สธ.สั่งตั้งคณะกรรมการร่วม 3 หน่วยงานเจรจา รพ.เอกชนให้ยอมเข้าร่วมโครงการฟอกเลือดกับ สปสช.ย้ำให้คำนึงถึงการกุศลมากกว่าธุรกิจ พร้อมให้ สปสช.หาแนวทางเพิ่มศักยภาพล้างไตของ รพ.รัฐ ขณะที่ทีมกฎหมาย สปสช.คาดโทษ “หมอเอื้อชาติ” พิจารณาสัปดาห์หน้า เอาผิด 3 เรื่อง จริยธรรมการแพทย์-ถอดจากบอร์ด สปสช.และการทำผิดกฎการจดทะเบียนสมาคม
วานนี้ (17 ก.ย.) ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังมีการประชุมร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และมูลนิโรคไตแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการให้บริการล้างไตด้วยการฟอกเลือดผ่านเครื่องไตเทียมของผู้ป่วยบัตรทอง ซึ่งจะเริ่มให้บริการในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ ว่า ได้มอบหมายให้มีการตั้งคณะกรรมการที่มาจาก 3 หน่วยงาน คือ สธ.สปสช.และมูลนิธิโรคไตฯ เพื่อเจรจากับโรงพยาบาลเอกชนให้เข้าร่วมโครงการล้างไตของสปสช.โดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการเจรจา หากผลออกมาเป็นอย่างไร ทางคณะกรรมการจะรายงานให้ตนทราบอีกครั้ง
“สธ.และ สปสช.ยืนยันจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงค่าบริการล้างไต ครั้งละ 1,500 บาท แม้โรงพยาบาลเอกชนจะใช้ เป็นข้ออ้างนำมาต่อรองก็ตาม เพราะเป็นราคาที่สมเหตุสมผลมีการคำนวณมาอย่างดีแล้ว ผมอยากให้ สปสช.ไปคุยกับโรงพยาบาลเอกชน ว่า อย่ามองเรื่องธุรกิจเกินไป ให้คำนึงถึงประชาชน และด้านการกุศลเป็นหลักแต่ถ้าโรงพยาบาลเอกชนยืนยันปฏิเสธไม่เข้าร่วมโครงการของ สปสช.ก็ไม่น่าจะมีปัญหา เพราะได้มอบหมายให้ สปสช.หาแนวทางในการเพิ่มศักยภาพการให้บริการล้างไตของโรงพยาบาลรัฐเพื่อรองรับผู้ป่วยได้มากขึ้นแล้ว” นายชวรัตน์ กล่าว
ด้าน นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการ สปสช.กล่าวว่า สปสช.จะเพิ่มศักยภาพการให้บริการฟอกเลือดของโรงพยาบาลรัฐเป็นหลัก โดยขยายเวลาให้บริการฟอกเลือดนอกเวลาราชการ หรือในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งวิธีนี้มีการดำเนินการอยู่แล้ว แต่จะมีการหารือกับภาคเอกชน มูลนิธิต่างๆ ที่มีประสบการณ์การให้บริการฟอกเลือด โดยสนับสนุนให้มาร่วมงานกับ สธ.มากขึ้น ซึ่งภาคเอกชนจะมีฐานะเป็นผู้บริหารจัดการการให้บริการฟอกเลือด ใช้สถานที่ เครื่องมือ และบุคลากรของภาครัฐ เชื่อว่า วิธีนี้จะช่วยให้รัฐสามารถเพิ่มการให้บริการฟอกเลือดได้อีกเท่าตัว ทั้งนี้ ในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ หากผู้ป่วยโรคไตมีปัญหาไม่ได้รับการให้บริการสามารถขอความช่วยเหลือผ่าน สายด่วน 1330 หรือมูลนิธิโรคไตฯ ได้ทันที
“ปัจจุบันมีภาคเอกชนที่ใช้วิธีขอเช่าพื้นที่ เครื่องมือของโรงพยาบาลรัฐ มาเปิดคลินิกพิเศษรับฟอกเลือด และคิดราคาถูก ครั้งละ 1,000-1,500 บาท อยู่แล้ว โดยรายได้ครึ่งหนึ่งจ่ายให้โรงพยาบาลรัฐเป็นค่าเช่าสถานที่ เครื่องมือ เช่น ศูนย์ไตเทียมราชวัตร มีสาขาให้บริการในกรุงเทพฯ 2-3 แห่ง คิดค่าบริการครั้งละ 1,500 บาท และมูลนิธิพลตรีจำลอง ศรีเมือง รามคำแหง คิดครั้งละ 1,200 บาท ซึ่งในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ ศูนย์ให้บริการทั้ง 2 แห่งดังกล่าวจะขยายการให้บริการเพิ่มขึ้นรับผู้ป่วยได้อีกประมาณ 300 คน และในเดือนมกราคม 2552 จะเพิ่มการให้บริการได้อีกประมาณ 400 คน” นพ.ประทีป กล่าว
รายานข่าวแจ้งว่า ในสัปดาห์หน้านี้ ทีมกฎหมายของ สปสช.อัยการ สภาทนายความ จะพิจารณาด้านกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำของ นพ.เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน และประธานคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข ที่ส่งจดหมายคัดค้านไม่ให้โรงพยาบาลเอกชนเข้าร่วมโครงการนี้ ซึ่งเบื้องต้น มี 3 ประเด็น คือ 1.ด้านตัวบุคคล เกี่ยวกับจริยธรรมทางการแพทย์ 2.ในฐานะเป็นบอร์ด สปสช.จะต้องส่งเรื่องไปยังคณะรัฐมนตรี เพื่อถอดถอนออกจากตำแหน่ง 3.การจดทะเบียนสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ต้องตรวจสอบเจตนารมณ์ของการจดทะเบียนสมาคม ซึ่งมีข้อบังคับว่า ต้องดำเนินการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ดังนั้น การคัดค้านโครงการของ สปสช.จะเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของการจดทะเบียนสมาคม หรือไม่ โดยผลการหารือจะนำเสนอในที่ประชุมบอร์ด สปสช.ที่จะมีขึ้นในเดือนตุลาคมนี้
ทั้งนี้ ในที่ประชุม ได้มีการเสนอราคาค่าฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ที่ สปสช.และมูลนิธิโรคไตฯ ได้ศึกษาร่วมกัน โดยมีต้นทุนการให้บริการครั้งละ 1,225 บาท แบ่งเป็นค่าใช้จ่าย 3 ด้าน คือ 1.ค่าอุปกรณ์ เช่น ค่าน้ำยา น้ำเกลือ ชุดสายยาง ตัวกรอง น้ำยาฆ่าเชื้อ ถุงมือ สำลี สบู่ รวม 625 บาท 2.ค่าซ่อมบำรุงเครื่องไตเทียม เช่น ค่าเสื่อมราคา ซ่อมบำรุง ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา รวม 200 บาท และ 3.ค่าตอบแทนบุคลาการ เช่น ค่าแรงแพทย์ พยาบาล คนงาน รวม 400 บาท
วานนี้ (17 ก.ย.) ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังมีการประชุมร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และมูลนิโรคไตแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการให้บริการล้างไตด้วยการฟอกเลือดผ่านเครื่องไตเทียมของผู้ป่วยบัตรทอง ซึ่งจะเริ่มให้บริการในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ ว่า ได้มอบหมายให้มีการตั้งคณะกรรมการที่มาจาก 3 หน่วยงาน คือ สธ.สปสช.และมูลนิธิโรคไตฯ เพื่อเจรจากับโรงพยาบาลเอกชนให้เข้าร่วมโครงการล้างไตของสปสช.โดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการเจรจา หากผลออกมาเป็นอย่างไร ทางคณะกรรมการจะรายงานให้ตนทราบอีกครั้ง
“สธ.และ สปสช.ยืนยันจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงค่าบริการล้างไต ครั้งละ 1,500 บาท แม้โรงพยาบาลเอกชนจะใช้ เป็นข้ออ้างนำมาต่อรองก็ตาม เพราะเป็นราคาที่สมเหตุสมผลมีการคำนวณมาอย่างดีแล้ว ผมอยากให้ สปสช.ไปคุยกับโรงพยาบาลเอกชน ว่า อย่ามองเรื่องธุรกิจเกินไป ให้คำนึงถึงประชาชน และด้านการกุศลเป็นหลักแต่ถ้าโรงพยาบาลเอกชนยืนยันปฏิเสธไม่เข้าร่วมโครงการของ สปสช.ก็ไม่น่าจะมีปัญหา เพราะได้มอบหมายให้ สปสช.หาแนวทางในการเพิ่มศักยภาพการให้บริการล้างไตของโรงพยาบาลรัฐเพื่อรองรับผู้ป่วยได้มากขึ้นแล้ว” นายชวรัตน์ กล่าว
ด้าน นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการ สปสช.กล่าวว่า สปสช.จะเพิ่มศักยภาพการให้บริการฟอกเลือดของโรงพยาบาลรัฐเป็นหลัก โดยขยายเวลาให้บริการฟอกเลือดนอกเวลาราชการ หรือในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งวิธีนี้มีการดำเนินการอยู่แล้ว แต่จะมีการหารือกับภาคเอกชน มูลนิธิต่างๆ ที่มีประสบการณ์การให้บริการฟอกเลือด โดยสนับสนุนให้มาร่วมงานกับ สธ.มากขึ้น ซึ่งภาคเอกชนจะมีฐานะเป็นผู้บริหารจัดการการให้บริการฟอกเลือด ใช้สถานที่ เครื่องมือ และบุคลากรของภาครัฐ เชื่อว่า วิธีนี้จะช่วยให้รัฐสามารถเพิ่มการให้บริการฟอกเลือดได้อีกเท่าตัว ทั้งนี้ ในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ หากผู้ป่วยโรคไตมีปัญหาไม่ได้รับการให้บริการสามารถขอความช่วยเหลือผ่าน สายด่วน 1330 หรือมูลนิธิโรคไตฯ ได้ทันที
“ปัจจุบันมีภาคเอกชนที่ใช้วิธีขอเช่าพื้นที่ เครื่องมือของโรงพยาบาลรัฐ มาเปิดคลินิกพิเศษรับฟอกเลือด และคิดราคาถูก ครั้งละ 1,000-1,500 บาท อยู่แล้ว โดยรายได้ครึ่งหนึ่งจ่ายให้โรงพยาบาลรัฐเป็นค่าเช่าสถานที่ เครื่องมือ เช่น ศูนย์ไตเทียมราชวัตร มีสาขาให้บริการในกรุงเทพฯ 2-3 แห่ง คิดค่าบริการครั้งละ 1,500 บาท และมูลนิธิพลตรีจำลอง ศรีเมือง รามคำแหง คิดครั้งละ 1,200 บาท ซึ่งในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ ศูนย์ให้บริการทั้ง 2 แห่งดังกล่าวจะขยายการให้บริการเพิ่มขึ้นรับผู้ป่วยได้อีกประมาณ 300 คน และในเดือนมกราคม 2552 จะเพิ่มการให้บริการได้อีกประมาณ 400 คน” นพ.ประทีป กล่าว
รายานข่าวแจ้งว่า ในสัปดาห์หน้านี้ ทีมกฎหมายของ สปสช.อัยการ สภาทนายความ จะพิจารณาด้านกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำของ นพ.เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน และประธานคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข ที่ส่งจดหมายคัดค้านไม่ให้โรงพยาบาลเอกชนเข้าร่วมโครงการนี้ ซึ่งเบื้องต้น มี 3 ประเด็น คือ 1.ด้านตัวบุคคล เกี่ยวกับจริยธรรมทางการแพทย์ 2.ในฐานะเป็นบอร์ด สปสช.จะต้องส่งเรื่องไปยังคณะรัฐมนตรี เพื่อถอดถอนออกจากตำแหน่ง 3.การจดทะเบียนสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ต้องตรวจสอบเจตนารมณ์ของการจดทะเบียนสมาคม ซึ่งมีข้อบังคับว่า ต้องดำเนินการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ดังนั้น การคัดค้านโครงการของ สปสช.จะเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของการจดทะเบียนสมาคม หรือไม่ โดยผลการหารือจะนำเสนอในที่ประชุมบอร์ด สปสช.ที่จะมีขึ้นในเดือนตุลาคมนี้
ทั้งนี้ ในที่ประชุม ได้มีการเสนอราคาค่าฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ที่ สปสช.และมูลนิธิโรคไตฯ ได้ศึกษาร่วมกัน โดยมีต้นทุนการให้บริการครั้งละ 1,225 บาท แบ่งเป็นค่าใช้จ่าย 3 ด้าน คือ 1.ค่าอุปกรณ์ เช่น ค่าน้ำยา น้ำเกลือ ชุดสายยาง ตัวกรอง น้ำยาฆ่าเชื้อ ถุงมือ สำลี สบู่ รวม 625 บาท 2.ค่าซ่อมบำรุงเครื่องไตเทียม เช่น ค่าเสื่อมราคา ซ่อมบำรุง ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา รวม 200 บาท และ 3.ค่าตอบแทนบุคลาการ เช่น ค่าแรงแพทย์ พยาบาล คนงาน รวม 400 บาท