผยในงาน “วันหัวใจโลก 2551” ว่า คนเมืองกรุง มีอัตราเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดมากว่าประชาชนในเขตชนบท เฉลี่ยประมาณ 38% และในอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้า จะสูงถึง 60% ซึ่งมีอัตราการเพิ่มของโรคอย่างต่อเนื่องประมาณปีละ 160,000 คน สาเหตุทำให้คนเมืองป่วยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้น คือ 1. ความเครียด 2.โรคอ้วน 3.ออกกำลังกายน้อย เนื่องจากชุมชนเมืองขยายตัวมากขึ้น คนเมืองกรุงต้องทำงานหนัก มีความเครียด รับประทานอาหารที่มีไขมันมาก ทำให้อ้วนลงพุง และไม่มีเวลาออกกำลังกาย ผิดกับประชาชนในชนบท ที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รับประทานอาหารที่ไขมันต่ำ ซึ่งเมื่อก่อนโรคหัวใจและหลอดเลือดจะพบมากในคนรวย แต่ปัจจุบันคนรวยมีการดูแลสุขภาพมากขึ้น ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย ผิดกับคนจนที่ชอบทานอาหารราคาถูก มีไขมันมาก จึงเกิดการป่วยเป็นโรคนี้เพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ อุบัติการณ์ของโรคหัวใจและหลอดเลือดกลับเพิ่มขึ้นในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute coronary syndrome) การศึกษาเพื่อหาอุบัติการณ์ของโรคนี้ในประชากรไทยที่สัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยง ซึ่งทำในพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยศึกษาต่อเนื่องเป็นเวลาถึง 23 ปี พบว่าความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ และการสูบบุหรี่ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการป่วยและเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจในคนไทย ไม่ต่างจากข้อมูลการศึกษาในต่างประเทศ เพียงแต่อุบัติการณ์ของโรคหลอดเลือดหัวใจในประชากรไทยยังต่ำกว่าในอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา โดยมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจต่อปีในพนักงานการไฟฟ้าฯ ประมาณ 80 ต่อ 100,000 คน
อัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด พบว่า เพศชาย อายุ 35-60 ปี มีอัตราเสี่ยงมากว่า เพศหญิง ซึ่งโรคหัวใจและหลอดเลือดของเพศหญิงจะช้ากว่าเพศชาย เฉลี่ย 7-10 ปี เพราะผู้หญิงจะมีฮอร์โมนเพศหญิง ที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ได้ ส่วนอัตราการเสียชีวิตของคนไทย พบว่า คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นอันดับ 2 รองจากอุบัติเหตุ และโรคมะเร็ง โดยพบว่าผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด จะเป็นคนวัยทำงานที่มีอายุ 35-60 ปี เนื่องจากคนกลุ่มนี้ มีอัตราเสี่ยงสูงมาก
สาเหตุทำให้คนไทยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด คือ 1.อายุ 2.พันธุกรรม 3.โรคเบาหวาน การวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด มักมีสาเหตุมาจาก 3 ปัจจัยดังกล่าว โรคที่มาคู่กับโรคหัวใจและหลอดเลือด คือ โรคเบาหวาน เนื่องจากมีปริมาณน้ำตาล และไขมันในเส้นเลือดสูง ทำให้เส้นเลือดแดงเสื่อม
ศ.นพ.ปิยะมิตร กล่าวปิดท้ายว่า อยากให้คนไทยทุกคนหันมาใส่ใจสุขภาพ ซึ่งผู้คนทั่วไปมักจะละเลยการป้องกันโรค รู้อีกทีก็เป็นโรคไปแล้วจะเรียกว่าไม่เห็นโลงศพไม่หลั่งน้ำตาก็ได้ การป้องกันควรจะเริ่มให้เร็วที่สุดเพราะว่าหากเริ่มช้า การเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดได้มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ได้มีการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดเริ่มตั้งแต่หนุ่มสาว เพราะฉะนั้น หากเราเริ่มตอนกลางคนผลการควบคุมอาจจะไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นจึงแนะนำว่าให้เริ่มทำตั้งแต่วัยรุ่น บางท่านผ่านวัยรุ่นมาแล้วก็ให้ทำทันที ทั้งการออกกำลังกายเป็นประจำ, รับประทานอาหารที่มีประโยชน์, หยุดสูบบุหรี่, รักษาน้ำหนัก ซึ่งคนอ้วนจะทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดตีบ และโรคหัวใจ ปัญหาว่าเมื่อไรจึงจะถือว่าอ้วน เราจะใช้ดัชนีมวลกายคนไทยให้ไม่เกิน 25 นอกจากนั้นยังใช้การวัดเส้นรอบเอว หากเกิน 90-80 ซม. พร้อมมั่นตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมออีกด้วย
ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธารา ผู้อำนวยการศูนย์หัวใจหลอดเลือดและ เมแทบอลิซึม รองหัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดเผยในงาน “วันหัวใจโลก 2551” ว่า คนเมืองกรุง มีอัตราเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดมากว่าประชาชนในเขตชนบท เฉลี่ยประมาณ 38% และในอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้า จะสูงถึง 60% ซึ่งมีอัตราการเพิ่มของโรคอย่างต่อเนื่องประมาณปีละ 160,000 คน สาเหตุทำให้คนเมืองป่วยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้น คือ 1. ความเครียด 2.โรคอ้วน 3.ออกกำลังกายน้อย เนื่องจากชุมชนเมืองขยายตัวมากขึ้น คนเมืองกรุงต้องทำงานหนัก มีความเครียด รับประทานอาหารที่มีไขมันมาก ทำให้อ้วนลงพุง และไม่มีเวลาออกกำลังกาย ผิดกับประชาชนในชนบท ที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รับประทานอาหารที่ไขมันต่ำ ซึ่งเมื่อก่อนโรคหัวใจและหลอดเลือดจะพบมากในคนรวย แต่ปัจจุบันคนรวยมีการดูแลสุขภาพมากขึ้น ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย ผิดกับคนจนที่ชอบทานอาหารราคาถูก มีไขมันมาก จึงเกิดการป่วยเป็นโรคนี้เพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ อุบัติการณ์ของโรคหัวใจและหลอดเลือดกลับเพิ่มขึ้นในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute coronary syndrome) การศึกษาเพื่อหาอุบัติการณ์ของโรคนี้ในประชากรไทยที่สัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยง ซึ่งทำในพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยศึกษาต่อเนื่องเป็นเวลาถึง 23 ปี พบว่าความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ และการสูบบุหรี่ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการป่วยและเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจในคนไทย ไม่ต่างจากข้อมูลการศึกษาในต่างประเทศ เพียงแต่อุบัติการณ์ของโรคหลอดเลือดหัวใจในประชากรไทยยังต่ำกว่าในอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา โดยมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจต่อปีในพนักงานการไฟฟ้าฯ ประมาณ 80 ต่อ 100,000 คน
อัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด พบว่า เพศชาย อายุ 35-60 ปี มีอัตราเสี่ยงมากว่า เพศหญิง ซึ่งโรคหัวใจและหลอดเลือดของเพศหญิงจะช้ากว่าเพศชาย เฉลี่ย 7-10 ปี เพราะผู้หญิงจะมีฮอร์โมนเพศหญิง ที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ได้ ส่วนอัตราการเสียชีวิตของคนไทย พบว่า คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นอันดับ 2 รองจากอุบัติเหตุ และโรคมะเร็ง โดยพบว่าผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด จะเป็นคนวัยทำงานที่มีอายุ 35-60 ปี เนื่องจากคนกลุ่มนี้ มีอัตราเสี่ยงสูงมาก
สาเหตุทำให้คนไทยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด คือ 1.อายุ 2.พันธุกรรม 3.โรคเบาหวาน การวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด มักมีสาเหตุมาจาก 3 ปัจจัยดังกล่าว โรคที่มาคู่กับโรคหัวใจและหลอดเลือด คือ โรคเบาหวาน เนื่องจากมีปริมาณน้ำตาล และไขมันในเส้นเลือดสูง ทำให้เส้นเลือดแดงเสื่อม
ศ.นพ.ปิยะมิตร กล่าวปิดท้ายว่า อยากให้คนไทยทุกคนหันมาใส่ใจสุขภาพ ซึ่งผู้คนทั่วไปมักจะละเลยการป้องกันโรค รู้อีกทีก็เป็นโรคไปแล้วจะเรียกว่าไม่เห็นโลงศพไม่หลั่งน้ำตาก็ได้ การป้องกันควรจะเริ่มให้เร็วที่สุดเพราะว่าหากเริ่มช้า การเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดได้มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ได้มีการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดเริ่มตั้งแต่หนุ่มสาว เพราะฉะนั้น หากเราเริ่มตอนกลางคนผลการควบคุมอาจจะไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นจึงแนะนำว่าให้เริ่มทำตั้งแต่วัยรุ่น บางท่านผ่านวัยรุ่นมาแล้วก็ให้ทำทันที ทั้งการออกกำลังกายเป็นประจำ, รับประทานอาหารที่มีประโยชน์, หยุดสูบบุหรี่, รักษาน้ำหนัก ซึ่งคนอ้วนจะทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดตีบ และโรคหัวใจ ปัญหาว่าเมื่อไรจึงจะถือว่าอ้วน เราจะใช้ดัชนีมวลกายคนไทยให้ไม่เกิน 25 นอกจากนั้นยังใช้การวัดเส้นรอบเอว หากเกิน 90-80 ซม. พร้อมมั่นตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมออีกด้วย